ตั้งแต่สมัยเด็ก เรามักจะถูกฝึกให้จับผิด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจจับคำผิดเล็กๆ น้อยๆ ในประโยค ในรูป หรือในสมการก็ตาม และเมื่อเราจับผิดได้สำเร็จ เราก็มักจะได้รางวัลตอบแทนในในรูปแบบของเกรด หรือถ้าเด็กหน่อยก็อาจจะได้เป็นสแตมป์หรือสติ๊กเกอร์รูปดาวหรือหัวใจแทน (ย้อนวัยหน่อย ฮ่าๆ) แล้วถ้าเราตอบถูกในขณะที่เพื่อนเราตอบผิดล่ะ? โอ้โห แบบนั้นเราจะได้ความชื่นชมจากคุณครูไปอีกเต็มๆ ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดอุปนิสัยการจับผิดของเรา
เมื่อเราโตขึ้นมา เราทุกคนก็มักมีทักษะและอุปนิสัยของการจับผิดติดตัวมาด้วย แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าเราไม่สามารถควบคุมอุปนิสัยนี้ หรือใช้ทักษะนี้อย่างไม่ระมัดระวัง มันก็จะส่งผลเสียให้เราได้ โดยเฉพาะในเวลาที่เรากำลังอยู่ในบทสนทนาสำคัญต่างๆ ที่เราและอีกฝ่ายเห็นต่างกัน
การที่เราพยายามจับผิดอีกฝ่ายตลอดเวลา จะนำไปสู่การสนทนาที่แตกหัก และไม่ก้าวหน้า วันนี้ผมเลยจะมาสรุป 3 ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะทำให้บทสนทนาเป็นไปด้วยดี เมื่อเราเห็นต่างกับอีกฝ่ายครับ
เวลาที่ความคิดเห็นในบทสนทนาของแต่ละฝ่ายไม่ตรงกัน ผู้ที่ฉลาดพูด นั้นจะไม่เริ่มจากการบอกว่า
"ผมไม่เห็นด้วย!" หรือ
"ผิดละ!" แต่จะเริ่มหาสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วย (Agree) และจะเริ่มการสนทนาจากจุดนั้นก่อน เช่น
“ใช่ๆ ผมเห็นด้วยตรงที่คุณบอกว่า …….”
“ตรงที่คุณบอกว่า ……. ก็ถูก“
พอเห็นด้วยกันทุกจุดแล้ว ถ้าเขาเห็นว่าอีกฝ่ายยังไม่ได้นึกถึงบางอย่างที่สำคัญ เขาค่อย
เสริม (Build) ความคิดที่เขาคิดว่าอีกฝ่ายยังไม่ได้คิดถึง หรือตกหล่นไป
แทนที่เขาจะบอกว่า
“ไม่ใช่ละ! คุณลืมคิดถึง…” เขาจะพูดว่า
“นอกจากนี้ ผมยังเห็นว่า …….”
“ใช่แล้ว และผมอยากเสริมอีกนิดว่า …….”
และสุดท้าย ยังไงสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายเห็นไม่เหมือนกัน ก็ยังต้องเป็นอย่างนั้น แต่ ผู้ที่ฉลาดพูดจะไม่เริ่มจากคำว่า
“ไม่! คุณผิด คุณลืมคิดเรื่อง…….” เพราะประโยคดังกล่าวจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าคุณตั้งใจจับผิดเขา ไม่เคารพ และไม่ตั้งใจฟังความเห็นของเขา (ถึงแม้คุณจะไม่ได้ตั้งใจจะทำอย่างนั้นก็เถอะ)
แทนที่จะพูดแบบนั้น
เราควรชี้ให้อีกฝ่ายเห็นว่า เราเห็นต่างนะ (Compare) เราอยากอธิบายความเข้าใจของฝั่งเรา อีกฝ่ายอาจจะผิดจริงๆ ก็ได้ แต่ถึงอย่างไร เราก็ไม่ควรคิดไปก่อนว่าเราเป็นคนถูก และอีกฝ่ายเป็นคนผิด จนกว่าเราจะได้ยินเรื่องของอีกฝ่ายจนจบครับ ถึงตอนนี้เราควรคิดว่าก่อนว่า เราแค่คิดต่างกัน..
เพราะฉะนั้นเราควรเริ่มจากประโยคที่ตรง แต่เปิดกว้าง โดยที่ไม่เริ่มที่เราถูก เช่น
“ผมว่าผมเห็นต่างจากคุณนะ ผมขออธิบายให้ฟังครับ ….”
พอเห็นภาพไหมครับ? ถ้าแบบนี้เราอาจจะหลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้งที่ไร้ประโยชน์ โดยการไม่พยายามจับผิดตั้งแต่แรก
เมื่ออีกฝ่ายยอมให้คุณอธิบายแล้ว ที่เหลือก็ไม่ยากครับ เราแค่ต้องค่อยๆ เล่าเป็นขั้นตอนว่า เราเห็นอะไร ทำไมเราถึงคิดแบบนี้ (แต่ต้องไม่พยายามบอกว่าความคิดเราถูกต้องแล้ว) และเปิดให้อีกฝ่ายเช็คความถูกต้องของความคิดเห็นของเรา
พูดง่ายๆ
คือเวลามีปัญหาต้องเลิกจับผิด และหันมาช่วยกันแก้ปัญหาแทนครับ
ทั้งหมดนี้ อาจจะพูดง่าย แต่ในสถานการณ์จริงเรามักจะใจร้อน เราจะอยากพูด อยากเห็นในสิ่งที่เราอยากเห็น และอยากจะเป็นฝ่ายถูกเต็มทน ผมก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ แต่เราต่างก็รู้ว่าความคิดแบบที่ว่านั้น มักจะไม่ใช่ทางออกที่ดีกับทั้งฝั่งเราและอีกฝ่าย และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่าง
คือความใจเย็นครับ ใจเย็นๆ เข้าไว้และทำตามขั้นตอนดังกล่าว..
1. เห็นด้วย – Agree
2. เสริม / เพิ่มเติม – Build
3. เปรียบเทียบว่าเราเห็นต่างนะ – Compare
ลองนำไปฝึกใช้ด้วยกันกับผมนะครับ เป็นอย่างไรมาบอกด้วยนะครับ
Practice makes perfect!
ถ้าเพื่อนๆ ชอบหรือได้ความรู้ไม่มากก็น้อย ได้โปรดแชร์หรือเข้าไปดูบทความอื่นที่บล็อกผมได้ที่
http://www.facebook.com/metaponblog ครับ
ขอบคุณมากๆ ครับ ^^
บทความนี้แปลจากบทที่ 8 (แบบไม่ตรงตัวเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น) จากหนังสือ
Crucial Conversations โดย Patterson, Grenny, McMillan และ Switzler เป็นหนังสือแนะนำเทคนิคที่ช่วยให้การสนทนาที่สำคัญๆ การทะเลาะ การเห็นต่าง ลงเอยโดยที่ทั้งสองฝ่ายรู้สึกดีและปรองดองกันครับ ใช้ได้จริง และฟังสนุก (ผมฟังใน Audible ครับ)
credit photo: Karolina Grabowska และ
http://www.glacialblog.com
จะคุยยังไง เมื่อความเห็นเราต่างกัน?
ตั้งแต่สมัยเด็ก เรามักจะถูกฝึกให้จับผิด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจจับคำผิดเล็กๆ น้อยๆ ในประโยค ในรูป หรือในสมการก็ตาม และเมื่อเราจับผิดได้สำเร็จ เราก็มักจะได้รางวัลตอบแทนในในรูปแบบของเกรด หรือถ้าเด็กหน่อยก็อาจจะได้เป็นสแตมป์หรือสติ๊กเกอร์รูปดาวหรือหัวใจแทน (ย้อนวัยหน่อย ฮ่าๆ) แล้วถ้าเราตอบถูกในขณะที่เพื่อนเราตอบผิดล่ะ? โอ้โห แบบนั้นเราจะได้ความชื่นชมจากคุณครูไปอีกเต็มๆ ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดอุปนิสัยการจับผิดของเรา
เมื่อเราโตขึ้นมา เราทุกคนก็มักมีทักษะและอุปนิสัยของการจับผิดติดตัวมาด้วย แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าเราไม่สามารถควบคุมอุปนิสัยนี้ หรือใช้ทักษะนี้อย่างไม่ระมัดระวัง มันก็จะส่งผลเสียให้เราได้ โดยเฉพาะในเวลาที่เรากำลังอยู่ในบทสนทนาสำคัญต่างๆ ที่เราและอีกฝ่ายเห็นต่างกัน
การที่เราพยายามจับผิดอีกฝ่ายตลอดเวลา จะนำไปสู่การสนทนาที่แตกหัก และไม่ก้าวหน้า วันนี้ผมเลยจะมาสรุป 3 ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะทำให้บทสนทนาเป็นไปด้วยดี เมื่อเราเห็นต่างกับอีกฝ่ายครับ
เวลาที่ความคิดเห็นในบทสนทนาของแต่ละฝ่ายไม่ตรงกัน ผู้ที่ฉลาดพูด นั้นจะไม่เริ่มจากการบอกว่า "ผมไม่เห็นด้วย!" หรือ "ผิดละ!" แต่จะเริ่มหาสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วย (Agree) และจะเริ่มการสนทนาจากจุดนั้นก่อน เช่น
“ใช่ๆ ผมเห็นด้วยตรงที่คุณบอกว่า …….”
“ตรงที่คุณบอกว่า ……. ก็ถูก“
พอเห็นด้วยกันทุกจุดแล้ว ถ้าเขาเห็นว่าอีกฝ่ายยังไม่ได้นึกถึงบางอย่างที่สำคัญ เขาค่อยเสริม (Build) ความคิดที่เขาคิดว่าอีกฝ่ายยังไม่ได้คิดถึง หรือตกหล่นไป
แทนที่เขาจะบอกว่า “ไม่ใช่ละ! คุณลืมคิดถึง…” เขาจะพูดว่า
“นอกจากนี้ ผมยังเห็นว่า …….”
“ใช่แล้ว และผมอยากเสริมอีกนิดว่า …….”
และสุดท้าย ยังไงสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายเห็นไม่เหมือนกัน ก็ยังต้องเป็นอย่างนั้น แต่ ผู้ที่ฉลาดพูดจะไม่เริ่มจากคำว่า “ไม่! คุณผิด คุณลืมคิดเรื่อง…….” เพราะประโยคดังกล่าวจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าคุณตั้งใจจับผิดเขา ไม่เคารพ และไม่ตั้งใจฟังความเห็นของเขา (ถึงแม้คุณจะไม่ได้ตั้งใจจะทำอย่างนั้นก็เถอะ)
แทนที่จะพูดแบบนั้น เราควรชี้ให้อีกฝ่ายเห็นว่า เราเห็นต่างนะ (Compare) เราอยากอธิบายความเข้าใจของฝั่งเรา อีกฝ่ายอาจจะผิดจริงๆ ก็ได้ แต่ถึงอย่างไร เราก็ไม่ควรคิดไปก่อนว่าเราเป็นคนถูก และอีกฝ่ายเป็นคนผิด จนกว่าเราจะได้ยินเรื่องของอีกฝ่ายจนจบครับ ถึงตอนนี้เราควรคิดว่าก่อนว่า เราแค่คิดต่างกัน..
เพราะฉะนั้นเราควรเริ่มจากประโยคที่ตรง แต่เปิดกว้าง โดยที่ไม่เริ่มที่เราถูก เช่น
“ผมว่าผมเห็นต่างจากคุณนะ ผมขออธิบายให้ฟังครับ ….”
พอเห็นภาพไหมครับ? ถ้าแบบนี้เราอาจจะหลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้งที่ไร้ประโยชน์ โดยการไม่พยายามจับผิดตั้งแต่แรก
เมื่ออีกฝ่ายยอมให้คุณอธิบายแล้ว ที่เหลือก็ไม่ยากครับ เราแค่ต้องค่อยๆ เล่าเป็นขั้นตอนว่า เราเห็นอะไร ทำไมเราถึงคิดแบบนี้ (แต่ต้องไม่พยายามบอกว่าความคิดเราถูกต้องแล้ว) และเปิดให้อีกฝ่ายเช็คความถูกต้องของความคิดเห็นของเรา
พูดง่ายๆ คือเวลามีปัญหาต้องเลิกจับผิด และหันมาช่วยกันแก้ปัญหาแทนครับ
ทั้งหมดนี้ อาจจะพูดง่าย แต่ในสถานการณ์จริงเรามักจะใจร้อน เราจะอยากพูด อยากเห็นในสิ่งที่เราอยากเห็น และอยากจะเป็นฝ่ายถูกเต็มทน ผมก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ แต่เราต่างก็รู้ว่าความคิดแบบที่ว่านั้น มักจะไม่ใช่ทางออกที่ดีกับทั้งฝั่งเราและอีกฝ่าย และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งคู่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้อีกอย่างคือความใจเย็นครับ ใจเย็นๆ เข้าไว้และทำตามขั้นตอนดังกล่าว..
1. เห็นด้วย – Agree
2. เสริม / เพิ่มเติม – Build
3. เปรียบเทียบว่าเราเห็นต่างนะ – Compare
ลองนำไปฝึกใช้ด้วยกันกับผมนะครับ เป็นอย่างไรมาบอกด้วยนะครับ
Practice makes perfect!
ถ้าเพื่อนๆ ชอบหรือได้ความรู้ไม่มากก็น้อย ได้โปรดแชร์หรือเข้าไปดูบทความอื่นที่บล็อกผมได้ที่ http://www.facebook.com/metaponblog ครับ
ขอบคุณมากๆ ครับ ^^
บทความนี้แปลจากบทที่ 8 (แบบไม่ตรงตัวเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น) จากหนังสือ Crucial Conversations โดย Patterson, Grenny, McMillan และ Switzler เป็นหนังสือแนะนำเทคนิคที่ช่วยให้การสนทนาที่สำคัญๆ การทะเลาะ การเห็นต่าง ลงเอยโดยที่ทั้งสองฝ่ายรู้สึกดีและปรองดองกันครับ ใช้ได้จริง และฟังสนุก (ผมฟังใน Audible ครับ)
credit photo: Karolina Grabowska และ http://www.glacialblog.com