1. นายแพทย์ธงชัย ทวิชาชาติ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) กล่าวว่า ตามที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของไทย ภายใต้โครงการเภสัชพันธุศาสตร์ (Pharmacogenomices) ที่ TCELS ให้การสนับสนุน โดยความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์พันธุกรรมมนุษย์ (Riken) มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ภายหลังจากที่โครงการฯ ส่งทันตแพทย์หญิงสรนันทร์ จันทรางศุ ไปร่วมศึกษาการตรวจวิเคราะห์ยีนที่ Riken เป็นที่น่ายินดีว่าได้มีการค้นพบยีนที่สัมพันธ์ต่อการแพ้ยาเนวิราปิน ยาต้านไวรัสเอดส์ ซึ่งจะสามารถตรวจผู้ติดเชื้อเอดส์ว่าจะแพ้ยาตัวนี้หรือไม่ก่อนการจ่ายยาให้คนไข้ ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลก โดย TCELS จะพิจารณาจดสิทธิบัตรต่อไป
“การค้นพบครั้งนี้ยิ่งใหญ่มากเนื่องจากมีผู้ป่วยที่แพ้ยาเนวิราปิน ถึง 25% ของผู้ป่วยทั้งหมด และหากมีการพัฒนาเป็นชุดตรวจวินิจฉัย (Test Kit) จะส่งผลดีต่อผู้ป่วยโดยตรง เนื่องจากไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับการแพ้ยาและเกิดเชื้อดื้อยาอีกต่อไป และที่สำคัญสามารถลดค่าใช้จ่ายโดยรวมได้จำนวนมหาศาล และในเดือนมกราคมปีหน้า TCELS ได้เชิญ ศ.ดร.ยูซุเกะ นากามูระ ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชพันธุศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์พันธุกรรมมนุษย์ ประเทศญี่ปุ่น มาบรรยายเรื่องดังกล่าวให้กับ นักวิทยาศาสตร์ไทยและผู้สนใจทั่วไปฟังอีกด้วย” ผอ.TCELS กล่าว
2. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกาศให้ APCOcap ซึ่งได้พัฒนาจากสารผสมเสริมฤทธิ์ของสารสกัดที่ได้จาก มังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่งและบัวบกของเป็นนวัตกรรมของชาติหลังได้รับการพิสูจน์เชิงวิทยาศาสตร์ว่าสามารถกระตุ้นเม็ดเลือดขาว T helper 17, T helper 1, T helper 9 และทดสอบเชิงคลินิกแล้วว่าสามารถเพิ่ม CD 4 ลดปริมาณไวรัส ขจัดผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านไวรัส แก้ไขอาการติดเชื้อฉวยโอกาส ใช้ได้อย่างต่อเนื่องระยะยาวปราศจากผลข้างเคียง สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
โดยศาสตราจารย์ พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation BIIM กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีการทดลองกับกลุ่มผู้ป่วยในภาคเหนือ ที่บ้านแม่ออน ที่อำเภอสารภีและดอยสะเก็ด รวมถึงเด็กติดเชื้อในบ้านแกร์ด้า จ.ลพบุรี ผลปรากฎว่า สามารถเพิ่ม CD 4 ได้ร้อยละ 32 ภายใน 3 เดือน เพิ่มขึ้นรัอยละ 59 ภายใน 6 เดือน และภายใน 1 ปี เฉลี่ยร้อยละ 67
โดยในกรณีศึกษาในผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้ใช้ยาต้าน พบว่ามี CD 4 อยู่ในระดับปกติและจำนวนไวรัสลดลงต่ำกว่า 40 copies/ml. ภายใน 1 ปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กองข่าวไอทีและนวัตกรรม
Report : LIV Capsule
นักวิทยาศาสตร์ไทย กับ ผลงานวิจัยเกี่ยวกับ HIV
“การค้นพบครั้งนี้ยิ่งใหญ่มากเนื่องจากมีผู้ป่วยที่แพ้ยาเนวิราปิน ถึง 25% ของผู้ป่วยทั้งหมด และหากมีการพัฒนาเป็นชุดตรวจวินิจฉัย (Test Kit) จะส่งผลดีต่อผู้ป่วยโดยตรง เนื่องจากไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับการแพ้ยาและเกิดเชื้อดื้อยาอีกต่อไป และที่สำคัญสามารถลดค่าใช้จ่ายโดยรวมได้จำนวนมหาศาล และในเดือนมกราคมปีหน้า TCELS ได้เชิญ ศ.ดร.ยูซุเกะ นากามูระ ผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชพันธุศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์พันธุกรรมมนุษย์ ประเทศญี่ปุ่น มาบรรยายเรื่องดังกล่าวให้กับ นักวิทยาศาสตร์ไทยและผู้สนใจทั่วไปฟังอีกด้วย” ผอ.TCELS กล่าว
2. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประกาศให้ APCOcap ซึ่งได้พัฒนาจากสารผสมเสริมฤทธิ์ของสารสกัดที่ได้จาก มังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่งและบัวบกของเป็นนวัตกรรมของชาติหลังได้รับการพิสูจน์เชิงวิทยาศาสตร์ว่าสามารถกระตุ้นเม็ดเลือดขาว T helper 17, T helper 1, T helper 9 และทดสอบเชิงคลินิกแล้วว่าสามารถเพิ่ม CD 4 ลดปริมาณไวรัส ขจัดผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านไวรัส แก้ไขอาการติดเชื้อฉวยโอกาส ใช้ได้อย่างต่อเนื่องระยะยาวปราศจากผลข้างเคียง สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเชื้อ HIV
โดยศาสตราจารย์ พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation BIIM กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีการทดลองกับกลุ่มผู้ป่วยในภาคเหนือ ที่บ้านแม่ออน ที่อำเภอสารภีและดอยสะเก็ด รวมถึงเด็กติดเชื้อในบ้านแกร์ด้า จ.ลพบุรี ผลปรากฎว่า สามารถเพิ่ม CD 4 ได้ร้อยละ 32 ภายใน 3 เดือน เพิ่มขึ้นรัอยละ 59 ภายใน 6 เดือน และภายใน 1 ปี เฉลี่ยร้อยละ 67
โดยในกรณีศึกษาในผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้ใช้ยาต้าน พบว่ามี CD 4 อยู่ในระดับปกติและจำนวนไวรัสลดลงต่ำกว่า 40 copies/ml. ภายใน 1 ปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กองข่าวไอทีและนวัตกรรม
Report : LIV Capsule