สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
แม้ลูกจะแบกพ่อและแม่บนไหล่ทั้ง ๒ ข้างจนท่านมีอายุถึง ๑๐๐ ปี
ขณะเดียวกันก็ดูแลท่านด้วยการนวด บีบ อาบน้ำทุกวัน รวมทั้ง ให้พ่อแม่ถ่ายอุจาระปัสสาวะบนบ่า
ก็ยังไม่นับว่าได้สนองบุญคุณของท่านได้บริบูรณ์ แต่หากทำให้ท่านตั้งอยู่ในคุณความดี คือ
มีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา เป็นต้น จึงได้ชื่อว่าสนองคุณท่านเต็มที่
ขออนุโมทนาครับ
ขณะเดียวกันก็ดูแลท่านด้วยการนวด บีบ อาบน้ำทุกวัน รวมทั้ง ให้พ่อแม่ถ่ายอุจาระปัสสาวะบนบ่า
ก็ยังไม่นับว่าได้สนองบุญคุณของท่านได้บริบูรณ์ แต่หากทำให้ท่านตั้งอยู่ในคุณความดี คือ
มีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา เป็นต้น จึงได้ชื่อว่าสนองคุณท่านเต็มที่
ขออนุโมทนาครับ
สมาชิกหมายเลข 1265297 ถูกใจ, ซุปเปอร์เดปอร์ ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 926948 ถูกใจ, จริงแท้แน่นอน ถูกใจ, amber_tulip ถูกใจ, กางร่มตอนแดดออก ถูกใจ, Mahasati Neo ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 2543211 ถูกใจ
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
ศาสนาพุทธ
...พระกราบแม่เหมาะสมหรือไม่? ...พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ... /// ถ้าฉันรวยจะสวยหั้ยดูเด้อ...!!!
ก้มกราบแม่มาลงในเฟชบุ๊ก เป็นที่วิจารณ์กันมาก
ว่าสิ่งที่นั้นทำถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่
หลวงพ่อช่วยแสดงความคิดเห็นให้สาธุชน ให้หายสงสัยด้วยครับ...
พระไพศาล วิสาโล วิสันชนา - การกราบเท้าพ่อแม่นั้นเป็นทั้งการแสดงความเคารพและความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่
เป็นสิ่งที่พึงกระทำ อย่างไรก็ตามวิธีนี้เป็นธรรมเนียมที่เหมาะแก่ฆราวาสเท่านั้น
ไม่เหมาะสำหรับพระ เพราะธรรมเนียมไทย(และชาวพุทธ)แม้ถือว่าพ่อแม่อยู่สูงกว่าลูก
แต่เวลาเดียวกันก็ถือว่า พระอยู่สูงกว่าฆราวาส ดังนั้นจึงมีแต่ฆราวาสเท่านั้นที่ไหว้หรือกราบพระ
อย่าว่าแต่ฆราวาสที่เป็นพ่อแม่เลย ถึงแม้เป็นพระมหากษัตริย์ ก็ต้องเป็นฝ่ายไหว้และกราบพระเท่านั้น
ความข้อนี้รวมถึงฆราวาสที่เป็นพระอริยบุคคล ก็ต้องไหว้หรือกราบพระเช่นกัน
ถึงแม้ฝ่ายหลังจะเป็นแค่ปุถุชนก็ตาม
อันที่จริงเมื่อใครก็ตามบวชพระ เขาไม่ได้เป็นแค่นาย ก. หรือนาย ข. เหมือนครั้งเป็นฆราวาสอีกต่อไป
เขามีสถานะใหม่ ที่สำคัญก็คือเป็นตัวแทนของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
หรือเป็นตัวแทนของพระธรรมวินัย ประการหลังต่างหากที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ฆราวาสกราบพระ
แม้ว่าพระรูปนั้นเพิ่งบวชได้วันเดียว หรือเคยเป็นลูกของตนมาก่อนก็ตาม
(ตามธรรมเนียมชาวพุทธ ผู้ที่บวชพระถือว่าสละครอบครัว มีสังกัดใหม่คือคณะสงฆ์
จึงทิ้งนามสกุลเดิม และมีฉายาใหม่ที่เป็นภาษาบาลีที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้
และถือว่าพระอุปัชฌายนั้นคือพ่อแม่ในสถานะใหม่) ด้วยเหตุนี้เมื่อฆราวาสกราบพระที่เคยเป็นลูกของตน
เขาไม่ได้คิดว่ากราบลูก แต่กำลังกราบพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบซึ่งพระรูปนั้นเป็นตัวแทน
พูดอีกอย่างคือ กราบผ้าเหลือง หากใครเข้าใจว่าพ่อแม่กำลังกราบลูก นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด
พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่าเมื่อบวชพระแล้วจะตัดความสัมพันธ์กับพ่อแม่
การแสดงความเคารพและกตัญญูต่อพ่อแม่ก็ยังควรกระทำ
แต่ไม่จำเป็น(หรือไม่ควร)ที่จะแสดงออกด้วยการกราบเท้าท่าน
ยังมีวิธีอื่นที่ดีกว่า ส่งผลยั่งยืนกว่า ไม่ใช่แสดงออกแค่รูปแบบหรือสัญลักษณ์เท่านั้น
เช่น การน้อมนำท่านให้รู้จักธรรมะ ดังพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า
แม้ลูกจะแบกพ่อและแม่บนไหล่ทั้ง ๒ ข้างจนท่านมีอายุถึง ๑๐๐ ปี
ขณะเดียวกันก็ดูแลท่านด้วยการนวด บีบ อาบน้ำทุกวัน รวมทั้ง ให้พ่อแม่ถ่ายอุจาระปัสสาวะบนบ่า
ก็ยังไม่นับว่าได้สนองบุญคุณของท่านได้บริบูรณ์ แต่หากทำให้ท่านตั้งอยู่ในคุณความดี คือ
มีศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา เป็นต้น จึงได้ชื่อว่าสนองคุณท่านเต็มที่
ใช่แต่เท่านั้นยังมีวิธีอื่นที่ดีรองลงมา เช่น ดูแลท่านยามเจ็บป่วย
หรือนำอาหารบิณฑบาตมาเลี้ยงดูท่านหากท่านยากจน
วิธีเหล่านี้ไม่ได้เหมาะแก่พระเท่านั้น ฆราวาสก็ควรนำไปปฏิบัติด้วย
ไม่ใช่ไปเยี่ยมท่านหรือกราบเท้าท่านเฉพาะวันแม่เท่านั้น
...ที่มา https://www.facebook.com/warapolchilchil?fref=nf