รู้สึกไม่สบายใจ ที่ได้ไปแสดงความคิดเห็นสั้นๆในกระทู้ที่ถามถึง สถานะของห้อง"ก้นครัว"
จริงๆตั้งแต่ห้อง"จตุจักร"แล้ว)ในปัจจุบัน
ซึ่งเมื่อก่อนบรรยากาศอบอุ่น ใครไปกินร้านไหนมา อร่อย-ไม่อร่อยก็มาบอกต่อกัน พี่ทักน้อง น้องชวนพี่
จนยุคที่โลกออนไลน์เริ่มมีอิทธิพล รีวิวดีร้านก็เกิด รีวิวแย่ร้านก็ดับ เจ้าของร้านที่พอมีกำลัง ก็ใช้วิธีเสนอ...เพื่อให้นักชิมรีวิวร้านของตน(ในทางที่ดี)
เมื่อมากเข้าเลยเป็นเหตุให้มีการจัดระเบียบ CR และ SR อย่างที่ทราบๆกัน กลายเป็นจุดให้ยึดถือสำหรับบางคนว่า CR ต้องดีกว่า SR เพราะจ่ายเงินเอง แต่ในความเป็นจริงก็ไม่เสมอไป SR ดีๆที่เคยตามรอย โดยเฉพาะในโรงแรมก็ยังมีดีอยู่ และเป็นฐานข้อมูลที่ดี เวลาจะเลือกพาแขกไปกิน
แล้ว"ร้านข้างทาง"เล่า ไม่มีเงินทองไปจ้างใครรีวิวได้หรอก บางร้านอยู่มาก่อนผมเกิด แต่บริหารจัดการไม่เป็น,ไม่มีคนสืบทอด,คนรุ่นใหม่ไม่รู้จัก หรือฯลฯ รอวัน"เคย"รู้ว่ามี
ฟุตปาธ(footpath)นั้น มีหน้าที่ของมันตรงตามตัวอยู่แล้ว คือเป็นทางเดินเท้า
คนไทยเราสมัยโบราณนั้น ก็เคยค้าขายกันเป็นหลักแหล่ง มีย่านการค้าชัดเจน แต่ที่มีทีหลังคือ"ถนน" เมื่อแรกสร้างถนนเจริญกรุงนั้น วัตถุประสงค์ตอนนั้น เพื่อให้ต่างชาติมีที่ให้รถม้าและม้าวิ่ง และตัดผ่านย่านการค้าสำคัญหลายแห่ง พื้นที่บนถนนยังไม่ได้มีสัดส่วนชัดเจน ว่านี่ทางคน นี่ทางรถ ก็เกิดการจับจองกันทำการค้าริมทางไปทั่ว บ้างปักหลัก(ประเภทที่เดินไม่ค่อยไหว) บ้างหาบขายไปเรื่อย ลูกค้าเรียกก็หยุด ก็เป็นอย่างนี้เรื่อยมา
จนบ้านเมืองเริ่มเติบโต การใช้พื้นที่บนถนนเป็นอันตราย จึงได้มีการแบ่งเส้นให้เห็นชัด ทั้งระหว่างรถ-รถ และรถ-คน
แต่แน่นอน ทุกประเทศในโลกนี้ ล้วนไม่ต่างกัน(แม้ในปัจจุบัน) มีการ"ละเมิด"ใช้พื้นที่ๆควรเป็นของ"คนเดินถนน" (pedestrian)ทั้งสิ้น ไม่ว่ากรณีใดกรณีหนึ่ง
แต่ด้วยการบังคับใช้กฏหมายนั้นต่างกัน ตัวอย่างอังกฤษสามารถกวาดล้าง(ขอใช้คำนี้)ให้เป็นที่เป็นทาง มีการจัดพื้นที่ให้ชัดเจน(แถว Notting Hill เป็นต้น) บ้านเมืองก็ดูสะอาดตาดี
แต่ถามว่าแถบชานเมือง หรือเมืองเล็กๆ ยังมีคนรุกล้ำอยู่บ้างหรือไม่?
บ้านเราเองนั้นปล่อยปละละเลยกันมายาวนาน ผมเองจะว่าไป ก็เคยมีส่วนในการออกแบบถนนหนทางย่านชุมชนอยู่บ้างสักเกือบ 20 ปีมาแล้ว เคยรู้สึกต่อต้าน เพราะตามมาตรฐานการออกแบบนั้นชัดเจน ว่าหน้าที่ของ"ฟุตปาธ"คืออะไร และการรุกล้ำเป็นปัญหาทำให้เกิดการจราจรติดขัดด้วย
*แต่ผมไม่ได้มีหน้าที่-อำนาจบริหารจัดการและดูแล*
ย้อนไปสมัยเด็กๆแม่พาไปจ่ายตลาดที ก็รู้สึกอึดอัดเหมือนกัน ว่าทำไมแม่เลือกไปซื้อเจ้าที่ขายบนฟุตปาธ ทั้งๆที่ในตลาดก็มีแผงขาย ได้คำตอบคือ"ถูกกว่า" และได้อุดหนุนคนที่ไม่ได้มีแผงประจำ(มีทุกวัย) วันนี้ผักนี้ออกก็เอามาขาย ผลไม้นี้ออกก็เอามาขาย ได้ปลามาเหลือจากเก็บไว้กินก็เอามาขาย
เวลาไปเลือกซื้อทีก็เดินเบียดกันแย่งกัน นึกย้อนไปก็สนุกและมีรสชาติดี
ที่กล่าวมานั้น ก็เล่าตามสภาพความเป็นจริง ส่วนหนึ่งของบ้านเมืองเรา โดยธรรมชาติแล้ว คำจำกัดความที่ชาวต่างชาติทั้งตะวันออกและตะวันตกให้ คือ"สบายๆ","ง่ายๆ","อะไรก็ได้","ไม่เป็นไร","ให้อภัย"
และอยากบอกว่าปัญหาตรงนี้มันเกิดมาเนิ่นนานแล้ว การจะแก้ไขลำพังเพียงตั้งกระทู้กันไป ประโยชน์อาจไม่มากนัก และเหมือนไฟไหม้ฟาง
ผมอยากให้มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม จากรัฐบาลเป็นหลัก เพราะหลายพื้นที่ๆมีการจัดระเบียบชัดเจน ก็ดูสวยงามและน่าแวะหามากกว่าที่ปล่อยอีเหละเขะขะ
แล้วเราเองควรทำอย่างไร?
สำหรับท่านที่รณรงค์ไม่อุดหนุนก็ทำไป แต่ผมเองซึ่งใช้งานอดิเรกด้วยการรีวิวร้านอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านข้างทาง(30 กว่าร้านที่รีวิวมา ปรากฏว่ารุกล้ำแทบทุกร้าน555) เพราะเบื่อกระแส"ดราม่า"เรื่องม้า-ไม่ม้า ถ้าต้องไปรีวิวร้านหรูๆ ก็ยังขอยืนหยัดกินและรีวิวต่อไป(เดี๋ยวคงมีรีวิว street food แบบเต็มลงด้วย)
เพราะมีมุมมองที่ต่างไป ในเรื่องการรักษาเอกลักษณ์ร้านเก่าแก่บางร้านไว้ ซึ่งหากรัฐบาลมีวิธีการจัดการที่ดีก็พร้อมสนับสนุน
ไม่ใช่คนโลกสวย แต่มองปัญหาและวิธีแก้แบบสร้างสรรค์ และอยากให้ทำได้จริงๆ มากกว่าการ"ร้องแรกแหกกระเชอ"เท่านั้น
ป.ล.เครดิตภาพก๊วยเตี๋ยวหลอดของคุณ"swin" ร้านที่กำลังจะตามไปรีวิวและบุกรุกพื้นที่ฟุตปาธ(อีกแล้ว) และขออภัยหากก้าวล่วงความคิดเห็นท่านใดไป รวมถึงข้อมูลหากไม่แม่นยำ เพราะมาจากความทรงจำล้วนๆ
ดูแลฟุตปาธ หน้าที่ใคร?
รู้สึกไม่สบายใจ ที่ได้ไปแสดงความคิดเห็นสั้นๆในกระทู้ที่ถามถึง สถานะของห้อง"ก้นครัว"จริงๆตั้งแต่ห้อง"จตุจักร"แล้ว)ในปัจจุบัน
ซึ่งเมื่อก่อนบรรยากาศอบอุ่น ใครไปกินร้านไหนมา อร่อย-ไม่อร่อยก็มาบอกต่อกัน พี่ทักน้อง น้องชวนพี่
จนยุคที่โลกออนไลน์เริ่มมีอิทธิพล รีวิวดีร้านก็เกิด รีวิวแย่ร้านก็ดับ เจ้าของร้านที่พอมีกำลัง ก็ใช้วิธีเสนอ...เพื่อให้นักชิมรีวิวร้านของตน(ในทางที่ดี)
เมื่อมากเข้าเลยเป็นเหตุให้มีการจัดระเบียบ CR และ SR อย่างที่ทราบๆกัน กลายเป็นจุดให้ยึดถือสำหรับบางคนว่า CR ต้องดีกว่า SR เพราะจ่ายเงินเอง แต่ในความเป็นจริงก็ไม่เสมอไป SR ดีๆที่เคยตามรอย โดยเฉพาะในโรงแรมก็ยังมีดีอยู่ และเป็นฐานข้อมูลที่ดี เวลาจะเลือกพาแขกไปกิน
แล้ว"ร้านข้างทาง"เล่า ไม่มีเงินทองไปจ้างใครรีวิวได้หรอก บางร้านอยู่มาก่อนผมเกิด แต่บริหารจัดการไม่เป็น,ไม่มีคนสืบทอด,คนรุ่นใหม่ไม่รู้จัก หรือฯลฯ รอวัน"เคย"รู้ว่ามี
ฟุตปาธ(footpath)นั้น มีหน้าที่ของมันตรงตามตัวอยู่แล้ว คือเป็นทางเดินเท้า
คนไทยเราสมัยโบราณนั้น ก็เคยค้าขายกันเป็นหลักแหล่ง มีย่านการค้าชัดเจน แต่ที่มีทีหลังคือ"ถนน" เมื่อแรกสร้างถนนเจริญกรุงนั้น วัตถุประสงค์ตอนนั้น เพื่อให้ต่างชาติมีที่ให้รถม้าและม้าวิ่ง และตัดผ่านย่านการค้าสำคัญหลายแห่ง พื้นที่บนถนนยังไม่ได้มีสัดส่วนชัดเจน ว่านี่ทางคน นี่ทางรถ ก็เกิดการจับจองกันทำการค้าริมทางไปทั่ว บ้างปักหลัก(ประเภทที่เดินไม่ค่อยไหว) บ้างหาบขายไปเรื่อย ลูกค้าเรียกก็หยุด ก็เป็นอย่างนี้เรื่อยมา
จนบ้านเมืองเริ่มเติบโต การใช้พื้นที่บนถนนเป็นอันตราย จึงได้มีการแบ่งเส้นให้เห็นชัด ทั้งระหว่างรถ-รถ และรถ-คน
แต่แน่นอน ทุกประเทศในโลกนี้ ล้วนไม่ต่างกัน(แม้ในปัจจุบัน) มีการ"ละเมิด"ใช้พื้นที่ๆควรเป็นของ"คนเดินถนน" (pedestrian)ทั้งสิ้น ไม่ว่ากรณีใดกรณีหนึ่ง
แต่ด้วยการบังคับใช้กฏหมายนั้นต่างกัน ตัวอย่างอังกฤษสามารถกวาดล้าง(ขอใช้คำนี้)ให้เป็นที่เป็นทาง มีการจัดพื้นที่ให้ชัดเจน(แถว Notting Hill เป็นต้น) บ้านเมืองก็ดูสะอาดตาดี
แต่ถามว่าแถบชานเมือง หรือเมืองเล็กๆ ยังมีคนรุกล้ำอยู่บ้างหรือไม่?
บ้านเราเองนั้นปล่อยปละละเลยกันมายาวนาน ผมเองจะว่าไป ก็เคยมีส่วนในการออกแบบถนนหนทางย่านชุมชนอยู่บ้างสักเกือบ 20 ปีมาแล้ว เคยรู้สึกต่อต้าน เพราะตามมาตรฐานการออกแบบนั้นชัดเจน ว่าหน้าที่ของ"ฟุตปาธ"คืออะไร และการรุกล้ำเป็นปัญหาทำให้เกิดการจราจรติดขัดด้วย
*แต่ผมไม่ได้มีหน้าที่-อำนาจบริหารจัดการและดูแล*
ย้อนไปสมัยเด็กๆแม่พาไปจ่ายตลาดที ก็รู้สึกอึดอัดเหมือนกัน ว่าทำไมแม่เลือกไปซื้อเจ้าที่ขายบนฟุตปาธ ทั้งๆที่ในตลาดก็มีแผงขาย ได้คำตอบคือ"ถูกกว่า" และได้อุดหนุนคนที่ไม่ได้มีแผงประจำ(มีทุกวัย) วันนี้ผักนี้ออกก็เอามาขาย ผลไม้นี้ออกก็เอามาขาย ได้ปลามาเหลือจากเก็บไว้กินก็เอามาขาย
เวลาไปเลือกซื้อทีก็เดินเบียดกันแย่งกัน นึกย้อนไปก็สนุกและมีรสชาติดี
ที่กล่าวมานั้น ก็เล่าตามสภาพความเป็นจริง ส่วนหนึ่งของบ้านเมืองเรา โดยธรรมชาติแล้ว คำจำกัดความที่ชาวต่างชาติทั้งตะวันออกและตะวันตกให้ คือ"สบายๆ","ง่ายๆ","อะไรก็ได้","ไม่เป็นไร","ให้อภัย"
และอยากบอกว่าปัญหาตรงนี้มันเกิดมาเนิ่นนานแล้ว การจะแก้ไขลำพังเพียงตั้งกระทู้กันไป ประโยชน์อาจไม่มากนัก และเหมือนไฟไหม้ฟาง
ผมอยากให้มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม จากรัฐบาลเป็นหลัก เพราะหลายพื้นที่ๆมีการจัดระเบียบชัดเจน ก็ดูสวยงามและน่าแวะหามากกว่าที่ปล่อยอีเหละเขะขะ
แล้วเราเองควรทำอย่างไร?
สำหรับท่านที่รณรงค์ไม่อุดหนุนก็ทำไป แต่ผมเองซึ่งใช้งานอดิเรกด้วยการรีวิวร้านอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นร้านข้างทาง(30 กว่าร้านที่รีวิวมา ปรากฏว่ารุกล้ำแทบทุกร้าน555) เพราะเบื่อกระแส"ดราม่า"เรื่องม้า-ไม่ม้า ถ้าต้องไปรีวิวร้านหรูๆ ก็ยังขอยืนหยัดกินและรีวิวต่อไป(เดี๋ยวคงมีรีวิว street food แบบเต็มลงด้วย)
เพราะมีมุมมองที่ต่างไป ในเรื่องการรักษาเอกลักษณ์ร้านเก่าแก่บางร้านไว้ ซึ่งหากรัฐบาลมีวิธีการจัดการที่ดีก็พร้อมสนับสนุน
ไม่ใช่คนโลกสวย แต่มองปัญหาและวิธีแก้แบบสร้างสรรค์ และอยากให้ทำได้จริงๆ มากกว่าการ"ร้องแรกแหกกระเชอ"เท่านั้น
ป.ล.เครดิตภาพก๊วยเตี๋ยวหลอดของคุณ"swin" ร้านที่กำลังจะตามไปรีวิวและบุกรุกพื้นที่ฟุตปาธ(อีกแล้ว) และขออภัยหากก้าวล่วงความคิดเห็นท่านใดไป รวมถึงข้อมูลหากไม่แม่นยำ เพราะมาจากความทรงจำล้วนๆ