เปิดธรรมที่ถูกปิด เนกขัมมะเป็นความดี วิเวกเป็นความดี จิต ของเรานั้นยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ


✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋พระศาสดาตรัสสอนการฝึกจิต✽ ✾ ✿ ❀ ❁ ❃ ❋

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็อย่างไร ความพยายามจึงจะมีผล ความ เพียรจึงจะมีผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่เอาทุกข์ทับถมตนที่ไม่มีทุกข์ทับถม ๑
ไม่สละความสุขที่เกิดโดยธรรม ๑
ไม่เป็นผู้หลงในความสุขนั้น ๑

ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน...ทุติยฌาน
...ตติยฌาน... จตุตถฌาน...๑ แล้วแลอยู่. นี้ เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ
เป็นสุขเกิดแต่ความสงัดเงียบ สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบรำงับ สุขเกิดแต่ความรู้
พร้อม. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง ควรทำให้เจริญ ควรทำ
ให้มาก, ไม่ควรกลัว.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  !  ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตก
นั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย   !  คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตก
เสีย มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  !  ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่
พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  !  ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิต
ของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  !   เหมือนในสรทสมัยเดือนท้ายแห่งปี

คนเลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า เขาต้องตี ต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ
กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร?


ดูกรภิกษุทั้งหลาย !  
คนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจำ
การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  !  เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แลเห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย และ
เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย  !  เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้
เนกขัมมวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล
ก็แต่ว่าเนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียด
เบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน


ดูกรภิกษุทั้งหลาย  !  ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัย
อันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  !  ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตก
นั้นอยู่ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตก
นั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย  !  หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืน
และกลางวันก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่า
เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน
เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำ
ให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะปรารถนาไว้ว่า
จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย

.............................................................................................................................


ตปุสสคฤหบดี เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาท
แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่
พระอานนท์ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม เพลิดเพลินยินดีหมกมุ่น
อยู่ในกาม เนกขัมมะไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหล่านั้นเหมือนดังเหว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าทั้งหลายได้สดับมาดังนี้ว่า จิตของภิกษุหนุ่มๆ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่น
ไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ย่อมหลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ
เมื่อเธอ
เหล่านั้นพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล้วน
แต่เป็นวิสภาคกับชนเป็นอันมาก นั้นก็ คือ เนกขัมมะ
             ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี เหตุแห่งถ้อยคำนี้มีอยู่มาเราไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคกันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วจัก
กราบทูลเนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร เราจักกระทำ
อย่างนั้น ตปุสสคฤหบดีรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์
พร้อมด้วยตปุสสคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตปุสสคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์
ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม เพลิดเพลินยินดีหมกมุ่นอยู่ในกาม
เนกขัมมะไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหล่านั้นเหมือนดังเหว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า
ทั้งหลายได้สดับมาดังนี้ว่า จิตของพวกภิกษุหนุ่มๆ ในธรรมวินัยนี้ย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ หลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ เมื่อเธอเหล่านั้นพิจารณา
เห็นว่า นั่นสงบ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล้วนแต่เป็นวิสภาคกับชน
เป็นอันมาก นั่นก็ คือ เนกขัมมะ ดังนี้ พระเจ้าข้า ฯ


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
อานนท์

ดูกรอานนท์  !  แม้เมื่อเราเองก่อนแต่การตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่
ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เนกขัมมะเป็นความดี วิเวกเป็นความดี จิต
ของเรานั้นยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ยังไม่หลุดพ้น
ใน เพราะเนกขัมมะ เพราะเราพิจารณาเห็นว่า นี้สงบ

เรานั้นได้มีความคิดว่า
อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเรา ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น ใน เพราะเนกขัมมะ เพราะเราเห็นว่า นั่นสงบ


เรานั้นจึงคิดต่อไปว่าโทษในกามทั้งหลายที่เรายังไม่เห็น และไม่ได้กระทำให้มาก
อานิสงส์ในเนกขัมมะ เรายังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เสพโดยมาก เพราะฉะนั้น
จิตของเราจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้นในเพราะ
เนกขัมมะ เพราะเราพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ


เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าว่าเรา
เห็นโทษในกามทั้งหลายแล้ว พึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้ว
พึงเสพอานิสงส์นั้นโดยมาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราจะพึงแล่นไป
พึงเลื่อมใส พึงตั้งอยู่ในเนกขัมมะ พึงหลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ เมื่อเรา
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ


ดูกรอานนท์  !   สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในกามแล้ว
ได้กระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสพโดยมาก จิตของเรานั้นจึง
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ หลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ เพราะเรา
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ


ดูกรอานนท์ เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อเรานั้นอยู่ด้วยวิหาร
ธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเรา
เปรียบเหมือนความทุกข์ พึงบังเกิดขึ้นแก่คนผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน
ฉะนั้น ฯ
            


ดูกรอานนท์  !  เรานั้นมีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ในทุติยฌานอันไม่มี
วิตกวิจาร ไม่หลุดพ้นในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร เพื่อพิจารณาเห็นว่า
นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัย
เครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร เพราะ
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ


ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในวิตก เรา
ไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร เราไม่ได้บรรลุ
และไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป ... ในเพราะทุติยฌานอัน
ไม่มีวิตกวิจาร เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเรา
เห็นโทษในวิตกแล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร
แล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ... ดูกร
อานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นแล เห็นโทษในวิตก ... เสพโดยมาก ดูกรอานนท์
จิตของเรานั้นจึงแล่นไป ... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร ... เรานั้นบรรลุ
ทุติยฌาน ฯลฯ ดูกรอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคต
ด้วยวิตก ... ฉะนั้น ฯ


ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา เพราะล่วงเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิต
นิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า
อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่
ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะ
พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในเนวสัญญา-
*นาสัญญายตนฌาน เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิต-
*นิโรธ เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิต-
*นิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้า
แลเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุ
อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ
จิตของเราจะพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส พึงตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงหลุดพ้น
ในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์
สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วทำให้มาก บรรลุ
อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพโดยมาก ดูกรอานนท์ จิตของเรานั้นจึง
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิต-
*นิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูกรอานนท์ เรานั้นแล บรรลุสัญญา
เวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง และ
อาสวะทั้งหลายของเราได้ถึงความสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ฯ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่