.
.
© The Wellcome Trust
.
ในการค้นคว้าชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง
การเข้าใจเข้าถึงผลงาน/ข้าวของในการทำงานของพวกท่าน
จัดว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคนี้
แต่เรื่องหนึ่งที่ยากที่สุดคือ ชีวประวัติของ Marie Curie
นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานร่วมกับสามี Pierre Curie
.
.
.
ทั้งสองคนคือผู้ค้นพบธาตุกัมมันตรังสี polonium กับ radium
และเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเรื่องอนุภาคฟิสิคส์ particle physics
แต่สมุดบันทึก เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ข้าวของสวยงามของเธอ
แม้ว่าจะได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่บ้านชานเมืองปารีส
แต่ยังมีกัมมันตภาพรังสี ที่มีช่วงอายุกว่า 1,600 ปีหรือมากกว่าตกค้างอยู่
.
.
.
บุตรสาวที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสและได้รับรางวัล Noble ด้วยเช่นกัน
.
.
บุตรสาวที่เป็นนักเขียน นักข่าว นักเปียนโน และโอนไปถือสัญชาติอเมริกัน
.
.
สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะอ่านเอกสารต้นฉบับลายมือ Marie Curie
จะต้องลงนามสละสิทธิ์ความรับผิดชอบ
กับ France’s Bibliotheque Nationale
แล้วจึงจะสามารถเข้าถึงสมุดบันทึกเล่มนี้ได้
สมุดบันทีกเล่มนี้ที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในกล่องบรรจุที่ทำด้วยตะกั่ว
เพราะยังมีกัมมันตภาพรังสี หรือ Isotope ของ radium-226 ตกค้าง
ช่วงครึ่งอายุหรือเพียง 1,601 ปีเท่านั้นเอง
เรื่องนี้ทำให้นึกถึงการ์ตูน/ภาพยนตร์เรื่อง Death Note
ที่เป็นเรื่องโปรดอีกเรื่องหนึ่งที่ชื่นชอบ
เพราะถ้าคนจับอ่านบันทึกเล่มนี้
แบบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกัมมันภาพรังสี
ก็ต้องรอวันตายที่จะมาเยี่ยมเยือนไม่เร็วก็ช้า
.
.
.
ครอบครัว Curies ต่างไม่รู้ถึงภยันตรายจากธาตุกัมมันตรังสี
และไม่รู้เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีเลยก็ได้
งานวิจัยของพวกท่านพยายามที่จะค้นหาเกี่ยวกับ
ธาตุกัมมันตรังสี ว่าเป็นมาเช่นใด ทำงานได้อย่างไร
และธาตุประกอบกัมมันตรังสีที่อันตรายอย่างมากเช่น
Thorium, Uranium, Plutonium
.
.
.
.
ธาตุเหล่านี้ต่างถูกบรรจุไว้ในหลอดแก้วทดลองวิทยาศาสตร์
แล้ววางทิ้งอยู่ภายในห้องทำงาน/ในบ้านของพวกท่าน
พวกมันส่องแสงประกายแสงยามราตรี
ในความทรงจำ Marie Curie บอกเล่าว่า
"
งดงามมาก มีแสงสลัว ๆ เหมือนแสงวิเศษของนางฟ้าในนิทาน ”
เรื่องนี้เธอเขียนไว้ในสมุดบันทึกส่วนตัว
Marie Curie ยังพกพาธาตุกัมมันตรังสีดังกล่าวไว้ภายในกระเป๋าของเธอ
ทั้งเธอกับสามีของเธอต่างสวมใส่เสื้อผ้าแบบทั่วไปในห้องปฏิบัติงาน
(ไม่ใช่ชุดทำงานที่มีการป้องกันรังสีในแบบปัจจุบันนี้)
.
.
.
Marie Curie ตายตอนอายุ 66 ปีในปี 1934
สาเหตุจากโรค Aplastic anemia
โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
เกี่ยวเนื่องกับธาตุกัมมันตภาพรังสี
เป็นโรคที่ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดได้
ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาโลหิตจาง เลือดออกจากเกร็ดเลือดต่ำ
และติดเชื้อโรคง่ายจากเม็ดเลือดขาวต่ำ
โรคนี้จะพบในประชากรทางกลุ่มประเทศ
ทางตะวันออกมากกว่าประเทศทางตะวันตก
ที่มา
http://bit.ly/1h4ZSvF
.
.
บ้านของเธอยังมีการใช้งานอยู่จนกระทั่งถึงปี 1978
โดย สถาบันนิวเคลียร์ฟิสิคส์ปารีส คณะวิทยาศาสตร์ และมูลนิธิ Curie
Institute of Nuclear Physics of the Paris Faculty of Science and the Curie Foundation
หลังจากนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลรักษาอย่างเข้มงวดโดยพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐ
เพราะตระหนักถึงภยันตรายจากกัมมันตภาพรังสีที่ยังตกค้างอยู่ภายในอาคาร
เพราะมีชาวบ้านละแวกใกล้เคียงบ้านหลังนี้
ต่างเป็นโรคมะเร็งมีอัตราจำนวนสูงมากกว่า
ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในบริเวณอื่นห่างไกลจากบ้านหลังนี้
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ Le Parisien
ชาวบ้านแถวนี้ต่างกล่าวโทษว่ามาจากบ้านของ Curie
ที่มา
http://bit.ly/1KDFnxP
.
.
ภายในสุสานรัฐ Panthéon ใน Paris
.
ห้องปฏิบัติการกับอาคารหลังนี้
ได้รับการขจัดกัมมันตภาพรังสีในปี 1991
หนึ่งปีหลังจากนั้นทรัพย์มรดกของ Marie Curie
ที่ประกอบไปด้วยบันทึกส่วนตัว/ข้าวของต่าง ๆ
ได้ถูกนำออกมาจากบ้านเธอ
เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
.
.
บ้านของ Marie Curie
.
.
ป้ายห้ามเข้า
.
ทำให้ชั้นหนังสือในท้องตลาดต่างเกาะกระแส
แล้วท่วมท้นไปด้วยหนังสือเกี่ยวกับเธอ เช่น
Marie Curie: A Life by Susan Quinn in 1995
Pierre Curie by Anna Hurwic in 1998
Curie: Le rêve scientifique by Loïc Barbo in 1999
Marie Curie et son laboratoire by Soraya Boudia in 2001
Obsessive Genius: The Inner World of Marie Curie by Barbara Goldsmith in 2005
Radioactive: Marie and Pierre Curie, a Tale of Love and Fallout by Lauren Redniss in 2011
.
.
ที่ฝังศพ Pierre Curie
.
แม้ว่าเธอจะเสียชีวิตในวัย 66 ปี
แต่เธอเป็นสตรีคนแรกที่เปลี่ยนแปลงวงการวิทยาศาสตร์
Marie Curie คือสตรีคนแรกที่ได้รับรางวัล Nobel Prize
ร่วมกับสามี (รางวัลคนละครึ่ง) ในด้านฟิสิคส์ ปี 1903
และเป็นสตรีคนเดียวที่ได้รับรางวัลอีกครั้งด้านเคมี ปี 1911
ที่มา
http://bit.ly/1WMcoRF
สตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่
University of Paris-Sorbonne
http://bit.ly/1U7KFXl
.
.
ที่ฝังศพ Marie Curie
.
สตรีต่างชาติคนแรกที่ได้รับการฝังที่ Panthéon ใน Paris
โดยได้รับเกียรติสูงสุดจากผลงานและชื่อเสียงของตนเอง
เธอได้โอนไปถือสัญชาติฝรั่งเศสตาม Pierre ในภายหลัง
โดยคำสั่งของประธานาธิบดี Francois Mitterrand
ให้ย้ายกระดูกของเธอกับสามีที่ถูกฝังอยู่ที่สุสานในชานเมืองแถบชนบท
ให้ขนย้ายมาฝังที่สุสานรัฐ Panthéon ใน Paris
ที่ฝังศพผู้มีชื่อเสียงของฝรั่งเศสจำนวนมาก เช่น
Voltaire, Jean-Jacques Rousseau, Victor Hugo และ Emile Zola
ในวันที่ 20 เมษายน ปี 1995 ที่มา
http://nyti.ms/1MLlCdB
วันดังกล่าวเป็นรัฐพิธีที่มีประธานาธิบดีโปแลนด์ Lech Walesa เข้าร่วมงานด้วย
ในปี 1907 Marcellin Berthelot ได้ถูกฝังร่วมกับภริยา Sophie Berthelot
นับว่าเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับการฝังที่สุสานหลวงแห่งนี้
แต่เธอได้รับเกียรติดังกล่าวเพราะผลงานของสามีเธอ
.
.
Marie Curie ต้องต่อสู้กับเรื่องราวภายในจิตใจอย่างมากมาย
หลังการเสียชีวิตของ Pierre สามีในปี 1906
ที่ลื่นหกล้มหลังจากฝนตกบนท้องถนนที่วุ่นวายในปารีส
แล้วถูกล้อรถม้าลากรถบรรทุกเหยียบตาย
.
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/1V1ybCW
http://bit.ly/1Jopb2x
http://bit.ly/1PsY9LZ
http://bit.ly/1WMcoRF
http://bit.ly/1Jd3hQD
.
.
หมายเหตุ
ในยุคนั้น นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจ/รับรู้ถึง
ภยันตรายจากธาตุกัมมันตรังสี/กัมมันตภาพรังสี
จนกระทั่งปี 1938 หลังการตายของ Marie Curie 4 ปี
จึงมีกฎหมายด้าน อาหาร ยา และเครื่องสำอาง
ว่าห้ามใช้ธาตุกัมมันตรังสีกับสินค้าเหล่านี้
แต่ก็ยังล่าช้าเกินไปแล้วเพราะ
มีการผลิตและขายกันอย่างหลากหลายผลิตภัณฑ์
มีนักอุตสาหกรรมและนักกิจกรรมสังคม Eben Byers
ผู้พยายามทดสอบ/รักษาแขนข้างที่บาดเจ็บ
ด้วยขวดบรรจุน้ำที่แช่ธาตุเรเดียม กับ เมโซธอเลี่ยม
(radium&mesothorium-infused water) กว่า 1,400 ขวด
ทำให้ตอนที่เขาตายแล้วต้องฝังไว้ในโลงศพตะกั่ว
.
.
Eben Byers
.
.
น้ำยามหัศจรรย์
.
.
น้ำดื่มบำรุงร่างกาย
.
.
ยาเพิ่มพลังชีวิตจากธาตุเรเดียม
.
.
ผลิตภัณฑ์นมจากเรเดียม
.
.
ข่าวตาย Eben Byers
แต่ทุกวันนี้มีการศึกษาและค้นคว้ากันอย่างต่อเนื่อง
จนสามารถทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากธาตุกัมมันตรังสี
ในกิจการทางการแพทย์ พลังงานนิวเคลียร์ วัสดุต่าง ๆ
การถนอมรักษาอาหาร พืชและผัก(ฆ่าแมลง/เชื้อโรค)
ทดสอบคุณภาพ/ประสิทธิภาพโลหะ
ตรวจวัดอายุของโบราณตามธรรมชาติ
แม้กระทั่งอายุขัยของโลก
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/1PsY9LZ
http://bit.ly/1JqvmDj
.
.
.
.
บันทึกสั่งตายของ Marie Curie
การเข้าใจเข้าถึงผลงาน/ข้าวของในการทำงานของพวกท่าน
จัดว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคนี้
แต่เรื่องหนึ่งที่ยากที่สุดคือ ชีวประวัติของ Marie Curie
นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานร่วมกับสามี Pierre Curie
และเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเรื่องอนุภาคฟิสิคส์ particle physics
แต่สมุดบันทึก เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ข้าวของสวยงามของเธอ
แม้ว่าจะได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่บ้านชานเมืองปารีส
แต่ยังมีกัมมันตภาพรังสี ที่มีช่วงอายุกว่า 1,600 ปีหรือมากกว่าตกค้างอยู่
.
สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะอ่านเอกสารต้นฉบับลายมือ Marie Curie
จะต้องลงนามสละสิทธิ์ความรับผิดชอบ
กับ France’s Bibliotheque Nationale
แล้วจึงจะสามารถเข้าถึงสมุดบันทึกเล่มนี้ได้
สมุดบันทีกเล่มนี้ที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในกล่องบรรจุที่ทำด้วยตะกั่ว
เพราะยังมีกัมมันตภาพรังสี หรือ Isotope ของ radium-226 ตกค้าง
ช่วงครึ่งอายุหรือเพียง 1,601 ปีเท่านั้นเอง
เรื่องนี้ทำให้นึกถึงการ์ตูน/ภาพยนตร์เรื่อง Death Note
ที่เป็นเรื่องโปรดอีกเรื่องหนึ่งที่ชื่นชอบ
เพราะถ้าคนจับอ่านบันทึกเล่มนี้
แบบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกัมมันภาพรังสี
ก็ต้องรอวันตายที่จะมาเยี่ยมเยือนไม่เร็วก็ช้า
และไม่รู้เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีเลยก็ได้
งานวิจัยของพวกท่านพยายามที่จะค้นหาเกี่ยวกับ
ธาตุกัมมันตรังสี ว่าเป็นมาเช่นใด ทำงานได้อย่างไร
และธาตุประกอบกัมมันตรังสีที่อันตรายอย่างมากเช่น
Thorium, Uranium, Plutonium
แล้ววางทิ้งอยู่ภายในห้องทำงาน/ในบ้านของพวกท่าน
พวกมันส่องแสงประกายแสงยามราตรี
ในความทรงจำ Marie Curie บอกเล่าว่า
" งดงามมาก มีแสงสลัว ๆ เหมือนแสงวิเศษของนางฟ้าในนิทาน ”
เรื่องนี้เธอเขียนไว้ในสมุดบันทึกส่วนตัว
Marie Curie ยังพกพาธาตุกัมมันตรังสีดังกล่าวไว้ภายในกระเป๋าของเธอ
ทั้งเธอกับสามีของเธอต่างสวมใส่เสื้อผ้าแบบทั่วไปในห้องปฏิบัติงาน
(ไม่ใช่ชุดทำงานที่มีการป้องกันรังสีในแบบปัจจุบันนี้)
สาเหตุจากโรค Aplastic anemia
โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
เกี่ยวเนื่องกับธาตุกัมมันตภาพรังสี
เป็นโรคที่ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดได้
ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาโลหิตจาง เลือดออกจากเกร็ดเลือดต่ำ
และติดเชื้อโรคง่ายจากเม็ดเลือดขาวต่ำ
โรคนี้จะพบในประชากรทางกลุ่มประเทศ
ทางตะวันออกมากกว่าประเทศทางตะวันตก
ที่มา http://bit.ly/1h4ZSvF
โดย สถาบันนิวเคลียร์ฟิสิคส์ปารีส คณะวิทยาศาสตร์ และมูลนิธิ Curie
Institute of Nuclear Physics of the Paris Faculty of Science and the Curie Foundation
หลังจากนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลรักษาอย่างเข้มงวดโดยพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐ
เพราะตระหนักถึงภยันตรายจากกัมมันตภาพรังสีที่ยังตกค้างอยู่ภายในอาคาร
เพราะมีชาวบ้านละแวกใกล้เคียงบ้านหลังนี้
ต่างเป็นโรคมะเร็งมีอัตราจำนวนสูงมากกว่า
ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในบริเวณอื่นห่างไกลจากบ้านหลังนี้
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ Le Parisien
ชาวบ้านแถวนี้ต่างกล่าวโทษว่ามาจากบ้านของ Curie
ที่มา http://bit.ly/1KDFnxP
.
ได้รับการขจัดกัมมันตภาพรังสีในปี 1991
หนึ่งปีหลังจากนั้นทรัพย์มรดกของ Marie Curie
ที่ประกอบไปด้วยบันทึกส่วนตัว/ข้าวของต่าง ๆ
ได้ถูกนำออกมาจากบ้านเธอ
เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
แล้วท่วมท้นไปด้วยหนังสือเกี่ยวกับเธอ เช่น
Marie Curie: A Life by Susan Quinn in 1995
Pierre Curie by Anna Hurwic in 1998
Curie: Le rêve scientifique by Loïc Barbo in 1999
Marie Curie et son laboratoire by Soraya Boudia in 2001
Obsessive Genius: The Inner World of Marie Curie by Barbara Goldsmith in 2005
Radioactive: Marie and Pierre Curie, a Tale of Love and Fallout by Lauren Redniss in 2011
แต่เธอเป็นสตรีคนแรกที่เปลี่ยนแปลงวงการวิทยาศาสตร์
Marie Curie คือสตรีคนแรกที่ได้รับรางวัล Nobel Prize
ร่วมกับสามี (รางวัลคนละครึ่ง) ในด้านฟิสิคส์ ปี 1903
และเป็นสตรีคนเดียวที่ได้รับรางวัลอีกครั้งด้านเคมี ปี 1911
ที่มา http://bit.ly/1WMcoRF
สตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่
University of Paris-Sorbonne http://bit.ly/1U7KFXl
.
โดยได้รับเกียรติสูงสุดจากผลงานและชื่อเสียงของตนเอง
เธอได้โอนไปถือสัญชาติฝรั่งเศสตาม Pierre ในภายหลัง
โดยคำสั่งของประธานาธิบดี Francois Mitterrand
ให้ย้ายกระดูกของเธอกับสามีที่ถูกฝังอยู่ที่สุสานในชานเมืองแถบชนบท
ให้ขนย้ายมาฝังที่สุสานรัฐ Panthéon ใน Paris
ที่ฝังศพผู้มีชื่อเสียงของฝรั่งเศสจำนวนมาก เช่น
Voltaire, Jean-Jacques Rousseau, Victor Hugo และ Emile Zola
ในวันที่ 20 เมษายน ปี 1995 ที่มา http://nyti.ms/1MLlCdB
วันดังกล่าวเป็นรัฐพิธีที่มีประธานาธิบดีโปแลนด์ Lech Walesa เข้าร่วมงานด้วย
ในปี 1907 Marcellin Berthelot ได้ถูกฝังร่วมกับภริยา Sophie Berthelot
นับว่าเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับการฝังที่สุสานหลวงแห่งนี้
แต่เธอได้รับเกียรติดังกล่าวเพราะผลงานของสามีเธอ
หลังการเสียชีวิตของ Pierre สามีในปี 1906
ที่ลื่นหกล้มหลังจากฝนตกบนท้องถนนที่วุ่นวายในปารีส
แล้วถูกล้อรถม้าลากรถบรรทุกเหยียบตาย
http://bit.ly/1V1ybCW
http://bit.ly/1Jopb2x
http://bit.ly/1PsY9LZ
http://bit.ly/1WMcoRF
http://bit.ly/1Jd3hQD
.
.
หมายเหตุ
ในยุคนั้น นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจ/รับรู้ถึง
ภยันตรายจากธาตุกัมมันตรังสี/กัมมันตภาพรังสี
จนกระทั่งปี 1938 หลังการตายของ Marie Curie 4 ปี
จึงมีกฎหมายด้าน อาหาร ยา และเครื่องสำอาง
ว่าห้ามใช้ธาตุกัมมันตรังสีกับสินค้าเหล่านี้
แต่ก็ยังล่าช้าเกินไปแล้วเพราะ
มีการผลิตและขายกันอย่างหลากหลายผลิตภัณฑ์
มีนักอุตสาหกรรมและนักกิจกรรมสังคม Eben Byers
ผู้พยายามทดสอบ/รักษาแขนข้างที่บาดเจ็บ
ด้วยขวดบรรจุน้ำที่แช่ธาตุเรเดียม กับ เมโซธอเลี่ยม
(radium&mesothorium-infused water) กว่า 1,400 ขวด
ทำให้ตอนที่เขาตายแล้วต้องฝังไว้ในโลงศพตะกั่ว
จนสามารถทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากธาตุกัมมันตรังสี
ในกิจการทางการแพทย์ พลังงานนิวเคลียร์ วัสดุต่าง ๆ
การถนอมรักษาอาหาร พืชและผัก(ฆ่าแมลง/เชื้อโรค)
ทดสอบคุณภาพ/ประสิทธิภาพโลหะ
ตรวจวัดอายุของโบราณตามธรรมชาติ
แม้กระทั่งอายุขัยของโลก
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/1PsY9LZ
http://bit.ly/1JqvmDj
.
.