มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจ่อร้อง คปภ.ตรวจสอบ"บริษัทประกันชีวิต"โฆษณาลวงคนแก่ซื้อประกันสุขภาพไม่ต้องตรวจโรค
เมื่อวันที่ 24 ส.ค. นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์คุ้มครองสิทธิ์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวถึงปัญหาสิทธิประโยชน์ของบริษัทประกันชีวิตไม่เป็นไปตามที่มีการโฆษณาผ่านสื่อ โดยเฉพาะการทำประกันชีวิตของผู้สูงอายุโดยไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อน ว่า ตามที่มีการร้องเรียนการถูกเอาเปรียบจากบริษัทประกันชีวิตเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 6 ราย พบว่าฝ่ายบริษัทประกันชีวิตจะแก้ปัญหาเป็นรายกรณีบางรายมีการเจรจากันโดยตรง และสามารถตกลงกันได้ แต่บางรายไม่สามารถเจรจากันได้ จนต้องฟ้องร้องต่อศาลไป แต่ยังไม่พบว่าทางบริษัทแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือการแก้สัญญาให้เป็นไปตามที่มีการโฆษณา
ดังนั้น มพบ.จะต้องผลักดันต่อไป โดยคาดว่าในเร็วๆนี้จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) เพื่อขอให้มีการตรวจสอบ และกำกับบริษัทประกันชีวิตเอกชนให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การข้อกำหนด “ตามหลักเกณฑ์ของ คปภ. ระบุไว้อย่างชัดเจนให้ว่าถ้าคุณโฆษณาว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันชีวิตคุณ ก็ต้องระบุหลักเกณฑ์นี้ไว้ในกรมธรรม์ด้วย เรื่องนี้เราต้องผลักดันต่อแน่นอน พร้อมกันนี้เราจะผลักดันเรื่องของการทำประกันผ่านบัตรเดบิต แต่ไม่ให้กรมธรรม์ด้วยเรื่องนี้กำลังเป็นปัญหา”นางนฤมล กล่าว
นางนฤมล กล่าวอีกว่า เมื่อประมาณปี 2556 เกิดเหตุผู้สูงอายุรายหนึ่งซึ่งทำประกันอุบัติเหตุ ผ่านตัวแทนขายประกันของบริษัทประกันชีวิตเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งก่อนทำประกันนั้น ผู้ทำประกันได้สอบถามกับตัวแทนฯแล้วว่าจำเป็นต้องตรวจสุขภาพหรือไม่ ซึ่งทางตัวแทนขายฯ ยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพก่อน สามารถทำประกันได้เลย แต่ต่อมา ผู้สูงอายุคนดังกล่าวเกิดสะดุดขาตัวเองล้ม และเสียชีวิต แพทย์วินิจฉัยว่าการล้มกระแทกทำให้กระดูกคอหัก กระทบกับภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบของผู้เสียชีวิต ทั้งนี้ เมื่อมีการเคลมประกันแล้ว ทางบริษัทไม่ยอมจ่ายให้ โดยอ้างว่าสาเหตุการเสียชีวิตครั้งนี้เพราะโรคประจำตัวของผู้ป่วยเอง ทำให้บุตรสาวของผู้เสียชีวิตมาร้องขอความเป็นธรรมที่มพบ. แต่ทางบริษัทประกันชีวิตไม่ยอมเจรจาด้วย บุตรสาวผู้เสียชีวิตดังกล่าวจึงได้ว่าจ้างทนายความและฟ้องร้องต่อศาล มีการสืบพยาน หลักฐานซึ่งแพทย์ลงความเห็นชัดเจนว่าสียชีวิตจากภาวะกระดูกต้นคอหัก จึงทำให้ผู้ร้องชนะคดี บริษัทประกันต้องจ่ายค่าชดเชยให้ตามสัญญา ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่าเรื่องนี้เป็นการทำสัญญาเป็นเหตุให้บริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากอุบัติสะดุดขาตัวเองล้ม.
เครดิตข่าวจาก : เดลินิวส์ออนไลน์
http://www.dailynews.co.th/politics/343781
จ่อร้องคปภ.สอบบ.ประกันชีวิตโฆษณาหลอกลวง
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจ่อร้อง คปภ.ตรวจสอบ"บริษัทประกันชีวิต"โฆษณาลวงคนแก่ซื้อประกันสุขภาพไม่ต้องตรวจโรค
เมื่อวันที่ 24 ส.ค. นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์คุ้มครองสิทธิ์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวถึงปัญหาสิทธิประโยชน์ของบริษัทประกันชีวิตไม่เป็นไปตามที่มีการโฆษณาผ่านสื่อ โดยเฉพาะการทำประกันชีวิตของผู้สูงอายุโดยไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อน ว่า ตามที่มีการร้องเรียนการถูกเอาเปรียบจากบริษัทประกันชีวิตเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 6 ราย พบว่าฝ่ายบริษัทประกันชีวิตจะแก้ปัญหาเป็นรายกรณีบางรายมีการเจรจากันโดยตรง และสามารถตกลงกันได้ แต่บางรายไม่สามารถเจรจากันได้ จนต้องฟ้องร้องต่อศาลไป แต่ยังไม่พบว่าทางบริษัทแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือการแก้สัญญาให้เป็นไปตามที่มีการโฆษณา
ดังนั้น มพบ.จะต้องผลักดันต่อไป โดยคาดว่าในเร็วๆนี้จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) เพื่อขอให้มีการตรวจสอบ และกำกับบริษัทประกันชีวิตเอกชนให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การข้อกำหนด “ตามหลักเกณฑ์ของ คปภ. ระบุไว้อย่างชัดเจนให้ว่าถ้าคุณโฆษณาว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำประกันชีวิตคุณ ก็ต้องระบุหลักเกณฑ์นี้ไว้ในกรมธรรม์ด้วย เรื่องนี้เราต้องผลักดันต่อแน่นอน พร้อมกันนี้เราจะผลักดันเรื่องของการทำประกันผ่านบัตรเดบิต แต่ไม่ให้กรมธรรม์ด้วยเรื่องนี้กำลังเป็นปัญหา”นางนฤมล กล่าว
นางนฤมล กล่าวอีกว่า เมื่อประมาณปี 2556 เกิดเหตุผู้สูงอายุรายหนึ่งซึ่งทำประกันอุบัติเหตุ ผ่านตัวแทนขายประกันของบริษัทประกันชีวิตเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งก่อนทำประกันนั้น ผู้ทำประกันได้สอบถามกับตัวแทนฯแล้วว่าจำเป็นต้องตรวจสุขภาพหรือไม่ ซึ่งทางตัวแทนขายฯ ยืนยันว่าไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพก่อน สามารถทำประกันได้เลย แต่ต่อมา ผู้สูงอายุคนดังกล่าวเกิดสะดุดขาตัวเองล้ม และเสียชีวิต แพทย์วินิจฉัยว่าการล้มกระแทกทำให้กระดูกคอหัก กระทบกับภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบของผู้เสียชีวิต ทั้งนี้ เมื่อมีการเคลมประกันแล้ว ทางบริษัทไม่ยอมจ่ายให้ โดยอ้างว่าสาเหตุการเสียชีวิตครั้งนี้เพราะโรคประจำตัวของผู้ป่วยเอง ทำให้บุตรสาวของผู้เสียชีวิตมาร้องขอความเป็นธรรมที่มพบ. แต่ทางบริษัทประกันชีวิตไม่ยอมเจรจาด้วย บุตรสาวผู้เสียชีวิตดังกล่าวจึงได้ว่าจ้างทนายความและฟ้องร้องต่อศาล มีการสืบพยาน หลักฐานซึ่งแพทย์ลงความเห็นชัดเจนว่าสียชีวิตจากภาวะกระดูกต้นคอหัก จึงทำให้ผู้ร้องชนะคดี บริษัทประกันต้องจ่ายค่าชดเชยให้ตามสัญญา ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่าเรื่องนี้เป็นการทำสัญญาเป็นเหตุให้บริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง ไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากอุบัติสะดุดขาตัวเองล้ม.
เครดิตข่าวจาก : เดลินิวส์ออนไลน์
http://www.dailynews.co.th/politics/343781