การทำสิ่งใดใดโดยไม่ไตร่ตรองถึงผลกระทบที่จะตามมาในอนาคต ย่อมทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องกับสิ่งแวดล้อม และธรรมชาติได้ เหมือนกับทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก (The Butterfly Effect) เพียงผีเสื้อตัวเล็กๆ กระพือปีกสามารถก่อให้เกิดพายุใหญ่ที่ไม่คาดคิดในระยะทางที่ห่างออกไปไกลๆ ได้ (เข้าทำนอง “เด็ดดอกไม้กระเทือนถึงดวงดาว”)
ดังนั้น เราควรที่จะหันมาใส่ใจการกระทำในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น เหมือนกับชุมชนชาวประมงคั่นกระได ที่หันมาอนุรักษ์ทะเลที่เป็นแหล่งทำกิน และหาเลี้ยงปากท้องของครอบครัวมากขึ้น เพื่อให้ท้องทะเลไทยยังคงมีทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างเพียงพอ และยั่งยืนสืบต่อไปถึงรุ่นลูก - หลาน
"ประมงพื้นบ้าน : จับอย่างพอเพียง เพื่อมีกินมีใช้อย่างเพียงพอ"
"ปล่อยหนึ่งจักเกิดแสน" นี่คือแนวคิดหลักสู่การประมงอย่างยั่งยืนของพี่น้องชาวประมงชุมชนคั่นกระได จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับการอนุรักษ์ฟื้นฟูด้วยธนาคารปู และการสร้างบ้านปลา ตั้งกฎกติกาชุมชน เพื่อให้ทะเลอันเป็นแหล่งวิถีชีวิตและบ้านของพวกเขายังคงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งการทำประมงที่มีความรับผิดชอบและเป็นมิตรต่อท้องทะเลนี่เอง คือทางออกของการปกป้องทรัพยากรทางทะเลของไทยไว้อย่างยั่งยืน
การทำประมงแบบทำลายล้างได้เข้ามาสู่ชุมชนคั่นกระได และได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวประมงในชุมชนไป โดยพวกเขาเริ่มหันมาใช้เครื่องมือประมงแบบทำลายล้างด้วยอวนที่มีขนาดเล็กลง และไม่ใช่เพียงแค่เรือของพี่จิรศักดิ์เท่านั้น แต่เรือ 60-70 ลำในชุมชน ก็ต่างใช้เครื่องมือประมงที่ทำลายล้างเช่นเดียวกัน "ในช่วงแรกก็สามารถจับได้จำนวนมาก เริ่มจากจับปลาใหญ่ พอปลาใหญ่หมดก็จับปลาเล็ก เพื่อที่จะหวังให้ได้ปลามาก แต่สุดท้ายเราก็เรียนรู้ว่าปลามากจริงแต่เพียงเดือนเดียว แต่เราต้องอดอีกเป็นปีกว่าปลาจะโต และขยายพันธุ์ได้ เมื่อเป็นวิธีที่ไม่ยั่งยืนปลาจึงค่อยๆ หายไป และใช้เวลายาวนานกว่าจำนวนปลาจะกลับมาเหมือนเดิม ทางเลือกของเราคือ เราจะทำอย่างนี้ต่อไป ด้วยการใช้อวนตาถี่ หรือเราจะลองเลิก ท้ายที่สุดเราเลิก และปลาก็กลับมา เมื่อเราทบทวนดูเราก็รู้ว่าอวนตาถี่ที่เราเอามาใช้เป็นต้นเหตุที่ทำให้ทรัพยากรเราหมด" พี่จิรศักดิ์เล่า นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ชาวประมงแห่งชุมชนคั่นกระไดมารวมตัวกัน เพื่อหยุดวิกฤติปัญหาการทำประมงเกินขนาด
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ คอลัมน์; เวทีสาธารณะ; อ่านเพิ่มเติมต่อได้ที่ :
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.ryt9.com/s/tpd/2239568
.... จับอย่างพอเพียง เพื่อมีกินมีใช้อย่างเพียงพอ
ดังนั้น เราควรที่จะหันมาใส่ใจการกระทำในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น เหมือนกับชุมชนชาวประมงคั่นกระได ที่หันมาอนุรักษ์ทะเลที่เป็นแหล่งทำกิน และหาเลี้ยงปากท้องของครอบครัวมากขึ้น เพื่อให้ท้องทะเลไทยยังคงมีทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างเพียงพอ และยั่งยืนสืบต่อไปถึงรุ่นลูก - หลาน
"ปล่อยหนึ่งจักเกิดแสน" นี่คือแนวคิดหลักสู่การประมงอย่างยั่งยืนของพี่น้องชาวประมงชุมชนคั่นกระได จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กับการอนุรักษ์ฟื้นฟูด้วยธนาคารปู และการสร้างบ้านปลา ตั้งกฎกติกาชุมชน เพื่อให้ทะเลอันเป็นแหล่งวิถีชีวิตและบ้านของพวกเขายังคงความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งการทำประมงที่มีความรับผิดชอบและเป็นมิตรต่อท้องทะเลนี่เอง คือทางออกของการปกป้องทรัพยากรทางทะเลของไทยไว้อย่างยั่งยืน
การทำประมงแบบทำลายล้างได้เข้ามาสู่ชุมชนคั่นกระได และได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวประมงในชุมชนไป โดยพวกเขาเริ่มหันมาใช้เครื่องมือประมงแบบทำลายล้างด้วยอวนที่มีขนาดเล็กลง และไม่ใช่เพียงแค่เรือของพี่จิรศักดิ์เท่านั้น แต่เรือ 60-70 ลำในชุมชน ก็ต่างใช้เครื่องมือประมงที่ทำลายล้างเช่นเดียวกัน "ในช่วงแรกก็สามารถจับได้จำนวนมาก เริ่มจากจับปลาใหญ่ พอปลาใหญ่หมดก็จับปลาเล็ก เพื่อที่จะหวังให้ได้ปลามาก แต่สุดท้ายเราก็เรียนรู้ว่าปลามากจริงแต่เพียงเดือนเดียว แต่เราต้องอดอีกเป็นปีกว่าปลาจะโต และขยายพันธุ์ได้ เมื่อเป็นวิธีที่ไม่ยั่งยืนปลาจึงค่อยๆ หายไป และใช้เวลายาวนานกว่าจำนวนปลาจะกลับมาเหมือนเดิม ทางเลือกของเราคือ เราจะทำอย่างนี้ต่อไป ด้วยการใช้อวนตาถี่ หรือเราจะลองเลิก ท้ายที่สุดเราเลิก และปลาก็กลับมา เมื่อเราทบทวนดูเราก็รู้ว่าอวนตาถี่ที่เราเอามาใช้เป็นต้นเหตุที่ทำให้ทรัพยากรเราหมด" พี่จิรศักดิ์เล่า นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ชาวประมงแห่งชุมชนคั่นกระไดมารวมตัวกัน เพื่อหยุดวิกฤติปัญหาการทำประมงเกินขนาด
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ คอลัมน์; เวทีสาธารณะ; อ่านเพิ่มเติมต่อได้ที่ : [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้