(Aug 20) มาเลย์ซ้ำรอยต้มยำกุ้งริงกิตดิ่งเหวจุดชนวนหนี้เน่า: วิกฤตการเงินเอเชียปี 1997 ถือเป็นหนึ่งในวิกฤตเศรษฐกิจที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสภาพเศรษฐกิจไปทั่วเอเชีย หลายประเทศต้องใช้เวลานานมากกว่าจะสามารถฟื้นฟูสะสมความมั่งคั่งให้สภาพเศรษฐกิจกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีกครั้ง
ด้วยความที่วิกฤตดังกล่าวมีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทย จึงได้ชื่อเล่นในหมู่ผู้ คร่ำหวอด ว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง" โดยมีสาเหตุมาจากการเข้ามาทำแครี่เทรดในประเทศไทย ส่งผลให้มีทุนไหลเข้ามาในไทยมากจนเกิดภาวะฟองสบู่ในที่สุด กอปรกับการเข้าโจมตีค่าเงินของนักเก็งกำไรทำให้ท้ายที่สุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว ส่งผลให้สถาบันการเงินของประเทศไทยต้องชำระเงินกู้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งหลายแห่งก็ ล้มละลายในที่สุด ขณะที่แครี่เทรดกลายเป็นตัวจุดชนวนให้วิกฤตดังกล่าวกระจายในวงกว้าง มีภาคธุรกิจหลายแห่งต้องเผชิญภาวะล้มละลาย หลายประเทศต้องใช้เวลานานกว่าจะสามารถสะสมความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้กลับมาเหมือนเดิมได้อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม แม้หลายประเทศจะได้ภูมิคุ้มกันจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ทว่าในปัจจุบันดูเหมือนมาเลเซียดินแดนเสือเหลืองกำลังจะก้าวซ้ำรอยประวัติศาสตร์ ถลำเข้าสู่วิกฤตต้มยำกุ้งอีกครั้ง
ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ก.ค. 1997 ซึ่งถือเป็นเดือนแห่งการปะทุตัวของวิกฤตต้มยำกุ้ง หลังจาก ธปท. ตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทได้ไม่กี่วัน อัตราดอกเบี้ยที่คิดกันระหว่างสถาบันการเงินได้ปรับขึ้นจากระดับต่ำกว่า 8% เป็นกว่า 40% ส่งผลให้เกิดการเทขายหุ้นในตลาดและค่าเงินริงกิตมาเลเซียให้อ่อนค่าลงกว่า 50% จาก 2.5 ริงกิต/เหรียญสหรัฐ เป็น 4.57 ริงกิต/เหรียญสหรัฐ
ในปัจจุบันสถานการณ์ค่าเงินริงกิตมาเลเซียกำลังกลับมาซ้ำรอยช่วงวิกฤตดังกล่าวอีกครั้ง โดยนับตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาค่าเงินริงกิตอ่อนค่าลงแล้วถึง 23% เมื่อเทียบกับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวกำลังผลักให้มาเลเซียเข้าสู่วังวนของความไร้เสถียรภาพอีกครั้ง
ค่าเงินริงกิตได้รับแรงกดดันหลายอย่างทั้งจากสภาพเศรษฐกิจและภาคการเมือง โดยในส่วนของภาคเศรษฐกิจผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของมาเลเซีย ล่าสุดไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ได้ถอยกลับมาอยู่ที่ 4.9% ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2015
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากมาเลเซียเป็นประเทศที่มีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมันมากถึงราว 30% ของรายได้ทั้งประเทศ ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันโลกดิ่งตัวลงมากกว่า 50% จึงส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจแดนเสือเหลืองในภาพรวม
ขณะเดียวกันสภาพเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในสภาพไม่แน่นอน ได้ส่งผลให้นักลงทุนดึงเงินจากทั่วโลกรวมทั้งมาเลเซียกลับไปลงทุนในพันธบัตรสหรัฐอีกครั้ง ซึ่งกลายเป็นสินทรัพย์ที่ดูมีความมั่นคงสูงทีเดียวหลังจากนักวิเคราะห์ต่างเก็งกันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ ส่งผลให้พันธบัตรสหรัฐเป็นสินทรัพย์ชนิดเดียวเท่านั้นที่มียังให้ผลตอบแทนในช่วงขาขึ้นท่ามกลางการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก
พูดอีกนัยหนึ่งคือนอกจากจะเผชิญกับสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่แล้ว มาเลเซียยังเผชิญกับภาวะทุนไหลออกอีกด้วย กอปรกับการปรับอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของค่าเงินหยวนจีนยังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินริงกิตมาเลเซียดิ่งลงอย่างฮวบฮาบในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในฐานะที่มาเลเซียมีจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ การลดค่าเงินหยวนควรจะทำให้ค่าเงิน ริงกิตปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของนักลงทุนการลดค่าเงินจะทำให้มาเลเซียส่งออกสินค้าไปยังจีนได้ยากขึ้นจนกลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้ทุนไหลออกอีกเช่นกัน
นอกจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ปัจจัยทางด้านการเมืองยังกระหน่ำซ้ำเติมเศรษฐกิจมาเลเซียเช่นกัน จากประเด็นที่หนังสือพิมพ์วอลสตรีท เจอร์นัล และซาราวัก รีพอร์ต รายงานเชิงสืบสวนว่า พบการโอนเงินจากกองทุน 1MDB หรือกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจมาเลเซียเข้าบัญชีนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค กว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.52 หมื่นล้านบาท)
หลังจากมีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่และ อับดุล กานี ปาตาอิล อัยการสูงสุดผู้สอบสวนคดีดังกล่าวออกไป หรือแม้กระทั่งล่าสุดจะมีการรายงานว่าเงินจำนวนดังกล่าวมาจากการบริจาคก็ตาม แต่ความเสียหายทางเศรษฐกิจได้กระจายวงกว้างไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยองค์กรนิรโทษกรรมสากลวิจารณ์ว่าสิทธิ มนุษยชนในมาเลเซียในช่วงเวลาดังกล่าวเหมือนถูกดูดลงไปในหลุมดำเลยทีเดียว
แอนเดรส แฟร์เกมันน์ ผู้บริการกองทุนหลักตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่ซึ่งดูแลกองทุนกว่า 1.06 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ของไพน์บริดจ์ ในลอนดอน แสดงความเห็นว่า การกำจัดผู้คนที่วิพากษ์วิจารณ์ตนออกจากตำแหน่งอาจทำให้เรื่องเงียบลงไปได้ แต่เท่ากับเป็นการขยายเรื่องดังกล่าวในสายตานักลงทุนต่างชาติ
การดิ่งลงของค่าเงินริงกิตอย่าง รุนแรงได้สร้างความเสี่ยงอย่างมากให้กับมาเลเซีย เนื่องจากต่างชาติถือสัดส่วนหนี้จำนวนมาก โดยมีทุนต่างชาติถือพันธบัตรมาเลเซียถึง 32%
ดังนั้น การดิ่งลงของค่าเงินริงกิตอย่างฮวบฮาบจะทำให้มาเลเซียมีความสามารถในการชำระหนี้ได้น้อยลง เนื่องจากปริมาณหนี้ที่จะต้องชำระเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราแลกเปลี่ยน สุ่มเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้และจะกลายเป็นตัวจุดชนวนวิกฤตครั้งต่อไปในที่สุด
ยูบีเอส กรุ๊ป สถาบันการเงินชื่อดังของสวิตเซอร์แลนด์ ระบุในรายงานว่า การลงทุนในมาเลเซียนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในเม็กซิโกเสียอีก เนื่องจากค่าเงินมาเลเซียอ่อนลงอย่างมาก มีทุนต่างชาติเป็นเจ้าหนี้ อีกทั้งยังมีนโยบายที่ไม่สมเหตุสมผล ส่งผลให้ในปัจจุบันสัดส่วนหนี้ของมาเลเซียเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 ปีแล้ว
โดยการทำสัญญาเครดิตอนุพันธ์ (ซีดีเอส) ในมาเลเซียเพิ่มขึ้นจาก 74 จุด เป็น 180 จุด ความเคลื่อนไหวดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักลงทุนไม่มั่นใจในศักยภาพของธนาคารกลางมาเลเซีย (บีเอ็นเอ็ม) ในการจัดการกับอัตราแลกเปลี่ยนอีกต่อไป
ฉะนั้น ความสุ่มเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของมาเลเซียในปัจจุบันจึงนับเป็นที่น่าจับตาไม่น้อยทีเดียว ว่ามาเลเซียจะสามารถหลุดจากวังวนของวิกฤตหนี้สไตล์ต้มยำกุ้งได้อย่างไร มิฉะนั้นไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีเศรษฐกิจใกล้ชิดกับมาเลเซียจำเป็นต้องเตรียมการรับมือกับวิกฤต "นาซิ เลอร์มัก" ครั้งนี้ให้ดีๆ
โดย ก้องภพ เทอดสุวรรณ
Source: Posttoday
มาเลย์อาจจะซ้ำรอยต้มยำกุ้ง ริงกิตดิ่งเหวจุดชนวนหนี้เน่า
ด้วยความที่วิกฤตดังกล่าวมีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทย จึงได้ชื่อเล่นในหมู่ผู้ คร่ำหวอด ว่า "วิกฤตต้มยำกุ้ง" โดยมีสาเหตุมาจากการเข้ามาทำแครี่เทรดในประเทศไทย ส่งผลให้มีทุนไหลเข้ามาในไทยมากจนเกิดภาวะฟองสบู่ในที่สุด กอปรกับการเข้าโจมตีค่าเงินของนักเก็งกำไรทำให้ท้ายที่สุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด
ความเคลื่อนไหวดังกล่าว ส่งผลให้สถาบันการเงินของประเทศไทยต้องชำระเงินกู้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งหลายแห่งก็ ล้มละลายในที่สุด ขณะที่แครี่เทรดกลายเป็นตัวจุดชนวนให้วิกฤตดังกล่าวกระจายในวงกว้าง มีภาคธุรกิจหลายแห่งต้องเผชิญภาวะล้มละลาย หลายประเทศต้องใช้เวลานานกว่าจะสามารถสะสมความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้กลับมาเหมือนเดิมได้อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม แม้หลายประเทศจะได้ภูมิคุ้มกันจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ทว่าในปัจจุบันดูเหมือนมาเลเซียดินแดนเสือเหลืองกำลังจะก้าวซ้ำรอยประวัติศาสตร์ ถลำเข้าสู่วิกฤตต้มยำกุ้งอีกครั้ง
ทั้งนี้ ในช่วงเดือน ก.ค. 1997 ซึ่งถือเป็นเดือนแห่งการปะทุตัวของวิกฤตต้มยำกุ้ง หลังจาก ธปท. ตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทได้ไม่กี่วัน อัตราดอกเบี้ยที่คิดกันระหว่างสถาบันการเงินได้ปรับขึ้นจากระดับต่ำกว่า 8% เป็นกว่า 40% ส่งผลให้เกิดการเทขายหุ้นในตลาดและค่าเงินริงกิตมาเลเซียให้อ่อนค่าลงกว่า 50% จาก 2.5 ริงกิต/เหรียญสหรัฐ เป็น 4.57 ริงกิต/เหรียญสหรัฐ
ในปัจจุบันสถานการณ์ค่าเงินริงกิตมาเลเซียกำลังกลับมาซ้ำรอยช่วงวิกฤตดังกล่าวอีกครั้ง โดยนับตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมาค่าเงินริงกิตอ่อนค่าลงแล้วถึง 23% เมื่อเทียบกับสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวกำลังผลักให้มาเลเซียเข้าสู่วังวนของความไร้เสถียรภาพอีกครั้ง
ค่าเงินริงกิตได้รับแรงกดดันหลายอย่างทั้งจากสภาพเศรษฐกิจและภาคการเมือง โดยในส่วนของภาคเศรษฐกิจผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของมาเลเซีย ล่าสุดไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ได้ถอยกลับมาอยู่ที่ 4.9% ซึ่งถือเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปี 2015
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากมาเลเซียเป็นประเทศที่มีรายได้หลักจากการส่งออกน้ำมันมากถึงราว 30% ของรายได้ทั้งประเทศ ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันโลกดิ่งตัวลงมากกว่า 50% จึงส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจแดนเสือเหลืองในภาพรวม
ขณะเดียวกันสภาพเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในสภาพไม่แน่นอน ได้ส่งผลให้นักลงทุนดึงเงินจากทั่วโลกรวมทั้งมาเลเซียกลับไปลงทุนในพันธบัตรสหรัฐอีกครั้ง ซึ่งกลายเป็นสินทรัพย์ที่ดูมีความมั่นคงสูงทีเดียวหลังจากนักวิเคราะห์ต่างเก็งกันว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ ส่งผลให้พันธบัตรสหรัฐเป็นสินทรัพย์ชนิดเดียวเท่านั้นที่มียังให้ผลตอบแทนในช่วงขาขึ้นท่ามกลางการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก
พูดอีกนัยหนึ่งคือนอกจากจะเผชิญกับสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่แล้ว มาเลเซียยังเผชิญกับภาวะทุนไหลออกอีกด้วย กอปรกับการปรับอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของค่าเงินหยวนจีนยังกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินริงกิตมาเลเซียดิ่งลงอย่างฮวบฮาบในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ในฐานะที่มาเลเซียมีจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ การลดค่าเงินหยวนควรจะทำให้ค่าเงิน ริงกิตปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของนักลงทุนการลดค่าเงินจะทำให้มาเลเซียส่งออกสินค้าไปยังจีนได้ยากขึ้นจนกลายเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้ทุนไหลออกอีกเช่นกัน
นอกจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ปัจจัยทางด้านการเมืองยังกระหน่ำซ้ำเติมเศรษฐกิจมาเลเซียเช่นกัน จากประเด็นที่หนังสือพิมพ์วอลสตรีท เจอร์นัล และซาราวัก รีพอร์ต รายงานเชิงสืบสวนว่า พบการโอนเงินจากกองทุน 1MDB หรือกองทุนพัฒนาเศรษฐกิจมาเลเซียเข้าบัญชีนายกรัฐมนตรี นาจิบ ราซัค กว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.52 หมื่นล้านบาท)
หลังจากมีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่และ อับดุล กานี ปาตาอิล อัยการสูงสุดผู้สอบสวนคดีดังกล่าวออกไป หรือแม้กระทั่งล่าสุดจะมีการรายงานว่าเงินจำนวนดังกล่าวมาจากการบริจาคก็ตาม แต่ความเสียหายทางเศรษฐกิจได้กระจายวงกว้างไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยองค์กรนิรโทษกรรมสากลวิจารณ์ว่าสิทธิ มนุษยชนในมาเลเซียในช่วงเวลาดังกล่าวเหมือนถูกดูดลงไปในหลุมดำเลยทีเดียว
แอนเดรส แฟร์เกมันน์ ผู้บริการกองทุนหลักตราสารหนี้ในตลาดเกิดใหม่ซึ่งดูแลกองทุนกว่า 1.06 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ของไพน์บริดจ์ ในลอนดอน แสดงความเห็นว่า การกำจัดผู้คนที่วิพากษ์วิจารณ์ตนออกจากตำแหน่งอาจทำให้เรื่องเงียบลงไปได้ แต่เท่ากับเป็นการขยายเรื่องดังกล่าวในสายตานักลงทุนต่างชาติ
การดิ่งลงของค่าเงินริงกิตอย่าง รุนแรงได้สร้างความเสี่ยงอย่างมากให้กับมาเลเซีย เนื่องจากต่างชาติถือสัดส่วนหนี้จำนวนมาก โดยมีทุนต่างชาติถือพันธบัตรมาเลเซียถึง 32%
ดังนั้น การดิ่งลงของค่าเงินริงกิตอย่างฮวบฮาบจะทำให้มาเลเซียมีความสามารถในการชำระหนี้ได้น้อยลง เนื่องจากปริมาณหนี้ที่จะต้องชำระเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราแลกเปลี่ยน สุ่มเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้และจะกลายเป็นตัวจุดชนวนวิกฤตครั้งต่อไปในที่สุด
ยูบีเอส กรุ๊ป สถาบันการเงินชื่อดังของสวิตเซอร์แลนด์ ระบุในรายงานว่า การลงทุนในมาเลเซียนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในเม็กซิโกเสียอีก เนื่องจากค่าเงินมาเลเซียอ่อนลงอย่างมาก มีทุนต่างชาติเป็นเจ้าหนี้ อีกทั้งยังมีนโยบายที่ไม่สมเหตุสมผล ส่งผลให้ในปัจจุบันสัดส่วนหนี้ของมาเลเซียเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 ปีแล้ว
โดยการทำสัญญาเครดิตอนุพันธ์ (ซีดีเอส) ในมาเลเซียเพิ่มขึ้นจาก 74 จุด เป็น 180 จุด ความเคลื่อนไหวดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านักลงทุนไม่มั่นใจในศักยภาพของธนาคารกลางมาเลเซีย (บีเอ็นเอ็ม) ในการจัดการกับอัตราแลกเปลี่ยนอีกต่อไป
ฉะนั้น ความสุ่มเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของมาเลเซียในปัจจุบันจึงนับเป็นที่น่าจับตาไม่น้อยทีเดียว ว่ามาเลเซียจะสามารถหลุดจากวังวนของวิกฤตหนี้สไตล์ต้มยำกุ้งได้อย่างไร มิฉะนั้นไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีเศรษฐกิจใกล้ชิดกับมาเลเซียจำเป็นต้องเตรียมการรับมือกับวิกฤต "นาซิ เลอร์มัก" ครั้งนี้ให้ดีๆ
โดย ก้องภพ เทอดสุวรรณ
Source: Posttoday