กรมสรรพากรออกประกาศเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ( LTF ) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( RMF )
หลังจากประกาศเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2558 กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 257-259 กำหนดให้การซื้อหน่วยลงทุนแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟ จะได้รับการยกเว้นภาษีภายใต้เงื่อนไขว่าต้องซื้อแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟไม่เกิน 15% ของ “เงินได้ที่ต้องเสียภาษี”
ข้อความในประกาศดังกล่าว ทำให้มีการสอบถามกรมสรรพากรเพื่อความชัดเจนว่า เงินได้ที่ต้องเสียภาษี หมายถึงเงินได้ส่วนใดบ้าง โดยเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้ชี้แจงว่า หมายถึงรายได้ทุกอย่างที่ต้องเสียภาษี แต่หากเป็นรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีจะนำมารวมในรายได้เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณเพื่อซื้อแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟเพื่อขอลดหย่อนภาษีไม่ได้ เช่น เงินรางวัลจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล เงินได้จากการรับมรดก 100 ล้านบาทแรกที่ไม่ต้องเสียภาษี รวมทั้งเงินได้จากการขายแอลทีเอฟเมื่อครบกำหนด 5 ปี แต่หากมีการขายแอลทีเอฟก่อนกำหนดและเสียค่าปรับภาษีแล้ว สามารถนำมาคำนวณได้ เป็นต้น
มีผู้พยายามอธิบายว่า ประกาศฉบับใหม่ มีผลเหมือนเดิม ไม่มีผลกระทบต่อผู้ซื้อกองทุน แค่ปรับถ้อยคำจากเงินได้เป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเท่านั้น มุ่งยกเลิก การเอากำไรจากการขาย LTF/RMF มาคำนวณเป็นสิทธิการซื้อ LTF/RMF
จริงๆแล้วจากการศึกษาข้อกฎหมาย จะเห็นว่า ลึกล้ำยอกย้อนเกินกว่าที่กรมสรรพากรจะตอบได้ขณะนี้
เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี
ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน" หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
• เงิน
• ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง
• ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน (เกณฑ์เงินสด)
• เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
• เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี มีอยู่หลายกรณีที่สำคัญๆ ได้แก่ การยกเว้นตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 การยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับต่างๆ เป็นต้น เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมีดังนี้
1. เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจากการขายหน่วยลงทุน คืนให้แก่กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ
2. เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว
3. ยกเว้นเงินได้ เท่าที่ผู้มีเงินได้ จ่ายเป็น เบี้ยประกันชีวิต ในปีภาษี
เงินได้เท่าที่ได้จ่ายจริงเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญที่ได้รับยกเว้นภาษี
4. เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
5. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ
6. เงินได้เท่าที่จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
7. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อเช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
8. เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษี
ดังนั้นจึงอาจจะสรุปได้ว่าสิทธิการซื้อการกองทุนดังกล่าวคิดจากเงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่างๆ ที่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีที่กล่าวข้างต้น แล้วจึงเหลือมาคำนวณซื้อกองทุน ๆ ละไม่เกิน 15 % และไม่เกิน 500,000 บาท
สิทธิในการซื้อ LTF/RMF ปี 2558
หลังจากประกาศเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2558 กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 257-259 กำหนดให้การซื้อหน่วยลงทุนแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟ จะได้รับการยกเว้นภาษีภายใต้เงื่อนไขว่าต้องซื้อแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟไม่เกิน 15% ของ “เงินได้ที่ต้องเสียภาษี”
ข้อความในประกาศดังกล่าว ทำให้มีการสอบถามกรมสรรพากรเพื่อความชัดเจนว่า เงินได้ที่ต้องเสียภาษี หมายถึงเงินได้ส่วนใดบ้าง โดยเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้ชี้แจงว่า หมายถึงรายได้ทุกอย่างที่ต้องเสียภาษี แต่หากเป็นรายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีจะนำมารวมในรายได้เพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณเพื่อซื้อแอลทีเอฟและอาร์เอ็มเอฟเพื่อขอลดหย่อนภาษีไม่ได้ เช่น เงินรางวัลจากการถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล เงินได้จากการรับมรดก 100 ล้านบาทแรกที่ไม่ต้องเสียภาษี รวมทั้งเงินได้จากการขายแอลทีเอฟเมื่อครบกำหนด 5 ปี แต่หากมีการขายแอลทีเอฟก่อนกำหนดและเสียค่าปรับภาษีแล้ว สามารถนำมาคำนวณได้ เป็นต้น
มีผู้พยายามอธิบายว่า ประกาศฉบับใหม่ มีผลเหมือนเดิม ไม่มีผลกระทบต่อผู้ซื้อกองทุน แค่ปรับถ้อยคำจากเงินได้เป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเท่านั้น มุ่งยกเลิก การเอากำไรจากการขาย LTF/RMF มาคำนวณเป็นสิทธิการซื้อ LTF/RMF
จริงๆแล้วจากการศึกษาข้อกฎหมาย จะเห็นว่า ลึกล้ำยอกย้อนเกินกว่าที่กรมสรรพากรจะตอบได้ขณะนี้
เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี
ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน" หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
• เงิน
• ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง
• ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน (เกณฑ์เงินสด)
• เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
• เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
เงินได้พึงประเมินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี มีอยู่หลายกรณีที่สำคัญๆ ได้แก่ การยกเว้นตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร การยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 การยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับต่างๆ เป็นต้น เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมีดังนี้
1. เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจากการขายหน่วยลงทุน คืนให้แก่กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ
2. เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับ เนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว
3. ยกเว้นเงินได้ เท่าที่ผู้มีเงินได้ จ่ายเป็น เบี้ยประกันชีวิต ในปีภาษี
เงินได้เท่าที่ได้จ่ายจริงเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญที่ได้รับยกเว้นภาษี
4. เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
5. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ
6. เงินได้เท่าที่จ่ายเป็น ค่าซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
7. เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อเช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย
8. เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษี
ดังนั้นจึงอาจจะสรุปได้ว่าสิทธิการซื้อการกองทุนดังกล่าวคิดจากเงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่างๆ ที่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีที่กล่าวข้างต้น แล้วจึงเหลือมาคำนวณซื้อกองทุน ๆ ละไม่เกิน 15 % และไม่เกิน 500,000 บาท