เรื่องเล่าร้านอาหาร ‪#‎ทำอย่างไรเมื่อคุณมีหุ้นส่วน‬

เมื่อร้านอาหารเป็นความฝันของคนรุ่นใหม่ ‪#‎ทำอย่างไรเมื่อคุณมีหุ้นส่วน‬

"พี่ขอคำปรึกษาหน่อยครับ เพื่อนผมมันไม่ช่วยงานเลย ผมต้องมาซื้อของเข้าร้านคนเดียวตลอด เหนื่อยแถมไม่ได้ตังค์อีก"

"ดูสิพี่! ร้านไม่เข้า แต่มาถึงสั่งลูกเดียว ลูกน้องบ่นระนาว จะออกหลายคนแล้ว"

"เพื่อนผมเอาญาติมาทำงานด้วย ท่าทางไม่น่าไว้ใจเลยพี่ ทำไงดี?"

ตอนนี้ผมจะมาบอกถึงหลายๆสาเหตุที่คนส่วนใหญ่ที่ทำแล้วเจ๊ง หรือกำไรน้อยมากๆ จนอาจจะไม่คุ้มค่าเหนื่อย กันนะครับ

บทเรียนที่1: จำนวนหุ้นส่วนเยอะเกินไป

การทำธุรกิจอะไรก็ตามสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ "ความเอาใจใส่ (Concentration/Focus)" และ "ความชอบในสิ่งที่ทำ (Passion)" แน่นอนเมื่อคุณขาดสองสิ่งสำคัญดังกล่าว ความสำเร็จของธุรกิจก็เป็นไปได้ยาก

บางร้านที่มาขอคำปรึกษาจากผม มีหุ้นส่วนกันเกือบ 10 คน บางร้านมากกว่า 10 เสียด้วยซ้ำ บางทีจำนวนก็เป็นปัญหานึง แต่สัดส่วนก็เป็นปัญหาเช่นกันหากทุกๆคนมีสัดส่วนพอๆกัน คุณลองจินตนาการเวลาประชุมผู้ถือหุ้นสิครับ ความวุ่นวายจะมากขนาดไหน ถ้าร้านมีกำไรก็ดีไปไม่ต้องควักเนื้อ แต่ถ้า "ขาดทุน" ล่ะ เมื่อนั้นเพื่อนก็เพื่อนเถอะ เสียเพื่อนกันมาเยอะแล้ว

การที่หุ้นส่วนมากเกินไปและ/หรือสัดส่วนหุ้นพอๆกัน ทำให้ตัวพื้นฐานธุรกิจนั้นอาจจะเกิดการขาดความเอาใจใส่ และความแตกต่างด้านความคิดความชอบ
ตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือ ช่วงแรกหุ้นส่วนจะเข้ามาใช้บริการในร้าน ผลัดกันเฝ้าผลัดกันดู เห็นอะไรไม่ดีก็ปรับปรุง ฟังๆดูเหมือนจะดี แต่ปรากฏว่าลูกน้องไม่รู้จะฟังใคร คนนั้นบอกอย่าง คนนี้บอกอีกอย่าง เจ้าของด้วยกันทั้งนั้น และแน่นอน พอเหตุการณ์เกิดขึ้นบ่อยๆ ลูกน้องและหุ้นส่วนเริ่มเกิดความเบื่อหน่ายมากขึ้น ทำให้แต่ละคนเริ่มออกห่างหรือทะเลาะเบาะแว้งกัน เป็นผลให้ความเอาใจใส่ในธุรกิจก็น้อยลง เพราะมัวแต่จะเอาชนะในความคิดของตัวเองซะมากกว่า

เหตุการณ์ถัดมา พอหุ้นส่วนเข้าไปร้านบ่อยๆก็เริ่มเบื่อ เพราะคนเราถ้าไม่ได้รักในสิ่งที่ทำจริงๆ ไม่มีใครทำอะไรซ้ำๆได้นานหรอกครับ หลังๆเริ่มไม่เข้า อ้างป่วยบ้าง แฟนตาม ติดงาน สารพัดร้อยแปดข้อแก้ตัว ทีนี้คนอื่นก็ต้องสลับมาดูแทนด้วยความเป็นห่วง ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีที่หุ้น่สวนทุกคนมีงานประจำของตัวเอง ไม่มีเวลามานั่งเฝ้าได้ทุกวัน ถ้าหากร้านไม่มีกำไรมากมาย ที่จะให้ออกจากงานประจำมาทำเต็มตัวนั้น ผลตอบแทนในการบริหารก็อาจจะไม่คุ้มเวลาที่เสียไป ทำให้หุ้นส่วนต่างๆเริ่มเกิดความเบื่อหน่าย ดังนั้น ณ จุดนี้ คุณอาจจะเริ่มไม่ชอบในสิ่งที่ทำอยู่แล้ว

* ทางแก้ของคนที่เกิดสถานการณ์แบบนี้นะครับ

1. จัดสรรการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นทุกคนใหม่ ควรจะมีหุ้นใหญ่ที่ได้รับความเชื่อถือและมีสิทธิ์เด็ดขาดในการบริหาร มากกว่าถือหุ้นเท่าๆกันทุกคน แต่ไม่ได้หมายความหุ้นเล็กจะไม่สามารถตรวจสอบการทำงานหรือแนะนำอะไรไม่ได้นะครับ

2. จัดทำแผนธุรกิจ และ Budget ให้ชัดเจน ควรจัดให้มีการประชุมให้ผู้ถือหุ้นอยู่เสมอ เพราะเมื่อมีการลงทุนร่วมกันแล้ว ผู้ถือหุ้นทุกคนควรได้รับข้อมูลในทุกๆด้าน ไม่ว่าด้านการบริหาร การเงิน และอื่นๆ อย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงสามารถมีสิทธิ์ในการออกเสียงและให้คำแนะนำในประเด็นใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับร้านได้

3. ควรมีค่าตอบแทนให้กับผู้ที่ทำการบริหาร เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป โดยอาจจะกำหนดในลักษณะของ Incentive จากเป้าของยอดขาย นอกเหนือจากเงินปันผล

4. ควรมองโลกในแง่ดี การทำธุรกิจร่วมกัน ในรายละเอียดย่อมมีความเห็นไม่สอดคล้องกันอยู่แล้วในบางครั้ง ผมแนะนำให้ทุกคนมองในแง่ดีและเพียงตรวจสอบในส่วนของ Budget และแผนธุรกิจว่ามีการดำเนินการไปตามระยะเวลาและได้ผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ มากกว่าที่จะมัวจ้องจับผิดกันและกัน

ผมแชร์ประสบการณืตรงที่เคยเจอมานะครับ ยินดีน้อมรับคำติชม ถ้าชอบช่วย like ช่วย share ด้วยนะครับ

Cr. https://www.facebook.com/restaurantcreator?ref=aymt_homepage_panel

‪#‎ChefRemy‬
‪#‎เรื่องเล่าร้านอาหาร‬
‪#‎FoodConsultant‬
‪#‎TheRestaurantMaker‬
‪#‎TheBarMaker‬
‪#‎FoodAdvisor‬
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่