โดนล้วงกระเป๋าที่รัสเซีย เงินสดหาย+บัตรเครดิตโดยขโมยรูดไปเกือบแสน

เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมาได้ไปเที่ยวรัสเซีย-มองโกเลีย กับเพื่อนอีก2คน เราตกลงกันว่าจะรวมเงินกองกลางกันแยกใส่กระเป๋าตังใบเล็กๆเพื่อให้สะดวกเวลาใช้จ่าย  

เช้าวันที่ 25 กค ที่มอสโค (เป็นวันที่3ของทริป) หยิบกระเป๋าตังมาเพื่อจะเอาเงินสดเติมเข้ากระเป๋าตังกองกลาง พบว่าเงินสดประมาณ 40000 บาท และบัตรเครดิต2ใบได้หายไปจากกระเป๋าตัง (ทั้ง2ใบเป็นบัตรของธนาคารสีม่วง) จุดนั้นคือตกใจมากมากมาก เพราะไม่รู้ตัวเลย และนี่เป้นวันที่3ของการเดินทาง (จากทั้งหมด19 วัน) หลังตั้งสติได้ ได้ทำการโทรไปอายัดบัตรเครดิตทั้ง2ใบไว้กับธนาคารและพบว่าบัตรทั้ง2 ใบ ถูกคนร้ายใช้รูดไปตั้งแต่วันที่ 23 กค ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเที่ยว เป็นจำนวนเงินรวมประมาณ 70000 บาท  

เราย้อนกลับมาคิดดู เทียบจากเวลาที่คนร้ายใช้รูดซื้อของ เหตุเกิดน่าจะเป็นที่ร้าน Burger King ที่วันที่เกิดเหตุ (23 กค) เรากะเพื่อนไปนั่งกินบริเวณโซนเอาท์ดอร์ และเราได้วางกระเป๋าสะพายไว้ที่เก้าอี้ตัวที่ว่าง มีจังหวะนึงเราหันไปเหนผู้ชายฝรั่งโต๊ะข้างๆกำลังใช้มือจับกระเป๋าสะพายเราไว้ เราก้อรีบดึงกระเป๋ากลับมา ตอนนั้นคิดว่ารอดแล้ว ตอนนั้นได้ตรวจเชคแล้วว่าไม่มีอะไรหายไปจากกระเป๋า passport อยู่ กระเป๋าตังอยู่ครบ แต่.... ไม่ได้เปิดดูในกระเป๋าตังว่าเงินกับบัตรเครดิตได้หายไปแล้ว !

ในวันที่โทรอายัด เราได้ขอแบบฟอร์มปฏิเสธรายการที่ไม่ได้ใช้จากทางธนาการมากรอก และได้ส่งปฏิเสธรายการใหญ่ๆไป2รายการ วันนั้นเจ้าหน้าที่คอลเซ็นเตอร์บอกว่า ให้คุณลูกค้าเที่ยวไปก่อน กลับมาไทยวันที่ 9สค ค่อยมาดำเนินการยื่นเอกสารยังทัน เพราะบัตรเราตัดรอบวันที่ 11สค และกำหนดจ่าย 1กย

หลังจากคุยกับคอลเซนเตอเสร็จ ก้อไปแจ้งความไว้ที่ตำรวจมอสโครับเรื่องไว้ วันรุ่งขึ้นไปสถานทูตไทยรับแจ้งเรื่องและออกเอกสารรับรองให้มาเรียบร้อย ต้องขอบคุณพี่ที่สถานทูตไทยมา ณ ที่นี้ด้วย ที่เป็นที่พึ่งให้พวกเรายามมีปัญหา อบอุ่นเหมือนบ้านจิงๆ

กลับมาท่ีไทย วันที่ 10สค เราได้ส่งเรื่องปฏิเสธรายการไปเพิ่มอีก3รายการ พร้อมทั้งเอกสารแจ้งความ และจดหมายรับรองจากสถานทูตเข้าอีเมลของธนาคารเพื่อรอตรวจสอบ

วันที่ 13 สค ธนาคารส่งstatement มา ทุกยอดการใช้จ่ายที่คนร้ายรูดปรากฏอยู่ครบ เรารีบทำการโทรไปคอลเซนเตอ เพื่อขอพักรายการดังกล่าวที่เราไม่ได้รูด แต่จนทบอกว่า “ยอดดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนการอายัดบัตร เพราะฉะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของลูกค้าที่ต้องชำระ” แน่นอนว่าเราก้อเจรจาต่อรองกับจนท เพื่อขอพักยอดดังกล่าวไว้ก่อน เพราะต้องการให้ธนาคาร ดำเนินการตรวจสอบให้เรียบร้อยว่าบัตรโดนขโมยไปจริงๆ และเราไม่ได้เป็นคนใช้รายการที่เกิดขึ้นนั้น

คำถามที่อยากปรึกษาคือ
1 ทำอย่างไรให้ธนาคารตรวจสอบ และยอมช่วยเหลือเราบ้าง เงินสด40000 ก้อไปแล้ว หนี้ที่ไม่ได้ก่ออีก 70000 นี่เกินจะรับไหวจริงๆ
2 security  ในการใช้บัตรเครดิตอยู่ตรงไหน ทำไมมันรูดได้ง่ายขนาดนี้ นี่ขนาดเป็นบัตรต่างชาติ ทำไมร้านค้ารัสเซียไม่ตรวจpassportเลยสักนิด รูดของเป็นหมื่นๆ แบบนี้อยากจะให้ธนาคารไปไล่เบี้ยเอาผิดกับทางร้านค้าแทนเราได้หรือไม่ ที่ไม่ตรวจสอบให้ดีก่อนรูด
เมื่อวานไปซื้อของที่tops เดี๋ยวนี้ไม่เกิน1500 รูดได้เลย ไม่ต้องเซ็นต์! คือตกใจมาก ความปลอดภัยในการใช้บัตรอยู่ตรงไหนคะ บตรเครดิตบางประเทศนี่จะรูดทีต้องกดรหัสpinก่อนด้วยซ้ำ
3 ขั้นตอนต่อไปที่ควรทำคืออะไร ร้องเรียนอย่างไร เพราะเราไม่ยอมจริงๆที่จะต้องจ่ายยอดนี้อะค่ะ

ขอบคุณทุกความเห็นล่วงหน้านะคะ ช่วยด้วยค่า
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 20
ธนาคารไทยนี่ก็เก่งนะครับที่ทำให้ลูกค้าจำนวนไม่น้อยรู้สึกได้ว่าช่วงที่ยังไม่ได้อายัติเป็นความรับผิดชอบของลูกค้าที่จะต้องจ่าย (ดูจากคำตอบข้างบนหลายๆคน)

ถ้าเป็นแบบนี้ เราใช้บัตรเครดิตกันทำไมนะ โดยเฉพาะคนที่มีเงินจ่าย (ไม่ใช่ประเภทไม่มีเงิน) ใช้แค่สะสมแต้มหรือ?

เอาเข้าจริงๆผมก็ยังไม่เคยอ่านรายละเอียดของบัตรเครดิตไทยอย่างละเอียด แต่ผมใช้ของอเมริกาหลายธนาคารมาร่วมๆ 20 ปี ซึ่งหนึ่งในเหตุผลหลักที่ผมใช้บัตรเครดิตคือเพื่อสะสมแต้มเพื่อเอาเงินคืน (ผมไม่เคยค้างชำระบัตรเครดิตเลยใน 20 ปี) แต่อีกเหตุผลหลักที่ผมก็ใช้ก็คือว่าบัตรเครดิตมีสิทธิประโยชน์ในการปกป้องลูกค้าเยอะมาก ตั้งแต่รองรับประกันคุณภาพสินค้า (ถ้าร้านค้าส่งสินค้าไม่ได้คุณภาพดังโฆษณาแล้วไม่รับคืนก็เคลมได้) ไม่ได้รับสินค้าที่สั่ง ชาร์จเกินราคาที่กำหนด รับประกันสินค้าเพิ่มจากระยะเวลาที่ผู้ผลิตกำหนด และอื่นๆอีกมากมาย จนกระทั่งไปถึงรายการที่เราไม่ได้อนุมัติจ่าย

เมื่อเราเจอรายการที่เราไม่ได้อนุมัติจ่าย โดยปกติแล้วคนซวยมักจะเป็นร้านค้าครับ เพราะธนาคารมักจะต้องขอดูเอกสารยืนยันว่าเราเป็นคนจ่ายเงินจริงหรือไม่ ถ้าเราไม่ใช่คนที่ไปรูดสินค้าเองแล้วเป็นการส่งของ ร้านค้าจะต้องมีหลักฐานการส่งที่มีลายเซ็นรับสินค้าด้วย

โดยปกติแล้วร้านค้าจะต้องทำการตรวจบัตรประจำตัวของลูกค้าทุกครั้งที่ทำการรูดซื้อ พร้อมทั้งตรวจเช็คลายเซ็นว่าตรงกับหลังบัตร หรือในกรณีที่ส่งของก็ต้องมีลายเซ็นจากผู้รับทุกครั้ง

การทำแบบนี้จริงๆแล้วเพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของร้านค้าเอง

แต่... จะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำ โดยมากเพราะโดยอนุโลม คือเพราะกรณีการใช้บัตรโดยไม่อนุญาตจากเจ้าของบัตรหรือลูกค้าที่ไม่ซื่อนั้นมักจะเป็นส่วนน้อย เมื่อแลกกับธุรกิจ ดังนั้นร้านค้าทั่วๆไปก็มักจะตีค่าตรงนี้เข้าไปในความเสี่ยงของธุรกิจอยู่แล้ว อย่างเช่น Walmart ที่เดี๋ยวนี้รูดไม่ถึง $50 ไม่ต้องเซ็นชื่อด้วยซ้ำ หรือ Amazon ที่ไม่เคยมีการให้ผู้รับเซ็นชื่อในการส่งของ ถ้าลูกค้าบอกว่าไม่ได้รับของ ร้านค้าพวกนี้จะส่งอันใหม่มาให้เลยครับ (แต่แน่นอนว่ามันจะถูกบันทึกอยู่ในประวัติ เกิดขึ้นบ่อยๆ เขาก็จะไม่รับเราเป็นลูกค้าอีกต่อไป)

ในอเมริกา การใช้บัตรเครดิต ธนาคารจะปกป้องลูกค้าอย่างมาก พร้อมมีกฎหมายกำกับอีกต่างหาก

จริงๆแล้วในชีวิตนี้ผมกรอกปฏิเสธการใช้หรือที่เรียกว่า credit card dispute ไปสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อราวๆเกือบ 20 ปีก่อน ผมไปเปลี่ยนน้ำมันเครื่องที่ร้านหนึ่งซึ่งเป็นปั๊มน้ำมันด้วย (สมมติว่าตรงที่เปลี่ยนน้ำมันชื่อ Valvoline แล้วกัน แล้วปั้มชื่อ Exxon) ซึ่งปรากฏว่ามันขึ้นมาในรายการว่ามาจากปั้มน้ำมันนี้ (ขึ้นว่า Exxon) พอผมเห็นว่าเป็นรายการจากปั้มน้ำมันยอดมันสูงมากผมก็จำไม่ได้ว่ามันเป็นค่าเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เลยคิดไปว่าเราไม่ควรเติมน้ำมันเยอะขนาดนี้ เลยทำการปฏิเสธไป สักพักก็มีจดหมายมาถึงบ้านพร้อมสำเนาชัดเจนกับรายการที่ผมจ่ายไป ซึ่งรายการนี้เป็นความผิดพลาดจากผมเอง

ครั้งที่สองเพิ่งเมื่อสองเดือนที่แล้วนี่เอง ผมเป็นคนที่ซื้อของจาก eBay และจ่ายเงินด้วย PayPal มาเยอะมาก เริ่มใช้ทั้งสองเจ้านี้เรียกว่าตั้งแต่เขามีมาใหม่ๆเลย ไม่เคยมีปัญหา พอครั้งนี้ด้วยความที่ PayPal Protection เขาเปลี่ยนกฎว่าผู้ขายต้องทำ "Signature Confirmation" สำหรับสินค้าเกิน $750 ขึ้นไป ซึ่งครั้งนี้ผมซื้อของ $450 ซึ่งผู้ขาย(สรุปว่าโกง)ทำการส่งสินค้าแบบธรรมดาที่มีการยืนยันการส่งที่ขึ้นว่าส่งที่เมืองไหนวันไหน ปรากฏว่าผมไม่ได้ของ ก็เลยทำการยื่นเรื่องไปที่ PayPal โดยสรุปสุดท้ายทาง PayPal ทำการปฏิเสธคำร้องของผมโดยกล่าวอ้างเพียงแค่ว่าผู้ขายทำการส่งของเรียบร้อยแล้ว สุดท้ายผมเลยต้องไปพึ่งบัตรเครดิตให้ทำการ Charge Back ซึ่งพอผมกรอกคำร้องออนไลน์ไป ใช้เวลาแค่วันสองวันเท่านั้นเองครับ ธนาคารคืนเงินให้ผมอย่างรวดเร็วโดยไม่มีคำถามใดๆทั้งสิ้น

ผมมองว่าเรื่องของคุณจขกท. ตราบใดที่คุณไม่ได้เป็นผู้อนุมัติการจ่ายเงินก็อย่าไปจ่ายครับ ตามความเข้าใจผม ถ้าหากคุณจ่ายรายการนั้นๆไปแล้วจะถือว่าคุณยอมรับหนี้ในส่วนนั้นๆครับ และธนาคารมีสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบได้

ขั้นตอนที่ถูกต้องคือคุณจขกท.จะต้องกรอกปฏิเสธรายการต่างๆนั้นที่ไม่ได้ใช้ โดยที่รายการนั้นๆธนาคารจะไม่มีสิทธิ์เรียกเก็บดอกเบี้ยค้างชำระและจะไม่ส่งผลให้เกิดดอกเบี้ยค้างชำระในกรณีที่เจ้าของบัตรไม่เคยค้างชำระ (แต่ถ้าหากพิสูจน์ออกมาแล้วคุณจขกท.ใช้เองจริง แล้วช่วงที่ทำการพิสูจน์เลยระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย ธนาคารก็สามารถเก็บดอกเบี้ยย้อนหลังได้) หลังจากนั้นธนาคารจะต้องไปไล่บี้เอากับทางร้านค้าครับ ถ้าเขาพิสูจน์ไม่ได้หรือไม่มีหลักฐาน ธนาคารก็ไม่จ่ายเงินครับ

จากที่ผมเล่าไป ก็พอจะเห็นได้ชัดใช่ไหมครับว่าทำไมธนาคาร(อย่างน้อยในอเมริกา)จะปกป้องลูกค้าไว้ก่อน ก็เพราะว่าเป็น"ระบบเครดิต" เงินก็ยังไม่ได้จ่ายไป ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ธนาคารก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงิน และอีกอย่างเขากลัวเสียลูกค้าครับ

แต่ความต่างอย่างหนึ่งคือ ธนาคารไทย เจ้าหน้าที่ไทย มักง่าย เอาง่ายเข้าว่า กลัวจะต้องมีปัญหา และก็ไม่ง้อลูกค้าครับ เพราะเชื่ออย่างลมๆแล้งๆว่ายังไงก็มีลูกค้า (ถ้าเจ้าหน้าที่ธนาคารไทยไม่กลัวว่าสักวันหนึ่งลูกค้าจะหายไป รับรองครับว่าเราจะไม่เจอเจ้าหน้าที่ธนาคารมาทำหน้าบูดเบี้ยวใส่เรา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่