ผมสังเกตเห็นประจำ คือ มีการตั้งกระทู้ขึ้นมา ถกเถียงกันเรื่อง "คำสอนของ พระพุทธองค์" โดยพยายามอธิบาย เบ่งความรู้ เพื่อเอาชนะกัน? คือถ้าถกกันด้วยไมตรีจิต ก็น่าฟังนะครับ แต่ถ้าหลับหูหลับตาโต้แย้งกันหัวชนฝา เอาให้ตายกันไปข้าง นี่อ่านแล้วเพลีย! ส่วนกระทู้นี้ ผมขออนุญาตแสดงเป็น ธรรมทาน สำหรับท่านที่ยังไม่รู้ธรรม ส่วนท่านที่รู้แล้วเก่งแล้ว ก็ให้อยู่อย่าง ปัจจัตตัง (รู้เฉพาะตนไป) ผมไม่ได้เอามาโต้แย้งกับใคร เจตนามาให้ด้วยจิตกุศล นะครับ
...
ถ้าว่ากันตามเนื้ออรรถข้อธรรม นั้นมีมากมาย เราก็อย่าไปเอาแต่ "เนื้อ, เปลือก" ให้เลือกเอาแต่ "แก่น" เช่น (ไตรลักษณ์ : 1.อนิจจัง=ความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน, 2.ทุกขัง=ความรู้สึกไม่พอดี ทำให้เป็นทุกข์, 3.อนัตตา=ความไม่มีตัวตน ความว่างเปล่า),.. (อริยสัจ4=ความจริง สี่ประการ : 1.ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเกลียด ความกลัว ความผิดหวัง ความอยาก การพลัดพรากจากของที่รัก ล้วนเป็นทุกข์; 2.สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชชา ความไม่รู้ ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต ตกอยู่ในเปลวไฟแห่งตัณหา ราคะ ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุแห่งทุกข์; 3.นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิต นำไปสู่การดับความเศร้าโศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน; 4.มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ การหล่อเลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติ ความมีสติ นำไปสู่สมาธิและปัญญา ซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข ์และความโศกเศร้าทั้งมวล อันจะนำไปสู่ความเบิกบาน สงบสุขสันติ ซึ่งพระพุทธองค์ ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
...
แต่นี่เป็นเพียงแค่ธรรมแค่เศษเสี้ยวหนึ่ง จึงว่าคำสอนของพระพุทธองค์ นั้นเยอะแยะมากมายเกินกว่ามนุษย์จะเข้าใจได้หมด (เนื้อความที่พระองค์อธิบายขยายความนั้น ละเอียด ลึกซึ้ง เกินกว่ามนุษย์ทุกคนจะเข้าใจได้) บางคนสติปัญญาดี ก็เข้าใจมาก บางคนสติปัญญาไม่ค่อยดี ก็เข้าใจไดน้อยหรือแค่บางส่วน (พระพุทธองค์ทรงแบ่งระดับสติปัญญาของมนุษย์ไว้เป็น บัว 4เหล่า) มนุษย์ส่วนใหญ่นั้นอยู่กับความ "โง่" คือ "ไม่รู้" ส่วนคำว่า "พุทธะ, พุทโธ" คือ "ผู้รู้" พระพุทธเจ้าท่านจึงเน้นสอนให้ ทุกคนเป็น "ผู้รู้" คือ "รู้ใจตนเอง" หมายถึง ต่างคนต่างก็ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แจ่มใส ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง ไม่ทุกข์ ไม่ร้อน ไม่กลัว ไม่กังวล ให้จิต โล่ง สบาย ทำจิตของตนให้เป็น "อนัตตา" คือ ความว่าง คือ จิตว่าง.. (ธรรม ก็คือ ทุกสิ่งรอบๆตัว ธรรมชาติ ธรรมดา) และเมื่อท่านเข้าใจและยอมรับว่า "ทุกสิ่งมีเกิดขึ้น ก็ย่อมมีดับไป เป็นธรรมดา" นั่นแหล่ะครับ ท่านจึงจะ "บรรลุธรรม"
...
*ปล. ผมเคยบวชจำพรรษา วัดป่าปฏิบัติกรรมมัฎฐาน สายหลวงปู่มั่น, หลวงปู่ดูลย์, หลวงปู่สมชาย(วัดเขาสุกิม) ส่วนข้อปฏิบัติเคร่งหลักๆ เช่น 1.ไม่รับเงิน(คือ ไม่สัมผัสแตะต้อง หากโยมมีจิตศรัทธา ให้เขียนใบปวารณาเป็นจำนวนเงิน แล้วมอบให้กับโยมวัด) 2.ฉันมื้อเดียว 3.ฉันในบาตร 4.บิณฑบาตรเป็นวัตร 5.ไม่สวมรองเท้า 6.ต้องนั่งพับเพียบ 7.เน้นปฏิบัติภาวนา(มากกว่าการนั่งจับกลุ่มสนทนากัน) ฯลฯ เนื้อความทั้งหมดนี้มิได้มีเจตนาอวดอ้างหรือนั่งเทียนเขียน เพียงแต่อธิบาย ตามที่บวชศึกษาและปฏิบัติมา ครับ
...
...
...
..."การให้ ธรรมทาน คือ การให้ที่ประเสริฐสุด"...
*หากท่านดวงตาเห็นธรรม ขอจง โมทนา สาธุ!*
......................โย ช้างใหญ่.........................
สัจธรรม (ความจริงแห่งโลกและชีวิต)
...
ถ้าว่ากันตามเนื้ออรรถข้อธรรม นั้นมีมากมาย เราก็อย่าไปเอาแต่ "เนื้อ, เปลือก" ให้เลือกเอาแต่ "แก่น" เช่น (ไตรลักษณ์ : 1.อนิจจัง=ความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอน, 2.ทุกขัง=ความรู้สึกไม่พอดี ทำให้เป็นทุกข์, 3.อนัตตา=ความไม่มีตัวตน ความว่างเปล่า),.. (อริยสัจ4=ความจริง สี่ประการ : 1.ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเกลียด ความกลัว ความผิดหวัง ความอยาก การพลัดพรากจากของที่รัก ล้วนเป็นทุกข์; 2.สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชชา ความไม่รู้ ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต ตกอยู่ในเปลวไฟแห่งตัณหา ราคะ ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุแห่งทุกข์; 3.นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิต นำไปสู่การดับความเศร้าโศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน; 4.มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ การหล่อเลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติ ความมีสติ นำไปสู่สมาธิและปัญญา ซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข ์และความโศกเศร้าทั้งมวล อันจะนำไปสู่ความเบิกบาน สงบสุขสันติ ซึ่งพระพุทธองค์ ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
...
แต่นี่เป็นเพียงแค่ธรรมแค่เศษเสี้ยวหนึ่ง จึงว่าคำสอนของพระพุทธองค์ นั้นเยอะแยะมากมายเกินกว่ามนุษย์จะเข้าใจได้หมด (เนื้อความที่พระองค์อธิบายขยายความนั้น ละเอียด ลึกซึ้ง เกินกว่ามนุษย์ทุกคนจะเข้าใจได้) บางคนสติปัญญาดี ก็เข้าใจมาก บางคนสติปัญญาไม่ค่อยดี ก็เข้าใจไดน้อยหรือแค่บางส่วน (พระพุทธองค์ทรงแบ่งระดับสติปัญญาของมนุษย์ไว้เป็น บัว 4เหล่า) มนุษย์ส่วนใหญ่นั้นอยู่กับความ "โง่" คือ "ไม่รู้" ส่วนคำว่า "พุทธะ, พุทโธ" คือ "ผู้รู้" พระพุทธเจ้าท่านจึงเน้นสอนให้ ทุกคนเป็น "ผู้รู้" คือ "รู้ใจตนเอง" หมายถึง ต่างคนต่างก็ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ แจ่มใส ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง ไม่ทุกข์ ไม่ร้อน ไม่กลัว ไม่กังวล ให้จิต โล่ง สบาย ทำจิตของตนให้เป็น "อนัตตา" คือ ความว่าง คือ จิตว่าง.. (ธรรม ก็คือ ทุกสิ่งรอบๆตัว ธรรมชาติ ธรรมดา) และเมื่อท่านเข้าใจและยอมรับว่า "ทุกสิ่งมีเกิดขึ้น ก็ย่อมมีดับไป เป็นธรรมดา" นั่นแหล่ะครับ ท่านจึงจะ "บรรลุธรรม"
...
*ปล. ผมเคยบวชจำพรรษา วัดป่าปฏิบัติกรรมมัฎฐาน สายหลวงปู่มั่น, หลวงปู่ดูลย์, หลวงปู่สมชาย(วัดเขาสุกิม) ส่วนข้อปฏิบัติเคร่งหลักๆ เช่น 1.ไม่รับเงิน(คือ ไม่สัมผัสแตะต้อง หากโยมมีจิตศรัทธา ให้เขียนใบปวารณาเป็นจำนวนเงิน แล้วมอบให้กับโยมวัด) 2.ฉันมื้อเดียว 3.ฉันในบาตร 4.บิณฑบาตรเป็นวัตร 5.ไม่สวมรองเท้า 6.ต้องนั่งพับเพียบ 7.เน้นปฏิบัติภาวนา(มากกว่าการนั่งจับกลุ่มสนทนากัน) ฯลฯ เนื้อความทั้งหมดนี้มิได้มีเจตนาอวดอ้างหรือนั่งเทียนเขียน เพียงแต่อธิบาย ตามที่บวชศึกษาและปฏิบัติมา ครับ
...
...
...
..."การให้ ธรรมทาน คือ การให้ที่ประเสริฐสุด"...
*หากท่านดวงตาเห็นธรรม ขอจง โมทนา สาธุ!*
......................โย ช้างใหญ่.........................