วีรชนแย้มวาระบิ๊กตู่ถกยูเอ็น เผยเตรียมประกาศไทยพ้นวิกฤติด้วยเศรษฐกิจพอเพียง แสดงวิสัยทัศน์ลดเหลื่อมล้ำ พร้อมถกทวิภาคี
เมื่อวันที่ 13 กันยายน พล.ต.วีรชน สุคนธปฎิภาค รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกำหนดการเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติ สมัยสามัญครั้งที่ 70 ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเยือนระหว่างวันที่ 23 กันยายน ถึง 1 ตุลาคมนี้ ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ว่า การประชุมในปีนี้ถือเป็นปีที่พิเศษมาก เพราะสหประชาชาติ มีอายุครบ 70 ปี ในเวทีนี้จะมีการพูดถึงความก้าวหน้าของแต่ละประเทศในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา ว่ามีการพัฒนาในด้านไหนไปบ้าง และในอีก 15 ปี จะมีความร่วมมือในลักษณะไหนต่อไป โดยเฉพาะการพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับการดำเนินการของไทย ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โอกาสนี้ไทยจะบอกและเล่าถึงประสบการณ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ไทยผ่านวิกฤติต่างๆมาหลายช่วง ที่ประชาชนในประเทศประสบปัญหา พร้อมแจกจ่ายหนังสือให้กับผู้ที่สนใจ พร้อมกันนี้ไทยจะจัดนิทรรศการแสดงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแนะนำให้ทั่วโลกได้รับรู้ เนื่องจากที่ผ่านมาผู้นำหลายประเทศให้ความสนใจและสอบถามอยากทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ ก่อนนำไปใช้ในประเทศของเขา อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะมีโอกาสแสดงวิสัยทัศน์หรือกล่าวถ้อยแถลงในหลายประเด็น อาทิ มติจัดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมในสังคม ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการในเรื่องนี้อยู่ และมีจะการพูดถึงการบริหารจัดการน้ำ และการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มเน้นเพิ่มบทบาทสตรี โดยในวันประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ จะเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ทิ้งประเทศใดไว้ข้างหลัง และต้องเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและสากล สำหรับการหารือนอกรอบในการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี เน้นพบปะกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ ความร่วมมือด้านต่างๆโดยเฉพาะประเทศที่ไม่ค่อยมีโอกาสพบปะกัน อาทิ ประเทศกลุ่มหมู่เกาะ ละตินอเมริกา อย่างเช่นบราซิล ทะเลแคริเบียน กลุ่มประเทศในแถบยุโรปอีก 2-3 ประเทศ รวมถึงองค์กรต่างเกี่ยวกับการพัฒนาด้วย โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีจะหารือกับนายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ หากประเทศไหนจะหารือทวิภาคีนายกรัฐมนตรีไทยก็พร้อม
พล.ต.วีรชน ยังกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเตรียมถ้อยแถลงที่สำคัญ ในเวทีนี้ 10 นาที ซึ่งสหประชาชาติกำหนดให้แต่ละประเทศขึ้นกล่าว โดยนายกรัฐมนตรีจะพูดถึงบทบาทความร่วมมือไทยกับสหประชาชาติ และสิ่งที่ไทยเรียนรู้จากยูเอ็น รวมถึงการพัฒนา ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยนายกรัฐมนตรีมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในทั่วโลกมาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ความไม่เท่าเทียม ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องมี 2 ลักษณะคือ การพัฒนา และใช้กำลัง ซึ่งการใช้กำลังอย่างเดียวเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่เราจะต้องเข้าไปศึกษาปัญหาที่แท้จริงแต่ละกลุ่มแต่ละพื้นที่และทำความเข้าใจ หากพื้นที่ใดต้องการลดความเหลื่อมล้ำความยากจน ความไม่เสมอภาค ก็จะเน้นการพัฒนาเข้าไป ขณะเดียวกันพื้นที่มีเหตุรุนแรง ใช้กำลังต้องนำกำลังเข้าไปใช้ เพื่อรักษาสันติภาพ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องต้องทำควบคู่กันไป
สำหรับสถานการณ์ในบ้านเรา นายกรัฐมนตรีก็พร้อมชี้แจง หากมีการสอบถาม แต่เชื่อว่าทุกๆประเทศมองข้ามเรื่องนี้ไปแล้ว แม้ต่างประเทศจะไม่สนับสนุน แต่เขาก็เข้าใจ ในสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการซึ่งส่วนใหญ่จะถามเรื่องความร่วมมือในอนาคตมากกว่า โดยเฉพาะในภูมิภาคนี้เรากำลังจะร่วมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน นานาประเทศมองไทยมีบทบาทสำคัญ เพราะมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ และการเป็นศูนย์กลางความได้เปรียบเหล่านี้ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ตนเองอย่างเดียว แต่พยายามสื่อสารเพื่อนบ้านในอาเซียน ที่สนใจเข้ามาทำธุรกิจค้าขายในภูมิภาคนี้ ว่าไทยพร้อมเอื้ออำนวยความสะดวก ตามนโยบายไทยบวกหนึ่งที่เคยเสนอไป และพยายามบอกว่านโยบายของไทยไม่ใช่การแข่งขันหรือชิงดีชิงเด่นหรือก้าวหน้าแต่เพียงประเทศเดียว แต่เราต้องก้าวไปร่วมกันด้วยความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ทั้งภูมิภาค
ท้ายสุดการที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปร่วมประชุมครั้งนี้ จะทำให้นานาประเทศในโลกได้รู้จักตัวตนเพราะที่ผ่านมาอาจจะรู้จักนายกรัฐมนตรีไทยหรือสถานการณ์ในไทยผ่านสื่อตรงนี้คงมีโอกาสได้พูดคุยทำความเข้าใจกันในบริบทของตัวผู้นำไทยอย่างชัดเจนขึ้นและมั่นใจว่าการประชุมในครั้งนี้ไทยจะประสบผลสำเร็จ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1442136063
นายกฯเตรียมพูดเวที UN เศรษฐกิจพอเพียงทำไทยพ้นวิกฤต ลั่นพร้อมคุย หากใครอยากคุยด้วย
เมื่อวันที่ 13 กันยายน พล.ต.วีรชน สุคนธปฎิภาค รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกำหนดการเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติ สมัยสามัญครั้งที่ 70 ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเยือนระหว่างวันที่ 23 กันยายน ถึง 1 ตุลาคมนี้ ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ว่า การประชุมในปีนี้ถือเป็นปีที่พิเศษมาก เพราะสหประชาชาติ มีอายุครบ 70 ปี ในเวทีนี้จะมีการพูดถึงความก้าวหน้าของแต่ละประเทศในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา ว่ามีการพัฒนาในด้านไหนไปบ้าง และในอีก 15 ปี จะมีความร่วมมือในลักษณะไหนต่อไป โดยเฉพาะการพัฒนาอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับการดำเนินการของไทย ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โอกาสนี้ไทยจะบอกและเล่าถึงประสบการณ์การพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ไทยผ่านวิกฤติต่างๆมาหลายช่วง ที่ประชาชนในประเทศประสบปัญหา พร้อมแจกจ่ายหนังสือให้กับผู้ที่สนใจ พร้อมกันนี้ไทยจะจัดนิทรรศการแสดงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแนะนำให้ทั่วโลกได้รับรู้ เนื่องจากที่ผ่านมาผู้นำหลายประเทศให้ความสนใจและสอบถามอยากทำความเข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ ก่อนนำไปใช้ในประเทศของเขา อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะมีโอกาสแสดงวิสัยทัศน์หรือกล่าวถ้อยแถลงในหลายประเด็น อาทิ มติจัดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมในสังคม ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการในเรื่องนี้อยู่ และมีจะการพูดถึงการบริหารจัดการน้ำ และการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่มเน้นเพิ่มบทบาทสตรี โดยในวันประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ จะเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ทิ้งประเทศใดไว้ข้างหลัง และต้องเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและสากล สำหรับการหารือนอกรอบในการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี เน้นพบปะกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ ความร่วมมือด้านต่างๆโดยเฉพาะประเทศที่ไม่ค่อยมีโอกาสพบปะกัน อาทิ ประเทศกลุ่มหมู่เกาะ ละตินอเมริกา อย่างเช่นบราซิล ทะเลแคริเบียน กลุ่มประเทศในแถบยุโรปอีก 2-3 ประเทศ รวมถึงองค์กรต่างเกี่ยวกับการพัฒนาด้วย โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีจะหารือกับนายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ หากประเทศไหนจะหารือทวิภาคีนายกรัฐมนตรีไทยก็พร้อม
พล.ต.วีรชน ยังกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเตรียมถ้อยแถลงที่สำคัญ ในเวทีนี้ 10 นาที ซึ่งสหประชาชาติกำหนดให้แต่ละประเทศขึ้นกล่าว โดยนายกรัฐมนตรีจะพูดถึงบทบาทความร่วมมือไทยกับสหประชาชาติ และสิ่งที่ไทยเรียนรู้จากยูเอ็น รวมถึงการพัฒนา ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยนายกรัฐมนตรีมองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในทั่วโลกมาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ความไม่เท่าเทียม ดังนั้นการแก้ปัญหาต้องมี 2 ลักษณะคือ การพัฒนา และใช้กำลัง ซึ่งการใช้กำลังอย่างเดียวเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ แต่เราจะต้องเข้าไปศึกษาปัญหาที่แท้จริงแต่ละกลุ่มแต่ละพื้นที่และทำความเข้าใจ หากพื้นที่ใดต้องการลดความเหลื่อมล้ำความยากจน ความไม่เสมอภาค ก็จะเน้นการพัฒนาเข้าไป ขณะเดียวกันพื้นที่มีเหตุรุนแรง ใช้กำลังต้องนำกำลังเข้าไปใช้ เพื่อรักษาสันติภาพ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องต้องทำควบคู่กันไป
สำหรับสถานการณ์ในบ้านเรา นายกรัฐมนตรีก็พร้อมชี้แจง หากมีการสอบถาม แต่เชื่อว่าทุกๆประเทศมองข้ามเรื่องนี้ไปแล้ว แม้ต่างประเทศจะไม่สนับสนุน แต่เขาก็เข้าใจ ในสิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการซึ่งส่วนใหญ่จะถามเรื่องความร่วมมือในอนาคตมากกว่า โดยเฉพาะในภูมิภาคนี้เรากำลังจะร่วมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน นานาประเทศมองไทยมีบทบาทสำคัญ เพราะมีความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ และการเป็นศูนย์กลางความได้เปรียบเหล่านี้ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ตนเองอย่างเดียว แต่พยายามสื่อสารเพื่อนบ้านในอาเซียน ที่สนใจเข้ามาทำธุรกิจค้าขายในภูมิภาคนี้ ว่าไทยพร้อมเอื้ออำนวยความสะดวก ตามนโยบายไทยบวกหนึ่งที่เคยเสนอไป และพยายามบอกว่านโยบายของไทยไม่ใช่การแข่งขันหรือชิงดีชิงเด่นหรือก้าวหน้าแต่เพียงประเทศเดียว แต่เราต้องก้าวไปร่วมกันด้วยความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ทั้งภูมิภาค
ท้ายสุดการที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปร่วมประชุมครั้งนี้ จะทำให้นานาประเทศในโลกได้รู้จักตัวตนเพราะที่ผ่านมาอาจจะรู้จักนายกรัฐมนตรีไทยหรือสถานการณ์ในไทยผ่านสื่อตรงนี้คงมีโอกาสได้พูดคุยทำความเข้าใจกันในบริบทของตัวผู้นำไทยอย่างชัดเจนขึ้นและมั่นใจว่าการประชุมในครั้งนี้ไทยจะประสบผลสำเร็จ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1442136063