มารู้จักกับท่านคาร์ล พอปเปอร์และหลักการfalsifiable เพื่อไว้ต่อสู้กับ pseudoscience กันเถอะ
คาร์ล ปอปเปอร์ (Karl Popper) ประวัติและผลงานคร่าวๆ
สวัสดีครับชาวหว้ากอทุกท่าน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับท่านคาร์ล พอปเปอร์และหลักการการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiable) กันครับ
ทำไมหน่ะหรือเพราะในสังคมเรายังมี ความเชื่อข้อมูลที่ผิดๆ ซึ่งบางครั้งมันก็ไม่เป็นไรหรอก แต่บางครั้งมันส่งผลกระทบในแง่ลบแก่เราครับ
ผมจะแบ่งง่ายๆเป็น 2 อย่างแล้วกัน
1.คือความเชื่อที่ผิดๆ เช่นเชื่อว่า อยู่ใกล้เสาสัญญาณโทรศัพท์แรงสูงจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ปวดหัว มึนงง เวียนศีรษะ ซึ่งมีข่าวชาวบ้านมาขับไล่ไม่ให้มาตั้งเสาสัญญาณ เพราะความเข้าใจผิดนี้ แทนที่จะได้เงินค่าเช่าพื้นที่กับได้ใช้โทรศัพท์เครือข่ายสัญญาณดีๆใกล้ๆบ้านก็อด เพราะความเข้าใจผิด
เสาสัญญาณแบบนี้ มนุษย์ไปอยู่ใกล้ๆแล้วจะปวดหัว มึนงงจริงหรือ
2. pseudoscience อันนี้จะต่างกับความเชื่อที่ผิดๆตรงที่ เป็นคำกล่าวอ้าง ที่พยายามอ้างให้คล้ายหลักการทางวิทยาศาสตร์ มีการอธิบายหลักการทำงาน ใส่ศัพท์วิทยาศาสตร์ไปให้ดูขลัง แต่จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง มีการให้เหตุผลที่ผิด ขัดกับวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เช่นกรณีคลาสสิกคือเหรียญสเกลาร์ (ทำไมต้องเป็นเหรียญสเกลาร์ มีแค่ขนาด ไหนๆจะตั้งชื่อเอาศัพท์วิทย์เข้าไปใส่ก็น่าจะเป็นเหรียญเวกเตอร์ มีทั้งขนาดและทิศทาง) หรือไม้ล้างป่าช้า gt200 (ทำไมต้อง gt200 ยุคนี้ต้อง gtx 980 ) ที่ทั้งสองอย่างนี้ล้วนพยายามอ้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่จริงๆแล้วตัวมันไม่เป็นวิทยาศาสตร์เลย
ทำไมต้อง gt200 ยุคนี้ต้อง gtx 980 แล้ว เอาไว้เล่น batman arkham knight ปรับสุด
Karl Popper (1902-1994)
แล้วท่าน คาร์ล พอปเปอร์ มาเกี่ยวอะไรด้วยหล่ะ
ก็เพราะท่านนี้เองได้พยายามสร้างทฤษฎีมาตรวจสอบว่า
อันไหนเป็นวิทยาศาสตร์แท้อันไหนเป็นวิทยาศาสตร์เทียม
โดยเราจะมารู้จักกับชีวิตและผลงานของท่านกันครับ
ก่อนเข้าเนื้อหา ที่จะมีเน้นแนวคิดด้านปรัชญา
มาฟังเพลงพักผ่อนกันก่อนก็ได้ครับ
ขอแนะนำ เพลง Lean On โดย Major Lazer & DJ Snake ครับ
เนื้อเพลง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
"Lean On"
(with DJ Snake)
(feat. MØ)
Do you recall, not long ago
We would walk on the sidewalk
Innocent, remember?
All we did was care for each other
But the night was warm
We were bold and young
All around the wind blows
We would only hold on to let go
[Chorus x2:]
Blow a kiss, fire a gun
We need someone to lean on
Blow a kiss, fire a gun
All we need is somebody to lean on
(Eeh ooh, eeh ooh, eeh ooh, eeh ooh) [x4]
What will we do when we get old?
Will we walk down the same road?
Will you be there by my side?
Standing strong as the waves roll over
When the nights are long
Longing for you to come home
All around the wind blows
We would only hold on to let go
[Chorus x2:]
Blow a kiss, fire a gun
We need someone to lean on
Blow a kiss, fire a gun
All we need is somebody to lean on
(Eeh ooh, eeh ooh, eeh ooh, eeh ooh) [x2]
All we need is somebody to lean on
(Eeh ooh, eeh ooh, eeh ooh, eeh ooh) [x2]
All we need is somebody to lean on
Lean on, lean on, lean on, lean on...
[Chorus x2:]
Blow a kiss, fire a gun
We need someone to lean on
Blow a kiss, fire a gun
All we need is somebody to lean on
----------------------------------
โอเคครับ เรามาเข้าเนื้อหากันเลย
คาร์ล ฟอปเปอร์ เกิดที่กรุงเวียนนา ในครอบครัวชนชั้นกลางครับ พ่อเขาเป็นนักกฎหมายจากโบฮีเมีย ถ้าใครอ่านเชอร์ล็อก โฮมส์ จะมีตอนนึงชื่อตอนว่า เหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย (A Scandal in Bohemia) ก็คือที่นี่แหละครับ ส่วนแม่ของเขามีเชื้อสายมาจากชิชิลีกับฮังการี
ฟอปเปอร์ออกจากโรงเรียนตอนอายุ 16 และชอบเข้าไปฟังเลคเชอร์ในวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์ดนตรีในฐานะ guest student ที่มหาวิทยาลัยเวียนนาเป็นประจำ
มหาวิทยาลัยเวียนนาที่ฟอปเปอร์ชอบเข้าไปฟังเลคเชอร์วิชาต่างๆ
ในปี 1928 เขาจบปริญญาเอกสาขาจิตวิทยา ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "The question of method in cognitive psychology" ในปี 1929 เขาเป็นอาจารย์มัธยมสอนวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ และแต่งงานกับ Josefine Anna Henninger ในปี 1930
ณ ตอนนั้นอิทธิพลของพรรคนาซีเยอรมนีเริ่มแผ่ขยายอิทธิพล เขาเริ่มใช้เวลาช่วงเย็นเขียนหนังสือเล่มแรกของเขา ซึ่งจำเป็นเพื่อไว้ขอตำแหน่งวิชาการในประเทศที่ปลอดภัยที่ชาวยิวจะไม่โดนไล่ล่าจับตัว ในปี 1937 เขาสามารถอพยพไปที่นิวซีแลนด์ เป็นอาจารย์สอนวิชาปรัชญาอยู่ที่ Canterbury University College ซึ่งเมื่อก่อนเป็นส่วนหนึ่งของ University of New Zealand
Canterbury University College
ต่อมาพอสงครามโลกครั้งที่สองจบลง เขาได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ที่ London School of Economics และได้รับตำแหน่งศาสตาจารย์ด้านตรรกศาสตร์และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปี 1949 จนเขาเกษียณในปี 1969
ผลงานที่สำคัญของเขาคือหนังสือเรื่อง The Logic of Scientific Discovery ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1934 เนื้อหาเกี่ยวข้องกับปรัชญาวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มแรกตีพิมพ์เป็นภาษาเยอรมัน แปลได้ว่า ตรรกศาสตร์แห่งการวิจัย เขาได้เขียนใหม่อีกครั้งและตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษในปี 1959 และทำให้เขามีชื่อเสียง คาร์ล พอปเปอร์ ได้รับคำยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพลที่สุดในศตวรรษที่ 20
The Logic of Scientific Discovery ต้นฉบับฉบับภาษาเยอรมัน
เราลองมาทำความเข้าใจกับแนวคิดของเขากัน ลักษณะพื้นฐานของทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่ดีนั้นควรจะสามารถหักล้างได้ ในทางกลับกันทฤษฎีที่ไม่ดีก็คือไม่สามารถหักล้าง พิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ ดังนั้นพอปเปอร์ กล่าวว่าทฤษฎีที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขเหล่านี้ไม่สมควรเรียกว่าวิทยาศาสตร์ เป็นได้แค่เพียง pseudoscience เท่านั้น
ตัวอย่างกรณีคลาสสิกที่เขามักจะยกมาคือทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ ที่เขาให้ความเห็นว่านี่ก็เป็น pseudoscience เพราะคำอธิบายของทฤษฎีนี้สามารถใช้อธิบายได้ทุกเหตุการณ์ คือทฤษฎีนี้ไม่มีผิดเลย ยกตัวอย่างเช่น ชายคนหนึ่งผลักเด็กตกน้ำและอีกคนนึงกระโดดลงน้ำเสี่ยงชีวิตไปช่วยเด็ก ทฤษฎีของฟรอยด์มีคำอธิบายของทั้งสองกรณีคือ ชายคนแรกทำไปเพราะเก็บกด อีกคนนึงทำไปเพราะต้องการชดเชยบางสิ่งบางอย่าง
Sigmund Freud
ทฤษฎีของฟรอยด์สามารถอธิบายพฤติกรรมใดๆของคนได้เพียงใช้แค่เรื่อง ความเก็บกด ความต้องการชดเชยบางสิ่งบางอย่าง ความปรารถนาไร้จิตสำนึก จึงเป็นทฤษฎีที่หักล้างไม่ได้ และก็ไม่น่าจะเป็นวิทยาศาสตร์
สัญลักษณ์ไม่เป็นทางการของ Psychoanalysis
ถ้าลองไปอ่านทฤษฎีจิตวิเคราะห์ในวิกิพีเดียก็จะพบว่า ทฤษฎีนี้ถูกมองว่าเป็น pseudoscience แบบที่ คาร์ล พอปเปอร์ ตั้งข้อสังเกตไว้จริงๆด้วย (ตอนสมัยก่อนผมก็คิดว่าทฤษฎีนี้เป็นวิทยาศาสตร์เสียอีก)
"Psychoanalysis has received criticism from a wide variety of sources. It is regarded by some critics as a pseudoscience. Nonetheless, it remains a strong influence within the realm of psychiatry, and more so in some quarters than others"
https://en.wikipedia.org/wiki/Psychoanalysis
แล้วทฤษฎีที่ falsifiable สามารถพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ เป็นทฤษฎีที่พอปเปอร์ มองว่าเป็นวิทยาศาสตร์จริงๆจะเป็นอย่างไร เดี๋ยวมาต่อกันครับ
-----------------------------------
==มารู้จักกับท่านคาร์ล พอปเปอร์และหลักการfalsifiable เพื่อไว้ต่อสู้กับ pseudoscience กันเถอะ==
คาร์ล ปอปเปอร์ (Karl Popper) ประวัติและผลงานคร่าวๆ
สวัสดีครับชาวหว้ากอทุกท่าน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับท่านคาร์ล พอปเปอร์และหลักการการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiable) กันครับ
ทำไมหน่ะหรือเพราะในสังคมเรายังมี ความเชื่อข้อมูลที่ผิดๆ ซึ่งบางครั้งมันก็ไม่เป็นไรหรอก แต่บางครั้งมันส่งผลกระทบในแง่ลบแก่เราครับ
ผมจะแบ่งง่ายๆเป็น 2 อย่างแล้วกัน
1.คือความเชื่อที่ผิดๆ เช่นเชื่อว่า อยู่ใกล้เสาสัญญาณโทรศัพท์แรงสูงจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ปวดหัว มึนงง เวียนศีรษะ ซึ่งมีข่าวชาวบ้านมาขับไล่ไม่ให้มาตั้งเสาสัญญาณ เพราะความเข้าใจผิดนี้ แทนที่จะได้เงินค่าเช่าพื้นที่กับได้ใช้โทรศัพท์เครือข่ายสัญญาณดีๆใกล้ๆบ้านก็อด เพราะความเข้าใจผิด
เสาสัญญาณแบบนี้ มนุษย์ไปอยู่ใกล้ๆแล้วจะปวดหัว มึนงงจริงหรือ
2. pseudoscience อันนี้จะต่างกับความเชื่อที่ผิดๆตรงที่ เป็นคำกล่าวอ้าง ที่พยายามอ้างให้คล้ายหลักการทางวิทยาศาสตร์ มีการอธิบายหลักการทำงาน ใส่ศัพท์วิทยาศาสตร์ไปให้ดูขลัง แต่จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง มีการให้เหตุผลที่ผิด ขัดกับวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในหมู่นักวิทยาศาสตร์ เช่นกรณีคลาสสิกคือเหรียญสเกลาร์ (ทำไมต้องเป็นเหรียญสเกลาร์ มีแค่ขนาด ไหนๆจะตั้งชื่อเอาศัพท์วิทย์เข้าไปใส่ก็น่าจะเป็นเหรียญเวกเตอร์ มีทั้งขนาดและทิศทาง) หรือไม้ล้างป่าช้า gt200 (ทำไมต้อง gt200 ยุคนี้ต้อง gtx 980 ) ที่ทั้งสองอย่างนี้ล้วนพยายามอ้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่จริงๆแล้วตัวมันไม่เป็นวิทยาศาสตร์เลย
ทำไมต้อง gt200 ยุคนี้ต้อง gtx 980 แล้ว เอาไว้เล่น batman arkham knight ปรับสุด
Karl Popper (1902-1994)
แล้วท่าน คาร์ล พอปเปอร์ มาเกี่ยวอะไรด้วยหล่ะ
ก็เพราะท่านนี้เองได้พยายามสร้างทฤษฎีมาตรวจสอบว่า
อันไหนเป็นวิทยาศาสตร์แท้อันไหนเป็นวิทยาศาสตร์เทียม
โดยเราจะมารู้จักกับชีวิตและผลงานของท่านกันครับ
ก่อนเข้าเนื้อหา ที่จะมีเน้นแนวคิดด้านปรัชญา
มาฟังเพลงพักผ่อนกันก่อนก็ได้ครับ
ขอแนะนำ เพลง Lean On โดย Major Lazer & DJ Snake ครับ
เนื้อเพลง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
----------------------------------
โอเคครับ เรามาเข้าเนื้อหากันเลย
คาร์ล ฟอปเปอร์ เกิดที่กรุงเวียนนา ในครอบครัวชนชั้นกลางครับ พ่อเขาเป็นนักกฎหมายจากโบฮีเมีย ถ้าใครอ่านเชอร์ล็อก โฮมส์ จะมีตอนนึงชื่อตอนว่า เหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย (A Scandal in Bohemia) ก็คือที่นี่แหละครับ ส่วนแม่ของเขามีเชื้อสายมาจากชิชิลีกับฮังการี
ฟอปเปอร์ออกจากโรงเรียนตอนอายุ 16 และชอบเข้าไปฟังเลคเชอร์ในวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์ดนตรีในฐานะ guest student ที่มหาวิทยาลัยเวียนนาเป็นประจำ
มหาวิทยาลัยเวียนนาที่ฟอปเปอร์ชอบเข้าไปฟังเลคเชอร์วิชาต่างๆ
ในปี 1928 เขาจบปริญญาเอกสาขาจิตวิทยา ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "The question of method in cognitive psychology" ในปี 1929 เขาเป็นอาจารย์มัธยมสอนวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ และแต่งงานกับ Josefine Anna Henninger ในปี 1930
ณ ตอนนั้นอิทธิพลของพรรคนาซีเยอรมนีเริ่มแผ่ขยายอิทธิพล เขาเริ่มใช้เวลาช่วงเย็นเขียนหนังสือเล่มแรกของเขา ซึ่งจำเป็นเพื่อไว้ขอตำแหน่งวิชาการในประเทศที่ปลอดภัยที่ชาวยิวจะไม่โดนไล่ล่าจับตัว ในปี 1937 เขาสามารถอพยพไปที่นิวซีแลนด์ เป็นอาจารย์สอนวิชาปรัชญาอยู่ที่ Canterbury University College ซึ่งเมื่อก่อนเป็นส่วนหนึ่งของ University of New Zealand
Canterbury University College
ต่อมาพอสงครามโลกครั้งที่สองจบลง เขาได้ย้ายมาเป็นอาจารย์ที่ London School of Economics และได้รับตำแหน่งศาสตาจารย์ด้านตรรกศาสตร์และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปี 1949 จนเขาเกษียณในปี 1969
ผลงานที่สำคัญของเขาคือหนังสือเรื่อง The Logic of Scientific Discovery ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1934 เนื้อหาเกี่ยวข้องกับปรัชญาวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มแรกตีพิมพ์เป็นภาษาเยอรมัน แปลได้ว่า ตรรกศาสตร์แห่งการวิจัย เขาได้เขียนใหม่อีกครั้งและตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษในปี 1959 และทำให้เขามีชื่อเสียง คาร์ล พอปเปอร์ ได้รับคำยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพลที่สุดในศตวรรษที่ 20
The Logic of Scientific Discovery ต้นฉบับฉบับภาษาเยอรมัน
เราลองมาทำความเข้าใจกับแนวคิดของเขากัน ลักษณะพื้นฐานของทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่ดีนั้นควรจะสามารถหักล้างได้ ในทางกลับกันทฤษฎีที่ไม่ดีก็คือไม่สามารถหักล้าง พิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ ดังนั้นพอปเปอร์ กล่าวว่าทฤษฎีที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขเหล่านี้ไม่สมควรเรียกว่าวิทยาศาสตร์ เป็นได้แค่เพียง pseudoscience เท่านั้น
ตัวอย่างกรณีคลาสสิกที่เขามักจะยกมาคือทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ ที่เขาให้ความเห็นว่านี่ก็เป็น pseudoscience เพราะคำอธิบายของทฤษฎีนี้สามารถใช้อธิบายได้ทุกเหตุการณ์ คือทฤษฎีนี้ไม่มีผิดเลย ยกตัวอย่างเช่น ชายคนหนึ่งผลักเด็กตกน้ำและอีกคนนึงกระโดดลงน้ำเสี่ยงชีวิตไปช่วยเด็ก ทฤษฎีของฟรอยด์มีคำอธิบายของทั้งสองกรณีคือ ชายคนแรกทำไปเพราะเก็บกด อีกคนนึงทำไปเพราะต้องการชดเชยบางสิ่งบางอย่าง
Sigmund Freud
ทฤษฎีของฟรอยด์สามารถอธิบายพฤติกรรมใดๆของคนได้เพียงใช้แค่เรื่อง ความเก็บกด ความต้องการชดเชยบางสิ่งบางอย่าง ความปรารถนาไร้จิตสำนึก จึงเป็นทฤษฎีที่หักล้างไม่ได้ และก็ไม่น่าจะเป็นวิทยาศาสตร์
สัญลักษณ์ไม่เป็นทางการของ Psychoanalysis
ถ้าลองไปอ่านทฤษฎีจิตวิเคราะห์ในวิกิพีเดียก็จะพบว่า ทฤษฎีนี้ถูกมองว่าเป็น pseudoscience แบบที่ คาร์ล พอปเปอร์ ตั้งข้อสังเกตไว้จริงๆด้วย (ตอนสมัยก่อนผมก็คิดว่าทฤษฎีนี้เป็นวิทยาศาสตร์เสียอีก)
"Psychoanalysis has received criticism from a wide variety of sources. It is regarded by some critics as a pseudoscience. Nonetheless, it remains a strong influence within the realm of psychiatry, and more so in some quarters than others"
https://en.wikipedia.org/wiki/Psychoanalysis
แล้วทฤษฎีที่ falsifiable สามารถพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ เป็นทฤษฎีที่พอปเปอร์ มองว่าเป็นวิทยาศาสตร์จริงๆจะเป็นอย่างไร เดี๋ยวมาต่อกันครับ
-----------------------------------