ต้องยอมรับก่อนว่า สังคมไทยกำลังปรับเปลี่ยนจากห้องประชุม 4 เหลี่ยมไปเป็นห้องประชุมตามมุมร้านกาแฟ เนื่องด้วยเทคโนโลยีที่ความเร็ว ความเสถียรมากขึ้น อินเทอร์เน็ตเข้าถึงได้ทุกที่ และอุปกรณ์สื่อสารยังสามารถแปลงกายมาเป็นอุปกรณ์สำหรับนำเสนองานได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่จึงนิยมที่จะนัดกันที่ร้านกาแฟ สั่งกาแฟ 1 แก้ว แล้วนั่งแช่ไปนานๆ แถมยิ่งมี WiFi มาเล่นแบบสบายๆ ยิ่งอยู่นานเลย เพราะคิดว่า กาแฟมูลค่า 100 - 200 บาทที่สั่งไป ก็ต้องมาใช้บริการให้คุ้มสักหน่อย (บางทีผมก็คิดแบบนั้นนะ นั่งในร้านกาแฟแล้วรู้สึกผ่อนคลาย แต่พอเห็นช่วงคนเยอะแล้วเราไม่มีธุระอะไรสำคัญก็มักจะหลบออกมให้ผู้ใช้บริการท่านอื่นได้เข้าไปบ้าง)
ผมได้อ่านบทความของ รองศาสตราจารย์ ดร. กาญจ์นภา อมรัชกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) อาจารย์ได้ให้มุมมองว่าลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการมีหลากหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นนั่งฆ่าเวลา คุยพบปะเพื่อนฝูง หรือ first date ที่ยังไม่ถึงขั้นพาไป dinner นั่งอ่านหนังสือหรือจับกลุ่มเตรียมสอบ คุยธุรกิจ สอนพิเศษ เวลาที่นั่งในร้านก็แตกต่างกันออกไปตามกิจกรรมที่ทำ บางร้านก็มีป้ายบอกชัดเจนไม่ว่าจะเป็นอัตราค่านั่งคุยธุรกิจหรือ etiquette ในร้านเช่น นั่งนานเท่าใดก็ได้ตราบใดที่มีสั่งเพิ่มทุกๆ ชั่วโมงหรือสองชั่วโมง ใช้เสียงในระดับเหมาะสมไม่ดังจนรบกวนลูกค้าคนอื่น ใช้ wifi โดยคำนึงถึงส่วนรวมบ้างไม่ download หรือทำอะไรที่กระซวก bandwidth จนเกินไป แขวนกระเป๋าที่เก้าอี้ของตนเองหากเป็นไปได้ จำนวนลูกค้าที่เข้าร้านผันแปรไปตามเวลาของวัน ในช่วง peak กับ normal hours อาจมีจำนวนคนเข้าแตกต่างกันมาก เช่น รายได้ 80% อาจจะมาจากช่วงเวลาการขายเพียง 20% ของเวลาที่ร้านเปิดก็ได้
หากร้านมีลูกค้าเต็ม ในที่นี้สมมติว่าคนอื่นที่มาถึงร้านจะไปร้านอื่นแทน ไม่มานั่งต่อคิวรอ ดังนั้นในช่วง peak หากลูกค้าบางคนนั่งนานหลายชั่วโมงมากโดยไม่สั่งอะไรทานเพิ่มเลย และทำให้ร้านเต็ม ร้านก็จะเสียโอกาสที่จะได้รายได้จากคนอื่นๆ ที่ควรจะได้เข้ามาเป็นลูกค้าในร้าน แต่ไม่ได้เข้ามาเพราะโต๊ะเต็ม สมมติว่าลูกค้าที่เข้ามานั่งในร้านไม่ได้สั่งเพิ่มเลย ตารางด้านล่างแสดงรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงหากลูกค้านั่งเฉลี่ยเป็นเวลานานสองชั่วโมง และสามชั่วโมงตามลำดับ ใน column สุดท้ายแสดงส่วนต่างของรายได้ทั้งคู่ ที่ผู้เขียนเลือกสองชั่วโมงมาเป็น baseline เพราะเจ้าของร้านหลายคนรู้สึกว่านั่งไม่เกินสองชั่วโมงสั่งครั้งเดียวยังพอรับได้ แต่หากนั่งนานกว่านั้นลูกค้าน่าจะ refresh และสั่งเพิ่ม
จะเห็นได้ว่า ในช่วง peak ร้านกาแฟร้านใหญ่ที่มีคนเข้านั่งทาน 20 คนต่อชั่วโมง อาจเสียรายได้ถึง 1,086 บาทต่อชั่วโมง หากลูกค้านั่งนานเกิน แต่ในช่วง normal ที่ร้านไม่มีคนมากนัก รายได้ที่สูญเสียนี้เพียง 202 บาทต่อชั่วโมงเท่านั้น
แต่ในต่างประเทศ ร้านกาแฟเริ่มมีการเก็บค่าบริการในการ มานั่งแช่นานๆ แล้ว คาดว่าอีกไม่นานประเทศไทยเราก็คงจะมีร้านกาแฟที่จำกัดเวลาการนั้งหรือคิดค่าบริการในการนั่งนานๆ สำหรับท่านที่ชื่นชอบในการทานกาแฟหรือชื่นชอบในการไปนั่งอยู่ในบรรยากาศร้านกาแฟ ก็คงต้อง แบ่งเวาที่เหมาะสม ไม่นั่งนานจนเกินไป จนลูกค้าคนอื่นไม่มีโอกาสเข้าไปนั่งนะ คงต้อง แบ่งปันซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น
Mr.K
หมายเหตุ :
[1] ผู้เขียนขอขอบคุณคุณพนิดา โลเกตุ ที่ช่วยเหลือให้ข้อมูลสถิติของร้านกาแฟที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์เชิงปริมาณในบทความนี้
[2]
http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000089745
คิดต่างแง่ มองต่างมุม นั่งแช่ในร้านกาแฟที่แท้ใครเสียโอกาส
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่จึงนิยมที่จะนัดกันที่ร้านกาแฟ สั่งกาแฟ 1 แก้ว แล้วนั่งแช่ไปนานๆ แถมยิ่งมี WiFi มาเล่นแบบสบายๆ ยิ่งอยู่นานเลย เพราะคิดว่า กาแฟมูลค่า 100 - 200 บาทที่สั่งไป ก็ต้องมาใช้บริการให้คุ้มสักหน่อย (บางทีผมก็คิดแบบนั้นนะ นั่งในร้านกาแฟแล้วรู้สึกผ่อนคลาย แต่พอเห็นช่วงคนเยอะแล้วเราไม่มีธุระอะไรสำคัญก็มักจะหลบออกมให้ผู้ใช้บริการท่านอื่นได้เข้าไปบ้าง)
ผมได้อ่านบทความของ รองศาสตราจารย์ ดร. กาญจ์นภา อมรัชกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) อาจารย์ได้ให้มุมมองว่าลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการมีหลากหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นนั่งฆ่าเวลา คุยพบปะเพื่อนฝูง หรือ first date ที่ยังไม่ถึงขั้นพาไป dinner นั่งอ่านหนังสือหรือจับกลุ่มเตรียมสอบ คุยธุรกิจ สอนพิเศษ เวลาที่นั่งในร้านก็แตกต่างกันออกไปตามกิจกรรมที่ทำ บางร้านก็มีป้ายบอกชัดเจนไม่ว่าจะเป็นอัตราค่านั่งคุยธุรกิจหรือ etiquette ในร้านเช่น นั่งนานเท่าใดก็ได้ตราบใดที่มีสั่งเพิ่มทุกๆ ชั่วโมงหรือสองชั่วโมง ใช้เสียงในระดับเหมาะสมไม่ดังจนรบกวนลูกค้าคนอื่น ใช้ wifi โดยคำนึงถึงส่วนรวมบ้างไม่ download หรือทำอะไรที่กระซวก bandwidth จนเกินไป แขวนกระเป๋าที่เก้าอี้ของตนเองหากเป็นไปได้ จำนวนลูกค้าที่เข้าร้านผันแปรไปตามเวลาของวัน ในช่วง peak กับ normal hours อาจมีจำนวนคนเข้าแตกต่างกันมาก เช่น รายได้ 80% อาจจะมาจากช่วงเวลาการขายเพียง 20% ของเวลาที่ร้านเปิดก็ได้
หากร้านมีลูกค้าเต็ม ในที่นี้สมมติว่าคนอื่นที่มาถึงร้านจะไปร้านอื่นแทน ไม่มานั่งต่อคิวรอ ดังนั้นในช่วง peak หากลูกค้าบางคนนั่งนานหลายชั่วโมงมากโดยไม่สั่งอะไรทานเพิ่มเลย และทำให้ร้านเต็ม ร้านก็จะเสียโอกาสที่จะได้รายได้จากคนอื่นๆ ที่ควรจะได้เข้ามาเป็นลูกค้าในร้าน แต่ไม่ได้เข้ามาเพราะโต๊ะเต็ม สมมติว่าลูกค้าที่เข้ามานั่งในร้านไม่ได้สั่งเพิ่มเลย ตารางด้านล่างแสดงรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงหากลูกค้านั่งเฉลี่ยเป็นเวลานานสองชั่วโมง และสามชั่วโมงตามลำดับ ใน column สุดท้ายแสดงส่วนต่างของรายได้ทั้งคู่ ที่ผู้เขียนเลือกสองชั่วโมงมาเป็น baseline เพราะเจ้าของร้านหลายคนรู้สึกว่านั่งไม่เกินสองชั่วโมงสั่งครั้งเดียวยังพอรับได้ แต่หากนั่งนานกว่านั้นลูกค้าน่าจะ refresh และสั่งเพิ่ม
จะเห็นได้ว่า ในช่วง peak ร้านกาแฟร้านใหญ่ที่มีคนเข้านั่งทาน 20 คนต่อชั่วโมง อาจเสียรายได้ถึง 1,086 บาทต่อชั่วโมง หากลูกค้านั่งนานเกิน แต่ในช่วง normal ที่ร้านไม่มีคนมากนัก รายได้ที่สูญเสียนี้เพียง 202 บาทต่อชั่วโมงเท่านั้น
แต่ในต่างประเทศ ร้านกาแฟเริ่มมีการเก็บค่าบริการในการ มานั่งแช่นานๆ แล้ว คาดว่าอีกไม่นานประเทศไทยเราก็คงจะมีร้านกาแฟที่จำกัดเวลาการนั้งหรือคิดค่าบริการในการนั่งนานๆ สำหรับท่านที่ชื่นชอบในการทานกาแฟหรือชื่นชอบในการไปนั่งอยู่ในบรรยากาศร้านกาแฟ ก็คงต้อง แบ่งเวาที่เหมาะสม ไม่นั่งนานจนเกินไป จนลูกค้าคนอื่นไม่มีโอกาสเข้าไปนั่งนะ คงต้อง แบ่งปันซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น
Mr.K
หมายเหตุ :
[1] ผู้เขียนขอขอบคุณคุณพนิดา โลเกตุ ที่ช่วยเหลือให้ข้อมูลสถิติของร้านกาแฟที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์เชิงปริมาณในบทความนี้
[2] http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000089745