เห็นว่ามีประโยชน์ดีเลยเอามาฝากกัน
จักรยานก็ต้องการการดูแลเอาใจใส่จากผู้ใช้ แต่สำหรับผู้ใช้มือใหม่เราจะตรวจเช็คสภาพจักรยานยังไง? ลองดู 7 เทคนิคดูแลความปลอดภัยให้จักรยานก่อนออกปั่น ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองครับ
1. ล้อ: ลองเช็คแกนปลดล้อ ถอดออกมาปรับความแน่นอย่าให้หลวมเกินไป เมื่อแน่นดีแล้วลองเช็คว่าล้อจักรยานตั้งตรง ไม่ส่ายซ้ายขวา ยกจักรยานขึ้นแล้วหมุนล้อดูว่าไม่เบี้ยวติดขอบเบรค
2. ยาง: เช็คลมยางทุกครั้งก่อนออกปั่น ถ้าลมอ่อนเกินจะทำให้ยางรั่วได้ง่าย ถ้ายางแข็งเกินก็อาจจะทำให้รถสะเทือนเกินเป็นอันตรายต่อการบังคับ ดูจากข้างขอบยางว่าผู้ผลิตให้เติมลมได้สูงสุดเท่าไร อย่าให้เกิณตัวเลขนั้น ซึ่งหากเกินอาจจะทำให้ยางระเบิดได้ อย่าลืมดูสภาพยาง เช็คดูเม็ดกรวดที่อาจจะฝังอยู่ตามร่องยาง เช็ครอยฉีกที่อาจจะเกิดจากการเสียดสีกับของมีคมและอาจเป็นต้นเหตุให้ยางรั่วโดยที่เราไม่รู้ตัว
3. เบรค: กำมือเบรคแน่นๆ เช็คดูว่าเบรคทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ อย่าลืมดูว่าผ้าเบรคเหลือมากพอหรือเปล่า ถ้ายางผ้าเบรคเริ่มบางแล้วก็อาจจะได้เวลาเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่
4. บันได: ลองกดและหมุนบันไดหลายๆ ครั้ง ลองดึงดูว่ามันจะหลุดจากขาจานหรือเปล่า จุดหมุนต่างๆ บนจักรยานจะหลวมขึ้นเรื่อยๆ ตามแรงสะเทือนจาการใช้งาน จึงควรเช็คเป็นประจำ
5. ไฟจักรยาน: ถ้าต้องใช้จักรยานเวลากลางคืนอย่าลืมเช็คสภาพแบตเตอรีไฟจักรยาน อย่าให้ไฟดับเพราะถ่านหมดกลางทาง ถ้าเป็นจักรยานใช้งานไม่ใช่จักรยานแข่งขันก็ควรติดแถบสะท้อนแสงที่ท้ายรถ ท้ายเบาะหรือที่ลูกบันไดด้วย เพื่อให้รถที่ตามมาเห็นเราได้ง่าย
6. แฮนด์ สเต็ม หลักอาน: ส่วนควบคุมหลักของจักรยานเราก็อาจจะหลวมได้เช่นกันหากใช้เป็นเวลานาน อย่าลืมใช้ประแจหกเหลี่ยมเช็คความแน่นหนาเป็นระยะ ต้องระวังอย่าขันมากเกินแรงบีบที่ผู้ผลิตเขาเขียนไว้ข้างชิ้นส่วน แต่ก็อย่าให้หลวมเกินจนชิ้นส่วนขยับเวลาเราปั่นจริง
7. เกียร์: ทดลองปั่นแล้วเปลี่ยนเกียร์ให้ครบ ลองดูว่ามีเกียร์ไหนที่เป็นปัญหา ซึ่งอาจจะเกิดจากสภาพสายเกียร์เก่าเป็นสนิม เฟืองเริ่มเก่า โซ่เริ่มยาน ถ้าใช้ได้ราว 2000–3000 กิโลเมตรก็ควรเริ่มเช็คสภาพชุดขับเคลื่อน เพราะเฟืองและโซ่เป็นชิ้นส่วนที่สึกหรอตลอดเวลา
วิธีเช็คตรวจสอบความปลอดภัยส่วนต่างๆของจักรยาน
จักรยานก็ต้องการการดูแลเอาใจใส่จากผู้ใช้ แต่สำหรับผู้ใช้มือใหม่เราจะตรวจเช็คสภาพจักรยานยังไง? ลองดู 7 เทคนิคดูแลความปลอดภัยให้จักรยานก่อนออกปั่น ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองครับ
1. ล้อ: ลองเช็คแกนปลดล้อ ถอดออกมาปรับความแน่นอย่าให้หลวมเกินไป เมื่อแน่นดีแล้วลองเช็คว่าล้อจักรยานตั้งตรง ไม่ส่ายซ้ายขวา ยกจักรยานขึ้นแล้วหมุนล้อดูว่าไม่เบี้ยวติดขอบเบรค
2. ยาง: เช็คลมยางทุกครั้งก่อนออกปั่น ถ้าลมอ่อนเกินจะทำให้ยางรั่วได้ง่าย ถ้ายางแข็งเกินก็อาจจะทำให้รถสะเทือนเกินเป็นอันตรายต่อการบังคับ ดูจากข้างขอบยางว่าผู้ผลิตให้เติมลมได้สูงสุดเท่าไร อย่าให้เกิณตัวเลขนั้น ซึ่งหากเกินอาจจะทำให้ยางระเบิดได้ อย่าลืมดูสภาพยาง เช็คดูเม็ดกรวดที่อาจจะฝังอยู่ตามร่องยาง เช็ครอยฉีกที่อาจจะเกิดจากการเสียดสีกับของมีคมและอาจเป็นต้นเหตุให้ยางรั่วโดยที่เราไม่รู้ตัว
3. เบรค: กำมือเบรคแน่นๆ เช็คดูว่าเบรคทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ อย่าลืมดูว่าผ้าเบรคเหลือมากพอหรือเปล่า ถ้ายางผ้าเบรคเริ่มบางแล้วก็อาจจะได้เวลาเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่
4. บันได: ลองกดและหมุนบันไดหลายๆ ครั้ง ลองดึงดูว่ามันจะหลุดจากขาจานหรือเปล่า จุดหมุนต่างๆ บนจักรยานจะหลวมขึ้นเรื่อยๆ ตามแรงสะเทือนจาการใช้งาน จึงควรเช็คเป็นประจำ
5. ไฟจักรยาน: ถ้าต้องใช้จักรยานเวลากลางคืนอย่าลืมเช็คสภาพแบตเตอรีไฟจักรยาน อย่าให้ไฟดับเพราะถ่านหมดกลางทาง ถ้าเป็นจักรยานใช้งานไม่ใช่จักรยานแข่งขันก็ควรติดแถบสะท้อนแสงที่ท้ายรถ ท้ายเบาะหรือที่ลูกบันไดด้วย เพื่อให้รถที่ตามมาเห็นเราได้ง่าย
6. แฮนด์ สเต็ม หลักอาน: ส่วนควบคุมหลักของจักรยานเราก็อาจจะหลวมได้เช่นกันหากใช้เป็นเวลานาน อย่าลืมใช้ประแจหกเหลี่ยมเช็คความแน่นหนาเป็นระยะ ต้องระวังอย่าขันมากเกินแรงบีบที่ผู้ผลิตเขาเขียนไว้ข้างชิ้นส่วน แต่ก็อย่าให้หลวมเกินจนชิ้นส่วนขยับเวลาเราปั่นจริง
7. เกียร์: ทดลองปั่นแล้วเปลี่ยนเกียร์ให้ครบ ลองดูว่ามีเกียร์ไหนที่เป็นปัญหา ซึ่งอาจจะเกิดจากสภาพสายเกียร์เก่าเป็นสนิม เฟืองเริ่มเก่า โซ่เริ่มยาน ถ้าใช้ได้ราว 2000–3000 กิโลเมตรก็ควรเริ่มเช็คสภาพชุดขับเคลื่อน เพราะเฟืองและโซ่เป็นชิ้นส่วนที่สึกหรอตลอดเวลา