วัดบางวัดขายหนังสือธรรมะ หรืออนุญาตให้ขายผลิตภัณฑ์โดยเอาโลโก้ทางพระพุทธศาสนาไปแปะ คัดลอกพระพุทธพจน์ขาย

คำถาม :: ปัจจุบัน มีวัดบางวัดขายหนังสือธรรมะ หรืออนุญาตให้ขายผลิตภัณฑ์โดยเอาโลโก้ทางพระพุทธศาสนาไปแปะ
คัดลอกพระพุทธพจน์ขายก็มี ผมว่าสมัยก่อนพระพุทธเจ้าสอนธรรมะแบบฟรีนะครับ ไม่ต้องเสียเงิน
และเดินเท้าเปล่าในระยะทางอันแสนไกลด้วย ผมอยากรู้ว่า พระขายสิ่งของ หรือยินดีให้คนอื่นขาย สนับสนุนให้คนอื่นขาย
หรือทำหนังสือโดยคัดลอกพระพุทธพจน์แล้วขาย หรือให้คนอื่นขายแล้วแบ่งเปอร์เซ็นต์เข้าวัด แบบนี้ผิดพระวินัยมั้ยครับ ถ้าผิด ผิดข้อใดครับ?


คำตอบ :: ผมไม่สามารถวินิจฉัยตามคำถามเพื่อเป็นผู้ชี้ผิด-ชี้ถูกได้ครับ นอกจากขอยกพระวินัยที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ให้พิจารณา
แบบตรงไปตรงมา ดังนี้


[๒๗๙] นานปฺปการกํ รูปิยสํโวหารํ สมาปชฺชนฺโต เทฺว อาปตฺติโย อาปชฺชติ สมาปชฺชติ ปโยเค ทุกฺกฏํ สมาปนฺเน นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ ฯ
[๒๘๐] นานปฺปการกํ กยวิกฺกยํ สมาปชฺชนฺโต เทฺว อาปตฺติโย อาปชฺชติ สมาปชฺชติ ปโยเค ทุกฺกฏํ สมาปนฺเน นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ ฯ

[๒๗๙] ภิกษุถึงความแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ ต้องอาบัติ ๒ คือ
เป็นทุกกฏในประโยคะ (ในขณะพยายาม/ขวนขวาย/ประกอบ) ๑
เมื่อความพยายาม (ประโยคะ) สำเร็จแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.

[๒๘๐] ภิกษุถึงการซื้อและขายมีประการต่างๆ ต้องอาบัติ ๒ คือ
เป็นทุกกฏในประโยคะ (ในขณะพยายาม/ขวนขวาย/ประกอบ) ๑
เมื่อความพยายาม (ประโยคะ) สำเร็จแล้ว เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๑.


นอกจากนี้ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า "รูปิยะ" แม้มีในพระพุทธวจนะ แต่ไม่ได้ตรัสบทนิยามไว้ว่าหมายถึงอะไร
แต่ผู้ที่ให้นิยามของคำว่า "รูปิยะ" นั้น คือ "พระอรรถกถาจารย์" ซึ่งในชั้นอรรถกถาได้ชี้ให้เห็นว่า
"รูปิยะ" นั้น หมายถึงอะไร ดังความปรากฎต่อไปนี้

บทว่า รูปิยสพฺโยหารํ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงิน.
บทว่า สมาปชฺชนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มองไม่เห็นโทษในการแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงินที่ตนรับไว้แล้ว
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการรับอย่างเดียว จึงกระทำ (การแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ)
(อ้างอิง :: อรรถกถา นิสสัคคิยกัณฑ์ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙ พรรณนารูปิยสัพโยหารสิกขาบท)


ดังนั้น การที่ชาวพุทธทั้งหลายทราบว่า รูปิยะ หมายถึง เงิน และ ทอง นั้น ก็ด้วยเพราะมีอรรถกถาให้นิยามความหมายไว้นั่นเอง ครับ

รัก เคารพ ศรัทธา หยั่งลงมั่นในพระรัตนตรัย สาธุ พระพุทธวจนะ
_________ พระพุทธวจนะ พระดำรัสพระพุทธเจ้า ________

ที่มา
https://www.facebook.com/pages/BuddhaVajana-BuddhaDhamma/444879189005181?fref=ts


-----------------------------

ตัวอย่าง






































[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้












เครดิต ภาพจากกระทู้ท่านเทพ



คำถาม





แก้ไขลิงค์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่