วิทยาศาสตร์เทียม (อังกฤษ: pseudoscience) เป็นการกล่าวอ้าง, ความเชื่อ หรือการปฏิบัติ ที่แสดงตนเป็นวิทยาศาสตร์ แต่มิได้ยึดแบบแผนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขาดการสนับสนุนด้วยหลักฐาน หรือ หลักความเป็นไปได้ ไม่สามารถทำการตรวจสอบ หรือขาดฐานความเป็นวิทยาศาสตร์ [1] วิทยาศาสตร์เทียมมักมีลักษณะการอ้างที่ แผลง ขัดแย้ง เกินจริง หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือมีแต่แนวทางการพิสูจน์ว่าเป็นจริงโดยไม่มีแนวทางพิสูจน์แบบนิเสธ มักไม่ยินยอมรับการตรวจสอบจากผู้ชำนาญการอื่น ๆ และมักจะขาดกระบวนทรรศน์ในการสร้างทฤษฏีอย่างสมเหตุผล
สาขา แนวปฏิบัติ หรือองค์ความรู้ใด สามารถจัดเป็นวิทยาศาสตร์เทียมได้ เมื่อมันถูกนำเสนอให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทั้งหลายแห่งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่พิสูจน์ได้ว่ามันไม่ผ่านบรรทัดฐานตามที่กล่าวอ้าง[2] วิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นวัตถุนิยม และต่างจากแนวคิดจิตนิยมเพราะฐานของวิทยาศาสตร์ เป็นการค้นหาความจริงของโลกผ่านกระบวนการค้นคว้าและพิสูจน์ [3] หลักความเชื่อทั่ว ๆ ไปในกลุ่มวิทยาศาสตร์อ่านสนุก (popular science) อาจไม่เข้าเกณฑ์ความเป็นวิทยาศาสตร์[4] วิทยาศาสตร์แบบ Pop-science อาจจัดเป็นช่วงที่เนียนไประหว่างวิทยาศาสตร์ กับ วิทยาศาสตร์เทียม และอาจรวม นิยายวิทยาศาสตร์ เข้าไว้ด้วย วิทยาศาสตร์เทียมเป็นสิ่งที่แพร่กว้างแม้ในกลุ่ม ครู ผู้สอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนของรัฐ และรวมไปถึงวงการสื่อหนังสือพิมพ์ [5]
ปัญหาการแบ่งเขตแดนระหว่างวิทยาศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์เทียม มีประเด็นทับซ้อนทางด้านจริยธรรมและการเมือง เช่นเดียวกับประเด็นระหว่าง ปรัชญา และ วิทยาศาสตร์ [6] ความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์กับวิทยาศาสตร์เทียม มีผลในทางปฏิบัติต่อ การดูแลสุขภาพ การให้การของผู้เชี่ยวชาญ นโยบายทางสิ่งแวดล้อม และ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ [7] หน้าที่สำคัญของการให้การศึกษาและการให้ความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ คือการแบ่งแยกข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ออกจากทฤษฏีจากความเชื่อของวิทยาศาสตร์เทียมเช่นในกรณีที่ปรากฏว่า มีการแอบอ้างเนียนวิทย์ ในวงการโหราศาสตร์ การแพทย์ลวงโลก และเรื่องลึกลับ [8] ศัพท์คำว่าวิทยาศาสตร์เทียมตามรากศัพท์ภาษาอังกฤษ มีความหมายให้ความรู้สึกถึงการดูถูก เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือหลอกปลอมตัวในคราบวิทยาศาสตร์ [9] และก็ดังนั้น กลุ่มผู้ที่สนับสนุนวิทยาศาสตร์เทียมก็ย่อมจะปฏิเสธแย้งข้อกล่าวหาว่าความเชื่อและการกระทำของตนเป็นวิทยาศาสตร์เทียม เช่น กรณี เหรียญควอนตัม หรือ GT 200 เป็นต้น
ภาพรวม[แก้]
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์[แก้]
ผังภาพสมองตามแบบศตวรรษที่ 19: ในช่วงทศวรรษที่ 1820 phrenologists อธิบายว่าจิตใจอยู่ภายในพื้นที่ต่าง ๆ ของสมอง และถูกโจมตีด้วยข้อกังขาว่าจิตใจมาจากจิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับสสาร แนวคิดการอ่านรอยนูนในกระโหลกเพื่อทำนายลักษณะบุคลิคภาพได้ถูกดิสเครดิตลงในภายหลัง [10] ฟรีโนโลยี (Phrenology) ถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1843 และยังคงถือเป็นวิทยาศาสตร์เทียมนับแต่นั้นมา [11]
แม้มาตรฐานวิธีการเรียนรู้ วิจัย และปฏิบัติจะต่างออกไปในวิทยาศาสตร์แต่ละแขนง แต่ก็จะมีหลักการที่เป็นพื้นฐานที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในวงวิทยาศาสตร์ อันได้แก่ ผลการทดลอง ต้องทำซ้ำได้ ตรวจสอบโดยผู้อื่นได้ [12] หลักการข้างต้นมีไว้เพื่อให้การทดลองสามารถตรวจวัด ทำซ้ำได้ภายใต้สภาพแวดล้อมเดิม ทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่า สมมุติฐาน และ ทฤษฏี ที่เกี่ยวข้องกับ ปรากฏการณ์ นั้นมีความถูกต้อง และน่าเชื่อถือเพียงใด มาตรฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะต้องถูกนำใช้ตลอดกระบวนการ และต้องมีการกำจัด หรือควบคุมความเป็นไปได้ที่จะเกิดอคติผ่านกระบวนการสุ่มกระจาย การทำ Blind Test ข้อมูลที่รวบรวมขึ้นมา รวมถึงผลการทดลอง และบันทึกสภาพแวดล้อมจะต้องมีการบันทึกไว้เพื่อการทบทวนตรวจสอบ ทำให้สามารถจำลองการทดลองหรือการศึกษาซ้ำ เพื่อยืนยันหรือแย้งผลการทดลองได้ ปริมาณทางสถิติที่ใช้บ่งชี้นัยสำคัญของ ความมั่นใจ และความเบี่ยงเบน [13] จัดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอันหนึ่งในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การพิสูจน์ความเป็นเท็จได้[แก้]
การพิสูจน์ความเป็นเท็จได้ (อังกฤษ: falsifiability) ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 คาร์ล ป๊อปเปอร์ (Karl Popper) ได้นำเสนอหลัก การพิสูจน์ความเป็นเท็จได้ ไว้แบ่งแยก วิทยาศาสตร์ ออกจากสิ่งที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ (nonscience) [14] การพิสูจน์ความเป็นเท็จได้ หมายถึง ผลลัพธ์ สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเท็จ ตัวอย่างเช่น “พระเจ้าสร้างจักรวาล” อาจเป็นจริงหรือเท็จ แต่ไม่มีวิธีการใด ๆ ที่จะพิสูจน์ได้ว่ามันเป็นจริงหรือเท็จได้เลย มันจึงอยู่นอกขอบเขตของวิทยาศาสตร์ ป๊อปเปอร์ใช้ โหราศาสตร์ กับ จิตวิเคราะห์ เป็นตัวอย่างของ วิทยาศาสตร์เทียม และใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์เป็นตัวอย่างของวิทยาศาสตร์ เขายังได้แบ่งกลุ่มองค์ความรู้ที่ มิใช่วิทยาศาสตร์ ออกเป็น คณิตศาสตร์ เทพปกรณัม ศาสนา และ/หรือ อภิปรัชญา ส่วนอีกด้านของความรู้ที่มิใช่วิทยาศาสตร์ก็คือ วิทยาศาสตร์เทียม แต่ทั้งนี้ เขามิได้บ่งชี้ข้อต่างชี้ชัดของสองส่วนดังกล่าว [15]
บรรทัดฐานของเมอร์ตัน[แก้]
ปี ค.ศ. 1942 โรเบิร์ต เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้จัดตั้งบรรทัดฐานที่เป็นลักษณะร่วมของวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง เรียกว่า บรรทัดฐานของเมอรตัน (อังกฤษ: Mertonian norms) ถ้ามีบรรทัดฐานใดที่ถูกละเมิด ก็จะถูกแยกออกไปเป็นสิ่งที่ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ บรรทัดฐานของเมอร์ตัน มีดังต่อไปนี้[16]
คิดริเริ่ม: การทดสอบและวิจัยจะต้องนำเสนอสิ่ง ที่ใหม่ ต่อวงการวิทยาศาสตร์
ไม่ยึดติด: วิทยาศาสตร์ค้นหาเพื่อขยายวงความรู้ นักวิทยาศาสตร์ต้องไม่เอาเหตุผลส่วนตัวมาเป็นอคติกำหนดผลลัพธ์ให้ออกมาตามต้องการของตน
เป็นสากล: ทุกคนควรสามารถเข้าถึงข้อมูลการวิจัยได้อย่างเท่าเทียมโดยไม่เกิดสภาพแบ่งแยกจาก ชนชั้น ศาสนา ชาติพันธุ์ หรือมีเหตุ ปัจจัยจำเพาะส่วนบุคคลใด ๆ ที่จะมีสิทธิ์จะได้รับหรือแสดงศาสตร์นั้น ๆ ต่อเขา
ตั้งแง่สงสัย: ความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ต้องไม่ตั้งอยู่บนเพียงแค่ฐานความศรัทธา ทุกคนควรตั้งคำถามต่อทุกกรณี และทุกข้อโต้แย้ง และตรวจสอบความถูกต้องหรือเบี่ยงเบนต่อข้อกล่าวอ้างใด ๆ อยู่ตลอดเวลา
สังคมเข้าถึงได้: ทุกคนต้องเข้าถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ ผลงานวิจัยจะต้องเปิดเผยแพร่ต่อวงสังคมวิทยาศาสตร์
การปฏิเสธที่จะยอมรับปัญหา[แก้]
ปี ค.ศ. 1978 พอล ทาการ์ด (Paul Thagard) นำเสนอข้อบ่งชี้เบื้องต้นของวิทยาศาสตร์เทียม ที่แยกออกจากวิทยาศาสตร์ได้ถ้าความก้าวหน้าของมันน้อยกว่าทฤษฎีอื่น ๆ เป็นระยะเวลานาน และผู้สนับสนุนทฤษฎีนั้นมิได้รับรู้หรือยอมรับปัญหาของตัวทฤษฎี [17] ในปี ค.ศ. 1983 มาริโอ บันจ์ (Mario Bunge) เสนอแนะจำแนกหมวดหมู่ระหว่าง “วงความเชื่อ” และ “วงการวิจัย” เพื่อแยก วิทยาศาสตร์เทียม กับ วิทยาศาสตร์ออกจากกัน โดยส่วนแรก หลัก ๆ เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล และส่วนหลังเกี่ยวข้องกับกระบวนการเข้าถึงอย่างเป็นระบบ [18]
ข้อโต้แย้งของศัพท์เรียกวิทยาศาสตร์เทียม[แก้]
นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ เช่น พอล ฟายเออราเบนด์ (Paul Feyerabend) โต้แย้งว่า การแบ่งแยกระหว่างวิทยาศาสตร์ กับ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทั้งสิ่งที่เป็นไปได้และสมควรให้เป็นไป [19][20] การแบ่งแยกนี้ทำให้การพัฒนาทฤษฏีและกระบวนการใหม่ทำได้ยากและล่าช้าเมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามา [21] นอกจากนั้น มาตรฐานจำเพาะที่สามารถใช้ได้ในวงวิทยาศาสตร์หนึ่งอาจไม่สามารถนำใช้ได้ในวงของอีกศาสตร์ ลาร์รี่ ลูว์แดน (Larry Laudan) เสนอว่า คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม ไม่มีความหมายในเชิงวิทยาศาสตร และถูกใช้ในการแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ ถ้าเรายืนอยู่ข้างเดียวกับด้านเหตุผล เราควรทิ้งศัพท์ที่ว่า วิทยาศาสตร์เทียม และ ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ออกจากพจนานุกรมของเรา มันเป็นประโยคอันว่างเปล่าที่ทำได้แค่แสดงอารมณ์ของเราเท่านั้น [22] เช่นเดียวกับที่ ริชาร์ด แมคนาลี่ (Richard McNally) บ่งชี้ไว้ว่า “คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม กลายเป็นแค่ตัวเลือกคำที่แสดงความชิงชังเพื่อจะจิกกัดคู่แข่ง” และ “ถ้ามีคนที่แสดงการบำบัดรักษาโรคแบบใหม่กล่าวอ้างอะไรในสิ่งที่เขากำลังร่วมรักษา เราไม่ควรเสียเวลาที่จะต้องคิดว่าการรักษาของเขาเป็นวิทยาศาสตร์เทียมหรือไม่ เราควรถามเขาว่า แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่าการรักษาของคุณได้ผล คุณมีหลักฐานอะไรมานำเสนอบ้าง? [23]
ความหมายเชิงนิรุกติศาสตร์[แก้]
ศัพท์คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม Pseudoscience เป็นการสมาสระหว่างคำว่า pseudo ของกรีกที่แปลว่า ผิด – ไม่ใช่ กับคำละตินว่า scientia ที่หมายถึง ความรู้ ศัพท์นี้จะถูกใช้มาตั้งแต่ช่วงปลาย ศตวรรษที่ 18 (ใช้ในปี ค.ศ. 1796 โดยอ้างถึงศาสตร์การเล่นแร่แปรธาตุ [24][25])
ในประเทศไทย[แก้]
ศัพท์ วิทยาศาสตร์เทียม มีพบใช้งานมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2547 เช่นในบทความของ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ที่มีการใช้คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม ในคอลัมน์ คลื่นความคิด ของนิตยสาร สารคดี [26] คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม มีการเรียกกล่าวกันมากขึ้น หลังเกิดกรณีการร้องเรียนให้ตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดจีที200 โดย ผศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคลื่อนไหวเพื่อการตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดดังกล่าว ได้ออกมาให้นิยามคำศัพท์ และลักษณะของวิทยาศาสตร์เทียม ไว้เป็นกฎ 9 ข้อ[27]
สร้างภาพลวงของกิเลสหรือความกลัว “กินแล้วสุขภาพต้องดีขึ้น” “มันต้องหาระเบิดเจอแน่” “มันต้องเกิดภัยพิบัติแน่”
สร้างหลุมพรางกับดักทีละขั้นตอน โดยเริ่มจากการลอง ทดสอบ(ซึ่งโดยมากในกรณีวิทย์เทียม คือจัดฉาก)
สร้างความน่าเชื่อถือ โดยปั้นตัวละครขึ้นมาเป็นกูรู เพื่อสร้างความเชื่อมั่น (อ้างว่าจบนาซ่า เคยทำงานให้อเมริกา รับใช้เว็บดราม่า อะไรก็ว่าไป)
ก่อตั้งกลุ่มผู้ที่ศรัทธา โดยหากลุ่มคนที่มีเป้าหมายร่วมกัน มีความรู้เดียวกัน หรือมีศัตรูร่วมกัน
ให้การหลอกลวงตัวเอง ใช้แล้วดี ต้องแนะนำให้คนอื่นใช้ต่อ เหมือนกับธุรกิจเครือข่าย หรือแชร์ลูกโซ่
จัดการสาธิต หรือการนำเสนอที่น่าดึงดูดใจ
ชักจูงใจด้วยสิ่งที่เชื่ออยู่ก่อนแล้ว โดยบอกว่าสินค้ายี่ห้อนี้แท้กว่ายี่ห้อนั้น
ใช้การตีขลุมตามที่เชื่อกัน อะไรแพงกว่าอันนั้นดีกว่าหรือใช้ศัพท์ที่ฟังดูเป็นวิทยาศาสตร์หรือเป็นธรรมชาติ
ทำลายฝ่ายตรงข้ามไม่ให้มีความน่าเชื่อถือ(ขุดประวัติมาประจาน อ้างว่าเสียผลประโยชน์ ว่าไปนั่น)
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1
(เอาบทความมาฝาก)วิทยาศาสตร์เทียมคืออะไร
สาขา แนวปฏิบัติ หรือองค์ความรู้ใด สามารถจัดเป็นวิทยาศาสตร์เทียมได้ เมื่อมันถูกนำเสนอให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทั้งหลายแห่งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่พิสูจน์ได้ว่ามันไม่ผ่านบรรทัดฐานตามที่กล่าวอ้าง[2] วิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นวัตถุนิยม และต่างจากแนวคิดจิตนิยมเพราะฐานของวิทยาศาสตร์ เป็นการค้นหาความจริงของโลกผ่านกระบวนการค้นคว้าและพิสูจน์ [3] หลักความเชื่อทั่ว ๆ ไปในกลุ่มวิทยาศาสตร์อ่านสนุก (popular science) อาจไม่เข้าเกณฑ์ความเป็นวิทยาศาสตร์[4] วิทยาศาสตร์แบบ Pop-science อาจจัดเป็นช่วงที่เนียนไประหว่างวิทยาศาสตร์ กับ วิทยาศาสตร์เทียม และอาจรวม นิยายวิทยาศาสตร์ เข้าไว้ด้วย วิทยาศาสตร์เทียมเป็นสิ่งที่แพร่กว้างแม้ในกลุ่ม ครู ผู้สอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนของรัฐ และรวมไปถึงวงการสื่อหนังสือพิมพ์ [5]
ปัญหาการแบ่งเขตแดนระหว่างวิทยาศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์เทียม มีประเด็นทับซ้อนทางด้านจริยธรรมและการเมือง เช่นเดียวกับประเด็นระหว่าง ปรัชญา และ วิทยาศาสตร์ [6] ความแตกต่างระหว่างวิทยาศาสตร์กับวิทยาศาสตร์เทียม มีผลในทางปฏิบัติต่อ การดูแลสุขภาพ การให้การของผู้เชี่ยวชาญ นโยบายทางสิ่งแวดล้อม และ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ [7] หน้าที่สำคัญของการให้การศึกษาและการให้ความรู้ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ คือการแบ่งแยกข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ออกจากทฤษฏีจากความเชื่อของวิทยาศาสตร์เทียมเช่นในกรณีที่ปรากฏว่า มีการแอบอ้างเนียนวิทย์ ในวงการโหราศาสตร์ การแพทย์ลวงโลก และเรื่องลึกลับ [8] ศัพท์คำว่าวิทยาศาสตร์เทียมตามรากศัพท์ภาษาอังกฤษ มีความหมายให้ความรู้สึกถึงการดูถูก เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือหลอกปลอมตัวในคราบวิทยาศาสตร์ [9] และก็ดังนั้น กลุ่มผู้ที่สนับสนุนวิทยาศาสตร์เทียมก็ย่อมจะปฏิเสธแย้งข้อกล่าวหาว่าความเชื่อและการกระทำของตนเป็นวิทยาศาสตร์เทียม เช่น กรณี เหรียญควอนตัม หรือ GT 200 เป็นต้น
ภาพรวม[แก้]
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์[แก้]
ผังภาพสมองตามแบบศตวรรษที่ 19: ในช่วงทศวรรษที่ 1820 phrenologists อธิบายว่าจิตใจอยู่ภายในพื้นที่ต่าง ๆ ของสมอง และถูกโจมตีด้วยข้อกังขาว่าจิตใจมาจากจิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับสสาร แนวคิดการอ่านรอยนูนในกระโหลกเพื่อทำนายลักษณะบุคลิคภาพได้ถูกดิสเครดิตลงในภายหลัง [10] ฟรีโนโลยี (Phrenology) ถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียมครั้งแรกในปี ค.ศ. 1843 และยังคงถือเป็นวิทยาศาสตร์เทียมนับแต่นั้นมา [11]
แม้มาตรฐานวิธีการเรียนรู้ วิจัย และปฏิบัติจะต่างออกไปในวิทยาศาสตร์แต่ละแขนง แต่ก็จะมีหลักการที่เป็นพื้นฐานที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในวงวิทยาศาสตร์ อันได้แก่ ผลการทดลอง ต้องทำซ้ำได้ ตรวจสอบโดยผู้อื่นได้ [12] หลักการข้างต้นมีไว้เพื่อให้การทดลองสามารถตรวจวัด ทำซ้ำได้ภายใต้สภาพแวดล้อมเดิม ทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่า สมมุติฐาน และ ทฤษฏี ที่เกี่ยวข้องกับ ปรากฏการณ์ นั้นมีความถูกต้อง และน่าเชื่อถือเพียงใด มาตรฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะต้องถูกนำใช้ตลอดกระบวนการ และต้องมีการกำจัด หรือควบคุมความเป็นไปได้ที่จะเกิดอคติผ่านกระบวนการสุ่มกระจาย การทำ Blind Test ข้อมูลที่รวบรวมขึ้นมา รวมถึงผลการทดลอง และบันทึกสภาพแวดล้อมจะต้องมีการบันทึกไว้เพื่อการทบทวนตรวจสอบ ทำให้สามารถจำลองการทดลองหรือการศึกษาซ้ำ เพื่อยืนยันหรือแย้งผลการทดลองได้ ปริมาณทางสถิติที่ใช้บ่งชี้นัยสำคัญของ ความมั่นใจ และความเบี่ยงเบน [13] จัดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอันหนึ่งในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การพิสูจน์ความเป็นเท็จได้[แก้]
การพิสูจน์ความเป็นเท็จได้ (อังกฤษ: falsifiability) ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 คาร์ล ป๊อปเปอร์ (Karl Popper) ได้นำเสนอหลัก การพิสูจน์ความเป็นเท็จได้ ไว้แบ่งแยก วิทยาศาสตร์ ออกจากสิ่งที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ (nonscience) [14] การพิสูจน์ความเป็นเท็จได้ หมายถึง ผลลัพธ์ สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเท็จ ตัวอย่างเช่น “พระเจ้าสร้างจักรวาล” อาจเป็นจริงหรือเท็จ แต่ไม่มีวิธีการใด ๆ ที่จะพิสูจน์ได้ว่ามันเป็นจริงหรือเท็จได้เลย มันจึงอยู่นอกขอบเขตของวิทยาศาสตร์ ป๊อปเปอร์ใช้ โหราศาสตร์ กับ จิตวิเคราะห์ เป็นตัวอย่างของ วิทยาศาสตร์เทียม และใช้ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์เป็นตัวอย่างของวิทยาศาสตร์ เขายังได้แบ่งกลุ่มองค์ความรู้ที่ มิใช่วิทยาศาสตร์ ออกเป็น คณิตศาสตร์ เทพปกรณัม ศาสนา และ/หรือ อภิปรัชญา ส่วนอีกด้านของความรู้ที่มิใช่วิทยาศาสตร์ก็คือ วิทยาศาสตร์เทียม แต่ทั้งนี้ เขามิได้บ่งชี้ข้อต่างชี้ชัดของสองส่วนดังกล่าว [15]
บรรทัดฐานของเมอร์ตัน[แก้]
ปี ค.ศ. 1942 โรเบิร์ต เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้จัดตั้งบรรทัดฐานที่เป็นลักษณะร่วมของวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง เรียกว่า บรรทัดฐานของเมอรตัน (อังกฤษ: Mertonian norms) ถ้ามีบรรทัดฐานใดที่ถูกละเมิด ก็จะถูกแยกออกไปเป็นสิ่งที่ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ บรรทัดฐานของเมอร์ตัน มีดังต่อไปนี้[16]
คิดริเริ่ม: การทดสอบและวิจัยจะต้องนำเสนอสิ่ง ที่ใหม่ ต่อวงการวิทยาศาสตร์
ไม่ยึดติด: วิทยาศาสตร์ค้นหาเพื่อขยายวงความรู้ นักวิทยาศาสตร์ต้องไม่เอาเหตุผลส่วนตัวมาเป็นอคติกำหนดผลลัพธ์ให้ออกมาตามต้องการของตน
เป็นสากล: ทุกคนควรสามารถเข้าถึงข้อมูลการวิจัยได้อย่างเท่าเทียมโดยไม่เกิดสภาพแบ่งแยกจาก ชนชั้น ศาสนา ชาติพันธุ์ หรือมีเหตุ ปัจจัยจำเพาะส่วนบุคคลใด ๆ ที่จะมีสิทธิ์จะได้รับหรือแสดงศาสตร์นั้น ๆ ต่อเขา
ตั้งแง่สงสัย: ความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ต้องไม่ตั้งอยู่บนเพียงแค่ฐานความศรัทธา ทุกคนควรตั้งคำถามต่อทุกกรณี และทุกข้อโต้แย้ง และตรวจสอบความถูกต้องหรือเบี่ยงเบนต่อข้อกล่าวอ้างใด ๆ อยู่ตลอดเวลา
สังคมเข้าถึงได้: ทุกคนต้องเข้าถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ ผลงานวิจัยจะต้องเปิดเผยแพร่ต่อวงสังคมวิทยาศาสตร์
การปฏิเสธที่จะยอมรับปัญหา[แก้]
ปี ค.ศ. 1978 พอล ทาการ์ด (Paul Thagard) นำเสนอข้อบ่งชี้เบื้องต้นของวิทยาศาสตร์เทียม ที่แยกออกจากวิทยาศาสตร์ได้ถ้าความก้าวหน้าของมันน้อยกว่าทฤษฎีอื่น ๆ เป็นระยะเวลานาน และผู้สนับสนุนทฤษฎีนั้นมิได้รับรู้หรือยอมรับปัญหาของตัวทฤษฎี [17] ในปี ค.ศ. 1983 มาริโอ บันจ์ (Mario Bunge) เสนอแนะจำแนกหมวดหมู่ระหว่าง “วงความเชื่อ” และ “วงการวิจัย” เพื่อแยก วิทยาศาสตร์เทียม กับ วิทยาศาสตร์ออกจากกัน โดยส่วนแรก หลัก ๆ เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล และส่วนหลังเกี่ยวข้องกับกระบวนการเข้าถึงอย่างเป็นระบบ [18]
ข้อโต้แย้งของศัพท์เรียกวิทยาศาสตร์เทียม[แก้]
นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ เช่น พอล ฟายเออราเบนด์ (Paul Feyerabend) โต้แย้งว่า การแบ่งแยกระหว่างวิทยาศาสตร์ กับ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทั้งสิ่งที่เป็นไปได้และสมควรให้เป็นไป [19][20] การแบ่งแยกนี้ทำให้การพัฒนาทฤษฏีและกระบวนการใหม่ทำได้ยากและล่าช้าเมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามา [21] นอกจากนั้น มาตรฐานจำเพาะที่สามารถใช้ได้ในวงวิทยาศาสตร์หนึ่งอาจไม่สามารถนำใช้ได้ในวงของอีกศาสตร์ ลาร์รี่ ลูว์แดน (Larry Laudan) เสนอว่า คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม ไม่มีความหมายในเชิงวิทยาศาสตร และถูกใช้ในการแสดงความรู้สึกทางอารมณ์ ถ้าเรายืนอยู่ข้างเดียวกับด้านเหตุผล เราควรทิ้งศัพท์ที่ว่า วิทยาศาสตร์เทียม และ ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ออกจากพจนานุกรมของเรา มันเป็นประโยคอันว่างเปล่าที่ทำได้แค่แสดงอารมณ์ของเราเท่านั้น [22] เช่นเดียวกับที่ ริชาร์ด แมคนาลี่ (Richard McNally) บ่งชี้ไว้ว่า “คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม กลายเป็นแค่ตัวเลือกคำที่แสดงความชิงชังเพื่อจะจิกกัดคู่แข่ง” และ “ถ้ามีคนที่แสดงการบำบัดรักษาโรคแบบใหม่กล่าวอ้างอะไรในสิ่งที่เขากำลังร่วมรักษา เราไม่ควรเสียเวลาที่จะต้องคิดว่าการรักษาของเขาเป็นวิทยาศาสตร์เทียมหรือไม่ เราควรถามเขาว่า แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่าการรักษาของคุณได้ผล คุณมีหลักฐานอะไรมานำเสนอบ้าง? [23]
ความหมายเชิงนิรุกติศาสตร์[แก้]
ศัพท์คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม Pseudoscience เป็นการสมาสระหว่างคำว่า pseudo ของกรีกที่แปลว่า ผิด – ไม่ใช่ กับคำละตินว่า scientia ที่หมายถึง ความรู้ ศัพท์นี้จะถูกใช้มาตั้งแต่ช่วงปลาย ศตวรรษที่ 18 (ใช้ในปี ค.ศ. 1796 โดยอ้างถึงศาสตร์การเล่นแร่แปรธาตุ [24][25])
ในประเทศไทย[แก้]
ศัพท์ วิทยาศาสตร์เทียม มีพบใช้งานมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2547 เช่นในบทความของ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ ที่มีการใช้คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม ในคอลัมน์ คลื่นความคิด ของนิตยสาร สารคดี [26] คำว่า วิทยาศาสตร์เทียม มีการเรียกกล่าวกันมากขึ้น หลังเกิดกรณีการร้องเรียนให้ตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดจีที200 โดย ผศ. ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคลื่อนไหวเพื่อการตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดดังกล่าว ได้ออกมาให้นิยามคำศัพท์ และลักษณะของวิทยาศาสตร์เทียม ไว้เป็นกฎ 9 ข้อ[27]
สร้างภาพลวงของกิเลสหรือความกลัว “กินแล้วสุขภาพต้องดีขึ้น” “มันต้องหาระเบิดเจอแน่” “มันต้องเกิดภัยพิบัติแน่”
สร้างหลุมพรางกับดักทีละขั้นตอน โดยเริ่มจากการลอง ทดสอบ(ซึ่งโดยมากในกรณีวิทย์เทียม คือจัดฉาก)
สร้างความน่าเชื่อถือ โดยปั้นตัวละครขึ้นมาเป็นกูรู เพื่อสร้างความเชื่อมั่น (อ้างว่าจบนาซ่า เคยทำงานให้อเมริกา รับใช้เว็บดราม่า อะไรก็ว่าไป)
ก่อตั้งกลุ่มผู้ที่ศรัทธา โดยหากลุ่มคนที่มีเป้าหมายร่วมกัน มีความรู้เดียวกัน หรือมีศัตรูร่วมกัน
ให้การหลอกลวงตัวเอง ใช้แล้วดี ต้องแนะนำให้คนอื่นใช้ต่อ เหมือนกับธุรกิจเครือข่าย หรือแชร์ลูกโซ่
จัดการสาธิต หรือการนำเสนอที่น่าดึงดูดใจ
ชักจูงใจด้วยสิ่งที่เชื่ออยู่ก่อนแล้ว โดยบอกว่าสินค้ายี่ห้อนี้แท้กว่ายี่ห้อนั้น
ใช้การตีขลุมตามที่เชื่อกัน อะไรแพงกว่าอันนั้นดีกว่าหรือใช้ศัพท์ที่ฟังดูเป็นวิทยาศาสตร์หรือเป็นธรรมชาติ
ทำลายฝ่ายตรงข้ามไม่ให้มีความน่าเชื่อถือ(ขุดประวัติมาประจาน อ้างว่าเสียผลประโยชน์ ว่าไปนั่น)
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1