ผลของสมาธิตั้งจิตชอบ
พุทธวจน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ
ที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้
ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคล
ตั้งไว้ผิด ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชา
ให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ผิด ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ
ที่บุคคลตั้งไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือจักให้ห้อ
เลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคลตั้งไว้ถูก
ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด
จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ถูก ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดบุคคล
บางคนในโลกนี้
ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้วว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้
พึงตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะจิตของเขา
อันโทษประทุษร้ายแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็แหละเพราะเหตุที่จิตประทุษร้าย
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัด
บุคคลบางคนในโลกนี้
ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่
ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเชิดไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขา
ผ่องใส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็แหละเพราะเหตุที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ขุ่นมัวเป็นตม บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง
ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้อง
ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะน้ำขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง
จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง
จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วย
จิตที่ขุ่นมัว ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว
บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้อง
ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง
จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง
จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง
จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วย
จิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ต้นจันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารุกขชาติ
ทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตที่อบรมแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน
ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใด
นั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ
พุทธวจน ! จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชา ให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ
ที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้
ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคล
ตั้งไว้ผิด ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชา
ให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ผิด ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ
ที่บุคคลตั้งไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือจักให้ห้อ
เลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคลตั้งไว้ถูก
ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด
จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ถูก ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดบุคคล
บางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้วว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้
พึงตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะจิตของเขา
อันโทษประทุษร้ายแล้ว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็แหละเพราะเหตุที่จิตประทุษร้าย
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัด
บุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่
ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเชิดไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขา
ผ่องใส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็แหละเพราะเหตุที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้
เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ขุ่นมัวเป็นตม บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง
ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้อง
ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะน้ำขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง
จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง
จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วย
จิตที่ขุ่นมัว ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว
บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้อง
ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง
จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง
จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง
จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ
คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วย
จิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ต้นจันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารุกขชาติ
ทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน เหมือนจิต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตที่อบรมแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน
ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใด
นั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ