เอเจนซีส์ - โฟล์คสวาเกน ยักษ์ใหญ่รถสัญชาติเยอรมัน แถลงยอมรับในวันอังคาร (22 ก.ย.) ว่า รถยนต์ติดเครื่องดีเซลที่บริษัทผลิตส่งขายไปทั่วโลกจำนวนถึง 11 ล้านคัน มีการติดตั้งอุปกรณ์ซึ่งสามารถโกงการทดสอบไอเสียได้ ทำให้กรณีอื้อฉาวเรื่องนี้มีขนาดใหญ่โตมโหฬารกว่าที่รับทราบกันในตอนแรกมากมาย และยิ่งเป็นแรงกดดันให้มีการเทขายหุ้นของบริษัทจนมูลค่าตามราคาตลาดหดหายไปถึง 1 ใน 3 แล้ว ขณะเดียวกันยังกำลังคุกคามให้มีการเปลี่ยนตัวซีอีโอด้วย
ก่อนหน้าการสารภาพล่าสุดของโฟล์คสวาเกนไม่นาน เกาหลีใต้เพิ่งประกาศเตรียมดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้ ขณะที่รัฐมนตรีฝรั่งเศสก็เรียกร้องให้มีการตรวจรถทั่วยุโรป ด้านกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยังขยายผล ด้วยการเปิดสอบสวนคดีอาญาต่อค่ายรถอันดับ 1 ของยุโรปรายนี้ด้วย ทำให้บริษัทต้องเร่งแถลงว่า กำลังจัดเตรียมเงินสำรองในไตรมาส 3 ปีนี้เอาไว้ 6,500 ล้านยูโร (ราว 266,500 ล้านบาท) เพื่อใช้รับมือกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีอื้อฉาว
ทางด้านหุ้นของโฟล์คสวาเกน ซึ่งดำดิ่งลง 17% แล้วเมื่อวันจันทร์ (21) ได้ตกวูบลงมาอีก 23% ระหว่างการซื้อขายในตลาดแฟรงเฟิร์ตวันอังคาร (22) โดยลงลึกจนเหลือหุ้นละ 101.30 ยูโร ขณะที่ผู้ผลิตรถยักษ์ใหญ่รายนี้ส่งรายงานแจ้งเรื่องใหม่ๆ ต่อตลาดหลายๆ เรื่อง รวมทั้งคำเตือนว่าจะต้องลดการคาดการณ์ผลกำไรลงมา
เมื่อตอนที่การโกงทดสอบไอเสียถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนครั้งแรกในวันศุกร์ (18) สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (อีพีเอ) ร่วมกับหน่วยงานสิ่งแวดล้อมในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย แถลงว่า มีรถยนต์ใช้เครื่องดีเซลราว 482,000 คันซึ่งผลิตในสหรัฐฯโดยกลุ่มโฟล์กสวาเกน เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยครอบคลุมทั้งแบรนด์ ออดี้ ในรุ่น เอ 3 และแบรนด์โฟล์ค รุ่น เจ็ตตา, บีทเทิล, กอล์ฟ, และพาสสาท
ทั้งนี้วิธีโกงดังกล่าวนี้ โฟล์คสวาเกนยอมรับว่าได้ติดตั้งซอฟต์แวร์พิเศษในรถดังกล่าว โดยที่ซอฟต์แวร์นี้จะปิดระบบควบคุมมลพิษระหว่างที่มีการขับขี่ตามปกติ และเปิดต่อเมื่อตรวจพบว่ารถกำลังถูกตรวจสอบการปล่อยไอเสียเท่านั้น
เท่ากับว่า ระหว่างที่ระบบควบคุมมลพิษถูกปิดใช้งาน รถเหล่านั้นอาจปล่อยมลพิษ ซึ่งรวมถึงไนโตรเจนออกไซด์ เข้าสู่อากาศในปริมาณสูงถึง 40 เท่าของมาตรฐานการปล่อยไอเสีย
โฟล์คสวาเกนระบุในคำแถลงในวันอังคาร (22) ว่า “จากการขยายการสอบสวนภายในบริษัท พบว่าซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องนี้ยังถูกติดตั้งในยานยนต์ใช้เครื่องดีเซลคันอื่นๆ” รวมแล้วอยู่ในราวๆ 11 ล้านคันทั่วโลก
ภายหลังถูกอีพีเอเปิดโปงในวันศุกร์ ผู้ผลิตรถยต์รายใหญ่ที่สุดของโลกในแง่ยอดขายประจำครึ่งแรกของปี 2015 รายนี้ ได้สั่งระงับการจำหน่ายรถยนต์เครื่องดีเซลทั้งหมดในอเมริกา ในระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยคาดกันว่าบริษัทอาจถูกอีพีเอสั่งปรับเป็นเงิน 18,000 ล้านดอลลาร์ รวมถึงการถูกฟ้องร้องหมู่จากผู้ซื้อ และการเสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างสาหัส
ต่อมาในวันจันทร์(21) อีพีเอประกาศขยายการตรวจสอบไปยังค่ายรถอื่นๆ ขณะที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เริ่มต้นสอบสวนคดีอาญาต่อโฟล์คสวาเกน
ทางด้าน มิเชล ซาแปง รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศส เรียกร้องในวันอังคาร (22) ให้มีการตรวจสอบค่ายรถยนต์ทั้งหมดทั่วสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อให้มั่นใจว่า ประชาชนไม่ได้ถูกรมมลพิษจากรถ
ขณะนี้ ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่า บริษัทรถแห่งอื่นๆ มีส่วนร่วมกับแนวทางปฏิบัติของโฟล์คสวาเกนหรือไม่ โดยค่ายรถร่วมชาติอย่างบีเอ็มดับเบิลยูและเดมเลอร์-เบนซ์ ต่างยืนยันว่า ข้อกล่าวหาต่อโฟล์คไม่เกี่ยวข้องกับตน
ที่เยอรมนีซึ่งรัฐบาลประกาศเปิดการตรวจสอบว่า โฟล์คสวาเกนและบริษัทรถแห่งอื่นๆ ใช้วิธีการฉ้อฉลดังกล่าวในเมืองเบียร์หรือยุโรปหรือไม่ รัฐมนตรีคมนาคม อเล็กซานเดอร์ โดบรินด์ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์บิลด์ว่า ได้ขอให้สำนักงานขนส่งของรัฐบาลตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญอิสระทำการทดสอบรถยนต์ดีเซลทั้งหมดของโฟล์คสวาเกนทันที
อย่างไรก็ตาม ซิกมาร์ เกเบรียล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเศรษฐกิจเยอรมนี แสดงความเชื่อมั่นว่า โฟล์คสวาเกนจะสะสางเรื่องอื้อฉาวนี้อย่างรวดเร็วและละเอียดถี่ถ้วน และยังมั่นใจว่า ชื่อเสียงเทคโนโลยี “เมด อิน เยอรมนี” จะไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้
ขณะเดียวกัน วิธีการทดสอบของผู้ผลิตรถยนต์กำลังถูกจับตามองจากผู้คุมกฎทั่วโลก ท่ามกลางการร้องเรียนจากกลุ่มปกป้องสิ่งแวดล้อมว่า บริษัทเหล่านั้นใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายเพื่อโอ้อวดเกินจริงเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการประหยัดเชื้อเพลิงและการปล่อยมลพิษ
วันอังคารเช่นกัน พัค ปันคิว รองปลัดกระทรวงสิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้เผยว่า จะตรวจสอบรถเจ็ตตา, กอล์ฟ และออดี้ เอ3 ราว 4,000-5,000 คันที่ผลิตในปี 2014-2015 และกระทรวงอาจพิจารณาสั่งบริษัทเรียกคืนรถเหล่านั้นมาซ่อมแซมแก้ไข หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจสอบ
พัคเสริมว่า หากตรวจพบปัญหาในรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลของโฟล์คสวาเกน ก็อาจมีการขยายผลตรวจรถประเภทเดียวกันของบริษัทของเยอรมันทั้งหมด
เจ้าหน้าที่อาวุโสอีกคนหนึ่งของกระทรวงสิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ยังเผยว่า ได้มีการเรียกตัวแทนจากโฟล์คสวาเกนมาอธิบายปัญหานี้เมื่อวันอังคาร และว่า กระทรวงจะเริ่มการตรวจสอบไม่เกินต้นเดือนหน้า
นอกจากนั้น สำนักงานทางหลวงของสวิตเซอร์แลนด์ระบุว่า กำลังตรวจสอบว่า รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลของโฟล์คสวาเกนที่จำหน่ายในอเมริกา มีการนำเข้าไปขายในสวิตเซอร์แลนด์หรือไม่ ซึ่งจะรู้ผลภายในไม่กี่วันนี้
ในส่วนของโฟล์คสวาเกนเอง คณะกรรมการกำกับดูแลของบริษัทมีกำหนดประชุมกันในวันพุธ (23) เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ก่อนที่คณะกรรมการเต็มคณะจะพบกันในวันศุกร์ (25) ซึ่งเป็นกำหนดการพิจารณาว่า จะต่อสัญญาให้มาร์ติน วินเทอร์คอร์น รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ต่อไปจนสิ้นปี 2018 หรือไม่
นักวิเคราะห์บางคนแนะให้วินเทอร์คอร์นลาออก เนื่องจากเขาดูแลงานด้านการปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา และเคยบริหารแบรนด์โฟล์คสวาเกนระหว่างปี 2007-2015 ซึ่งคาบเกี่ยวช่วงเวลาที่รถบางรุ่นของบริษัทถูกเปิดเผยว่า ละเมิดกฎสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ
อานต์ เอลลิงฮอร์สต์ นักวิเคราะห์ของเอเวอร์คอร์ ไอเอสไอ มองว่า วินเทอร์คอร์นอาจจะรู้ หรืออาจจะไม่ได้รับรายงานเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอเมริกา ซึ่งถ้าเป็นในกรณีแรก เขาต้องลาออกทันที แต่ถ้าเป็นกรณีหลัง คงต้องตรวจสอบว่า เหตุใดจึงไม่มีการรายงานเกี่ยวกับการละเมิดกฎซึ่งส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อผู้บริหารระดับสูง
ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์เคยหวังว่า ชัยชนะของวินเทอร์คอร์นจากการขับเคี่ยวชิงอำนาจกับ เฟอร์ดินันด์ พีช ที่นั่งเก้าอี้ประธานกรรมการโฟล์คสวาเกนมายาวนานนั้น จะทำให้เขาสามารถทุ่มเทกับธุรกิจในอเมริกาเหนือที่มีผลงานย่ำแย่ รวมถึงปัญหาดีมานด์ตกต่ำในจีน ซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่ทำกำไรให้บริษัท
ที่มา
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000107281
............................
งานนี้ ค่ายรถอื่นๆยิ้มเลย ส้มหล่น แท้ๆ
ส่วนโพล์ด โดนเต็มๆ จ่ายค่าปรับอ่วมแน่ๆ
ในไทยเรา จะมีเรียกรถคืน บ้างหรือเปล่านะ
'โฟล์ค'รับ'รถโกงวัดมลพิษ'11ล้านคัน ทั่วโลกเร่งตรวจ-เล็งสอบ'ค่ายอื่น'ด้วย
เอเจนซีส์ - โฟล์คสวาเกน ยักษ์ใหญ่รถสัญชาติเยอรมัน แถลงยอมรับในวันอังคาร (22 ก.ย.) ว่า รถยนต์ติดเครื่องดีเซลที่บริษัทผลิตส่งขายไปทั่วโลกจำนวนถึง 11 ล้านคัน มีการติดตั้งอุปกรณ์ซึ่งสามารถโกงการทดสอบไอเสียได้ ทำให้กรณีอื้อฉาวเรื่องนี้มีขนาดใหญ่โตมโหฬารกว่าที่รับทราบกันในตอนแรกมากมาย และยิ่งเป็นแรงกดดันให้มีการเทขายหุ้นของบริษัทจนมูลค่าตามราคาตลาดหดหายไปถึง 1 ใน 3 แล้ว ขณะเดียวกันยังกำลังคุกคามให้มีการเปลี่ยนตัวซีอีโอด้วย
ก่อนหน้าการสารภาพล่าสุดของโฟล์คสวาเกนไม่นาน เกาหลีใต้เพิ่งประกาศเตรียมดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้ ขณะที่รัฐมนตรีฝรั่งเศสก็เรียกร้องให้มีการตรวจรถทั่วยุโรป ด้านกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยังขยายผล ด้วยการเปิดสอบสวนคดีอาญาต่อค่ายรถอันดับ 1 ของยุโรปรายนี้ด้วย ทำให้บริษัทต้องเร่งแถลงว่า กำลังจัดเตรียมเงินสำรองในไตรมาส 3 ปีนี้เอาไว้ 6,500 ล้านยูโร (ราว 266,500 ล้านบาท) เพื่อใช้รับมือกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีอื้อฉาว
ทางด้านหุ้นของโฟล์คสวาเกน ซึ่งดำดิ่งลง 17% แล้วเมื่อวันจันทร์ (21) ได้ตกวูบลงมาอีก 23% ระหว่างการซื้อขายในตลาดแฟรงเฟิร์ตวันอังคาร (22) โดยลงลึกจนเหลือหุ้นละ 101.30 ยูโร ขณะที่ผู้ผลิตรถยักษ์ใหญ่รายนี้ส่งรายงานแจ้งเรื่องใหม่ๆ ต่อตลาดหลายๆ เรื่อง รวมทั้งคำเตือนว่าจะต้องลดการคาดการณ์ผลกำไรลงมา
เมื่อตอนที่การโกงทดสอบไอเสียถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนครั้งแรกในวันศุกร์ (18) สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ (อีพีเอ) ร่วมกับหน่วยงานสิ่งแวดล้อมในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย แถลงว่า มีรถยนต์ใช้เครื่องดีเซลราว 482,000 คันซึ่งผลิตในสหรัฐฯโดยกลุ่มโฟล์กสวาเกน เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยครอบคลุมทั้งแบรนด์ ออดี้ ในรุ่น เอ 3 และแบรนด์โฟล์ค รุ่น เจ็ตตา, บีทเทิล, กอล์ฟ, และพาสสาท
ทั้งนี้วิธีโกงดังกล่าวนี้ โฟล์คสวาเกนยอมรับว่าได้ติดตั้งซอฟต์แวร์พิเศษในรถดังกล่าว โดยที่ซอฟต์แวร์นี้จะปิดระบบควบคุมมลพิษระหว่างที่มีการขับขี่ตามปกติ และเปิดต่อเมื่อตรวจพบว่ารถกำลังถูกตรวจสอบการปล่อยไอเสียเท่านั้น
เท่ากับว่า ระหว่างที่ระบบควบคุมมลพิษถูกปิดใช้งาน รถเหล่านั้นอาจปล่อยมลพิษ ซึ่งรวมถึงไนโตรเจนออกไซด์ เข้าสู่อากาศในปริมาณสูงถึง 40 เท่าของมาตรฐานการปล่อยไอเสีย
โฟล์คสวาเกนระบุในคำแถลงในวันอังคาร (22) ว่า “จากการขยายการสอบสวนภายในบริษัท พบว่าซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องนี้ยังถูกติดตั้งในยานยนต์ใช้เครื่องดีเซลคันอื่นๆ” รวมแล้วอยู่ในราวๆ 11 ล้านคันทั่วโลก
ภายหลังถูกอีพีเอเปิดโปงในวันศุกร์ ผู้ผลิตรถยต์รายใหญ่ที่สุดของโลกในแง่ยอดขายประจำครึ่งแรกของปี 2015 รายนี้ ได้สั่งระงับการจำหน่ายรถยนต์เครื่องดีเซลทั้งหมดในอเมริกา ในระหว่างการตรวจสอบของสำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยคาดกันว่าบริษัทอาจถูกอีพีเอสั่งปรับเป็นเงิน 18,000 ล้านดอลลาร์ รวมถึงการถูกฟ้องร้องหมู่จากผู้ซื้อ และการเสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างสาหัส
ต่อมาในวันจันทร์(21) อีพีเอประกาศขยายการตรวจสอบไปยังค่ายรถอื่นๆ ขณะที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เริ่มต้นสอบสวนคดีอาญาต่อโฟล์คสวาเกน
ทางด้าน มิเชล ซาแปง รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศส เรียกร้องในวันอังคาร (22) ให้มีการตรวจสอบค่ายรถยนต์ทั้งหมดทั่วสหภาพยุโรป (อียู) เพื่อให้มั่นใจว่า ประชาชนไม่ได้ถูกรมมลพิษจากรถ
ขณะนี้ ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่า บริษัทรถแห่งอื่นๆ มีส่วนร่วมกับแนวทางปฏิบัติของโฟล์คสวาเกนหรือไม่ โดยค่ายรถร่วมชาติอย่างบีเอ็มดับเบิลยูและเดมเลอร์-เบนซ์ ต่างยืนยันว่า ข้อกล่าวหาต่อโฟล์คไม่เกี่ยวข้องกับตน
ที่เยอรมนีซึ่งรัฐบาลประกาศเปิดการตรวจสอบว่า โฟล์คสวาเกนและบริษัทรถแห่งอื่นๆ ใช้วิธีการฉ้อฉลดังกล่าวในเมืองเบียร์หรือยุโรปหรือไม่ รัฐมนตรีคมนาคม อเล็กซานเดอร์ โดบรินด์ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์บิลด์ว่า ได้ขอให้สำนักงานขนส่งของรัฐบาลตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญอิสระทำการทดสอบรถยนต์ดีเซลทั้งหมดของโฟล์คสวาเกนทันที
อย่างไรก็ตาม ซิกมาร์ เกเบรียล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเศรษฐกิจเยอรมนี แสดงความเชื่อมั่นว่า โฟล์คสวาเกนจะสะสางเรื่องอื้อฉาวนี้อย่างรวดเร็วและละเอียดถี่ถ้วน และยังมั่นใจว่า ชื่อเสียงเทคโนโลยี “เมด อิน เยอรมนี” จะไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้
ขณะเดียวกัน วิธีการทดสอบของผู้ผลิตรถยนต์กำลังถูกจับตามองจากผู้คุมกฎทั่วโลก ท่ามกลางการร้องเรียนจากกลุ่มปกป้องสิ่งแวดล้อมว่า บริษัทเหล่านั้นใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายเพื่อโอ้อวดเกินจริงเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการประหยัดเชื้อเพลิงและการปล่อยมลพิษ
วันอังคารเช่นกัน พัค ปันคิว รองปลัดกระทรวงสิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้เผยว่า จะตรวจสอบรถเจ็ตตา, กอล์ฟ และออดี้ เอ3 ราว 4,000-5,000 คันที่ผลิตในปี 2014-2015 และกระทรวงอาจพิจารณาสั่งบริษัทเรียกคืนรถเหล่านั้นมาซ่อมแซมแก้ไข หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจสอบ
พัคเสริมว่า หากตรวจพบปัญหาในรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลของโฟล์คสวาเกน ก็อาจมีการขยายผลตรวจรถประเภทเดียวกันของบริษัทของเยอรมันทั้งหมด
เจ้าหน้าที่อาวุโสอีกคนหนึ่งของกระทรวงสิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ยังเผยว่า ได้มีการเรียกตัวแทนจากโฟล์คสวาเกนมาอธิบายปัญหานี้เมื่อวันอังคาร และว่า กระทรวงจะเริ่มการตรวจสอบไม่เกินต้นเดือนหน้า
นอกจากนั้น สำนักงานทางหลวงของสวิตเซอร์แลนด์ระบุว่า กำลังตรวจสอบว่า รถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลของโฟล์คสวาเกนที่จำหน่ายในอเมริกา มีการนำเข้าไปขายในสวิตเซอร์แลนด์หรือไม่ ซึ่งจะรู้ผลภายในไม่กี่วันนี้
ในส่วนของโฟล์คสวาเกนเอง คณะกรรมการกำกับดูแลของบริษัทมีกำหนดประชุมกันในวันพุธ (23) เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ก่อนที่คณะกรรมการเต็มคณะจะพบกันในวันศุกร์ (25) ซึ่งเป็นกำหนดการพิจารณาว่า จะต่อสัญญาให้มาร์ติน วินเทอร์คอร์น รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ต่อไปจนสิ้นปี 2018 หรือไม่
นักวิเคราะห์บางคนแนะให้วินเทอร์คอร์นลาออก เนื่องจากเขาดูแลงานด้านการปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา และเคยบริหารแบรนด์โฟล์คสวาเกนระหว่างปี 2007-2015 ซึ่งคาบเกี่ยวช่วงเวลาที่รถบางรุ่นของบริษัทถูกเปิดเผยว่า ละเมิดกฎสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ
อานต์ เอลลิงฮอร์สต์ นักวิเคราะห์ของเอเวอร์คอร์ ไอเอสไอ มองว่า วินเทอร์คอร์นอาจจะรู้ หรืออาจจะไม่ได้รับรายงานเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอเมริกา ซึ่งถ้าเป็นในกรณีแรก เขาต้องลาออกทันที แต่ถ้าเป็นกรณีหลัง คงต้องตรวจสอบว่า เหตุใดจึงไม่มีการรายงานเกี่ยวกับการละเมิดกฎซึ่งส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อผู้บริหารระดับสูง
ก่อนหน้านี้ นักวิเคราะห์เคยหวังว่า ชัยชนะของวินเทอร์คอร์นจากการขับเคี่ยวชิงอำนาจกับ เฟอร์ดินันด์ พีช ที่นั่งเก้าอี้ประธานกรรมการโฟล์คสวาเกนมายาวนานนั้น จะทำให้เขาสามารถทุ่มเทกับธุรกิจในอเมริกาเหนือที่มีผลงานย่ำแย่ รวมถึงปัญหาดีมานด์ตกต่ำในจีน ซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่ทำกำไรให้บริษัท
ที่มา http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000107281
............................
งานนี้ ค่ายรถอื่นๆยิ้มเลย ส้มหล่น แท้ๆ
ส่วนโพล์ด โดนเต็มๆ จ่ายค่าปรับอ่วมแน่ๆ
ในไทยเรา จะมีเรียกรถคืน บ้างหรือเปล่านะ