DCA หรือ Dollar-Cost Averaging
คือกระบวนการลงทุนโดยทำการซื้อหุ้นโดยใช้
จำนวนเงินเท่ากันทุกเดือน ซึ่งกระบวนการนี้ออกแบบมาสำหรับคนที่ไม่อยากกะเก็งวงจรการขึ้นลงของหุ้น เป็นการออมเงินในหุ้นอีกวิธีหนึ่ง โดยรูปข้างล่างจะแสดงถึงการทำ DCA กับหุ้นที่เคลื่อนไหวในกรอบ 1200-1650 เป็นระยะเวลานาน
จะเห็นได้ว่า avg. cost (หรือราคาเฉลี่ยของหุ้น)สำหรับผู้ลงทุนแบบ DCA จะมีค่าต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยของราคาหุ้น (arithmetic mean ซึ่งเกิดจากการนำราคาหุ้นทั้งหมดมาบวกกันแล้วหารด้วยจำนวนวัน) อยู่เล็กน้อย สังเกตว่าการลงทุนแบบ DCA นั้น
ไม่ได้ทำให้ต้นทุนต่ำลงเลยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยอย่างที่หลายๆ คนชอบมโนกัน แต่มันจะลู่เข้าสู่ค่ากลางค่าหนึ่งแทนสำหรับกรณีที่หุ้นเคลื่อนไหวในกรอบ
*เราสามารถคำนวณต้นทุนของการลงทุนแบบ DCA ด้วยการหาค่าเฉลี่ยแบบ hormonic mean หรือใน Excel จะชื่อว่า HARMEAN นั่นเอง
http://www.gummy-stuff.org/DCA-avg-price.htm
สำหรับการทำ DCA ในภาวะตลาดแบบอื่นๆ ก็จะได้ผลไม่ค่อยแตกต่างจากเดิมเท่าไร กล่าวคือ ต้นทุนแบบ DCA จะมีค่าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของราคาหุ้น (arithmetic mean) โดยความห่างนี้จะเพิ่งขึ้นหากหุ้นแกว่งตัวในกรอบที่กว้างขึ้น (หุ้นเปลี่ยนแปลง 50% ขึ้นไปถึงจะเริ่มมีนัยยะสำคัญ) ฉะนั้นเพื่อความง่ายในการจดจำ ก็คิดง่ายว่ามันคือราคาเฉลี่ยนั้นล่ะ
ภาวะขาลง
ภาวะขาขึ้น
หลังจากทราบถึงลักษณะของ DCA กันไปแล้ว เรามาดูต่อว่าการลงทุนแบบ DCA ใน SET จะให้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร ในการลงทุนที่ช่วงเวลาแตกต่างกัน
1. ทดสอบกับดับชีผลตอบแทนรวม (SETTRI) ระหว่างปี 2002-ปัจจุบัน
เป็นการทดสอบเสมือนกับการลงทุนจริง โดยผลตอบแทนทั้งหมดเช่นปันผลหรือสิทธิต่างๆ จะถูกคำนวณเสมือนการลงทุนกลับเข้าไปหุ้นทั้งหมด(reinvest)
http://www.set.or.th/th/products/index/tri_p1.html
การทดสอบจะเน้นที่การวัดผลตอบแทนของการลงทุนแบบ DCA โดยเริ่มลงทุน ณ จุดใดจุดหนึ่งของช่วงเวลา เพื่อหาว่าการลงทุนแบบ DCA นั่นมีผลตอบแทนที่ดีที่สุดอยู่ที่เท่าไร(Best case) และผลตอบแทนที่แย่ที่สุดเท่าไร(Worst case)? แน่นอนว่าผลการทดสอบย่อมจะไม่เหมือนกับรูปแบบที่พบเห็นทั่วๆไป ที่นิยมแสดงผลการลงทุนแบบ DCA ย้อนหลังเป็นระยะเวลา 5, 10 หรือ 20 ปีต่อเนื่อง ซึ่งผมเห็นว่าวิธีการแบบนั่นมี bias อย่างมากเพราะตลาดในปัจจุบันเป็นช่วงขาขึ้นตั้งแต่ปี 2008
จากรูปจะเห็นได้ว่าหากลงทุนสั้นๆ เพียง 1 ปี จะพบว่าในหลายๆ ช่วงเวลาจะให้ผลตอบแทนทบต้นต่อปี(CAR) ที่เหวี่ยงมาก -36% ถึง +48%
หากลงทุนยาวขึ้นมาหน่อย คือ 3 ปี จะเห็นได้ว่าผลตอบแทนจะเหวี่ยงลดลงเหลือแค่ -8% ถึง +26%
หากลงทุนยาวเป็น 5 ปี จะพบว่าผลตอบแทนจะกระจายตัวอยู่ในช่วง -1% ถึง +19%
จากการทดสอบนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าการลงทุนแบบ DCA นั่นจะมีประโยชน์จริงๆ ก็ต่อเมื่อลงทุนเป็นระยะเวลายาวตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปเท่านั้น ถึงจะกำจัดความเสี่ยงของหุ้นให้หมดไปได้ ดังนั้นการลงทุนแบบ DCA ควรจะต้องใช้เงินที่แทบจะตัดออกจากชีวิตได้เลยเป็นเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และแน่นอนว่าการลงทุนแบบ DCA ไม่ได้การันตีว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีตลอด เพราะจากกราฟ จะเห็นได้ว่า หากคุณเริ่มลงทุนในช่วงปี 2003-2008 เป็นระยะเวลา 5 ปี ผลตอบแทนแทบจะไม่สามารถเอาชนะอัตราเงินเฟ้อได้เลย
2. ทดสอบกับดับชีผลตอบแทนรวม (SET) ระหว่างปี 1982-ปัจจุบัน
เนื่องจากการใช้ดัชนี SET ในการทดสอบโดยตรง อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องการคำนวณปันผลทำให้ผลอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง ผมเลยลองทดสอบคราวๆ ว่าถ้าใช้ข้อมูล SET เพื่อทดสอบจะมีความต่างจาก SETTRI เยอะเท่าไร
จากรูปจะเห็นได้ว่า ถ้าใช้ข้อมูล SET แทน SETRI จะให้ผลตอบแทนทบต้น (CAR) ต่ำกว่า SETTRI ประมาณ 2%
หลังจากที่เราทราบค่าแตกต่างนี้แล้ว เราก็สามารถใช้ข้อมูล SET เพื่อทำการทดสอบย้อนหลังไปได้ไกลตั้งแต่เริ่มตลาดหลักทรัพย์ และยังสามารถทดสอบการลงทุนแบบ DCA ในระยะเวลาที่ยาวขึ้นเป็น 10 ปีได้
จากกราฟจะสรุปได้ดังนี้
3 ปี จะให้ผลตอบแทนทบต้น(CAR) -29% ถึง +29%
5 ปี จะให้ผลตอบแทนทบต้น(CAR) -20% ถึง +23% หากเริ่มลงทุนในช่วงปี 1993-1997 เป็นระยะเวลา 5 ปีจะทำให้ขาดทุนตลอด
10 ปี จะให้ผลตอบแทนทบต้น(CAR) -12% ถึง +15% หากเริ่มลงทุนในช่วงปี 1993-1997 เป็นระยะเวลา 10 ปีจะทำให้ขาดทุนตลอด
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
สรุปจะเห็นว่าลงทุนแบบ DCA นั่น ไม่ได้การันตีผลตอบแทนว่าจะเหนือกว่าค่าเฉลี่ยเลย เพียงแต่การลงทุนแบบ DCA จะช่วยลดความแกว่งของพอร์ตได้ หากลงทุนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยควรลงทุนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้น สังเกตว่าในช่วงที่ประเทศเกิดวิกฤติแรงๆ อย่างช่วงปี 1997-2000 แม้จะลงทุนแบบ DCA เป็นระยะเวลาถึง 10 ปีก็ไม่ได้ทำให้รอดพ้นจากวิกฤติที่กินเวลานานแบบนั่นได้เลย ผิดกับในช่วง 2008-2009 ที่มีการฟื้นตัวเร็ว ทำให้การลงทุนแบบ DCA เพียงแค่ 5 ปีก็ทำให้พอร์ตไม่ติดลบได้แล้ว
การลงทุนแบบ DCA จึงเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ลดความแกว่งของพอร์ต (Beta) ไม่ใช่ตัวสร้างผลตอบแทน (Alpha) ดังนั้นเราจึงควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการลงทุนเพื่อให้การลงทุนเป็นไปอย่างมั่นคงและยั่นยืน
ปล. เรายังสามารถใช้การลงทุนแบบ DCA เพื่อใช้วิเคราะห์หาประสิทธิภาพการทำกำไรของ SET ได้อีกด้วย โดยผลลัพธ์เป็นดังนี้ครับ
ถ้าเริ่มลงทุน SET ในช่วงปี 2000-2010 เป็นระยะเวลา 5 ปี จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.4% ต่อปี
ถ้าเริ่มลงทุน SET ในช่วงปี 2000-2005 เป็นระยะเวลา 10 ปี จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5% ต่อปี
ถ้าเริ่มลงทุน SET ในช่วงเวลาใดก็ได้เป็นระยะเวลา 5 ปี จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4% ต่อปี
ถ้าเริ่มลงทุน SET ในช่วงเวลาใดก็ได้เป็นระยะเวลา 10 ปี จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.1% ต่อปี
ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวเลขข้างต้นแม้รวมปันผลอีก 3-4% ต่อปี ก็ยังให้ผลตอบแทนเฉลี่ยไม่ถึง 10% ต่อปีอยู่ดี ผิดกับที่หลายๆ คนชอบยกตัวเลขมาหลอกเม่าว่าการลงทุนหุ้นระยะยาวจะให้ผลตอบแทนสูงถึง 12% ต่อปี
วิเคราะห์การลงทุนหุ้นแบบ DCA (เฉลี่ยซื้อด้วยเงินเท่ากันทุกเดือน) พร้อมผลการทดสอบกับ SET/SETTRI ย้อนหลัง
คือกระบวนการลงทุนโดยทำการซื้อหุ้นโดยใช้จำนวนเงินเท่ากันทุกเดือน ซึ่งกระบวนการนี้ออกแบบมาสำหรับคนที่ไม่อยากกะเก็งวงจรการขึ้นลงของหุ้น เป็นการออมเงินในหุ้นอีกวิธีหนึ่ง โดยรูปข้างล่างจะแสดงถึงการทำ DCA กับหุ้นที่เคลื่อนไหวในกรอบ 1200-1650 เป็นระยะเวลานาน
จะเห็นได้ว่า avg. cost (หรือราคาเฉลี่ยของหุ้น)สำหรับผู้ลงทุนแบบ DCA จะมีค่าต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยของราคาหุ้น (arithmetic mean ซึ่งเกิดจากการนำราคาหุ้นทั้งหมดมาบวกกันแล้วหารด้วยจำนวนวัน) อยู่เล็กน้อย สังเกตว่าการลงทุนแบบ DCA นั้นไม่ได้ทำให้ต้นทุนต่ำลงเลยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยอย่างที่หลายๆ คนชอบมโนกัน แต่มันจะลู่เข้าสู่ค่ากลางค่าหนึ่งแทนสำหรับกรณีที่หุ้นเคลื่อนไหวในกรอบ
*เราสามารถคำนวณต้นทุนของการลงทุนแบบ DCA ด้วยการหาค่าเฉลี่ยแบบ hormonic mean หรือใน Excel จะชื่อว่า HARMEAN นั่นเอง
http://www.gummy-stuff.org/DCA-avg-price.htm
สำหรับการทำ DCA ในภาวะตลาดแบบอื่นๆ ก็จะได้ผลไม่ค่อยแตกต่างจากเดิมเท่าไร กล่าวคือ ต้นทุนแบบ DCA จะมีค่าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของราคาหุ้น (arithmetic mean) โดยความห่างนี้จะเพิ่งขึ้นหากหุ้นแกว่งตัวในกรอบที่กว้างขึ้น (หุ้นเปลี่ยนแปลง 50% ขึ้นไปถึงจะเริ่มมีนัยยะสำคัญ) ฉะนั้นเพื่อความง่ายในการจดจำ ก็คิดง่ายว่ามันคือราคาเฉลี่ยนั้นล่ะ
ภาวะขาลง
ภาวะขาขึ้น
หลังจากทราบถึงลักษณะของ DCA กันไปแล้ว เรามาดูต่อว่าการลงทุนแบบ DCA ใน SET จะให้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร ในการลงทุนที่ช่วงเวลาแตกต่างกัน
1. ทดสอบกับดับชีผลตอบแทนรวม (SETTRI) ระหว่างปี 2002-ปัจจุบัน
เป็นการทดสอบเสมือนกับการลงทุนจริง โดยผลตอบแทนทั้งหมดเช่นปันผลหรือสิทธิต่างๆ จะถูกคำนวณเสมือนการลงทุนกลับเข้าไปหุ้นทั้งหมด(reinvest)
http://www.set.or.th/th/products/index/tri_p1.html
การทดสอบจะเน้นที่การวัดผลตอบแทนของการลงทุนแบบ DCA โดยเริ่มลงทุน ณ จุดใดจุดหนึ่งของช่วงเวลา เพื่อหาว่าการลงทุนแบบ DCA นั่นมีผลตอบแทนที่ดีที่สุดอยู่ที่เท่าไร(Best case) และผลตอบแทนที่แย่ที่สุดเท่าไร(Worst case)? แน่นอนว่าผลการทดสอบย่อมจะไม่เหมือนกับรูปแบบที่พบเห็นทั่วๆไป ที่นิยมแสดงผลการลงทุนแบบ DCA ย้อนหลังเป็นระยะเวลา 5, 10 หรือ 20 ปีต่อเนื่อง ซึ่งผมเห็นว่าวิธีการแบบนั่นมี bias อย่างมากเพราะตลาดในปัจจุบันเป็นช่วงขาขึ้นตั้งแต่ปี 2008
จากรูปจะเห็นได้ว่าหากลงทุนสั้นๆ เพียง 1 ปี จะพบว่าในหลายๆ ช่วงเวลาจะให้ผลตอบแทนทบต้นต่อปี(CAR) ที่เหวี่ยงมาก -36% ถึง +48%
หากลงทุนยาวขึ้นมาหน่อย คือ 3 ปี จะเห็นได้ว่าผลตอบแทนจะเหวี่ยงลดลงเหลือแค่ -8% ถึง +26%
หากลงทุนยาวเป็น 5 ปี จะพบว่าผลตอบแทนจะกระจายตัวอยู่ในช่วง -1% ถึง +19%
จากการทดสอบนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าการลงทุนแบบ DCA นั่นจะมีประโยชน์จริงๆ ก็ต่อเมื่อลงทุนเป็นระยะเวลายาวตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปเท่านั้น ถึงจะกำจัดความเสี่ยงของหุ้นให้หมดไปได้ ดังนั้นการลงทุนแบบ DCA ควรจะต้องใช้เงินที่แทบจะตัดออกจากชีวิตได้เลยเป็นเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และแน่นอนว่าการลงทุนแบบ DCA ไม่ได้การันตีว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีตลอด เพราะจากกราฟ จะเห็นได้ว่า หากคุณเริ่มลงทุนในช่วงปี 2003-2008 เป็นระยะเวลา 5 ปี ผลตอบแทนแทบจะไม่สามารถเอาชนะอัตราเงินเฟ้อได้เลย
2. ทดสอบกับดับชีผลตอบแทนรวม (SET) ระหว่างปี 1982-ปัจจุบัน
เนื่องจากการใช้ดัชนี SET ในการทดสอบโดยตรง อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องการคำนวณปันผลทำให้ผลอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง ผมเลยลองทดสอบคราวๆ ว่าถ้าใช้ข้อมูล SET เพื่อทดสอบจะมีความต่างจาก SETTRI เยอะเท่าไร
จากรูปจะเห็นได้ว่า ถ้าใช้ข้อมูล SET แทน SETRI จะให้ผลตอบแทนทบต้น (CAR) ต่ำกว่า SETTRI ประมาณ 2%
หลังจากที่เราทราบค่าแตกต่างนี้แล้ว เราก็สามารถใช้ข้อมูล SET เพื่อทำการทดสอบย้อนหลังไปได้ไกลตั้งแต่เริ่มตลาดหลักทรัพย์ และยังสามารถทดสอบการลงทุนแบบ DCA ในระยะเวลาที่ยาวขึ้นเป็น 10 ปีได้
จากกราฟจะสรุปได้ดังนี้
3 ปี จะให้ผลตอบแทนทบต้น(CAR) -29% ถึง +29%
5 ปี จะให้ผลตอบแทนทบต้น(CAR) -20% ถึง +23% หากเริ่มลงทุนในช่วงปี 1993-1997 เป็นระยะเวลา 5 ปีจะทำให้ขาดทุนตลอด
10 ปี จะให้ผลตอบแทนทบต้น(CAR) -12% ถึง +15% หากเริ่มลงทุนในช่วงปี 1993-1997 เป็นระยะเวลา 10 ปีจะทำให้ขาดทุนตลอด
สรุปจะเห็นว่าลงทุนแบบ DCA นั่น ไม่ได้การันตีผลตอบแทนว่าจะเหนือกว่าค่าเฉลี่ยเลย เพียงแต่การลงทุนแบบ DCA จะช่วยลดความแกว่งของพอร์ตได้ หากลงทุนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยควรลงทุนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้น สังเกตว่าในช่วงที่ประเทศเกิดวิกฤติแรงๆ อย่างช่วงปี 1997-2000 แม้จะลงทุนแบบ DCA เป็นระยะเวลาถึง 10 ปีก็ไม่ได้ทำให้รอดพ้นจากวิกฤติที่กินเวลานานแบบนั่นได้เลย ผิดกับในช่วง 2008-2009 ที่มีการฟื้นตัวเร็ว ทำให้การลงทุนแบบ DCA เพียงแค่ 5 ปีก็ทำให้พอร์ตไม่ติดลบได้แล้ว
การลงทุนแบบ DCA จึงเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ลดความแกว่งของพอร์ต (Beta) ไม่ใช่ตัวสร้างผลตอบแทน (Alpha) ดังนั้นเราจึงควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการลงทุนเพื่อให้การลงทุนเป็นไปอย่างมั่นคงและยั่นยืน
ปล. เรายังสามารถใช้การลงทุนแบบ DCA เพื่อใช้วิเคราะห์หาประสิทธิภาพการทำกำไรของ SET ได้อีกด้วย โดยผลลัพธ์เป็นดังนี้ครับ
ถ้าเริ่มลงทุน SET ในช่วงปี 2000-2010 เป็นระยะเวลา 5 ปี จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.4% ต่อปี
ถ้าเริ่มลงทุน SET ในช่วงปี 2000-2005 เป็นระยะเวลา 10 ปี จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5% ต่อปี
ถ้าเริ่มลงทุน SET ในช่วงเวลาใดก็ได้เป็นระยะเวลา 5 ปี จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4% ต่อปี
ถ้าเริ่มลงทุน SET ในช่วงเวลาใดก็ได้เป็นระยะเวลา 10 ปี จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.1% ต่อปี
ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวเลขข้างต้นแม้รวมปันผลอีก 3-4% ต่อปี ก็ยังให้ผลตอบแทนเฉลี่ยไม่ถึง 10% ต่อปีอยู่ดี ผิดกับที่หลายๆ คนชอบยกตัวเลขมาหลอกเม่าว่าการลงทุนหุ้นระยะยาวจะให้ผลตอบแทนสูงถึง 12% ต่อปี