ถ้ากฎหมายเกี่ยวกับการกู้เงิน (พรบ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา) กำหนดแบบนี้ดีไหม

คือเข้าใจว่าคนที่เดือดร้อนจริงๆ ก็ต้องการกู้ยืมเงิน แต่พอจะไปหากู้จากสถาบันการเงินทั้งหลายแหล่  ก็ต้องมีหลักประกัน มีเงินเดือนประจำ มีผู้ค้ำประกัน ต้องไม่ติดเครดิตบูโร บลาๆๆ


ส่วนคนที่มีเงินเหลือเฟือ  แต่ฝากแบ๊งค์ไว้ได้ดอกเบี้ยไม่ถึง 2%  ก็อยากจะเอามาปล่อยกู้ที่ได้ดอกเบี้ยมากกว่าฝากแบ๊งค์   แต่ก็กลัวว่า เงินต้นจะสูญหายหรือตามเก็บไม่ได้


ก็มาพบกันครึ่งทาง

คือ แก้ไขกฎหมายที่ห้ามผู้ให้กู้ปล่อยกู้เกินร้อยละ 15 ต่อปี

ก็ยอมให้ผู้ให้กู้สามารถเรียกเก็บดอกเบี้ยสูงๆ ได้ในช่วงแรก อาจจะกำหนดไปเลย เช่น ให้เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 36% ต่อปีภายในช่วง 3 ปีแรกของการให้กู้  เพื่อให้เจ้าหนี้ได้ทยอยเรียกเก็บเงินต้นคืนมาให้ได้มากที่สุดก่อน (จะเหลืออีกแค่ 10%)  จากนั้น ก็กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้จะเรียกเก็บจากลูกหนี้ไว้ให้ไม่เกินอัตรา 12% ต่อปี และห้ามคิดดอกเบี้ยทบต้น และให้คิดดอกเบี้ยแบบจ่ายมากก็ไปลดดอกและลดต้นเงินก่อน  


สำหรับพ่อค้าแม่ค้าหรือคนหาเช้ากินค่ำ  ดอกเบี้ยแค่ร้อยละ 3 ต่อเดือน ในช่วง 3 ปีแรก  และร้อยละ 1 ต่อเดือนเมื่อหลัง 3 ปี เมื่อเทียบกับร้อยละ 10 ต่อวันที่โดนเก็บจากเจ้าหนี้โหดอยู่ทุกวันนี้  ผมว่ามันเหมือนสวรรค์มาโปรดนะครับ

ส่วนคนที่มีเงิน และไม่อยากได้แค่ดอกเบี้ยแบ๊งค์ และไม่รู้จะเอาเงินไปลงทุนอะไรดี  ก็น่าจะพอใจ เพราะว่าในช่วง 3 ปีแรก ถ้าสามารถเก็บเงินได้ครบ ปีต่อไปก็จะเป็นดอกเบี้ยที่มากกว่าฝากแบ็งค์แล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่