แพะไม่รับบาปพิทักษ์สิทธิอดีตผู้ป่วยบังคับบำบัด
การศึกษาหาความรู้ไม่ว่าจะเป็นวิชาหรือสาขาอาชีพใดก็ตาม เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาไขว่คว้าเพื่อประโยชน์และความก้าวหน้าของตนเองแต่มีวิชาหนึ่งเชื่อได้เลยว่าทุกคนไม่อยากเรียนในวิชานี้และอาจจะเกิดขึ้นกับตัวเรา บุคคลในครอบครัว คนที่เรารู้จักโดยเฉพาะผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ วิชานั้นคือ “ วิชาแพะ ”
สิ่งที่ผมจะเล่าขวัญ ( Story Telling ) ต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วเกี่ยวข้องกับบทบาทของแพทย์ พยาบาลตลอดจนสหวิชาชีพอื่นๆที่ให้บริการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติดที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพในสถานบำบัดฟื้นฟูทั้งระบบสมัครใจรักษาและระบบบังคับบำบัดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ปีพุทธศักราช 2545
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 นายนนท์ (นามสมมุติ) ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพครบ 120 วัน ประเมินพฤติกรรมผ่านเกณฑ์การประเมินตามแบบ บฟ.85 วันนั้นมารดานายนนท์ได้โทรศัพท์ติดต่อมาปรึกษาข้าพเจ้า ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรตำบล ((ขอสงวนนาม) ของพื้นที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี แจ้งว่าให้นายนนท์ไปพบที่สถานีตำรวจเนื่องจากนายนนท์มีเรื่องทะเลาะวิวาทและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน(รถยนต์) เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งในความรู้สึกของนายนนท์และมารดาคิดว่าเรื่องนี้เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนด้วยเหตุผลที่ว่าในวันดังกล่าวนายนนท์อยู่บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ณ สถาบันธัญญารักษ์ และขอร้องให้ข้าพเจ้ามาที่สถานีตำรวจเพื่อช่วยยืนยันเบื้องต้นกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ณ วันเกิดเหตุดังกล่าวนั้นนายนนท์อยู่บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ข้าพเจ้าลำดับเหตุการณ์และเป็นเรื่องที่น่าจะพูดคุยกันได้ประกอบกับเป็นวันหยุดราชการและบ้านของข้าพเจ้าอยู่ห่างจากสถานีตำรวจประมาณ 10 กิโลเมตรจึงตอบรับนายนนท์และมารดาด้วยความยินดี ที่จะไปสถานีตำรวจดังกล่าว เมื่อนายนนท์ไปที่สถานีตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบให้นายนนท์เข้าไปในห้องสอบสวนแล้วยื่นเอกสารให้นายนนท์อ่านซึ่งเอกสารนั้นคือหมายจับนายนนท์ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาย 2 ศพ บาดเจ็บสาหัส 2 คนในวันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 00.30 น.และ 23.30 น. ตามลำดับในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ ตามหมายศาลจังหวัดนนทบุรี ขณะนั้นนายนนท์ มารดาและข้าพเจ้าเกิดความรู้สึกสับสนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญข้าพเจ้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจบอกว่าไม่มีเกี่ยวข้องออกนอกห้องสอบสวน ก่อนออกนอกห้องสอบสวนข้าพเจ้าแนะนำนายนนท์ว่าถ้าจะมีการเซ็นต์เอกสารอะไรให้อ่านรายละเอียดในเอกสารนั้นๆให้เข้าใจก่อนเซ็นต์เอกสาร นายนนท์ ตกอยู่ในสภาพของจำเลยในวันที่ไปมอบตัวที่สถานีตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการตามขั้นตอน สอบสวน บันทึกเอกสารประกอบคำรับสารภาพให้นายนนท์เซ็นต์รับสารภาพ แต่นายนนท์ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ขณะเดียวกันได้มีการให้พยานโจทย์จำนวน 3 คน ชี้ตัวนายนนท์ตามขั้นตอนในวันนั้นแล้วเสร็จโดยพยานโจทย์ทั้ง 3 คน ชี้ไปที่นายนนท์ซึ่งเป็นจำเลยตรงกันหมด เหตุการณ์นี้เป็นไปได้หรือไม่ลองวิเคราะห์สถานการณ์ดู
นายนนท์ เป็นผู้ป่วยเสพยาเสพติดประเภทยาบ้า สำนักงานคุมประพฤติประจำศาลจังหวัดนนทบุรีส่งเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพแบบควบคุมตัว ไม่เข้มงวด ผู้ป่วยใน ณ สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี มีกำหนด 120 วัน ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2548 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ตึกอัญมณี
แม่ของนายนนท์ประกอบอาชีพรับจ้าง ด้วยความรักลูก แต่ไม่มีเงินหรือหลักทรัพย์ เพื่อประกอบการขอประกันตัวลูกของตนเอง ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงฝากขังนายนนท์ไว้ที่สถานีตำรวจภูธรดังกล่าวและส่งต่อมาที่เรือนจำจังหวัดนนทบุรี ด้วยความมั่นใจในตัวลูกของความเป็นแม่ที่รู้ว่าลูกของตนเองไม่ได้กระผิดดังข้อกล่าวหา จึงดิ้นรนหาเงินหรือหลักทรัพย์เพื่อนำมาประกันตัวลูกออกมาสู่อ้อมกอดแม่ และหาทนายความต่อสู้คดีเพื่อหาความยุติธรรมให้กับลูกของตนเอง
การดำเนินการทางกฎหมายเป็นไปตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม ตำรวจสรุปสำนวนให้อัยการเป็นโจทย์ยื่นฟ้องจำเลยตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. มารดายื่นต่อศาลขอประกันตัวนายนนท์ โดยใช้การประกันตัวกับบริษัทประกันภัย
2. ทนายความฝ่ายนายนนท์ยื่นขออำนาจศาลในการขอสำเนาเอกสารเวชระเบียนทั้งหมดของนาย
นนท์จากสถาบันธัญญารักษ์เพื่อประกอบการพิจารณาคดี
3. ศาลสืบพยานโจทย์ทั้ง 3 คน ที่ศาลชั้นต้น จังหวัดนนทบุรี พยานโจทย์ทั้ง 3 คนไม่มาตามศาล
นัดสืบพยาน โดยทั้ง 3 คน ให้เหตุผลว่าทำงานอยู่ต่างจังหวัดไม่สามารถมาได้ (จังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น เพชรบูรณ์)
4. ศาลสืบพยานโจทย์ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พยานโจทย์ไม่มาตามศาลนัด
5. ศาลสืบพยานโจทย์ที่จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดขอนแก่น พยานโจทย์ให้การต่อศาลว่า
จำคนยิงไม่ได้เพราะเป็นเวลากลางคืน โดยคนที่ยิง สวมหมวกกันน็อค และเห็นด้านข้าง ผู้พิพากษา ถามเหตุผลที่ชี้ตัวจำเลยในวันที่ชี้ตัว ณ สถานีตำรวจภูธรข้างต้น ในวันนั้นเพราะอะไร พยานโจทย์อ้างว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้บอกให้ชี้ตัวนายนนท์เพื่อยืนยันไว้ก่อน
6. วันที่ 9 ตุลาคม 2551 ศาลนัดสืบพยานนายนนท์ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากสถาบันธัญญา
รักษ์ ซึ่งเป็นผู้บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพนายนนท์ในระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม 2548 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ประกอบด้วย นางสุภาภรณ์ ศรีตาลอ่อน พยาบาลวิชาชีพ 8 วช. นายบรรจบ มากัน พยาบาลวิชาชีพ 7 วช. นางสาวกาญจนา ข้อสว่าง พยาบาลวิชาชีพ 7 วช. นางนคร กันหา พยาบาลวิชาชีพ 6 ว. ซึ่งศาลขอสืบพยานเพียง 2 คนคือ นายบรรจบ มากันและนางนคร กันหา ตามลำดับไม่มีฝ่ายโจทย์มาที่ศาล รายละเอียดการให้การต่อศาลชั้นต้นตามที่ทนายความฝ่ายนายนนท์และอัยการฝ่ายโจทย์ซักถามมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ถาม พยานโจทย์ชื่ออะไร ตำแหน่งอะไร สถานที่ทำงาน ทำงานมาเป็นเวลากี่ปี
ตอบ นายบรรจบ มากัน ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ 7 วช. รับราชการที่สถาบันธัญญารักษ์ เป็นระยะเวลา 27 ปี 4 เดือน นางนคร กันหา ตอบในลักษณะเดียวกันที่เกี่ยวข้องกับตนเอง
ถาม การดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพมีวิธีในการดูแลอย่างไร
ตอบ ในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพตลอด 24 ชั่วโมง จะมี เจ้าหน้าที่คอย ดูแลโดยจะแบ่งเป็น 3 เวร ดังนี้
- เวรเช้าเริ่มเวลา 08.30 น. -16.30 น. จะมีพยาบาล 6 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 1 คน
- เวรบ่ายเริ่มเวลา 16.30น. – 00.30 น. จะมีพยาบาล 1 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 1 คน
- เวรดึกเริ่มเวลา 00.30น. – 08.30 น. จะมีผู้ช่วยเหลือไข้ 2 คน
- ช่วงระหว่างเวรจะมีการตรวจนับจำนวนผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง โดยเจ้าหน้าที่
- หากผู้ป่วยจะออกนอกตึกจะต้องมีการ เซ็นต์ชื่อเข้า ออก ทุกครั้ง และจะมี เจ้าหน้าที่ตรวจสอบทุกวัน
- เจ้าหน้าที่ ที่มารับเวรในช่วงเวรเช้า บ่าย ดึก จะมีการตรวจนับจำนวนผู้ป่วยก่อนปฏิบัติหน้าที่
- จะมีการตรวจนับจำนวนผู้ป่วยก่อนเข้านอนทุกวันและจะให้ผู้ป่วยเข้านอนตั้งแต่เวลา 22.00 น.
และตื่นนอนเวลา 05.30 น. ของทุกวัน
ถาม รู้จักนายนนท์ หรือไม่
ตอบ รู้จักในฐานะเป็นผู้ป่วยเข้ามาบำบัดฟื้นฟูในระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม 2548 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดประเภทแอมเฟตามีนโดยคุมประพฤติประจำศาลจังหวัดนนทบุรี ส่งมาบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ณ สถาบันธัญญารักษ์
ถาม เวลากลางคืน นายนนท์ พักอยู่ที่ใด มียามเฝ้าไหม นายนนท์ เคยมีประวัติหนีออกไปข้างนอกระหว่างการบำบัดฟื้นฟูหรือไม่
ตอบ เวลากลางคืน นายนนท์ พักที่ สถาบันธัญญารักษ์ ตึกอัญมณี จะมีเจ้าหน้าที่เวรประจำวันดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และหน้าตึกจะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำจุดดูแลอีก นายนนท์ไม่เคยมีประวัติออกไปนอกสถาบันธัญญารักษ์ในระหว่างการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ
ถาม เอกสารบันทึกทางการพยาบาลในเวชระเบียนของนายนนท์ วันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 08.30 – 16.30 น. เป็นลายมือของท่านใช่หรือไม่ และนำมาให้ดู
ตอบ ใช่
ถาม บันทึกข้อความรายงานเหตุการณ์ปกติ จำนวนผู้ป่วยที่อยู่ครบจำนวนในวันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์ 2549 ณ เวลา 00.30 น. และ 23.30 น.ตามลำดับ เป็นของใคร บันทึกเวลาไหน และนำมาให้ดู
ตอบ เป็นการบันทึกรายงานภายหลังของนายสุชาติ สถาผล และ นายสุนันท์ แซ่โง้ว ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ ตามที่ทนายความ ขออำนาจศาลขอเวชระเบียนมายังสถาบันธัญญารักษ์
ถาม ถ้าผู้ป่วยบางคนมีการหลบหนีออกข้างนอก ทางโรงพยาบาลมีวิธีการลงโทษอย่างไร
ตอบ วิธีการดูแลผู้ป่วยหลบหนี เมื่อทราบว่าผู้ป่วยหลบหนี เจ้าหน้าที่หรือผู้ป่วยจะต้องเป่านกหวีด เจ้าหน้าที่จะแจ้ง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำจุดทราบ เพื่อตามจับตัวผู้ป่วย เมื่อจับตัวผู้ป่วยได้แล้วจะนำกลับเข้าตึกและให้การดูแลช่วยเหลือตามรูปแบบการดูแลผู้ป่วยต่อไป
ถาม ความประพฤติของนายนนท์ ระหว่างการบำบัดฟื้นฟูเป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ ความประพฤติของนายนนท์ ระหว่างการบำบัดฟื้นฟู เป็นผู้ป่วยที่มีความประพฤติดี ปฏิบัติตัวอยู่ในกฎระเบียบและให้ความร่วมมือในการบำบัดฟื้นฟูเป็นอย่างดี
ถาม พยานรู้จักกับผู้ตายทั้ง 2 คนและผู้เสียหายทั้ง 2 คน (อ่านชื่อ นามสกุล ทั้ง 4 คนให้ฟัง) หรือไม่ตอบ ไม่รู้จักทั้ง 4 คน
ถาม ที่นายนนท์ถูกกล่าวหาว่าไปฆ่าคนตายนั้น พยานเชื่อหรือไม่
ตอบ ไม่เชื่อ
6. ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 30 ตุลาคม 2551 เวลา 09.00 น. ณ ศาลจังหวัดนนทบุรี บัลลังค์ 1
7. วันที่ 30 ตุลาคม 2551 เวลา 09.00 น. ศาลอ่านคำพิพากษาพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทย์และจำเลย มีเหตุผลว่าเชื่อถือในพยานจำเลย ไม่เชื่อว่าจำเลยกระทำผิดจริงตามที่ฟ้องตัดสินคดียกฟ้องและขอฝากขังนายนนท์ เป็นเวลา 30 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้อัยการยื่นขออุทธรณ์ในคดี
8. เนื่องจากสัญญาการประกันตัวของนายนนท์กับบริษัทประกันสิ้นสุดลงในวันนี้ประกอบกับแม่ของนายนนท์ไม่มีเงินหรือหลักทรัพย์มาประกันตัวเนื่องจากโฉนดที่ดินของตนเองทำธุระกรรมกับธนาคารสหกรณ์การเกษตร จังหวัดนนทบุรี นายนนท์จึงถูกฝากขัง ณ เรือนจำจังหวัดนนทบุรี
9 . วันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 แม่ของนายนนท์ โทรศัพท์ติดต่อมาขอให้พยาบาลช่วยดำเนินการประกันตัวนายนนท์ ซึ่งพยาบาลพิจารณาแล้วเห็นว่าเกินขอบเขตของบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในขณะนั้นจึงตอบปฏิเสธไป และประสานงานขอความร่วมมือจากเพื่อนของพยาบาลที่เป็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทำงานในเรือนจำจังหวัดนนทบุรีช่วยดูแล นายนนท์ในระหว่างการฝากขังของศาล
10. วันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 แม่ของนายนนท์นำโฉนดที่ดินไปยื่นขอประกันตัวต่อศาลเพื่อให้
นายนนท์ออกมามีอิสรภาพสู่สังคมภายนอกที่ควรจะเป็น
11. วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 เวลา 09.00 น. อัยการไม่ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลและศาลพิพากษาตัดสิน
ยกฟ้องในคดีนี้และถือว่าคดีนี้สิ้นสุด
จากเหตุการณ์ดังกล่าวจะเปรียบได้ว่านายนนท์กำลังศึกษา “ วิชาแพะ ” ก็น่าจะได้แต่ศึกษาไม่จบหลักสูตร ส่วนท่านผู้อ่านต้องวิเคราะห์เองว่าวิชาแพะวิชานี้มีเบื้องหน้า เบื้องหลังหรือไม่อย่างไร ที่เกิดขึ้นกับนายนนท์ กระผมคงไม่แสดงความคิดเห็นในวิชานี้แต่เรื่องราวดังกล่าวนี้เป็นกรณีศึกษาที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ให้การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติดทั้งระบบสมัครใจและระบบบังคับบำบัด
ถึงแม้ว่าศาลมีคำพิพากษายกฟ้องในคดีดังกล่าวแล้วก็จริงแต่สภาวะร่างกายและสุขภาพจิตตลอดจนสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ภาพลักษณ์ อัตมโนทัศน์ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นกับครอบครัวของนายนนท์จะมีใครมาทราบและรับรู้ได้ ทั้งดิ้นรนหาเงินมาประกันตัว จ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายอื่นๆในการต่อสู้คดีในฐานความผิดที่ตนเองไม่ได้กระทำแต่ด้วยความดีของครอบครัวนายนนท์ที่ทำมาในอดีตและกระบวนการยุติธรรมของศาลส่งผลให้ความจริงก็คือความจริง สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอัยการ ที่ท่านมีเมตตา รู้และเข้าถึงในวิชาแพะเป
แพะไม่รับบาป
การศึกษาหาความรู้ไม่ว่าจะเป็นวิชาหรือสาขาอาชีพใดก็ตาม เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาไขว่คว้าเพื่อประโยชน์และความก้าวหน้าของตนเองแต่มีวิชาหนึ่งเชื่อได้เลยว่าทุกคนไม่อยากเรียนในวิชานี้และอาจจะเกิดขึ้นกับตัวเรา บุคคลในครอบครัว คนที่เรารู้จักโดยเฉพาะผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ วิชานั้นคือ “ วิชาแพะ ”
สิ่งที่ผมจะเล่าขวัญ ( Story Telling ) ต่อไปนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วเกี่ยวข้องกับบทบาทของแพทย์ พยาบาลตลอดจนสหวิชาชีพอื่นๆที่ให้บริการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติดที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพในสถานบำบัดฟื้นฟูทั้งระบบสมัครใจรักษาและระบบบังคับบำบัดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ปีพุทธศักราช 2545
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2549 นายนนท์ (นามสมมุติ) ผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพครบ 120 วัน ประเมินพฤติกรรมผ่านเกณฑ์การประเมินตามแบบ บฟ.85 วันนั้นมารดานายนนท์ได้โทรศัพท์ติดต่อมาปรึกษาข้าพเจ้า ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรตำบล ((ขอสงวนนาม) ของพื้นที่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี แจ้งว่าให้นายนนท์ไปพบที่สถานีตำรวจเนื่องจากนายนนท์มีเรื่องทะเลาะวิวาทและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน(รถยนต์) เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งในความรู้สึกของนายนนท์และมารดาคิดว่าเรื่องนี้เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอนด้วยเหตุผลที่ว่าในวันดังกล่าวนายนนท์อยู่บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ณ สถาบันธัญญารักษ์ และขอร้องให้ข้าพเจ้ามาที่สถานีตำรวจเพื่อช่วยยืนยันเบื้องต้นกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ณ วันเกิดเหตุดังกล่าวนั้นนายนนท์อยู่บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ข้าพเจ้าลำดับเหตุการณ์และเป็นเรื่องที่น่าจะพูดคุยกันได้ประกอบกับเป็นวันหยุดราชการและบ้านของข้าพเจ้าอยู่ห่างจากสถานีตำรวจประมาณ 10 กิโลเมตรจึงตอบรับนายนนท์และมารดาด้วยความยินดี ที่จะไปสถานีตำรวจดังกล่าว เมื่อนายนนท์ไปที่สถานีตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบให้นายนนท์เข้าไปในห้องสอบสวนแล้วยื่นเอกสารให้นายนนท์อ่านซึ่งเอกสารนั้นคือหมายจับนายนนท์ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาย 2 ศพ บาดเจ็บสาหัส 2 คนในวันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 00.30 น.และ 23.30 น. ตามลำดับในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ ตามหมายศาลจังหวัดนนทบุรี ขณะนั้นนายนนท์ มารดาและข้าพเจ้าเกิดความรู้สึกสับสนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เชิญข้าพเจ้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจบอกว่าไม่มีเกี่ยวข้องออกนอกห้องสอบสวน ก่อนออกนอกห้องสอบสวนข้าพเจ้าแนะนำนายนนท์ว่าถ้าจะมีการเซ็นต์เอกสารอะไรให้อ่านรายละเอียดในเอกสารนั้นๆให้เข้าใจก่อนเซ็นต์เอกสาร นายนนท์ ตกอยู่ในสภาพของจำเลยในวันที่ไปมอบตัวที่สถานีตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการตามขั้นตอน สอบสวน บันทึกเอกสารประกอบคำรับสารภาพให้นายนนท์เซ็นต์รับสารภาพ แต่นายนนท์ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ขณะเดียวกันได้มีการให้พยานโจทย์จำนวน 3 คน ชี้ตัวนายนนท์ตามขั้นตอนในวันนั้นแล้วเสร็จโดยพยานโจทย์ทั้ง 3 คน ชี้ไปที่นายนนท์ซึ่งเป็นจำเลยตรงกันหมด เหตุการณ์นี้เป็นไปได้หรือไม่ลองวิเคราะห์สถานการณ์ดู
นายนนท์ เป็นผู้ป่วยเสพยาเสพติดประเภทยาบ้า สำนักงานคุมประพฤติประจำศาลจังหวัดนนทบุรีส่งเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพแบบควบคุมตัว ไม่เข้มงวด ผู้ป่วยใน ณ สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี มีกำหนด 120 วัน ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2548 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ตึกอัญมณี
แม่ของนายนนท์ประกอบอาชีพรับจ้าง ด้วยความรักลูก แต่ไม่มีเงินหรือหลักทรัพย์ เพื่อประกอบการขอประกันตัวลูกของตนเอง ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงฝากขังนายนนท์ไว้ที่สถานีตำรวจภูธรดังกล่าวและส่งต่อมาที่เรือนจำจังหวัดนนทบุรี ด้วยความมั่นใจในตัวลูกของความเป็นแม่ที่รู้ว่าลูกของตนเองไม่ได้กระผิดดังข้อกล่าวหา จึงดิ้นรนหาเงินหรือหลักทรัพย์เพื่อนำมาประกันตัวลูกออกมาสู่อ้อมกอดแม่ และหาทนายความต่อสู้คดีเพื่อหาความยุติธรรมให้กับลูกของตนเอง
การดำเนินการทางกฎหมายเป็นไปตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม ตำรวจสรุปสำนวนให้อัยการเป็นโจทย์ยื่นฟ้องจำเลยตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. มารดายื่นต่อศาลขอประกันตัวนายนนท์ โดยใช้การประกันตัวกับบริษัทประกันภัย
2. ทนายความฝ่ายนายนนท์ยื่นขออำนาจศาลในการขอสำเนาเอกสารเวชระเบียนทั้งหมดของนาย
นนท์จากสถาบันธัญญารักษ์เพื่อประกอบการพิจารณาคดี
3. ศาลสืบพยานโจทย์ทั้ง 3 คน ที่ศาลชั้นต้น จังหวัดนนทบุรี พยานโจทย์ทั้ง 3 คนไม่มาตามศาล
นัดสืบพยาน โดยทั้ง 3 คน ให้เหตุผลว่าทำงานอยู่ต่างจังหวัดไม่สามารถมาได้ (จังหวัดมหาสารคาม ขอนแก่น เพชรบูรณ์)
4. ศาลสืบพยานโจทย์ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พยานโจทย์ไม่มาตามศาลนัด
5. ศาลสืบพยานโจทย์ที่จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดขอนแก่น พยานโจทย์ให้การต่อศาลว่า
จำคนยิงไม่ได้เพราะเป็นเวลากลางคืน โดยคนที่ยิง สวมหมวกกันน็อค และเห็นด้านข้าง ผู้พิพากษา ถามเหตุผลที่ชี้ตัวจำเลยในวันที่ชี้ตัว ณ สถานีตำรวจภูธรข้างต้น ในวันนั้นเพราะอะไร พยานโจทย์อ้างว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้บอกให้ชี้ตัวนายนนท์เพื่อยืนยันไว้ก่อน
6. วันที่ 9 ตุลาคม 2551 ศาลนัดสืบพยานนายนนท์ ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากสถาบันธัญญา
รักษ์ ซึ่งเป็นผู้บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพนายนนท์ในระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม 2548 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ประกอบด้วย นางสุภาภรณ์ ศรีตาลอ่อน พยาบาลวิชาชีพ 8 วช. นายบรรจบ มากัน พยาบาลวิชาชีพ 7 วช. นางสาวกาญจนา ข้อสว่าง พยาบาลวิชาชีพ 7 วช. นางนคร กันหา พยาบาลวิชาชีพ 6 ว. ซึ่งศาลขอสืบพยานเพียง 2 คนคือ นายบรรจบ มากันและนางนคร กันหา ตามลำดับไม่มีฝ่ายโจทย์มาที่ศาล รายละเอียดการให้การต่อศาลชั้นต้นตามที่ทนายความฝ่ายนายนนท์และอัยการฝ่ายโจทย์ซักถามมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ถาม พยานโจทย์ชื่ออะไร ตำแหน่งอะไร สถานที่ทำงาน ทำงานมาเป็นเวลากี่ปี
ตอบ นายบรรจบ มากัน ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ 7 วช. รับราชการที่สถาบันธัญญารักษ์ เป็นระยะเวลา 27 ปี 4 เดือน นางนคร กันหา ตอบในลักษณะเดียวกันที่เกี่ยวข้องกับตนเอง
ถาม การดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพมีวิธีในการดูแลอย่างไร
ตอบ ในการดูแลผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพตลอด 24 ชั่วโมง จะมี เจ้าหน้าที่คอย ดูแลโดยจะแบ่งเป็น 3 เวร ดังนี้
- เวรเช้าเริ่มเวลา 08.30 น. -16.30 น. จะมีพยาบาล 6 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 1 คน
- เวรบ่ายเริ่มเวลา 16.30น. – 00.30 น. จะมีพยาบาล 1 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 1 คน
- เวรดึกเริ่มเวลา 00.30น. – 08.30 น. จะมีผู้ช่วยเหลือไข้ 2 คน
- ช่วงระหว่างเวรจะมีการตรวจนับจำนวนผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง โดยเจ้าหน้าที่
- หากผู้ป่วยจะออกนอกตึกจะต้องมีการ เซ็นต์ชื่อเข้า ออก ทุกครั้ง และจะมี เจ้าหน้าที่ตรวจสอบทุกวัน
- เจ้าหน้าที่ ที่มารับเวรในช่วงเวรเช้า บ่าย ดึก จะมีการตรวจนับจำนวนผู้ป่วยก่อนปฏิบัติหน้าที่
- จะมีการตรวจนับจำนวนผู้ป่วยก่อนเข้านอนทุกวันและจะให้ผู้ป่วยเข้านอนตั้งแต่เวลา 22.00 น.
และตื่นนอนเวลา 05.30 น. ของทุกวัน
ถาม รู้จักนายนนท์ หรือไม่
ตอบ รู้จักในฐานะเป็นผู้ป่วยเข้ามาบำบัดฟื้นฟูในระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม 2548 ถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดประเภทแอมเฟตามีนโดยคุมประพฤติประจำศาลจังหวัดนนทบุรี ส่งมาบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ ณ สถาบันธัญญารักษ์
ถาม เวลากลางคืน นายนนท์ พักอยู่ที่ใด มียามเฝ้าไหม นายนนท์ เคยมีประวัติหนีออกไปข้างนอกระหว่างการบำบัดฟื้นฟูหรือไม่
ตอบ เวลากลางคืน นายนนท์ พักที่ สถาบันธัญญารักษ์ ตึกอัญมณี จะมีเจ้าหน้าที่เวรประจำวันดูแลตลอด 24 ชั่วโมง และหน้าตึกจะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำจุดดูแลอีก นายนนท์ไม่เคยมีประวัติออกไปนอกสถาบันธัญญารักษ์ในระหว่างการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ
ถาม เอกสารบันทึกทางการพยาบาลในเวชระเบียนของนายนนท์ วันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา 08.30 – 16.30 น. เป็นลายมือของท่านใช่หรือไม่ และนำมาให้ดู
ตอบ ใช่
ถาม บันทึกข้อความรายงานเหตุการณ์ปกติ จำนวนผู้ป่วยที่อยู่ครบจำนวนในวันที่ 4 และ 5 กุมภาพันธ์ 2549 ณ เวลา 00.30 น. และ 23.30 น.ตามลำดับ เป็นของใคร บันทึกเวลาไหน และนำมาให้ดู
ตอบ เป็นการบันทึกรายงานภายหลังของนายสุชาติ สถาผล และ นายสุนันท์ แซ่โง้ว ตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้ ตามที่ทนายความ ขออำนาจศาลขอเวชระเบียนมายังสถาบันธัญญารักษ์
ถาม ถ้าผู้ป่วยบางคนมีการหลบหนีออกข้างนอก ทางโรงพยาบาลมีวิธีการลงโทษอย่างไร
ตอบ วิธีการดูแลผู้ป่วยหลบหนี เมื่อทราบว่าผู้ป่วยหลบหนี เจ้าหน้าที่หรือผู้ป่วยจะต้องเป่านกหวีด เจ้าหน้าที่จะแจ้ง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำจุดทราบ เพื่อตามจับตัวผู้ป่วย เมื่อจับตัวผู้ป่วยได้แล้วจะนำกลับเข้าตึกและให้การดูแลช่วยเหลือตามรูปแบบการดูแลผู้ป่วยต่อไป
ถาม ความประพฤติของนายนนท์ ระหว่างการบำบัดฟื้นฟูเป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ ความประพฤติของนายนนท์ ระหว่างการบำบัดฟื้นฟู เป็นผู้ป่วยที่มีความประพฤติดี ปฏิบัติตัวอยู่ในกฎระเบียบและให้ความร่วมมือในการบำบัดฟื้นฟูเป็นอย่างดี
ถาม พยานรู้จักกับผู้ตายทั้ง 2 คนและผู้เสียหายทั้ง 2 คน (อ่านชื่อ นามสกุล ทั้ง 4 คนให้ฟัง) หรือไม่ตอบ ไม่รู้จักทั้ง 4 คน
ถาม ที่นายนนท์ถูกกล่าวหาว่าไปฆ่าคนตายนั้น พยานเชื่อหรือไม่
ตอบ ไม่เชื่อ
6. ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 30 ตุลาคม 2551 เวลา 09.00 น. ณ ศาลจังหวัดนนทบุรี บัลลังค์ 1
7. วันที่ 30 ตุลาคม 2551 เวลา 09.00 น. ศาลอ่านคำพิพากษาพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทย์และจำเลย มีเหตุผลว่าเชื่อถือในพยานจำเลย ไม่เชื่อว่าจำเลยกระทำผิดจริงตามที่ฟ้องตัดสินคดียกฟ้องและขอฝากขังนายนนท์ เป็นเวลา 30 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้อัยการยื่นขออุทธรณ์ในคดี
8. เนื่องจากสัญญาการประกันตัวของนายนนท์กับบริษัทประกันสิ้นสุดลงในวันนี้ประกอบกับแม่ของนายนนท์ไม่มีเงินหรือหลักทรัพย์มาประกันตัวเนื่องจากโฉนดที่ดินของตนเองทำธุระกรรมกับธนาคารสหกรณ์การเกษตร จังหวัดนนทบุรี นายนนท์จึงถูกฝากขัง ณ เรือนจำจังหวัดนนทบุรี
9 . วันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 แม่ของนายนนท์ โทรศัพท์ติดต่อมาขอให้พยาบาลช่วยดำเนินการประกันตัวนายนนท์ ซึ่งพยาบาลพิจารณาแล้วเห็นว่าเกินขอบเขตของบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในขณะนั้นจึงตอบปฏิเสธไป และประสานงานขอความร่วมมือจากเพื่อนของพยาบาลที่เป็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ทำงานในเรือนจำจังหวัดนนทบุรีช่วยดูแล นายนนท์ในระหว่างการฝากขังของศาล
10. วันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 แม่ของนายนนท์นำโฉนดที่ดินไปยื่นขอประกันตัวต่อศาลเพื่อให้
นายนนท์ออกมามีอิสรภาพสู่สังคมภายนอกที่ควรจะเป็น
11. วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 เวลา 09.00 น. อัยการไม่ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลและศาลพิพากษาตัดสิน
ยกฟ้องในคดีนี้และถือว่าคดีนี้สิ้นสุด
จากเหตุการณ์ดังกล่าวจะเปรียบได้ว่านายนนท์กำลังศึกษา “ วิชาแพะ ” ก็น่าจะได้แต่ศึกษาไม่จบหลักสูตร ส่วนท่านผู้อ่านต้องวิเคราะห์เองว่าวิชาแพะวิชานี้มีเบื้องหน้า เบื้องหลังหรือไม่อย่างไร ที่เกิดขึ้นกับนายนนท์ กระผมคงไม่แสดงความคิดเห็นในวิชานี้แต่เรื่องราวดังกล่าวนี้เป็นกรณีศึกษาที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ให้การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ ผู้ติดสารเสพติดทั้งระบบสมัครใจและระบบบังคับบำบัด
ถึงแม้ว่าศาลมีคำพิพากษายกฟ้องในคดีดังกล่าวแล้วก็จริงแต่สภาวะร่างกายและสุขภาพจิตตลอดจนสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ภาพลักษณ์ อัตมโนทัศน์ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นกับครอบครัวของนายนนท์จะมีใครมาทราบและรับรู้ได้ ทั้งดิ้นรนหาเงินมาประกันตัว จ้างทนายความ ค่าใช้จ่ายอื่นๆในการต่อสู้คดีในฐานความผิดที่ตนเองไม่ได้กระทำแต่ด้วยความดีของครอบครัวนายนนท์ที่ทำมาในอดีตและกระบวนการยุติธรรมของศาลส่งผลให้ความจริงก็คือความจริง สุดท้ายนี้ขอขอบคุณอัยการ ที่ท่านมีเมตตา รู้และเข้าถึงในวิชาแพะเป