อภัยทานเป็นทานที่สูงยิ่งเลยอยากถามเพื่อนๆว่าถ้าวันนึงธัมมชโยเกิดสำนึกผิดแล้วกลับมาสอนตามพุทธวจนคุณจะใหโอกาสมั้ย

อภัยทานเป็นทานที่สูงยิ่งเลยอยากถามเพื่อนๆว่าถ้าวันนึงธัมมชโยแห่งสำนักธรรมกายเกิดสำนึกผิดรู้จักละอายต่อบาปขึ้นมาแล้วกลับมาสอนตามพุทธวจน ตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าคุณจะให้โอกาสเค้ามั้ยหรืออย่างน้อยถ้าหากเค้าหันมาสนใจและปฏิบัติเริ่มต้นใหม่ตามพระป่าสายพระอาจารย์มั่นซึ่งอย่างที่กำลังจะบอกเหตุผลที่ต้องยกสายพระอาจารย์มั่นเพราะท่านทั้งหลายเป็นพระที่ได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนของพระที่ปฏิบัติตรงและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาเน้นพิจารณาไตรลักษณ์ด้วยปัญญาตามแก่นของพุทธศาสนาถ้าเค้าหันมาปฏิบัติและสอนพุทธบริษัทแบบนี้ทุกๆคนเห็นว่าไงควรจะให้อภัยทานแก่เค้าเพื่อให้เค้ากลับมาทำในสิ่งที่เป็นสัมมาทิฐิและยังประโยชน์ที่ควรต่อไป
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 51
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการนี้ มีมาใน โคตมีสูตร อังคุตตรนิกาย เป็น
ถ้อยคำที่ตรัสแก่ ประเจ้าแม่น้ำโคตมี ซึ่งออกบวชเป็นภิกษุณี ถือกันว่า เป็นหลัก
สำคัญ มีข้อความที่น่าสนใจเป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งคือ เป็นหลักธรรมที่ทรงเลือก
สรรมา ในลักษณะเป็นเครื่องตอบแทนคุณแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะที่เป็นมารดา
อีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นว่า การปฏิบัติอย่างใด จะเป็นไปถูกต้องตาม
หลักแห่งการดับทุกข์ หรือไม่ ก็ควรใช้หลักเกณฑ์เหล่านี้ เป็นเครื่องตัดสินได้โดย
เด็ดขาด ฉะนั้น จึงเป็นหลักที่แสดงถึง ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา อยู่ใน
ตัว หลักเหล่านั้น คือ

ถ้า ธรรม (การปฏิบัติ) เหล่าใด
๑. เป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ
๒. เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ (คือทำให้ลำบาก)
๓. เป็นไปเพื่อสะสมกองกิเลส
๔. เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ (คือไม่เป็นการมักน้อย)
๕. เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ
๖. เป็นไปเพื่อความคลุกคลี
๗. เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก

พึงรู้ว่า ธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่ สัตถุศาสน์ (กล่าวคือคำสอน
ของพระศาสดา) แต่ถ้าเป็นไปตรงกันข้าม จึงจะเป็นธรรมเป็นวินัยเป็นสัตถุศาสน์
คือ

๑. เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
๒. เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบทุกข์
๓. เป็นไปเพื่อไม่สะสมกองกิเลส
๔. เป็นไปเพื่อความอยากน้อย
๕. เป็นไปเพื่อความสันโดษ
๖. เป็นไปเพื่อความไม่คลุกคลี
๗. เป็นไปเพื่อความพากเพียร
๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย

มีอธิบายว่า ความกำหนัดย้อมใจ ได้แก่ ความติดใจรัก ยิ่งขึ้นๆ ในสิ่งที่มาเกี่ยวข้อง
หรือแวดล้อม ถ้าการปฏิบัติ หรือ การกระทำ หรือ แม้แต่การพูดการคิดอย่างใด ทำ
ให้ บุคคลผู้นั้นมีความติดใจรักในสิ่งใดๆ แล้ว ถือว่าเป็นการปฏิบัติผิด ตัวอย่างเช่น
การดูหนังดูละคร เป็นต้น มันทำให้เกิดความยอ้มใจ อย่างที่กล่าวนี้ ด้วยอำนาจของ
ราคะ เป็นต้น ซึ่งจะเทียบดูได้กับจิตใจของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความสงบ หรือ แม้แต่
อยู่ในที่สงัด จะเห็นได้ว่า เป็นการแตกต่างกันอย่างตรงกันข้าม พึงอาศัยตัวอย่างนี้
เป็นเครื่องเทียบเคียง จับความหมายของคำๆ นี้ ให้ได้ ทั้งในทางรูป เสียง กลิ่น รส
โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่สุด ตัวอย่างแห่งธรรมารมณ์ เช่น การขอบคิดฝัน ถึง
สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ก็ย่อมทำจิตให้ถูกยอ้มด้วย ราคะมากขึ้นๆ เป็นต้น

คำว่า เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ หมายถึงการทำตนเองให้ลำบากด้วยความไม่
รู้เท่าถึงการณ์ ด้วยความเข้าใจผิดในกรณีที่ไม่ควรจะมีความลำบากหรือลำบากแต่
น้อยก็ตาม เป็นสิ่งที่น่าพิศวงว่า คนเราไม่ชอบความลำบากด้วยกันทั้งนั้น แต่แล้ว
ทำไมจึงไปทำสิ่งที่ตนจะลำบาก ทั้งนี้ ก็เพรา อำนาจของโมหะ คือ ความหลงเป็น
ส่วนใหญ่ จึงมีความเข้าใจผิดกลับตรงข้าม แม้ในกรณีที่เป็นเรื่องของการอยากดี
อยากเด่นอยากมีชื่อเสียง เป็นต้น ก็มีมูลมาจากโมหะอยู่นั่นเอง กรณีที่เป็นการประชด
ผู้อื่น หรือ ถึงกับประชดตัวเองก็ตาม ย่อมสงเคราะห์เข้าในข้อนี้ ซึ่งมีมูลอันแท้จริง
มาจากความหลงสำคัญผิดอย่างเดียวกัน นั่นเอง โดยส่วนใหญ่ ได้แก่ การปฏิบัติ ที่
เรียกว่า อัตตภิลมถานุโยค คือ การทรมานตนอย่างงมงาย

คำว่า สะสมกองกิเลส หมายถึงการเพิ่มพูนโลภะ โทสะ โมหะ โดยรอบด้าน ผิด
จากความกำหนัดย้อมใจ ตรงที่ข้อนี้ หมายถึงเป็นอุปกรณ์ หรือ เครื่องสนับสนุน
การเกิดของกิเลสทั่วไปและให้ทวียิ่งขึ้นด้วย การสะสมสิ่งซึ่งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง
กิเลส อยู่เป็นประจำ ในกรณีของ คนธรรมดาสามัญ บางอย่างอาจจะ ไม่จัดเป็น
การสะสมกองกิเลส แต่จัดเป็นการสะสมกิเลส อย่างยิ่ง สำหรับผู้ปฏิบัติ เพื่อความ
ดับทุกข์ โดยตรง เช่น พวกบรรพชิต หรือในบางกรณี ก็จัดว่า เป็นการสะสมกอง
กิเลส ทั้ง คฤหัสถ์ และ บรรพชิต เช่น การมีเครื่องประดับ หรือ เครื่องใช้ชนิดที่
ไม่มีความจำเป็น แก่การเป็นอยู่ แต่เป็นไป เพื่อความลุ่มหลง หรือ ความเห่อเหิม
ทะเยอทะยาน ประกวด ประขันกัน โดยส่วนเดียว เป็นต้น เป็นการขยาย ทางมา
ของกิเลส ให้กว้างขวาง ไม่มีที่สิ้นสุด

คำว่า ความอยากใหญ่ หมายถึง การอยากเกินมาตรฐานแห่งภาวะ หรือสถานะ
หรือกำลังสติปัญญาของตน เป็นต้น ส่วนความไม่สันโดษ ไม่ได้หมายถึง ความ
อยากใหญ่ เช่นนั้น แต่หมายถึง ความไม่รู้จักพอใจ ในสิ่งที่ได้มาแล้ว หรือมีอยู่
แล้ว ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเป็น คนยากจนอยู่เนืองนิจ เป็นทางให้เกิดความอยาก
ใหญ่ หรือ กิเลสอย่างอื่นต่อไปได้ หรือในทางตรงกันข้าม ทำให้เกิดการทำลาย
ตัวเอง จนถึงกับฆ่าตัวตายก็ได้ โดยภาษาบาลี ความอยากใหญ่ เรียกว่ามหิจฺฉตา
ความไม่สันโดษ เรียก อสันตุฎฐิ โดยพยัญชนะ หรือโดยนิตินัย เราอาจจะแยกได้
ว่า เป็นคนละชั้น คนละตอน หรือคนละอย่าง แต่โดยพฤตินัย ย่อมเป็นไปด้วยกัน
จนถึงกับหลงไปได้ว่า เป็นสิ่งเดียวกัน

คำว่า ความคลุกคลี หมายถึง การระคนกันเป็นหมู่ เพื่อความเพลิดเพลินอย่างใด
อย่างหนึ่ง จากการกระทำอันนั้น ความเพลิดเพลิน จากการคลุกคลีนี้ มีรสดึงดูด
ในทางธรรมารมณ์เป็นส่วนใหญ่ และก็มีความยั่วยวน ไม่แพ้อารมณ์ที่ได้รับทาง
ตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะเหตุฉะนั้นเอง คนเราจึงติดใจรสของ
การที่ได้ระคนกันเป็นหมู่นี้ ทำให้จิตใจลุ่มหลงมีลักษณะเหมือนกับจมไม่ลง ทำให้
ความคิด ความอ่าน ดำเนินไปอย่างผิวเผิน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งการคิด อย่างแยบคาย
หรือ ลึกซึ้ง แต่พึงทราบไว้ว่า การประชุมกันเพื่อศึกษาเล่าเรียน ปรึกษาหารือ กิจ
การงาน อันเป็นหน้าที่เป็นต้นนั้น ท่านไม่เรียกว่า การคลุกคลีกัน เป็นหมู่ในที่นี้
แต่อีกทางหนึ่ง ท่านยังหมายกว้างไปถึงว่า การถูกกิเลสทั่วไป กลุ้มรุม ด้วยสัญญา
อดีต ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เคยผ่านมาแล้ว แต่หนหลัง แม้นั่งคิดฝัน
อยู่คนเดียว ก็กลับสงเคราะห์ไว้ในคำว่า การคลุกคลีในหมู่ อย่างหนึ่งด้วยเหมือน
กัน เพราะมีมูล มาจาก ความอาลัย ในการระคนด้วยหมู่

คำว่า ความเกียจคร้าน และคำว่า เลี้ยงยาก มีความหมายชัดเจนแล้ว การปฏิบัติ
ทำความดับทุกข์ เป็นเรื่องใหญ่และยึดยาว จึงต้องอาศัย ความเพียร ความเลี้ยง
ง่าย จึงจะเป็นเหตุให้ไม่ต้องมีภาระ เรื่องอาหาร มากกว่าที่จำเป็น ซึ่งทำให้เสีย
เวลา และเสียวัตถุมากไปเปล่าๆ โดยที่อาจจะนำไปใช้เป็นประโยชน์ อย่างอื่นได้

ลักษณะทั้ง ๘ นี้ แต่ละอย่างๆ เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติ เพื่อความดับทุกข์ โดย
ตรงก็มี เป็นเพียงอุปสรรคก็มี และเป็นการปฏิบัติผิดโดยตรงก็มี จึงถือว่าไม่ใช่
ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์ ต่อเมื่อปฏิบัติ ตรงกันข้าม จาก ๘ อย่างข้าง
ต้น จึงจะเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ หรือ เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ นี้นับ
ว่าเป็น หมวดธรรมที่เป็นอุปกรณ์ แห่งการปฏิบัติ เพื่อความดับทุกข์ อย่างหนึ่ง
ในฐานะที่เป็นหลักสำหรับยึดถือ หรือให้ดำเนินไปถูกทาง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่