หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ปรารภว่าจะใช้คำสั่ง ม.44 เลิกคำเรียกประชาชนฐานล่างว่า "รากหญ้า" มาเป็น "ผู้มีรายได้น้อย" ในระหว่างกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่องปฏิรูปการศึกษาสร้างอนาคตประเทศไทย ในงานสัมมนาเรื่องการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนามนุษย์สู่อนาคต
ช่วงหนึ่งของปาฐกถา พลเอกประยุทธ์ ระบุว่า นักการเมืองต้องยอมรับผลประโยชน์ของชาติแม้ความเห็นจะไม่ตรงกัน รวมถึงยุติความขัดแย้งที่นักการเมืองและนักวิชาการชอบนำเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่เข้ามาทำให้เกิดขึ้น ส่งผลให้คนที่มีการศึกษาน้อยสับสน ทั้งนี้ตนขอใช้มาตรา 44 เรียก "คนรากหญ้า" ว่า "คนที่มีรายได้น้อย" เนื่องจากประเทศไทยไม่มีชนชั้นวรรณะ
ทำให้ชวนสงสัยว่า คำว่า "รากหญ้า" มาจากไหน
กูรูการเมือง อธิบายที่มาของคำว่า "รากหญ้า" ว่า เป็นศัพท์ทางการเมืองที่ถูกบัญญัติขึ้นใช้ในสมัยรัฐบาล "ทักษิณ ชินวัตร" อันเนื่องมาจากวิธีการบริหารทางเศรษฐกิจของยุคอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่เชื่อว่า การอัดฉีดงบประมาณไปยังคนระดับล่าง หรืออีกแง่หนึ่งก็คือ การประชานิยม จะทำให้สามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ และจะทำให้เศรษฐกิจทั้งระบบมีเงินหมุนเวียนได้ คำว่า "รากหญ้า" ในยุคนั้นจึงหมายความถึง กลุ่มคนระดับล่างจำนวนมากของประเทศ บ้างเป็นเกษตรกร หรือแรงงาน
ต่อมาคำว่า "รากหญ้า" ก็ถูกสื่อหยิบมาใช้ กระทั่งเป็นคำทางการเมืองที่ถูกบัญญัติใช้อย่างจริงจัง แพร่หลาย
กูรูการเมือง ให้เกร็ดไว้ว่า อันที่จริงแล้ว คำนี้เริ่มมีกลายๆ ในสมัย "นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์" เป็นรัฐมนตรีคลัง ของรัฐบาล "ชวน หลีกภัย" ที่เชื่อว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องมาจากคนระดับบน ก่อนที่จะกระจายไปสู่ระดับ "รากหญ้า" เพราะเชื่อว่าการที่คนระดับบนมีเงินจะสามารถกระจายไปสู่ระดับล่างได้เอง
แต่กระนั้น "รากหญ้า" ก็ไม่ได้เป็นที่นิยมใช้ จนมาถึงยุคของ "ทักษิณ ชินวัตร"
สีสันคำเรียกที่เกี่ยวพันกับ "รากหญ้า" และการเมืองไทยไม่ได้มีเพียงเท่านี้
เพราะในช่วงหลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 "พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน" ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้ใช้คำว่า "รากแก้ว" เรียกขานแทน "รากหญ้า"
แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ และไม่มีสื่อใดนำมาใช้เรียกให้แพร่หลาย
ทั้งนี้ ในบริบทการเมืองโลกคำว่า "รากหญ้า" หรือ "grassroots" เป็นคำบัญญัติใช้ส่วนมากเรียกบริบทของขบวนการทางการเมือง ที่ขับเคลื่อนด้วยการเมืองของท้องถิ่น คำดังกล่าวนิยามว่าเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นเอง โดยมีอาสาสมัครในชุมชนสนับสนุนพรรคในท้องถิ่น และขบวนการรากหญ้านี่เองที่นำไปสู่การลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคการเมืองในระดับชาติได้
วิกิพีเดีย ให้ข้อมูลถึงจุดกำเนิดของการใช้คำว่า "รากหญ้า" มาอุปมาทางการเมืองนั้นไม่แน่ชัด โดยคาดว่าในสหรัฐฯ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1912 จากการใช้วลีว่า "รากหญ้าและรองเท้าบูท" ของนายอัลเบิร์ต เจเรไมอาห์ เบเวอร์ริดจ์ สมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอินเดียนา จากพรรคก้าวหน้า ด้วยคำกล่าวทั้งประโยคว่า "พรรคนี้มาจากรากหญ้า เติบโตมาจากดินแห่งความต้องการอย่างแรงกล้าของประชาชน"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1440587278
ที่มาคำว่า"รากหญ้า" กับการเมืองไทย-ทำไม"บิ๊กตู่"ห้ามใช้ ???
หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ปรารภว่าจะใช้คำสั่ง ม.44 เลิกคำเรียกประชาชนฐานล่างว่า "รากหญ้า" มาเป็น "ผู้มีรายได้น้อย" ในระหว่างกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่องปฏิรูปการศึกษาสร้างอนาคตประเทศไทย ในงานสัมมนาเรื่องการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนามนุษย์สู่อนาคต
ช่วงหนึ่งของปาฐกถา พลเอกประยุทธ์ ระบุว่า นักการเมืองต้องยอมรับผลประโยชน์ของชาติแม้ความเห็นจะไม่ตรงกัน รวมถึงยุติความขัดแย้งที่นักการเมืองและนักวิชาการชอบนำเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่เข้ามาทำให้เกิดขึ้น ส่งผลให้คนที่มีการศึกษาน้อยสับสน ทั้งนี้ตนขอใช้มาตรา 44 เรียก "คนรากหญ้า" ว่า "คนที่มีรายได้น้อย" เนื่องจากประเทศไทยไม่มีชนชั้นวรรณะ
ทำให้ชวนสงสัยว่า คำว่า "รากหญ้า" มาจากไหน
กูรูการเมือง อธิบายที่มาของคำว่า "รากหญ้า" ว่า เป็นศัพท์ทางการเมืองที่ถูกบัญญัติขึ้นใช้ในสมัยรัฐบาล "ทักษิณ ชินวัตร" อันเนื่องมาจากวิธีการบริหารทางเศรษฐกิจของยุคอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่เชื่อว่า การอัดฉีดงบประมาณไปยังคนระดับล่าง หรืออีกแง่หนึ่งก็คือ การประชานิยม จะทำให้สามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ และจะทำให้เศรษฐกิจทั้งระบบมีเงินหมุนเวียนได้ คำว่า "รากหญ้า" ในยุคนั้นจึงหมายความถึง กลุ่มคนระดับล่างจำนวนมากของประเทศ บ้างเป็นเกษตรกร หรือแรงงาน
ต่อมาคำว่า "รากหญ้า" ก็ถูกสื่อหยิบมาใช้ กระทั่งเป็นคำทางการเมืองที่ถูกบัญญัติใช้อย่างจริงจัง แพร่หลาย
กูรูการเมือง ให้เกร็ดไว้ว่า อันที่จริงแล้ว คำนี้เริ่มมีกลายๆ ในสมัย "นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์" เป็นรัฐมนตรีคลัง ของรัฐบาล "ชวน หลีกภัย" ที่เชื่อว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องมาจากคนระดับบน ก่อนที่จะกระจายไปสู่ระดับ "รากหญ้า" เพราะเชื่อว่าการที่คนระดับบนมีเงินจะสามารถกระจายไปสู่ระดับล่างได้เอง
แต่กระนั้น "รากหญ้า" ก็ไม่ได้เป็นที่นิยมใช้ จนมาถึงยุคของ "ทักษิณ ชินวัตร"
สีสันคำเรียกที่เกี่ยวพันกับ "รากหญ้า" และการเมืองไทยไม่ได้มีเพียงเท่านี้
เพราะในช่วงหลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 "พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน" ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้ใช้คำว่า "รากแก้ว" เรียกขานแทน "รากหญ้า"
แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ และไม่มีสื่อใดนำมาใช้เรียกให้แพร่หลาย
ทั้งนี้ ในบริบทการเมืองโลกคำว่า "รากหญ้า" หรือ "grassroots" เป็นคำบัญญัติใช้ส่วนมากเรียกบริบทของขบวนการทางการเมือง ที่ขับเคลื่อนด้วยการเมืองของท้องถิ่น คำดังกล่าวนิยามว่าเป็นขบวนการที่เกิดขึ้นเอง โดยมีอาสาสมัครในชุมชนสนับสนุนพรรคในท้องถิ่น และขบวนการรากหญ้านี่เองที่นำไปสู่การลงคะแนนเสียงให้แก่พรรคการเมืองในระดับชาติได้
วิกิพีเดีย ให้ข้อมูลถึงจุดกำเนิดของการใช้คำว่า "รากหญ้า" มาอุปมาทางการเมืองนั้นไม่แน่ชัด โดยคาดว่าในสหรัฐฯ เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1912 จากการใช้วลีว่า "รากหญ้าและรองเท้าบูท" ของนายอัลเบิร์ต เจเรไมอาห์ เบเวอร์ริดจ์ สมาชิกวุฒิสภาแห่งรัฐอินเดียนา จากพรรคก้าวหน้า ด้วยคำกล่าวทั้งประโยคว่า "พรรคนี้มาจากรากหญ้า เติบโตมาจากดินแห่งความต้องการอย่างแรงกล้าของประชาชน"
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1440587278