'เหตุผลที่ Dislike จะทำให้ Facebook เจ๊งได้' : คอลัมน์ Digital Master โดย... นิวัฒน์ ชาตะวิทยากูล
เรื่องปุ่ม Dislike ในความหมายว่าไม่ชอบ ตรงกันข้ามกับ Like ถูกถามมานานว่า Facebook ในวันที่มีปุ่ม Like จนประสบความสำเร็จเป็นสัญลักษณ์ของ Facebook ที่ใครๆ ต่างก็จดจำได้ แต่ในมุมหนึ่งการที่มีแค่ปุ่มไลค์ กับสถานการณ์บางอย่างนั้นมันไม่เหมาะนัก เมื่อสเตตัสเสียใจ เรื่องเศร้าการกด Like ดูจะขัดแย้งซักหน่อยกลายเป็นว่า Like ในความหมายว่าชอบ นั้นเปลี่ยนไปเป็นการแสดงความหมายในเชิงรับรู้รับทราบมากกว่า
นั่นก็น่าจะเพียงพอที่ Facebook จะเพิ่มปุ่มอีกปุ่มเพื่อให้ทุกคนทั่วโลกสามารถกด Dislike ได้ในสถานการณ์ที่เป็นลบ ซึ่งดูจะเหมาะสมกว่า แต่การ Dislike นั้นเป็นดาบสองคม เพราะสามารถนำไปใช้ในการแสดงการไม่ยอมรับได้ ซึ่งใครอยากได้การไม่ยอมรับบ้าง คำตอบคือไม่มี
Facebook นั้นประสบความสำเร็จจากการเป็นสังคมออนไลน์ที่ช่วยตอบโจทย์ความต้องการของคนที่ได้มีพื้นที่แสดงการมีตัวตนในกลุ่มสังคมซึ่งหลายคนไม่มีในชีวิตจริง หรือตอบโจทย์ในวันที่ชีวิตเร่งรีบกว่าเดิมจนลดทอนเวลาพบปะสังสรรค์เพื่อฝูงญาติมิตรไป นั่นคือ Facebook เติมเต็มความรู้สึกว่ายังอยู่ในสังคม (Self-Fulfillment) การได้ Like ช่วยทำให้ผู้ใช้รู้สึกถึงคุณค่าของตัวเองในสังคม
จะเกิดอะไรถ้ามีปุ่มที่ลดคุณค่าของผู้ใช้ไป มันจะให้เกิดความรู้สึกด้อยต่อความรู้สึกตัวเอง ลดคุณค่าในพื้นที่สังคม ซึ่งจริงอยู่ครับว่า มันไม่ได้มีความหมายในชีวิตจริงขนาดนั้นแต่ในวุฒิภาวะที่ไม่เท่ากัน ไม่ใช่ทุกคนที่แยกแยะได้ Facebook เป็นยาแก้เหงาของคนยุคนี้ ถ้ามันไม่ช่วยแก้เหงาแถมยังลดคุณค่าทางความรู้สึกอีก คงต้องย้ายไปเล่นอย่างอื่น ไม่ต่างการเขียน Blog ที่ยุคหนึ่งทุกคนอยากเขียน Blog เพื่อเขียนถึงเรื่องราวให้คนอื่นได้อ่าน แต่ท้ายที่สุดเมื่อไม่มีใครอ่าน ก็เลิก เพราะการไม่มีใครอ่านก็เหมือนกันกับการไม่ได้รับคุณค่า
ทุกวันนี้เราโพสต์ สเตตัส Facebook ด้วยกิเลสเสียส่วนใหญ่ “กิเลสที่อยากได้การยอมรับจากผู้อื่น” “อยากให้ใครก็ได้ยอมรับ” ทำให้บางครั้งนั้นเป็นการโอ้อวดแบบไร้สติ เราก็จะเขียนเรื่องที่ทำให้ตัวเองดูดี และไม่ลดคุณค่าของตัวเองสร้างเรื่องให้ดูดี เพื่อการยอมรับ "Like" สิ่งที่เติมเต็มความรู้สึก
ปุ่ม Dislike กำลังทำลายจิตวิทยาความต้องการส่วนนั้นของมนุษย์ไป เมื่อไม่ตอบโจทย์ความต้องการลึกๆ แล้วก็เลิกใช้หรือใช้น้อยลงในที่สุด
Facebook ก็อาจจะรู้เรื่องนี้นะครับ การทำปุ่ม Dislike นั้นมีผลกระทบในหลายๆ แง่มุมมากกว่านั้น เท่าที่ดู Dislike คงไม่มีแน่ๆ แต่จะเป็นการแสดงความรู้สึก เพื่อตอบโจทย์การแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจ ที่ปุ่ม Like ทำหน้าที่นั้นไม่ได้เต็มที่ ซึ่งนอกจากจะตอบโจทย์มุมนี้แล้วยังตอบโจทย์ในเรื่องการโฆษณาเพิ่มเติมเข้าไปครับ การที่ผู้ใช้ใส่ความรู้สึกไปใน Facebook ทำให้โฆษณา Facebook นอกจากจะแสดงโฆษณาตามความสนใจแล้ว จะสามารถเลือกโฆษณาตามความรู้สึกได้อีก ความลับที่ Facebook อาจจะไม่ได้บอกเรา
บทความจาก : คม ชัด ลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20150922/213771.html
'เหตุผลที่ Dislike จะทำให้ Facebook เจ๊งได้'
'เหตุผลที่ Dislike จะทำให้ Facebook เจ๊งได้' : คอลัมน์ Digital Master โดย... นิวัฒน์ ชาตะวิทยากูล
เรื่องปุ่ม Dislike ในความหมายว่าไม่ชอบ ตรงกันข้ามกับ Like ถูกถามมานานว่า Facebook ในวันที่มีปุ่ม Like จนประสบความสำเร็จเป็นสัญลักษณ์ของ Facebook ที่ใครๆ ต่างก็จดจำได้ แต่ในมุมหนึ่งการที่มีแค่ปุ่มไลค์ กับสถานการณ์บางอย่างนั้นมันไม่เหมาะนัก เมื่อสเตตัสเสียใจ เรื่องเศร้าการกด Like ดูจะขัดแย้งซักหน่อยกลายเป็นว่า Like ในความหมายว่าชอบ นั้นเปลี่ยนไปเป็นการแสดงความหมายในเชิงรับรู้รับทราบมากกว่า
นั่นก็น่าจะเพียงพอที่ Facebook จะเพิ่มปุ่มอีกปุ่มเพื่อให้ทุกคนทั่วโลกสามารถกด Dislike ได้ในสถานการณ์ที่เป็นลบ ซึ่งดูจะเหมาะสมกว่า แต่การ Dislike นั้นเป็นดาบสองคม เพราะสามารถนำไปใช้ในการแสดงการไม่ยอมรับได้ ซึ่งใครอยากได้การไม่ยอมรับบ้าง คำตอบคือไม่มี
Facebook นั้นประสบความสำเร็จจากการเป็นสังคมออนไลน์ที่ช่วยตอบโจทย์ความต้องการของคนที่ได้มีพื้นที่แสดงการมีตัวตนในกลุ่มสังคมซึ่งหลายคนไม่มีในชีวิตจริง หรือตอบโจทย์ในวันที่ชีวิตเร่งรีบกว่าเดิมจนลดทอนเวลาพบปะสังสรรค์เพื่อฝูงญาติมิตรไป นั่นคือ Facebook เติมเต็มความรู้สึกว่ายังอยู่ในสังคม (Self-Fulfillment) การได้ Like ช่วยทำให้ผู้ใช้รู้สึกถึงคุณค่าของตัวเองในสังคม
จะเกิดอะไรถ้ามีปุ่มที่ลดคุณค่าของผู้ใช้ไป มันจะให้เกิดความรู้สึกด้อยต่อความรู้สึกตัวเอง ลดคุณค่าในพื้นที่สังคม ซึ่งจริงอยู่ครับว่า มันไม่ได้มีความหมายในชีวิตจริงขนาดนั้นแต่ในวุฒิภาวะที่ไม่เท่ากัน ไม่ใช่ทุกคนที่แยกแยะได้ Facebook เป็นยาแก้เหงาของคนยุคนี้ ถ้ามันไม่ช่วยแก้เหงาแถมยังลดคุณค่าทางความรู้สึกอีก คงต้องย้ายไปเล่นอย่างอื่น ไม่ต่างการเขียน Blog ที่ยุคหนึ่งทุกคนอยากเขียน Blog เพื่อเขียนถึงเรื่องราวให้คนอื่นได้อ่าน แต่ท้ายที่สุดเมื่อไม่มีใครอ่าน ก็เลิก เพราะการไม่มีใครอ่านก็เหมือนกันกับการไม่ได้รับคุณค่า
ทุกวันนี้เราโพสต์ สเตตัส Facebook ด้วยกิเลสเสียส่วนใหญ่ “กิเลสที่อยากได้การยอมรับจากผู้อื่น” “อยากให้ใครก็ได้ยอมรับ” ทำให้บางครั้งนั้นเป็นการโอ้อวดแบบไร้สติ เราก็จะเขียนเรื่องที่ทำให้ตัวเองดูดี และไม่ลดคุณค่าของตัวเองสร้างเรื่องให้ดูดี เพื่อการยอมรับ "Like" สิ่งที่เติมเต็มความรู้สึก
ปุ่ม Dislike กำลังทำลายจิตวิทยาความต้องการส่วนนั้นของมนุษย์ไป เมื่อไม่ตอบโจทย์ความต้องการลึกๆ แล้วก็เลิกใช้หรือใช้น้อยลงในที่สุด
Facebook ก็อาจจะรู้เรื่องนี้นะครับ การทำปุ่ม Dislike นั้นมีผลกระทบในหลายๆ แง่มุมมากกว่านั้น เท่าที่ดู Dislike คงไม่มีแน่ๆ แต่จะเป็นการแสดงความรู้สึก เพื่อตอบโจทย์การแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจ ที่ปุ่ม Like ทำหน้าที่นั้นไม่ได้เต็มที่ ซึ่งนอกจากจะตอบโจทย์มุมนี้แล้วยังตอบโจทย์ในเรื่องการโฆษณาเพิ่มเติมเข้าไปครับ การที่ผู้ใช้ใส่ความรู้สึกไปใน Facebook ทำให้โฆษณา Facebook นอกจากจะแสดงโฆษณาตามความสนใจแล้ว จะสามารถเลือกโฆษณาตามความรู้สึกได้อีก ความลับที่ Facebook อาจจะไม่ได้บอกเรา
บทความจาก : คม ชัด ลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20150922/213771.html