เรียนถามแพทย์และบุคลากรสาธารณะสุข กรณีไส้ติ่งแตก

กระทู้คำถาม
เรียนสอบถามเพื่อเป็นความรู้รอบตัวผมเองและคลายข้อสงสัยครับ

ผู้ป่วยสิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ( 30 บาท ) มีอาการปวดท้องอาเจียนเบื่ออาหารมีไข้อ่อนๆเมื่อวันที่ 1(วันที่สมมุติ) ซึ่งก่อนหน้านี้จะมีอาการปวดท้องมานานเป็นเดือนแต่ไม่รุนแรง
จนเข้าวันที่ 2 ก็ปวดมากจนไม่สามารถเดินได้จึงไปรพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล ( รพ.สต. ) แพทย์ตรวจแล้วและให้ยาแก้ปวด กลับบ้าน แต่อาการยังไม่หายและปวดรุนแรงมาก
ตัวน้องสาวผู้ป่วยเป็นพยาบาลเมื่อทราบข่าวแล้วแนะนำให้ผู้ป่วยซึ่งเป็นพี่สาวเดินทางเข้าไปตรวจยัง รพ. จังหวัดของกลางคืนวันที่ 2
ห้องฉุกเฉินตรวจแล้วและให้นอนรอไว้ก่อนทั้งคืนจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น ผู้ป่วยมีอาการชักหมดสติ ทางรพ. ทำการผ่าตัดตอนเที่ยงๆ ซึ่งแล้วเสร็จตอนเย็นวันที่ 3
น้องสาวสอบถามกับศัลยแพทย์ทราบว่าไส้ติ่งแตกก่อนการผ่าตัด และผ่าตัดไม่ได้ทันทีในตอนที่ผู้ป่วยมาที่ ER
โดยให้เหตุผลว่าห้องผ่าตัด และแพทย์มีไม่เพียงพอ (มีใช้งาน 2 ห้อง) ประกอบกับมีคิวผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบรออยู่เช่นกันมากกว่า 10 คิว และมีคิวฉุกเฉินเร่งด่วนกว่าคือถูกแทงจากทะเลาะวิวาท ตัวน้องสาวจะทำการร้องเรียนแต่เปลี่ยนใจทีหลัง ซึ่งผมเป็นแฟนกับน้องสาวผู้ป่วยสอบถามจากน้องสาวดังนี้แต่ได้รับคำตอบที่คลุมเครือจึงเรียนสอบถามบุคลากรดังนี้ครับ

1.อาการไส้ติ่งอักเสบ วินิจฉัยยากหรือไม่ หากสงสัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบมีวิธีการตรวจที่แน่นอนหรือไม่ น้องสาวผู้ป่วยบอกว่าทำ CT scan หรือ ultrasound ได้  
ผมจึงสงสัยว่าแพทย์ รพ.สต. ที่ตรวจเป็นคนแรกหาก (1) ไม่แน่ใจว่าเป็นเหตุใดจึงไม่หาวิธีตรวจที่แน่นอน เช่นทำการส่งตัวมา CT scan  หรือ (2) หากมั่นใจแล้วว่าเป็นอาการไส้ติ่งอักเสบ ควรมีการรักษาอย่างไรต่อไปที่เหมาะสมกว่าการจ่ายยาแก้ปวดและแนะนำให้กลับบ้านหรือไม่ครับ

2.ไส้ติ่งแตก (ruptured) มีโอกาสเกิดมากน้อยเพียงใดครับ ผมคิดว่าทางรพ. จังหวัดนั้น มั่นใจแล้วว่าผู้ป่วยเป็น appendicitis แน่นอน เห็นได้จากการที่ให้ผู้ป่วยนอนรอที่ห้องฉุกเฉิน แต่รพ. ต้องมีการเฝ้าระวังใดๆ เพิ่มหรือไม่ ทำไมทาง รพ. มั่นใจว่าระหว่างที่รอนี้จะปลอดภัย

และจะสามารถทำอะไรได้หรือไม่นอกจากให้คนไข้นอนรอผ่าตามคิวจนไส้แตกในที่สุด (น้องสาวผู้ป่วยบอกว่า รพ.จังหวัด เป็นปฐมภูมิ สามารถจัดการได้ การไม่มีห้องผ่าตัดอ้างไม่ได้)

3.โอกาสเสียชีวิตหากไส้ติ่งแตกนั้นมากน้อยเพียงใดครับ

ปล.ตัวน้องสาวซึ่งเป็นพยาบาลนั้น 5 ปีก่อน ระหว่างที่เป็นนศ. พยาบาล ฝึกงานและพักหอที่ รพ.สต.แห่งหนึ่ง ก็ปวดท้องและแพทย์ตรวจแล้วให้นอน observe อาการ ที่นั่น แต่อาการปวดรุนแรงขึ้นมากๆ จึงขอ refer มาที่ รพ. จังหวัดซึ่งที่นั่นก็นอนอยู่ที่ห้อง ER ทั้งคืนไม่ได้ทำอะไรจน ruptured ในตอนเช้าและรพ. ลัดคิวผ่าตัด เธอบอกกับผมว่าโชคดีมากที่ขอ refer มาที่รพ. จังหวัดไม่ยังงั้นคงตายเป็นผีพยาบาลอยู่ที่ รพ.สต.นั่น ทำให้ผมสงสัยว่าอาการไส้ติ่งอักเสบนั้นทำอะไรที่ดีกว่านี้ได้หรือไม่

ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่