ประวัติ : บ้านแม่พวก อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ ประมาณ 30 กิโลเมตร ตั้งอยู่ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ บ้านแม่พวกมีชาวบ้านมาอาศัยอยู่มาก่อนราวปี พ.ศ. 2446 เดิมขึ้นกับอำเภอเมืองแพร่ และต่อมาทางราชการได้แยกและก่อตั้งเป็นอำเภอเพิ่มขึ้นมาใหม่ โดยให้ใช้ชื่อว่าอำเภอแม่พวก และแต่งตั้งพระยาสุริยะภักดี เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอแม่พวก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ทางการจึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอแม่พวกให้เป็นอำเภอสูงเม่น และบ้านแม่พวกก็ไปอยู่เขตอำเภอเด่นชัย ในปี 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เซอร์แอนดรู คล้าก และบริษัทปันชาร์ด สำรวจเพื่อก่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ โดยในปี พ.ศ. 2454 กรมรถไฟหลวง ก็ได้เปิดการเดินรถไฟมายังสถานีแม่พวก
ดังนั้นสถานีรถไฟแม่พวก จึงเป็นสถาปัตยกรรมอาคารสถานีรถไฟที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นหนึ่งในอาคารสถานีรถไฟที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่มีอายุถึง 104 ปี อาคารสถานียังอยู่ในสภาพที่ยังคงความสวยงามถึงแม้จะไม่สมบูรณ์นัก ปัจจุบันนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ยุบสถานีรถไฟแม่พวกและเปิดให้เป็นที่หยุดรถแทน เนื่องจากมีปริมาณผู้โดยสารน้อยลง จึงไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำสถานี
อย่างไรก็ตาม ยังมีรถไฟหยุดรับส่งผู้โดยสารอยู่วันละ 2 รอบ คือ รอบเช้าขาขึ้นนครสวรรค์ – เชียงใหม่ เวลา 10.00 น. และรอบบ่ายขาล่องเชียงใหม่ – นครสวรรค์ เวลา 14.00 น.
นอกจากนั้นแล้ว ฝั่งตรงข้ามของสถานีรถไฟแม่พวก ยังเป็นที่ตั้งของสวนสักปลูกแห่งแรกของประเทศไทย โดยในปี 2453 ทางกรมป่าไม้ ได้กำหนดให้มีการปลูกสวนสักขึ้นและได้เลือกบ้านแม่พวกแห่งนี้เป็นที่ปลูกต้นสัก บนพื้นที่ 133 ไร่
ปัจจุบันสวนสักปลูกแห่งนี้ มีต้นสักอยู่ถึง 1,779 ต้น และในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ตุลาคมของทุกปี จะมีดอกอาว (คล้ายดอกกระเจียว) ขึ้นตามบริเวณใต้ต้นสักเป็นจำนวนมาก ซึ่งดอกอาวเหล่านี้ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จนกลายเป็นทุ่งดอกอาวที่มีสีส้มแดงตัดกับพื้นป่าสีเขียว มองดูสวยงามเป็นอย่างยิ่ง
ที่มา:
http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/news/610126
ด อก อ า ว บ า น @ เ มื อ ง แ ป้
ประวัติ : บ้านแม่พวก อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ ประมาณ 30 กิโลเมตร ตั้งอยู่ตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ บ้านแม่พวกมีชาวบ้านมาอาศัยอยู่มาก่อนราวปี พ.ศ. 2446 เดิมขึ้นกับอำเภอเมืองแพร่ และต่อมาทางราชการได้แยกและก่อตั้งเป็นอำเภอเพิ่มขึ้นมาใหม่ โดยให้ใช้ชื่อว่าอำเภอแม่พวก และแต่งตั้งพระยาสุริยะภักดี เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอแม่พวก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ทางการจึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอแม่พวกให้เป็นอำเภอสูงเม่น และบ้านแม่พวกก็ไปอยู่เขตอำเภอเด่นชัย ในปี 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เซอร์แอนดรู คล้าก และบริษัทปันชาร์ด สำรวจเพื่อก่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ โดยในปี พ.ศ. 2454 กรมรถไฟหลวง ก็ได้เปิดการเดินรถไฟมายังสถานีแม่พวก
ดังนั้นสถานีรถไฟแม่พวก จึงเป็นสถาปัตยกรรมอาคารสถานีรถไฟที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นับเป็นหนึ่งในอาคารสถานีรถไฟที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ที่มีอายุถึง 104 ปี อาคารสถานียังอยู่ในสภาพที่ยังคงความสวยงามถึงแม้จะไม่สมบูรณ์นัก ปัจจุบันนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ยุบสถานีรถไฟแม่พวกและเปิดให้เป็นที่หยุดรถแทน เนื่องจากมีปริมาณผู้โดยสารน้อยลง จึงไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำสถานี
อย่างไรก็ตาม ยังมีรถไฟหยุดรับส่งผู้โดยสารอยู่วันละ 2 รอบ คือ รอบเช้าขาขึ้นนครสวรรค์ – เชียงใหม่ เวลา 10.00 น. และรอบบ่ายขาล่องเชียงใหม่ – นครสวรรค์ เวลา 14.00 น.
นอกจากนั้นแล้ว ฝั่งตรงข้ามของสถานีรถไฟแม่พวก ยังเป็นที่ตั้งของสวนสักปลูกแห่งแรกของประเทศไทย โดยในปี 2453 ทางกรมป่าไม้ ได้กำหนดให้มีการปลูกสวนสักขึ้นและได้เลือกบ้านแม่พวกแห่งนี้เป็นที่ปลูกต้นสัก บนพื้นที่ 133 ไร่
ปัจจุบันสวนสักปลูกแห่งนี้ มีต้นสักอยู่ถึง 1,779 ต้น และในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ตุลาคมของทุกปี จะมีดอกอาว (คล้ายดอกกระเจียว) ขึ้นตามบริเวณใต้ต้นสักเป็นจำนวนมาก ซึ่งดอกอาวเหล่านี้ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จนกลายเป็นทุ่งดอกอาวที่มีสีส้มแดงตัดกับพื้นป่าสีเขียว มองดูสวยงามเป็นอย่างยิ่ง
ที่มา:http://www.bangkokbiznews.com/mobile/view/news/610126