เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ประชาชนส่วนใหญ่จะเลือกใช้บริการกับหน่วยให้บริการทางสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล(ขนาดเล็ก-ใหญ่), คลินิก, ร้านยา, สถานีอนามัย, อื่นๆ
หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือต้องการการรักษาโดยการทำหัตถการ ควรส่งผู้ป่วยไปหน่วยบริการที่มีความพร้อมรักษาได้(เช่นมีแพทย์-พยาบาล-และระบบการจัดการ) หรือส่งผู้ป่วยไปหน่วยบริการที่ใกล้ที่สุด เพื่อดูแลเบื้องต้นและประสานส่งต่อไปรับการรักษาในหน่วยทีมีความพร้อม
หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย “ร้านยา” เป็นหน่วยให้บริการปฐมภูมิ ที่ประชาชนสามารถเลือกเข้ารับบริการได้ง่ายที่สุด
การให้บริการในร้านยา ที่ให้บริการโดย “เภสัชกร” โดยทั่วไปคือ
-ให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยา ,ปัญหาสุขภาพทั่วไป
-จ่ายและจัดยา ตามอาการ ในกรณีความเจ็บป่วยเล็กน้อย โรคที่ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ รักษาโดยการรับประทานยา
-คัดกรอง และส่งต่อผู้ป่วย หากพบผู้ป่วยมีความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง หรือรุนแรง
-สำหรับร้านยาที่มีความพร้อม สามารถให้บริการเติมยา ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ลดภาระให้กับโรงพยาบาล และเป็นการติดตามการใช้ยาของคนไข้ในหน่วยบริการที่เข้าถึงได้ง่าย
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา และการใช้ยาในทางที่ผิด ที่เกี่ยวข้องกับร้านยา
-ใช้ยาสเตียรอยด์ มากเกิน จนเกิดปัญหากับสุขภาพ
-การนำยาไปใช้ยาเพื่อเป็นสิ่งเสพติด มอมเมา
-การใช้ยาปฏิชีวนะ พร่ำเพรื่อจนเกิดการดื้อยา
-ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่โฆษณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค
ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน การแก้ปัญหาดังกล่าว มีผลลัพธ์อย่างไร
-จำกัดการใช้ยาโดยการให้มีการทำบัญชี ซื้อ-ขายยา ในกลุ่มยาที่เสี่ยงต่อการนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น กลุ่มยานอนหลับ ยาสเตียรอยด์ ให้มีการจดชื่อผู้ป่วยลงบัญชีไว้ ผลของการแก้ปัญหาโดยการทำบัญชี ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้
-มีการห้ามขายยาบางชนิดในร้านยา ให้มีใช้ในโรงพยาบาลเท่านั้น ถึงกระนั้นก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้อยู่ดี และปัจจุบันได้มีการเพิ่มชนิดยาที่ต้องขอชื่อ-นามสกุล ลูกค้าที่มาซื้อเพิ่มอีก เช่น ยาแก้แพ้ชนิดน้ำ ยาแก้ไอ ฯ ถามว่าจะแก้ปัญหาได้หรือไม่? ,ประชาชนที่หนีความยุ่งยากในการไปโรงพยาบาลได้รับผลกระทบอะไร?
-ปัญหาการดื้อยา ส่วนใหญ่พบในโรงพยาบาล เกิดได้จากส่วนไหนบ้าง รพ.-ร้านยา-พฤติกรรมของคนไข้เอง? แก้ปัญหาต้องไปด้วยกันทั้งระบบ
ความอยู่รอดของร้านยา ที่ให้บริการโดยเภสัชกร
ร้านยาในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 12000 ร้าน (มากกว่า7-11?) มีทั้งร้านที่เจ้าของไม่ใช่เภสัชกรแต่จ้างเภสัชกรมาปฏิบัติหน้าที่, เจ้าของเป็นเภสัชกรเอง, ร้านที่เจ้าของไม่ใช่เภสัชกรและเภสัชกรก็ไม่ได้อยู่ปฏิบัติหน้าที่(จ้างมาแต่ชื่อ) การแข่งขันทางการตลาดถือว่าสูงและยากพอสมควร มีเพื่อนเภสัชกรหลายคนที่ต้องปิดกิจการ เพราะต้องสู้สงครามราคาไม่ไหว, และ ทุกวันนี้มีแต่การออกกฎระเบียบให้เภสัชกรร้านยา ปฏิบัติงานในร้านด้วยกฎเกณฑ์ที่มากขึ้น ต้องมีเครื่องมือเครื่องวัดความดัน เครื่องวัดน้ำตาล มีการจดบันทึก มีการควบคุมอุณหภูมิ ต้องจัดทำซองใส่ยาที่มีชื่อร้านและรายละเอียดอื่นๆชัดเจน เภสัชกรต้องอยู่ตลอดเวลาเปิดร้าน ซึ่งทั้งหมดก็มีผลต่อต้นทุนในการเปิดร้าน ในขณะที่ร้านเก่าที่เปิดมาก่อนและเจ้าของไม่ใช่เภสัชกรได้รับการยกเว้น
เภสัชกรรุ่นใหม่ที่ได้รับการปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ มีอุดมการณ์ในการเป็นเภสัชกรชุมชนที่ดี เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้แล้ว จะเป็นอย่างไร? ถ้าร้านยาเดี่ยวที่ให้บริการโดยเภสัชกร ไม่สามารถสู้กับกระแสนายทุนได้ ในอนาคตเราจะมีร้านขายยาแบบไหนในชุมชนบ้าง?
เสนอแนวทางการแก้ปัญหา
-แยกจัดหมวดหมู่ของยา ให้ชัดเจน ยาที่อยู่ในร้านขายยาควรเป็นยาอันตรายที่ต้องมีการให้คำแนะนำและการส่งมอบโดยเภสัชกร ยาอันตรายที่มีความเสี่ยงที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดอาจมีการจำกัดปริมาณการจ่ายยา เช่นจ่ายยาได้ไม่เกิน2ขวด, ไม่เกินครั้งละ20เม็ด, และจ่ายยาให้เฉพาะผู้ที่มีอายุ20ปีขึ้นไป
(ยาชนิดที่มีความเสี่ยงไปใช้ในทางที่ผิด ให้เทียบเคียงกับการซื้อเหล้าและบุหรี่)
ยาบางชนิดเช่นยาแก้ปวดทรามาดอล ,ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน ควรมีการทำบัญชีซื้อ-ขาย จากแหล่งผลิต บริษัทตัวแทนจำหน่าย ร้านขายส่ง เพราะเป็นต้นทาง หากร้านปลีกมียอดการสั่งใช้มากผิดปกติสามารถเข้าไปตรวจสอบร้านปลีกได้ว่าจ่ายยาตามกฎหรือนำไปขายเพื่อเสพติดหรือไม่(ไม่จำเป็นต้องให้ร้านยาทั้งหมื่นกว่าร้านต้องทำบัญชีให้ยุ่งยากไปด้วย)
-ยาโรคเรื้อรังเฉพาะทาง ที่ผู้ป่วยมาเติมยา ยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่ๆที่ควรเก็บไว้ใช้สำหรับโรคติดเชื้อรุนแรงเพื่อป้องกันการดื้อยา ยาในกลุ่มยากดประสาทยานอนหลับ ควรมีการทำบัญชีรับ-จ่าย เพื่อความต่อเนื่องในการใช้ยาของผู้ป่วยและป้องกันปัญหาการนำยาไปใช้ในทางที่ผิด(กลุ่มยานอนหลับมีผลเสียร้ายแรงมากกว่ายาแก้แพ้หรือยาแก้ไอ)
-......ใครมีข้อเสนออื่นอีกมั๊ยครับ
ความอยู่รอดของเภสัชกรร้านยา กับกฎหมาย"จดชื่อเอาไว้ส่งครูประจำชั้น"
หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือต้องการการรักษาโดยการทำหัตถการ ควรส่งผู้ป่วยไปหน่วยบริการที่มีความพร้อมรักษาได้(เช่นมีแพทย์-พยาบาล-และระบบการจัดการ) หรือส่งผู้ป่วยไปหน่วยบริการที่ใกล้ที่สุด เพื่อดูแลเบื้องต้นและประสานส่งต่อไปรับการรักษาในหน่วยทีมีความพร้อม
หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย “ร้านยา” เป็นหน่วยให้บริการปฐมภูมิ ที่ประชาชนสามารถเลือกเข้ารับบริการได้ง่ายที่สุด
การให้บริการในร้านยา ที่ให้บริการโดย “เภสัชกร” โดยทั่วไปคือ
-ให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ยา ,ปัญหาสุขภาพทั่วไป
-จ่ายและจัดยา ตามอาการ ในกรณีความเจ็บป่วยเล็กน้อย โรคที่ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ รักษาโดยการรับประทานยา
-คัดกรอง และส่งต่อผู้ป่วย หากพบผู้ป่วยมีความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง หรือรุนแรง
-สำหรับร้านยาที่มีความพร้อม สามารถให้บริการเติมยา ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ลดภาระให้กับโรงพยาบาล และเป็นการติดตามการใช้ยาของคนไข้ในหน่วยบริการที่เข้าถึงได้ง่าย
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยา และการใช้ยาในทางที่ผิด ที่เกี่ยวข้องกับร้านยา
-ใช้ยาสเตียรอยด์ มากเกิน จนเกิดปัญหากับสุขภาพ
-การนำยาไปใช้ยาเพื่อเป็นสิ่งเสพติด มอมเมา
-การใช้ยาปฏิชีวนะ พร่ำเพรื่อจนเกิดการดื้อยา
-ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่โฆษณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค
ที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน การแก้ปัญหาดังกล่าว มีผลลัพธ์อย่างไร
-จำกัดการใช้ยาโดยการให้มีการทำบัญชี ซื้อ-ขายยา ในกลุ่มยาที่เสี่ยงต่อการนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่น กลุ่มยานอนหลับ ยาสเตียรอยด์ ให้มีการจดชื่อผู้ป่วยลงบัญชีไว้ ผลของการแก้ปัญหาโดยการทำบัญชี ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้
-มีการห้ามขายยาบางชนิดในร้านยา ให้มีใช้ในโรงพยาบาลเท่านั้น ถึงกระนั้นก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้อยู่ดี และปัจจุบันได้มีการเพิ่มชนิดยาที่ต้องขอชื่อ-นามสกุล ลูกค้าที่มาซื้อเพิ่มอีก เช่น ยาแก้แพ้ชนิดน้ำ ยาแก้ไอ ฯ ถามว่าจะแก้ปัญหาได้หรือไม่? ,ประชาชนที่หนีความยุ่งยากในการไปโรงพยาบาลได้รับผลกระทบอะไร?
-ปัญหาการดื้อยา ส่วนใหญ่พบในโรงพยาบาล เกิดได้จากส่วนไหนบ้าง รพ.-ร้านยา-พฤติกรรมของคนไข้เอง? แก้ปัญหาต้องไปด้วยกันทั้งระบบ
ความอยู่รอดของร้านยา ที่ให้บริการโดยเภสัชกร
ร้านยาในประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 12000 ร้าน (มากกว่า7-11?) มีทั้งร้านที่เจ้าของไม่ใช่เภสัชกรแต่จ้างเภสัชกรมาปฏิบัติหน้าที่, เจ้าของเป็นเภสัชกรเอง, ร้านที่เจ้าของไม่ใช่เภสัชกรและเภสัชกรก็ไม่ได้อยู่ปฏิบัติหน้าที่(จ้างมาแต่ชื่อ) การแข่งขันทางการตลาดถือว่าสูงและยากพอสมควร มีเพื่อนเภสัชกรหลายคนที่ต้องปิดกิจการ เพราะต้องสู้สงครามราคาไม่ไหว, และ ทุกวันนี้มีแต่การออกกฎระเบียบให้เภสัชกรร้านยา ปฏิบัติงานในร้านด้วยกฎเกณฑ์ที่มากขึ้น ต้องมีเครื่องมือเครื่องวัดความดัน เครื่องวัดน้ำตาล มีการจดบันทึก มีการควบคุมอุณหภูมิ ต้องจัดทำซองใส่ยาที่มีชื่อร้านและรายละเอียดอื่นๆชัดเจน เภสัชกรต้องอยู่ตลอดเวลาเปิดร้าน ซึ่งทั้งหมดก็มีผลต่อต้นทุนในการเปิดร้าน ในขณะที่ร้านเก่าที่เปิดมาก่อนและเจ้าของไม่ใช่เภสัชกรได้รับการยกเว้น
เภสัชกรรุ่นใหม่ที่ได้รับการปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ มีอุดมการณ์ในการเป็นเภสัชกรชุมชนที่ดี เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้แล้ว จะเป็นอย่างไร? ถ้าร้านยาเดี่ยวที่ให้บริการโดยเภสัชกร ไม่สามารถสู้กับกระแสนายทุนได้ ในอนาคตเราจะมีร้านขายยาแบบไหนในชุมชนบ้าง?
เสนอแนวทางการแก้ปัญหา
-แยกจัดหมวดหมู่ของยา ให้ชัดเจน ยาที่อยู่ในร้านขายยาควรเป็นยาอันตรายที่ต้องมีการให้คำแนะนำและการส่งมอบโดยเภสัชกร ยาอันตรายที่มีความเสี่ยงที่จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดอาจมีการจำกัดปริมาณการจ่ายยา เช่นจ่ายยาได้ไม่เกิน2ขวด, ไม่เกินครั้งละ20เม็ด, และจ่ายยาให้เฉพาะผู้ที่มีอายุ20ปีขึ้นไป
(ยาชนิดที่มีความเสี่ยงไปใช้ในทางที่ผิด ให้เทียบเคียงกับการซื้อเหล้าและบุหรี่)
ยาบางชนิดเช่นยาแก้ปวดทรามาดอล ,ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน ควรมีการทำบัญชีซื้อ-ขาย จากแหล่งผลิต บริษัทตัวแทนจำหน่าย ร้านขายส่ง เพราะเป็นต้นทาง หากร้านปลีกมียอดการสั่งใช้มากผิดปกติสามารถเข้าไปตรวจสอบร้านปลีกได้ว่าจ่ายยาตามกฎหรือนำไปขายเพื่อเสพติดหรือไม่(ไม่จำเป็นต้องให้ร้านยาทั้งหมื่นกว่าร้านต้องทำบัญชีให้ยุ่งยากไปด้วย)
-ยาโรคเรื้อรังเฉพาะทาง ที่ผู้ป่วยมาเติมยา ยาปฏิชีวนะกลุ่มใหม่ๆที่ควรเก็บไว้ใช้สำหรับโรคติดเชื้อรุนแรงเพื่อป้องกันการดื้อยา ยาในกลุ่มยากดประสาทยานอนหลับ ควรมีการทำบัญชีรับ-จ่าย เพื่อความต่อเนื่องในการใช้ยาของผู้ป่วยและป้องกันปัญหาการนำยาไปใช้ในทางที่ผิด(กลุ่มยานอนหลับมีผลเสียร้ายแรงมากกว่ายาแก้แพ้หรือยาแก้ไอ)
-......ใครมีข้อเสนออื่นอีกมั๊ยครับ