เลขาธิการยูเอ็นต่อสายตรงถึงนายกฯ หารือแนวทางแก้ปัญหาพร้อมสนับสนุนความริเริ่มการจัดการประชุม 15 ประเทศ
เพื่อแก้ปัญหา “โรฮีนจา” อพยพ
พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค ในฐานะทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ 17 พ.ค. เวลาประมาณ 10.00 น ตามเวลาในประเทศไทย นาย บัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้โทรศัพท์ถึง พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อสอบถามและแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์การอพยพของชาวโรฮีนจาที่นับวันจะมีจำนวนมากขึ้น โดยแสดงความเห็นว่าคนเหล่านี้ควรจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) และมีสิทธิขั้นพื้นฐาน(Human Basic Rights)ในการใช้ดำรงชีวิต ซึ่งในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์เช่นกันและได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าตรวจและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดรวมถึงการจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อดูแลบริเวณน่านน้ำไทย
ทั้งนี้ที่ผ่านมาเมื่อมีการตรวจพบเรือชาวโรฮีนจาทางเจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสอบในเบื้องต้นถึงสภาพเรือความเป็นอยู่ พร้อมสอบถามความต้องการและเจตนารมณ์ของคนเหล่านี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม และตามความสมัครใจของคนเหล่านั้น เช่นกรณีล่าสุดเจ้าหน้าที่ไทยได้รับการร้องขอให้ช่วยเรื่องการซ่อมเรือ พร้อมทั้งขอสนับสนุนช่วยเหลือเรื่องอาหารและน้ำเพื่อบริโภค-อุปโภค ยารักษาโรคและน้ำมันเพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศที่สามตามความสมัครใจของคนเหล่านั้น นายกรัฐมนตรี ยืนยันด้วยว่าการทำงานของหน่วยเฉพาะกิจเป็นไปตามขั้นตอนโดยมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นลำดับแรกจากนั้นจะสอบถามความสมัครใจของชาวโรฮีนจา
ทั้งนี้การปฏิบัติของไทยนอกจากจะอยู่บนพื้นฐานหลักมนุษยธรรมแล้วยังเป็นไปตามหลักกฎหมายสากลกฎหมายทางทะเลและกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีย้ำว่าทุกประเทศต่างก็มีกฎหมายของตนในการปฏิบัติต่อสถานการณ์ดังกล่าว ดังนั้นการดำเนินการใดๆ จะต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ด้วย
ขณะที่เลขาธิการสหประชาติ ได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลไทยและสอบถามถึงการประชุมวาระพิเศษเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียพร้อมกันนี้ได้กล่าวชื่นชมว่าเป็นความริเริ่มที่สำคัญของไทยในการแสวงความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาซึ่งนายกฯ ได้อธิบายว่า รัฐบาลไทยตระหนักดีถึงความเร่งด่วนในเรื่องนี้และเห็นว่าการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศและทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสหประชาติที่ต้องมีบทบาทสำคัญในการประสานความร่วมมือโดยนายกรัฐมนตรีได้ขอให้สหประชาชาติให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความยากจน เน้นการพัฒนาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยหวังให้คนเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตได้ตามสิทธิขั้นพื้นฐาน และเห็นว่าการประชุมร่วมของ 15 ประเทศ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 พ.ค. นี้น่าจะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางเพื่อแสวงหาแนวทางและข้อสรุปของการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่สำคัญกว่านั้นเวทีนี้จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียนในการแสดงความรับผิดชอบต่อมวลมนุษยชาติ
ในตอนท้ายของการพูดคุยดังกล่าวนายกรัฐมนตรียังได้ขอให้เลขาธิการสหประชาชาติช่วยทำความเข้าใจกับองค์กรต่างๆให้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างรอบคอบเน้นความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาทางสังคมตามหลักมนุษยธรรมบนพื้นฐานของกฏหมายที่กล่าวมาแล้วข้างต้นและหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆที่ก่อให้เกิดความข้ดแยังทางการเมือง ซึ่งเลขาธิการสหประชาติ กล่าวพร้อมสนับสนุนแนวความคิดนี้และพร้อมร่วมมือเพื่อให้การประชุมของ 15 ประเทศ ประสบผลสำเร็จรวมทั้งขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไทยและอาเซียนด้วย
ด้าน บีบีซีไทย รายงานเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2558 ว่า พันตรีซอ เท ผู้อำนวยการประจำสำนักงานประธานาธิบดีเมียนมาร์ระบุว่า บรรดาผู้นำเมียนมาร์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่า จะเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างผิดปกติในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้หรือไม่ โดยจะพิจารณาจากประเด็นที่จะหารือในการประชุมเป็นหลัก ซึ่งเมียนมาร์จะไม่ยอมรับข้อกล่าวหาที่ว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญาอย่างเด็ดขาด
ก่อนหน้านี้ มีรายงานข่าวว่าเมียนมาร์มีแนวโน้มจะปฏิเสธเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยพันตรีซอ เท ระบุว่า ทางเมียนมาร์ยังไม่ได้รับหนังสือเชิญประชุมอย่างเป็นทางการ แต่หากหนังสือเชิญระบุว่า จะมีการหารือเรื่องโรฮิงญา เมียนมาร์ก็จะไม่เข้าร่วมด้วย ทั้งยังว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆในภูมิภาคพยายามเบี่ยงเบนความสนใจให้ออกห่างจากปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานทาสของตนด้วยการพยายามกล่าวโทษเมียนมาร์
ด้านนายเจฟ รัธเก โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯระบุว่า สหรัฐฯได้พยายามขอร้องให้รัฐบาลในภูมิภาคไม่ผลักดันเรือของผู้อพยพออกนอกน่านน้ำ และดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการช่วยชีวิตผู้อพยพเหล่านี้ ซึ่งมีรายงานด้วยว่า นายจอห์น แครี่ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ได้โทรศัพท์ถึง
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์พักพิงผู้อพยพชั่วคราว รวมทั้งจะส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียที่ไทยด้วย โดยสหรัฐอเมริกาพร้อมให้ข้อมูลและคำแนะนำ ตลอดจนการสนับสนุนในด้านต่างๆ
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ชี้แจงว่า ไทยมีความกังวลว่าจะมีผู้ที่ไม่ได้ประสบภัยอย่างแท้จริง ใช้โอกาสที่รัฐบาลมีนโยบายจัดหาพื้นที่พักพิงชั่วคราวให้แก่ผู้อพยพทางทะเล เป็นช่องทางในการเข้าสู่ประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย นโยบายดังกล่าวจึงเป็นนโยบายที่เตรียมไว้ในกรณีฉุกเฉิน ที่ต้องรอดูสถานการณ์และจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบกฎหมายไทยเท่านั้น
Link :
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431847471
▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █ "บันคีมูน"ยกหูถึง"บิ๊กตู่"หนุนจัดประชุมย้ายถิ่นฐานนานาชาติ -พม่าไม่รับข้อกล่าวหาต้นเหตุปมโรฮีนจา █ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃
เลขาธิการยูเอ็นต่อสายตรงถึงนายกฯ หารือแนวทางแก้ปัญหาพร้อมสนับสนุนความริเริ่มการจัดการประชุม 15 ประเทศ
เพื่อแก้ปัญหา “โรฮีนจา” อพยพ
พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค ในฐานะทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ 17 พ.ค. เวลาประมาณ 10.00 น ตามเวลาในประเทศไทย นาย บัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้โทรศัพท์ถึง พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อสอบถามและแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์การอพยพของชาวโรฮีนจาที่นับวันจะมีจำนวนมากขึ้น โดยแสดงความเห็นว่าคนเหล่านี้ควรจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) และมีสิทธิขั้นพื้นฐาน(Human Basic Rights)ในการใช้ดำรงชีวิต ซึ่งในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์เช่นกันและได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าตรวจและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดรวมถึงการจัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อดูแลบริเวณน่านน้ำไทย
ทั้งนี้ที่ผ่านมาเมื่อมีการตรวจพบเรือชาวโรฮีนจาทางเจ้าหน้าที่จะเข้าไปตรวจสอบในเบื้องต้นถึงสภาพเรือความเป็นอยู่ พร้อมสอบถามความต้องการและเจตนารมณ์ของคนเหล่านี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม และตามความสมัครใจของคนเหล่านั้น เช่นกรณีล่าสุดเจ้าหน้าที่ไทยได้รับการร้องขอให้ช่วยเรื่องการซ่อมเรือ พร้อมทั้งขอสนับสนุนช่วยเหลือเรื่องอาหารและน้ำเพื่อบริโภค-อุปโภค ยารักษาโรคและน้ำมันเพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศที่สามตามความสมัครใจของคนเหล่านั้น นายกรัฐมนตรี ยืนยันด้วยว่าการทำงานของหน่วยเฉพาะกิจเป็นไปตามขั้นตอนโดยมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเป็นลำดับแรกจากนั้นจะสอบถามความสมัครใจของชาวโรฮีนจา
ทั้งนี้การปฏิบัติของไทยนอกจากจะอยู่บนพื้นฐานหลักมนุษยธรรมแล้วยังเป็นไปตามหลักกฎหมายสากลกฎหมายทางทะเลและกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีย้ำว่าทุกประเทศต่างก็มีกฎหมายของตนในการปฏิบัติต่อสถานการณ์ดังกล่าว ดังนั้นการดำเนินการใดๆ จะต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ด้วย
ขณะที่เลขาธิการสหประชาติ ได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลไทยและสอบถามถึงการประชุมวาระพิเศษเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียพร้อมกันนี้ได้กล่าวชื่นชมว่าเป็นความริเริ่มที่สำคัญของไทยในการแสวงความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาซึ่งนายกฯ ได้อธิบายว่า รัฐบาลไทยตระหนักดีถึงความเร่งด่วนในเรื่องนี้และเห็นว่าการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศและทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสหประชาติที่ต้องมีบทบาทสำคัญในการประสานความร่วมมือโดยนายกรัฐมนตรีได้ขอให้สหประชาชาติให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความยากจน เน้นการพัฒนาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยหวังให้คนเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตได้ตามสิทธิขั้นพื้นฐาน และเห็นว่าการประชุมร่วมของ 15 ประเทศ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 พ.ค. นี้น่าจะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางเพื่อแสวงหาแนวทางและข้อสรุปของการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่สำคัญกว่านั้นเวทีนี้จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียนในการแสดงความรับผิดชอบต่อมวลมนุษยชาติ
ในตอนท้ายของการพูดคุยดังกล่าวนายกรัฐมนตรียังได้ขอให้เลขาธิการสหประชาชาติช่วยทำความเข้าใจกับองค์กรต่างๆให้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างรอบคอบเน้นความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาทางสังคมตามหลักมนุษยธรรมบนพื้นฐานของกฏหมายที่กล่าวมาแล้วข้างต้นและหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆที่ก่อให้เกิดความข้ดแยังทางการเมือง ซึ่งเลขาธิการสหประชาติ กล่าวพร้อมสนับสนุนแนวความคิดนี้และพร้อมร่วมมือเพื่อให้การประชุมของ 15 ประเทศ ประสบผลสำเร็จรวมทั้งขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไทยและอาเซียนด้วย
ด้าน บีบีซีไทย รายงานเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2558 ว่า พันตรีซอ เท ผู้อำนวยการประจำสำนักงานประธานาธิบดีเมียนมาร์ระบุว่า บรรดาผู้นำเมียนมาร์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่า จะเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างผิดปกติในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้หรือไม่ โดยจะพิจารณาจากประเด็นที่จะหารือในการประชุมเป็นหลัก ซึ่งเมียนมาร์จะไม่ยอมรับข้อกล่าวหาที่ว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญาอย่างเด็ดขาด
ก่อนหน้านี้ มีรายงานข่าวว่าเมียนมาร์มีแนวโน้มจะปฏิเสธเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยพันตรีซอ เท ระบุว่า ทางเมียนมาร์ยังไม่ได้รับหนังสือเชิญประชุมอย่างเป็นทางการ แต่หากหนังสือเชิญระบุว่า จะมีการหารือเรื่องโรฮิงญา เมียนมาร์ก็จะไม่เข้าร่วมด้วย ทั้งยังว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆในภูมิภาคพยายามเบี่ยงเบนความสนใจให้ออกห่างจากปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานทาสของตนด้วยการพยายามกล่าวโทษเมียนมาร์
ด้านนายเจฟ รัธเก โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯระบุว่า สหรัฐฯได้พยายามขอร้องให้รัฐบาลในภูมิภาคไม่ผลักดันเรือของผู้อพยพออกนอกน่านน้ำ และดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการช่วยชีวิตผู้อพยพเหล่านี้ ซึ่งมีรายงานด้วยว่า นายจอห์น แครี่ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ได้โทรศัพท์ถึง
พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์พักพิงผู้อพยพชั่วคราว รวมทั้งจะส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียที่ไทยด้วย โดยสหรัฐอเมริกาพร้อมให้ข้อมูลและคำแนะนำ ตลอดจนการสนับสนุนในด้านต่างๆ
อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ชี้แจงว่า ไทยมีความกังวลว่าจะมีผู้ที่ไม่ได้ประสบภัยอย่างแท้จริง ใช้โอกาสที่รัฐบาลมีนโยบายจัดหาพื้นที่พักพิงชั่วคราวให้แก่ผู้อพยพทางทะเล เป็นช่องทางในการเข้าสู่ประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย นโยบายดังกล่าวจึงเป็นนโยบายที่เตรียมไว้ในกรณีฉุกเฉิน ที่ต้องรอดูสถานการณ์และจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบกฎหมายไทยเท่านั้น
Link : http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431847471