ในยุคที่ดูเหมือนว่าสายการบินทุกแห่งกำลังพยายามที่จะบรรทุกผู้โดยสารเป็นจำนวนมากในเครื่องบินแต่ละเที่ยวเพื่อให้ได้กำไรมากที่สุด
แน่นอนว่าเก้าอี้ที่มีพื้นที่เหยียดขาได้มากกว่าปกติก็กลายมาเป็นที่นั่งพรีเมียมที่ผู้โดยสารสามารถเลือกที่จะจ่ายแพงกว่าเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย
แต่ที่นั่งแบบใหม่ที่สามารถ “ปรับระยะหรือปรับพื้นที่เหยียดขาได้” กำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าของการบิน เพราะมันสามารถปรับเลื่อนไปด้านหน้าหรือถอยไปด้านหลังได้ตามความสูงของผู้โดยสาร โดยล้อเลื่อนจะถูกติดตั้งไว้บนรางที่พื้นของเครื่องบิน ซึ่งหมายความว่าผู้ชายตัวสูงหรือผู้หญิงขายาวอาจจะมีพื้นที่เหยียดขาได้ยาวขึ้นเล็กน้อยถ้ามีผู้โดยสารที่เป็นเด็กนั่งอยู่ในแถวหลัง
และไม่ต้องห่วงว่าจะเจอผู้โดยสารที่เห็นแก่ตัว เพราะคนที่ทำหน้าที่ปรับที่นั่งคือลูกเรือที่จะควบคุมที่นั่งผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน
ถ้าทุกสายการบินพร้อมใจกันขานรับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ซึ่งออกแบบโดยบริษัท B/E Aerospace ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องโดยสาร ต่อไปผู้โดยสารอาจจะต้องแจ้งส่วนสูงของพวกเขาตอนเช็คอินที่เคาน์เตอร์
ทีมนักออกแบบซึ่งได้ยื่นเรื่องจดสิทธิบัตรแนวคิดนี้แล้วบอกว่า ถึงเวลาแล้วที่อุตสาหกรรมการบินจะต้องยอมรับว่าแนวคิดที่นั่ง “ขนาดเดียวสำหรับผู้โดยสารทุกคน” นั้นล้าสมัยไปแล้ว
“ในขณะที่ผู้โดยสารมีความหลากหลาย มีทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง และในคนวัยหรือเพศเดียวกันยังมีรูปร่างแตกต่างกันอีก แต่ระยะห่างระหว่างที่นั่งในแถวปกติของเครื่องบินโดยทั่วไปกลับเท่ากันหมด ยกเว้นที่นั่งแถวทางออกฉุกเฉิน” เจ้าของไอเดียระบุในใบขอจดสิทธิบัตรเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ในเอกสารยังระบุว่า การจัดที่นั่งขนาดเดียวเท่ากันหมดอาจทำให้ผู้โดยสารที่ตัวสูงนั่งไม่สบาย ในขณะที่เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ตัวเล็กอาจจะนั่งอยู่ในที่นั่งที่มีขนาดเท่ากันกับคนตัวสูงแต่ได้ที่เหยียดขายาวกว่าและได้รับความสะดวกสบายกว่า
พวกเขาอธิบายต่อไปว่า เมื่อผู้โดยสารส่วนใหญ่ทำการเช็คอินแล้ว ลูกเรือก็สามารถปรับระยะเก้าอี้เพื่อให้เหมาะกับขนาดหรือความสูงของผู้โดยสาร
ที่นั่งแบบปรับระยะได้ซึ่งถูกตั้งฉายาว่าที่นั่ง “กู้ภัยให้หัวเข่า” หรือ “Knee Rescue seat” โดย Skift เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดในการแก้ปัญหาความคับแคบของที่นั่งหลังจากมีการนำอุปกรณ์ “ปกป้องหัวเข่า” หรือ “Knee Defender“ มาให้บริการก่อนหน้านี้
Knee Defender คือตัวล็อกพลาสติกที่ใช้ติดกับก้านของโต๊ะที่วางถาดอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารที่นั่งหน้าเราเอนพนักลงมาด้านหลัง แต่หลังจากมีการนำอุปกรณ์ที่ว่านี้มาใช้เมื่อ 2 ปีก่อนก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้โดยสารจนนำไปสู่การสั่งระงับการบินของสายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลน์ส
ปัญหาที่นั่งแคบยังเป็นชนวนให้มีปัญหาการฟ้องร้องเกิดขึ้น โดยเมื่อเร็วๆ นี้ผู้โดยสารคนหนึ่งฟ้องร้องสายการบินแห่งหนึ่งว่าเขามีอาการปวดหลังเนื่องจากต้องนั่งติดกับผู้โดยสารที่เป็นคนอ้วน
และนั่นอาจเป็นเหตุผลให้สายการบินอุซเบกิซสถาน แอร์เวย์ส ตัดสินใจออกนโยบายให้มีการชั่งน้ำหนักตัวผู้โดยสารก่อนจะอนุญาตให้ขึ้นเครื่องเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยหลังจากที่เช็คอินแล้วก่อนจะขึ้นเครื่องผู้โดยสารทุกคนจะต้องชั่งน้ำหนักพร้อมกระเป๋าถือส่วนตัว โดยเครื่องชั่งน้ำหนักพิเศษจะถูกติดตั้งไว้ที่ประตูทางออกขึ้นเครื่อง สายการบินสัญญาว่าจะไม่มีการเปิดเผยน้ำหนักของผู้โดยสารแต่ละคน
แต่นั่นหมายความว่าผู้โดยสารบางคนที่มีน้ำหนักตัวเกินอาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นเครื่องโดยเฉพาะถ้าบินด้วยเครื่องบินขนาดเล็กที่มีผู้โดยสารเต็มลำและมีน้ำหนักเกิน
แถลงการณ์ของสายการบินระบุว่า ตามกฎหมายของสมาคมขนส่งทางอากาศนานาชาติ สายการบินมีหน้าที่ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนปกติของระเบียบการควบคุมก่อนการบิน เช่น การชั่งน้ำหนักผู้โดยสารพร้อมกระเป๋าถือเพื่อความปลอดภัยในการบิน
“ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้จะบอกแค่ว่าผู้โดยสารเป็นชาย หญิงหรือเด็ก ข้อมูลส่วนที่เหลือจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ” แถลงการณ์ระบุ
เมื่อปี 2013 Samoan Air กลายเป็นสายการบินแรกของโลกที่คิดราคาตั๋วเครื่องบินตามน้ำหนักตัวของผู้โดยสาร โดยผู้โดยสารจะต้องกรอกน้ำหนักตัวและน้ำหนักสัมภาระตั้งแต่ตอนจองตั๋วทางออนไลน์
นโยบายนี้ช่วยให้ Samoan Air มีการจัดการน้ำหนักบนเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถบริหารต้นทุนได้คล่องตัวมากขึ้น ซึ่งทางสายการบินคิดว่านโยบายของพวกเขาน่าจะช่วยส่งเสริมให้สายการบินอื่นๆ เอาอย่างด้วย
...........................
ที่มา เว็บไซต์เดลี่ เทเลกราฟและเดลี่ เมล.
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/661728
บอกลา “ที่นั่งแคบ”
แน่นอนว่าเก้าอี้ที่มีพื้นที่เหยียดขาได้มากกว่าปกติก็กลายมาเป็นที่นั่งพรีเมียมที่ผู้โดยสารสามารถเลือกที่จะจ่ายแพงกว่าเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย
แต่ที่นั่งแบบใหม่ที่สามารถ “ปรับระยะหรือปรับพื้นที่เหยียดขาได้” กำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าของการบิน เพราะมันสามารถปรับเลื่อนไปด้านหน้าหรือถอยไปด้านหลังได้ตามความสูงของผู้โดยสาร โดยล้อเลื่อนจะถูกติดตั้งไว้บนรางที่พื้นของเครื่องบิน ซึ่งหมายความว่าผู้ชายตัวสูงหรือผู้หญิงขายาวอาจจะมีพื้นที่เหยียดขาได้ยาวขึ้นเล็กน้อยถ้ามีผู้โดยสารที่เป็นเด็กนั่งอยู่ในแถวหลัง
และไม่ต้องห่วงว่าจะเจอผู้โดยสารที่เห็นแก่ตัว เพราะคนที่ทำหน้าที่ปรับที่นั่งคือลูกเรือที่จะควบคุมที่นั่งผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน
ถ้าทุกสายการบินพร้อมใจกันขานรับสิ่งประดิษฐ์ใหม่ซึ่งออกแบบโดยบริษัท B/E Aerospace ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องโดยสาร ต่อไปผู้โดยสารอาจจะต้องแจ้งส่วนสูงของพวกเขาตอนเช็คอินที่เคาน์เตอร์
ทีมนักออกแบบซึ่งได้ยื่นเรื่องจดสิทธิบัตรแนวคิดนี้แล้วบอกว่า ถึงเวลาแล้วที่อุตสาหกรรมการบินจะต้องยอมรับว่าแนวคิดที่นั่ง “ขนาดเดียวสำหรับผู้โดยสารทุกคน” นั้นล้าสมัยไปแล้ว
“ในขณะที่ผู้โดยสารมีความหลากหลาย มีทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้ชาย ผู้หญิง และในคนวัยหรือเพศเดียวกันยังมีรูปร่างแตกต่างกันอีก แต่ระยะห่างระหว่างที่นั่งในแถวปกติของเครื่องบินโดยทั่วไปกลับเท่ากันหมด ยกเว้นที่นั่งแถวทางออกฉุกเฉิน” เจ้าของไอเดียระบุในใบขอจดสิทธิบัตรเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ในเอกสารยังระบุว่า การจัดที่นั่งขนาดเดียวเท่ากันหมดอาจทำให้ผู้โดยสารที่ตัวสูงนั่งไม่สบาย ในขณะที่เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ตัวเล็กอาจจะนั่งอยู่ในที่นั่งที่มีขนาดเท่ากันกับคนตัวสูงแต่ได้ที่เหยียดขายาวกว่าและได้รับความสะดวกสบายกว่า
พวกเขาอธิบายต่อไปว่า เมื่อผู้โดยสารส่วนใหญ่ทำการเช็คอินแล้ว ลูกเรือก็สามารถปรับระยะเก้าอี้เพื่อให้เหมาะกับขนาดหรือความสูงของผู้โดยสาร
ที่นั่งแบบปรับระยะได้ซึ่งถูกตั้งฉายาว่าที่นั่ง “กู้ภัยให้หัวเข่า” หรือ “Knee Rescue seat” โดย Skift เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดในการแก้ปัญหาความคับแคบของที่นั่งหลังจากมีการนำอุปกรณ์ “ปกป้องหัวเข่า” หรือ “Knee Defender“ มาให้บริการก่อนหน้านี้
Knee Defender คือตัวล็อกพลาสติกที่ใช้ติดกับก้านของโต๊ะที่วางถาดอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารที่นั่งหน้าเราเอนพนักลงมาด้านหลัง แต่หลังจากมีการนำอุปกรณ์ที่ว่านี้มาใช้เมื่อ 2 ปีก่อนก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้โดยสารจนนำไปสู่การสั่งระงับการบินของสายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลน์ส
ปัญหาที่นั่งแคบยังเป็นชนวนให้มีปัญหาการฟ้องร้องเกิดขึ้น โดยเมื่อเร็วๆ นี้ผู้โดยสารคนหนึ่งฟ้องร้องสายการบินแห่งหนึ่งว่าเขามีอาการปวดหลังเนื่องจากต้องนั่งติดกับผู้โดยสารที่เป็นคนอ้วน
และนั่นอาจเป็นเหตุผลให้สายการบินอุซเบกิซสถาน แอร์เวย์ส ตัดสินใจออกนโยบายให้มีการชั่งน้ำหนักตัวผู้โดยสารก่อนจะอนุญาตให้ขึ้นเครื่องเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยหลังจากที่เช็คอินแล้วก่อนจะขึ้นเครื่องผู้โดยสารทุกคนจะต้องชั่งน้ำหนักพร้อมกระเป๋าถือส่วนตัว โดยเครื่องชั่งน้ำหนักพิเศษจะถูกติดตั้งไว้ที่ประตูทางออกขึ้นเครื่อง สายการบินสัญญาว่าจะไม่มีการเปิดเผยน้ำหนักของผู้โดยสารแต่ละคน
แต่นั่นหมายความว่าผู้โดยสารบางคนที่มีน้ำหนักตัวเกินอาจจะไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นเครื่องโดยเฉพาะถ้าบินด้วยเครื่องบินขนาดเล็กที่มีผู้โดยสารเต็มลำและมีน้ำหนักเกิน
แถลงการณ์ของสายการบินระบุว่า ตามกฎหมายของสมาคมขนส่งทางอากาศนานาชาติ สายการบินมีหน้าที่ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนปกติของระเบียบการควบคุมก่อนการบิน เช่น การชั่งน้ำหนักผู้โดยสารพร้อมกระเป๋าถือเพื่อความปลอดภัยในการบิน
“ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้จะบอกแค่ว่าผู้โดยสารเป็นชาย หญิงหรือเด็ก ข้อมูลส่วนที่เหลือจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ” แถลงการณ์ระบุ
เมื่อปี 2013 Samoan Air กลายเป็นสายการบินแรกของโลกที่คิดราคาตั๋วเครื่องบินตามน้ำหนักตัวของผู้โดยสาร โดยผู้โดยสารจะต้องกรอกน้ำหนักตัวและน้ำหนักสัมภาระตั้งแต่ตอนจองตั๋วทางออนไลน์
นโยบายนี้ช่วยให้ Samoan Air มีการจัดการน้ำหนักบนเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถบริหารต้นทุนได้คล่องตัวมากขึ้น ซึ่งทางสายการบินคิดว่านโยบายของพวกเขาน่าจะช่วยส่งเสริมให้สายการบินอื่นๆ เอาอย่างด้วย
...........................
ที่มา เว็บไซต์เดลี่ เทเลกราฟและเดลี่ เมล.
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/661728