ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยน ช่อง 7 ช่อง 3 ได้รับความนิยมมากสุด นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เผยผลวิจัยพบ แม้ส่วนแบ่งทางการตลาดช่อง 7 จะลดลงไปบ้าง แต่ก็ไม่มาก ผิดกับช่อง 3 ส่วนแบ่งทางการตลาดขาลงตลอดเวลา ช่องทีวีขาขึ้นความนิยมเพิ่มขึ้นคือช่องเวิร์คพอยท์ ช่องวัน ไทยรัฐทีวี และช่อง 8
วันที่ 2 กันยายน ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยการปฏิรูปสื่อ สนับสนุนโดย สำนักงาน กสทช. จัดเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ "ติดอาวุธความรู้สู่การปฏิรูปสื่อให้ยั่งยืน" ณ ห้องพิมานทิพย์ โรงแรมมณเฑียร กรุงเทพฯ ภายในงานมีการนำเสนอผลงานวิจัยเบื้องต้น เรื่อง ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป บุคลากรสื่อไทย สื่อภาคประชาชน สื่อชุมชน การปฏิรูปสื่อสาธารณะ และการกำกับดูแลสื่อ
ช่วงหนึ่งดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงผลงานวิจัยภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป สื่อยุคหลอมรวม รวมถึงผู้บริโภคสื่อที่เปลี่ยนไป โดยพบว่า ในซีกของผู้รับจะใช้สมาร์ทดีไวซ์มาก เชื่อกันว่า คนไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ (Smart device) ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตประมาณ 30 ล้านเครื่อง และอีกไม่เกิน 5 ปี จะสูงถึง 50-60 ล้านเครื่อง รวมถึงคอนเน็คเต็ททีวี (connected TV)ด้วยที่คาดว่าจะเกิด 22 ล้านเครื่อง
ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า เทคโนโลยีทำให้โครงสร้างตลาดสื่อเปลี่ยนไป สำหรับตลาดวิทยุปัจจุบันยังไม่ได้เปลี่ยนสู่ดิจิตอล โครงสร้างตลาดจึงนิ่ง ทั้ง AM FM หน้าตาไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก แต่ที่เปลี่ยนมากสุดคือโทรทัศน์มีการแข่งขันทั้งฟรีทีวีอนาล็อค ฟรีทีวีดิจิตอล เคเบิ้ล ดาวเทียม ดิจิตอลเอชดี ผลคือทำให้ตลาดเปลี่ยน แข่งขันวัดความนิยม (Rating)
“ตั้งแต่มีทีวีดิจิตอลขึ้นมา ช่องที่ยังได้รับความนิยมมากสุด คือ ช่อง 7 และช่อง 3 โดยส่วนแบ่งทางการตลาดของช่อง 7 แม้จะลดลงไปบ้าง แต่ก็ไม่มาก ผิดกับช่อง 3 ส่วนแบ่งทางการตลาด "ขาลง" ตลอดเวลา สรุปคือ ช่อง 7 และช่อง 3 ยังยืนอยู่ได้ ช่อง 3 ขาสั่นไปบ้าง แต่สำหรับช่องอื่นๆ ทั้งช่อง 5 ช่อง 9 และช่องไทยพีบีเอส ความนิยมลดลงมาก” ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าว และว่า ขณะที่ช่องทีวีใหม่ๆ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่องเวิร์คพอยท์ ช่องวัน ไทยรัฐทีวี และช่อง 8 กระแสนิยมนับว่า อยู่ในช่วงขาขึ้น
ดร.สมเกียรติ กล่าวถึงสื่อหนังสือพิมพ์ แม้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย แต่ก็มีการวัดความนิยมในเว็บไซต์เกิดขึ้นเช่นกัน เช่น มีผู้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐกว่า 2 ล้านเล่ม ไทยรัฐออนไลน์ 6 แสนคน ข่าวสดผู้อ่านทางเว็บไซต์มากกว่าฉบับเล่ม เป็นต้น
ส่วนงบโฆษณาทีวีอนาล็อค เคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม งานวิจัยชิ้นนี้ ยังพบว่า ค่อยๆ ลดลง แต่งบโฆษณาทีวีดิจิตอลกลับเพิ่มขึ้น และแม้วงเงินโดยรวมงบโฆษณาทีวีจะใหญ่ขึ้นก็จริง แต่ตัวฐานทีวีดิจิตอลที่เกิดมามากไปแย่งเม็ดเงินมหาศาล
ดร.สมเกียรติ กล่าวถึงผลประกอบการรายบริษัทด้วยว่า ผู้ประกอบการสื่อจำนวนไม่น้อยขาดทุน โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ พร้อมยกตัวอย่างผลประกอบการธุรกิจสื่อปี 2557 มีไทยรัฐรายเดียวกำไรสุทธิ 1,600 ล้านบาท เดลินิวส์เหลือ 64 ล้านบาท เครือเนชั่นซึ่งมีสารพัดสื่อ ผลประกอบการสูสีกับเดลินิวส์ ส่วน MCOT ผลประกอบการลดลงมาก ขณะที่มติชน อัมรินทร์ เครือโพสต์ หนังสือพิมพ์กีฬา แกรมมี่ ติดลบหมด
"ดังนั้น แนวโน้มตลาดสื่อที่เปลี่ยนไปทำให้อนาคตการนิยามสื่อจะเป็นไปยากมากยิ่งขึ้น การหลอมรวมสื่อทำให้การเข้าถึงสื่อได้หลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะการวัดเรตติ้งแบบเดิมจะไม่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงผู้บริโภคแล้ว"
เครดิต
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.isranews.org/thaireform/thaireform-news/item/41073-7301.html
ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยน นักวิจัย ชี้ 4 ช่องดิจิตอล ขาขึ้น ‘เรตติ้ง’ ดี
วันที่ 2 กันยายน ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยการปฏิรูปสื่อ สนับสนุนโดย สำนักงาน กสทช. จัดเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ "ติดอาวุธความรู้สู่การปฏิรูปสื่อให้ยั่งยืน" ณ ห้องพิมานทิพย์ โรงแรมมณเฑียร กรุงเทพฯ ภายในงานมีการนำเสนอผลงานวิจัยเบื้องต้น เรื่อง ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป บุคลากรสื่อไทย สื่อภาคประชาชน สื่อชุมชน การปฏิรูปสื่อสาธารณะ และการกำกับดูแลสื่อ
ช่วงหนึ่งดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงผลงานวิจัยภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป สื่อยุคหลอมรวม รวมถึงผู้บริโภคสื่อที่เปลี่ยนไป โดยพบว่า ในซีกของผู้รับจะใช้สมาร์ทดีไวซ์มาก เชื่อกันว่า คนไทยใช้สมาร์ทดีไวซ์ (Smart device) ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตประมาณ 30 ล้านเครื่อง และอีกไม่เกิน 5 ปี จะสูงถึง 50-60 ล้านเครื่อง รวมถึงคอนเน็คเต็ททีวี (connected TV)ด้วยที่คาดว่าจะเกิด 22 ล้านเครื่อง
ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า เทคโนโลยีทำให้โครงสร้างตลาดสื่อเปลี่ยนไป สำหรับตลาดวิทยุปัจจุบันยังไม่ได้เปลี่ยนสู่ดิจิตอล โครงสร้างตลาดจึงนิ่ง ทั้ง AM FM หน้าตาไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก แต่ที่เปลี่ยนมากสุดคือโทรทัศน์มีการแข่งขันทั้งฟรีทีวีอนาล็อค ฟรีทีวีดิจิตอล เคเบิ้ล ดาวเทียม ดิจิตอลเอชดี ผลคือทำให้ตลาดเปลี่ยน แข่งขันวัดความนิยม (Rating)
“ตั้งแต่มีทีวีดิจิตอลขึ้นมา ช่องที่ยังได้รับความนิยมมากสุด คือ ช่อง 7 และช่อง 3 โดยส่วนแบ่งทางการตลาดของช่อง 7 แม้จะลดลงไปบ้าง แต่ก็ไม่มาก ผิดกับช่อง 3 ส่วนแบ่งทางการตลาด "ขาลง" ตลอดเวลา สรุปคือ ช่อง 7 และช่อง 3 ยังยืนอยู่ได้ ช่อง 3 ขาสั่นไปบ้าง แต่สำหรับช่องอื่นๆ ทั้งช่อง 5 ช่อง 9 และช่องไทยพีบีเอส ความนิยมลดลงมาก” ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าว และว่า ขณะที่ช่องทีวีใหม่ๆ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่องเวิร์คพอยท์ ช่องวัน ไทยรัฐทีวี และช่อง 8 กระแสนิยมนับว่า อยู่ในช่วงขาขึ้น
ดร.สมเกียรติ กล่าวถึงสื่อหนังสือพิมพ์ แม้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย แต่ก็มีการวัดความนิยมในเว็บไซต์เกิดขึ้นเช่นกัน เช่น มีผู้อ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐกว่า 2 ล้านเล่ม ไทยรัฐออนไลน์ 6 แสนคน ข่าวสดผู้อ่านทางเว็บไซต์มากกว่าฉบับเล่ม เป็นต้น
ส่วนงบโฆษณาทีวีอนาล็อค เคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม งานวิจัยชิ้นนี้ ยังพบว่า ค่อยๆ ลดลง แต่งบโฆษณาทีวีดิจิตอลกลับเพิ่มขึ้น และแม้วงเงินโดยรวมงบโฆษณาทีวีจะใหญ่ขึ้นก็จริง แต่ตัวฐานทีวีดิจิตอลที่เกิดมามากไปแย่งเม็ดเงินมหาศาล
ดร.สมเกียรติ กล่าวถึงผลประกอบการรายบริษัทด้วยว่า ผู้ประกอบการสื่อจำนวนไม่น้อยขาดทุน โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ พร้อมยกตัวอย่างผลประกอบการธุรกิจสื่อปี 2557 มีไทยรัฐรายเดียวกำไรสุทธิ 1,600 ล้านบาท เดลินิวส์เหลือ 64 ล้านบาท เครือเนชั่นซึ่งมีสารพัดสื่อ ผลประกอบการสูสีกับเดลินิวส์ ส่วน MCOT ผลประกอบการลดลงมาก ขณะที่มติชน อัมรินทร์ เครือโพสต์ หนังสือพิมพ์กีฬา แกรมมี่ ติดลบหมด
"ดังนั้น แนวโน้มตลาดสื่อที่เปลี่ยนไปทำให้อนาคตการนิยามสื่อจะเป็นไปยากมากยิ่งขึ้น การหลอมรวมสื่อทำให้การเข้าถึงสื่อได้หลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะการวัดเรตติ้งแบบเดิมจะไม่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงผู้บริโภคแล้ว"
เครดิต
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้