ในวรรณกรรม นางงอก๊กไถ้ เป็นน้องสาวของงอฮูหยิน และเป็นภรรยาของซุนเกี๋ยนทั้งสองคน
แต่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ งอก๊กไถ้และงอฮูหยินเป็นคน ๆ เดียวกัน โดยนางเป็นชาวเมืองง่อ
เกิดในตำบลเชียนถัง กำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเล็ก และอยู่อาศัยกับ งอเก๋ง ผู้เป็นพี่ชาย
ซุนเกี๋ยน หลงรักในความงามและกิริยามารยาทของนางจึงจัดพิธีสู่ขอ แต่ญาติพี่น้องของงอก๊กไถ้
ไม่ชอบนิสัยอันก้าวร้าวอันธพาลของซุนเกี๋ยนจึงไม่ตอบรับข้อเสนอนั้น ทำให้ซุนเกี๋ยนโมโหอับอายเป็น
อย่างมาก งอก๊กไถ้เกรงจะเป็นภัยต่อครอบครัวจึงบอกแก่บรรดาญาติว่า
“ข้าพเจ้าเข้าใจในความปรารถนาดีของท่าน แต่อย่าให้ท่านต้องมาเดือดร้อนเลย หากการแต่งงาน
ในครั้งนี้จะทำให้ชีวิตข้า ฯ ตกต่ำย่ำแย่เพียงใด ข้าฯ ก็ขอน้อมรับเคราะห์กรรมนั้นแต่เพียงผู้เดียว”
บรรดาญาติผู้ใหญ่ได้ฟังดังนั้น จึงยอมให้นางสมรสกับซุนเกี๋ยนในที่สุด ทั้งสองมีบุตรด้วยกันเป็นชาย 4
หญิง 1 ได้แก่ ซุนเซ็ก ซุนกวน ซุนของ ซุนเซียง และ ซุนฮูหยิน
ในตำนานความเชื่อของจีน เล่าว่านางงอก๊กไถ้ฝันเห็นพระจันทร์ตกเข้าไปในครรภ์ก่อนให้กำเนิดซุนเซ็ก
และฝันเป็นพระอาทิตย์ตกเข้าไปในครรภ์ก่อนให้กำเนิดซุนกวน เมื่อนางเล่าเรื่องความฝันอันพิสดารนี้ให้
ซุนเกี๋ยนฟัง ซุนเกี๋ยนจึงกล่าวว่า
“สุริยันจันทรา คือสัญลักษณ์ของหยินหยาง นี่คือนิมิตอันเป็นมงคลยิ่ง บุตรของข้า ฯ จะเป็นบุรุษผู้ยิ่งใหญ่”
ซึ่งในการณ์ภายหลัง นิมิตมงคลนี้ก็เป็นจริง
บ่อยครั้งที่นางงอก๊กไถ้ ได้แสดงออกถึงสติปัญญาและประสบการณ์ทางการเมือง ครั้งหนึ่งซุนเซ็กต้องการประหาร
ชีวิตอุยเต็ง ขุนนางใต้บังคับบัญชาที่มีความเห็นขัดแย้งกับเขา ส่วนขุนนางคนอื่น ๆ ไม่รู้จะช่วยเหลืออุยเต็งอย่างไร จึง
ไปขอคำปรึกษานางงอก๊กไถ้ นางงอก๊กไถ้จึงต่อรองด้วยการยืนข้างบ่อน้ำแล้วกล่าวแก่ซุนเซ็กว่า
“เจ้าเพิ่งเริ่มก่อร่างสร้างตัวในแผ่นดินกังตั๋ง แต่กลับไม่เคารพนักปราชญ์ราชบัณฑิต เรื่องผิดเล็กน้อยควรให้อภัย
งานน้อยใหญ่ควรยกย่อง ขุนนางอุยเต็งกระทำการด้วยความสัตย์ซื่อฟังไม่เพราะหู แต่หากเจ้าประหารชีวิตเขาวันนี้
วันหน้าบ้านเมืองจะอยู่ไม่ได้ ผู้คนมากมายจะลุกขึ้นต่อต้านเจ้า แม่ไม่อาจทนเห็น จะขอโดดน้ำตายแต่บัดนี้”
ซุนเซ็กตกใจรีบห้ามปรามแม่ และยกเลิกการประหารอุยเต็งทันที
ในปี ค.ศ. 202, โจโฉควบคุมราชสำนักฮั่นไว้ในกำมือ และสั่งให้ซุนกวนอ่อนน้อมยอมส่งตัวบุตรชายมาเป็นประกัน
ในเมืองฮูโต๋ ซุนกวนปรึกษากับเหล่าขุนนางแต่ก็ไม่ได้ข้อสรุป เพราะขัดแย้งแยกกันเป็นสองฝ่าย ซุนกวนจึงเข้าปรึกษา
นางงอก๊กไถ้พร้อมกับจิวยี่ จิวยี่เสนอว่าไม่ควรยอมให้กับทรราชย์อย่างโจโฉ ซึ่งก็พ้องตรงกันกับความเห็นของนางงอก๊กไท่
นางงอก๊กไถ้จึงให้ซุนกวนนับถือจิวยี่ประดุจดังพี่ชาย ร่วมมือกันต่อต้านการคุกคามจากโจโฉ สร้างเมืองกังตั๋งให้เป็นปึกแผ่น
นางงอก๊กไถ้เสียชีวิตในปี ค.ศ.202 (บ้างว่า ค.ศ.207) แม้ในยามลมหายใจจนจะหมดสิ้น แต่ความปรารถนาดีต่อชาติ
บ้านเมืองยังเปี่ยมล้น นางได้เรียกตัวเตียวเจียว ตังสิด และเหล่าขุนนางชั้นสูงมาพบ พร้อมกับขอให้ขุนนางเหล่านั้นช่วยกัน
สนับสนุนซุนกวนทำนุบำรุงแผ่นดินกังตั๋งให้สงบสุข
ในปี ค.ศ.229 ซุนกวนครองง่อก๊ก ตั้งตนเป็นกษัตริย์ เขาได้สถาปนาอิสริยยศย้อนหลังให้นางงอก๊กไถ้เป็น ไท้โหว(ไทเฮา)
http://www.samkok911.com/2015/08/Lady-Wu-of-Jiangnan.html
ยอดคุณแม่ แห่ง กังตั๋ง
แต่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ งอก๊กไถ้และงอฮูหยินเป็นคน ๆ เดียวกัน โดยนางเป็นชาวเมืองง่อ
เกิดในตำบลเชียนถัง กำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเล็ก และอยู่อาศัยกับ งอเก๋ง ผู้เป็นพี่ชาย
ซุนเกี๋ยน หลงรักในความงามและกิริยามารยาทของนางจึงจัดพิธีสู่ขอ แต่ญาติพี่น้องของงอก๊กไถ้
ไม่ชอบนิสัยอันก้าวร้าวอันธพาลของซุนเกี๋ยนจึงไม่ตอบรับข้อเสนอนั้น ทำให้ซุนเกี๋ยนโมโหอับอายเป็น
อย่างมาก งอก๊กไถ้เกรงจะเป็นภัยต่อครอบครัวจึงบอกแก่บรรดาญาติว่า
“ข้าพเจ้าเข้าใจในความปรารถนาดีของท่าน แต่อย่าให้ท่านต้องมาเดือดร้อนเลย หากการแต่งงาน
ในครั้งนี้จะทำให้ชีวิตข้า ฯ ตกต่ำย่ำแย่เพียงใด ข้าฯ ก็ขอน้อมรับเคราะห์กรรมนั้นแต่เพียงผู้เดียว”
บรรดาญาติผู้ใหญ่ได้ฟังดังนั้น จึงยอมให้นางสมรสกับซุนเกี๋ยนในที่สุด ทั้งสองมีบุตรด้วยกันเป็นชาย 4
หญิง 1 ได้แก่ ซุนเซ็ก ซุนกวน ซุนของ ซุนเซียง และ ซุนฮูหยิน
ในตำนานความเชื่อของจีน เล่าว่านางงอก๊กไถ้ฝันเห็นพระจันทร์ตกเข้าไปในครรภ์ก่อนให้กำเนิดซุนเซ็ก
และฝันเป็นพระอาทิตย์ตกเข้าไปในครรภ์ก่อนให้กำเนิดซุนกวน เมื่อนางเล่าเรื่องความฝันอันพิสดารนี้ให้
ซุนเกี๋ยนฟัง ซุนเกี๋ยนจึงกล่าวว่า
“สุริยันจันทรา คือสัญลักษณ์ของหยินหยาง นี่คือนิมิตอันเป็นมงคลยิ่ง บุตรของข้า ฯ จะเป็นบุรุษผู้ยิ่งใหญ่”
ซึ่งในการณ์ภายหลัง นิมิตมงคลนี้ก็เป็นจริง
บ่อยครั้งที่นางงอก๊กไถ้ ได้แสดงออกถึงสติปัญญาและประสบการณ์ทางการเมือง ครั้งหนึ่งซุนเซ็กต้องการประหาร
ชีวิตอุยเต็ง ขุนนางใต้บังคับบัญชาที่มีความเห็นขัดแย้งกับเขา ส่วนขุนนางคนอื่น ๆ ไม่รู้จะช่วยเหลืออุยเต็งอย่างไร จึง
ไปขอคำปรึกษานางงอก๊กไถ้ นางงอก๊กไถ้จึงต่อรองด้วยการยืนข้างบ่อน้ำแล้วกล่าวแก่ซุนเซ็กว่า
“เจ้าเพิ่งเริ่มก่อร่างสร้างตัวในแผ่นดินกังตั๋ง แต่กลับไม่เคารพนักปราชญ์ราชบัณฑิต เรื่องผิดเล็กน้อยควรให้อภัย
งานน้อยใหญ่ควรยกย่อง ขุนนางอุยเต็งกระทำการด้วยความสัตย์ซื่อฟังไม่เพราะหู แต่หากเจ้าประหารชีวิตเขาวันนี้
วันหน้าบ้านเมืองจะอยู่ไม่ได้ ผู้คนมากมายจะลุกขึ้นต่อต้านเจ้า แม่ไม่อาจทนเห็น จะขอโดดน้ำตายแต่บัดนี้”
ซุนเซ็กตกใจรีบห้ามปรามแม่ และยกเลิกการประหารอุยเต็งทันที
ในปี ค.ศ. 202, โจโฉควบคุมราชสำนักฮั่นไว้ในกำมือ และสั่งให้ซุนกวนอ่อนน้อมยอมส่งตัวบุตรชายมาเป็นประกัน
ในเมืองฮูโต๋ ซุนกวนปรึกษากับเหล่าขุนนางแต่ก็ไม่ได้ข้อสรุป เพราะขัดแย้งแยกกันเป็นสองฝ่าย ซุนกวนจึงเข้าปรึกษา
นางงอก๊กไถ้พร้อมกับจิวยี่ จิวยี่เสนอว่าไม่ควรยอมให้กับทรราชย์อย่างโจโฉ ซึ่งก็พ้องตรงกันกับความเห็นของนางงอก๊กไท่
นางงอก๊กไถ้จึงให้ซุนกวนนับถือจิวยี่ประดุจดังพี่ชาย ร่วมมือกันต่อต้านการคุกคามจากโจโฉ สร้างเมืองกังตั๋งให้เป็นปึกแผ่น
นางงอก๊กไถ้เสียชีวิตในปี ค.ศ.202 (บ้างว่า ค.ศ.207) แม้ในยามลมหายใจจนจะหมดสิ้น แต่ความปรารถนาดีต่อชาติ
บ้านเมืองยังเปี่ยมล้น นางได้เรียกตัวเตียวเจียว ตังสิด และเหล่าขุนนางชั้นสูงมาพบ พร้อมกับขอให้ขุนนางเหล่านั้นช่วยกัน
สนับสนุนซุนกวนทำนุบำรุงแผ่นดินกังตั๋งให้สงบสุข
ในปี ค.ศ.229 ซุนกวนครองง่อก๊ก ตั้งตนเป็นกษัตริย์ เขาได้สถาปนาอิสริยยศย้อนหลังให้นางงอก๊กไถ้เป็น ไท้โหว(ไทเฮา)
http://www.samkok911.com/2015/08/Lady-Wu-of-Jiangnan.html