พ.ร.บ.อุ้มบุญบังคับใช้ 30 ก.ค. เอาผิดครบกระบวนการ ทั้งหมอ นายหน้า หญิงจ้างท้อง สธ.เผยทำอุ้มบุญทุกรายต้องขออนุญาต กคทพ. ช่วยสกัดทำผิดกฎหมาย ย้ำคู่รักต่างชาติอุ้มบุญในไทยไม่ได้ เว้นทำกิฟต์เพื่อตั้งท้องเอง ด้านคู่รักร่วมเพศต้องรอไทยคลอด กม.แต่งงานเพศเดียวกันได้ สบส.แนะคู่รักเกย์มะกันยื่นฟ้องศาลขอเป็นผู้ปกครอง "น้องคาร์เมน" พม.รับอุ้มบุญผิด กม.กระทบภาพลักษณ์ไทยค้ามนุษย์ ระบุเด็กอุ้มบุญจากพ่อยุ่นบางรายป่วย
วันนี้ (29 ก.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 30 ก.ค. 2558 เป็นต้นไป หลังประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2558 ว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นการคุ้มครองประชาชนที่มีบุตรยากความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีช่วย รวมถึงเด็กที่จะเกิดขึ้นด้วยเทคโนโลยี เพราะมีการกำหนดข้อห้ามที่สำคัญ ได้แก่ ห้ามสามีและภรรยาที่ทำอุ้มบุญปฏิเสธรับเด็กเป็นบุตร ห้ามรับตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า ห้ามเป็นนายหน้าจัดการหรือชี้ช่องให้มีการรับตั้งครรภ์แทน ห้ามโฆษณาว่ามีหญิงรับตั้งครรภ์แทน และห้ามซื้อ เสนอซื้อ ขาย นำเข้าหรือส่งออก อสุจิ ไข่หรือตัวอ่อน โดยสถานประกอบการ แพทย์ คู่สามีภรรยา ผู้รับตั้งครรภ์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากกระทำผิดจะมีโทษทั้งจำและปรับ
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.จะมีการตั้งคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (กคทพ.) ทำหน้าที่เสนอนโยบาย ออกประกาศ พัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และพิจารณาอนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทนและควบคุมกำกับให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งคู่สามีภรรยาที่ต้องการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนทุกรายจะต้องยื่นขออนุญาตต่อ กคทพ. ตรงนี้จะช่วยป้องกันในเรื่องการอุ้มบุญผิดฎหมายได้ เพราะมีการตรวจสอบทุกราย โดยคู่สมรสที่ต้องการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนจะต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายไทย หากเป็นคนไทยสมรสกับชาวต่างชาติต้องจดทะเบียนสมรสไม่น้อยกว่า 3 ปีและมีประจักษ์พยานว่าใช้ชีวิตร่วมกันฉันท์สามีภรรยา และต้องผ่านการตรวจประเมินโดยแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามที่แพทยสภากำหนด สำหรับหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ต้องมีสัญชาติไทย ไม่ใช่พ่อแม่หรือลูกแต่จะต้องเป็นพี่น้องท้องเดียวกันของสามีหรือภรรยาผู้ที่ต้องการมีบุตร และเคยมีบุตรมาก่อนต้องได้รับความยินยอมจากสามี
“โทษของผู้ฝ่าฝืน เช่น แพทย์ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานแพทยสภา มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากกระทำเชิงการค้า รับจ้างอุ้มบุญ มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หากเป็นนายหน้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีขายอสุจิหรือไข่ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีที่มีการดำเนินการอุ้มบุญมาก่อนกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้สามารถยื่นรับรองบุตรได้” อธิบดี สบส. กล่าว
ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองอธิบดี สบส. กล่าวว่า หากสามีและภรรยาเป็นลูกคนเดียว ไม่มีพี่น้องโดยสายโลหิต พ.ร.บ.เปิดช่องให้สามารถมีการตั้งครรภ์แทนได้แต่ต้องมีหลักฐานมายืนยันชัดเจน โดยหญิงที่จะมารับตั้งครรภ์แทน คู่สามีภรรยาต้องจัดหามาเอง และต้องผ่านการพิจารณาอนุญาตจาก กคทพ.ก่อนเช่นเดียวกัน ซึ่งจะมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดทั้งอายุ การตรวจเลือด ข้อตกลง การประเมินสุขภาพจิต การยินยอมของคู่สมรส รวมถึง กระบวนการรู้จักกับหญิงที่ตั้งครรภ์แทนจนถึงเหตุผลที่รับดำเนินการด้วย ทั้งหมดนี้ต้องดำเนินการก่อนการตั้งครรภ์แทน ซึ่งจะมีการออกประกาศ สธ.บังคับใช้ต่อไป
รศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ คณะอนุกรรมการเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ กล่าวว่า พ.ร.บ.นี้อนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทนได้โดยที่คู่สมรสที่ต้องการมีบุตรต้องเป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายไทยเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันรับรองเฉพาะคู่สามีภรรยาที่เป็นหญิงกับชาย แต่หากอนาคตไทยมีกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็จะครอบคลุมด้วย ส่วนการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์โดยไม่มีการตั้งครรภ์แทนนั้น เช่น ทำกิฟต์ เด็กหลอดแก้ว คู่สมรสชาวต่างชาติสามารถเข้ามาดำเนินการได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเป็นไปได้ที่คู่รักเกย์ชาวอเมริกันและสเปนจะสามารถนำ "น้องคาร์เมน" ที่เกิดจากการอุ้มบุญไปรับเลี้ยงได้หรือไม่ นพ.ธเรศ กล่าวว่า กรณีนี้เกิดขึ้นก่อนมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีฯ ซึ่งตามกฎหมายที่มีอยู่คือ หญิงตั้งครรภ์เป็นผู้ปกครองของเด็ก แต่หากคู่รักเกย์ดังกล่าวต้องการเป็นผู้ปกครองก็ต้องยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อเรียกร้องสิทธิในการเป็นผู้ปกครองเด็ก ซึ่งศาลจะพิจารณาในเรื่องที่ว่าฝ่ายใดมีความพร้อมในการเลี้ยงดูเด็กมากกว่ากันด้วย ก็มีความเป็นไปได้ที่คู่รักเกย์อาจได้สิทธิเป็นผู้ปกครอง
เมื่อถามถึงความคืบหน้าในการดูแลเด็กอุ้มบุญที่เกิดจากพ่อชาวญี่ปุ่น นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน พม. กล่าวว่า เด็กทั้ง 13 รายอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ โดยพบว่าเด็กบางรายไม่แข็งแรงเท่าเด็กปกติ เช่น มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการคลอดก่อนกำหนด แต่ทางสถานสงเคราะห์ก็มีการดูแลอย่างดี ทั้งพยาบาล นักกายภาพบำบัด ส่วนเรื่องการรับเด็กดังกล่าวไปเลี้ยงนั้นยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากต้องรอให้การพิจารณาทางศาลสิ้นสุดเสียก่อน ซึ่งยังต้องใช้เวลา
เมื่อถามว่าที่ผ่านมาการทำอุ้มบุญผิดกฎหมายในประเทศไทย ส่งผลต่อเรื่องการค้ามนุษย์ของไทยด้วยหรือไม่ นางระรินทิพย์ กล่าวว่า อาจมีส่วนบ้าง แต่เชื่อว่าเมื่อมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีฯ ก็จะช่วยป้องกันเรื่องการซื้อขายไข่ การทำอุ้มบุญเพื่อการค้า ซึ่งถือเป็นเรื่องการค้ามนุษย์ได้
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000085774
ดีเดย์ กม.อุ้มบุญพรุ่งนี้!! เอาผิดได้ยกแก๊ง ชี้ท้องแทนต้องขออนุญาตทุกราย แนะคู่รักเกย์มะกันฟ้องศาลขอดูแล "น้องคาร์เมน"
พ.ร.บ.อุ้มบุญบังคับใช้ 30 ก.ค. เอาผิดครบกระบวนการ ทั้งหมอ นายหน้า หญิงจ้างท้อง สธ.เผยทำอุ้มบุญทุกรายต้องขออนุญาต กคทพ. ช่วยสกัดทำผิดกฎหมาย ย้ำคู่รักต่างชาติอุ้มบุญในไทยไม่ได้ เว้นทำกิฟต์เพื่อตั้งท้องเอง ด้านคู่รักร่วมเพศต้องรอไทยคลอด กม.แต่งงานเพศเดียวกันได้ สบส.แนะคู่รักเกย์มะกันยื่นฟ้องศาลขอเป็นผู้ปกครอง "น้องคาร์เมน" พม.รับอุ้มบุญผิด กม.กระทบภาพลักษณ์ไทยค้ามนุษย์ ระบุเด็กอุ้มบุญจากพ่อยุ่นบางรายป่วย
วันนี้ (29 ก.ค.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 30 ก.ค. 2558 เป็นต้นไป หลังประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2558 ว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นการคุ้มครองประชาชนที่มีบุตรยากความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีช่วย รวมถึงเด็กที่จะเกิดขึ้นด้วยเทคโนโลยี เพราะมีการกำหนดข้อห้ามที่สำคัญ ได้แก่ ห้ามสามีและภรรยาที่ทำอุ้มบุญปฏิเสธรับเด็กเป็นบุตร ห้ามรับตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า ห้ามเป็นนายหน้าจัดการหรือชี้ช่องให้มีการรับตั้งครรภ์แทน ห้ามโฆษณาว่ามีหญิงรับตั้งครรภ์แทน และห้ามซื้อ เสนอซื้อ ขาย นำเข้าหรือส่งออก อสุจิ ไข่หรือตัวอ่อน โดยสถานประกอบการ แพทย์ คู่สามีภรรยา ผู้รับตั้งครรภ์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากกระทำผิดจะมีโทษทั้งจำและปรับ
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.จะมีการตั้งคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (กคทพ.) ทำหน้าที่เสนอนโยบาย ออกประกาศ พัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และพิจารณาอนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทนและควบคุมกำกับให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งคู่สามีภรรยาที่ต้องการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนทุกรายจะต้องยื่นขออนุญาตต่อ กคทพ. ตรงนี้จะช่วยป้องกันในเรื่องการอุ้มบุญผิดฎหมายได้ เพราะมีการตรวจสอบทุกราย โดยคู่สมรสที่ต้องการให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนจะต้องจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายไทย หากเป็นคนไทยสมรสกับชาวต่างชาติต้องจดทะเบียนสมรสไม่น้อยกว่า 3 ปีและมีประจักษ์พยานว่าใช้ชีวิตร่วมกันฉันท์สามีภรรยา และต้องผ่านการตรวจประเมินโดยแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามที่แพทยสภากำหนด สำหรับหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ต้องมีสัญชาติไทย ไม่ใช่พ่อแม่หรือลูกแต่จะต้องเป็นพี่น้องท้องเดียวกันของสามีหรือภรรยาผู้ที่ต้องการมีบุตร และเคยมีบุตรมาก่อนต้องได้รับความยินยอมจากสามี
“โทษของผู้ฝ่าฝืน เช่น แพทย์ที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานแพทยสภา มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากกระทำเชิงการค้า รับจ้างอุ้มบุญ มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หากเป็นนายหน้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีขายอสุจิหรือไข่ มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีที่มีการดำเนินการอุ้มบุญมาก่อนกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้สามารถยื่นรับรองบุตรได้” อธิบดี สบส. กล่าว
ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองอธิบดี สบส. กล่าวว่า หากสามีและภรรยาเป็นลูกคนเดียว ไม่มีพี่น้องโดยสายโลหิต พ.ร.บ.เปิดช่องให้สามารถมีการตั้งครรภ์แทนได้แต่ต้องมีหลักฐานมายืนยันชัดเจน โดยหญิงที่จะมารับตั้งครรภ์แทน คู่สามีภรรยาต้องจัดหามาเอง และต้องผ่านการพิจารณาอนุญาตจาก กคทพ.ก่อนเช่นเดียวกัน ซึ่งจะมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดทั้งอายุ การตรวจเลือด ข้อตกลง การประเมินสุขภาพจิต การยินยอมของคู่สมรส รวมถึง กระบวนการรู้จักกับหญิงที่ตั้งครรภ์แทนจนถึงเหตุผลที่รับดำเนินการด้วย ทั้งหมดนี้ต้องดำเนินการก่อนการตั้งครรภ์แทน ซึ่งจะมีการออกประกาศ สธ.บังคับใช้ต่อไป
รศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ คณะอนุกรรมการเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ กล่าวว่า พ.ร.บ.นี้อนุญาตให้มีการตั้งครรภ์แทนได้โดยที่คู่สมรสที่ต้องการมีบุตรต้องเป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายไทยเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันรับรองเฉพาะคู่สามีภรรยาที่เป็นหญิงกับชาย แต่หากอนาคตไทยมีกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย พ.ร.บ.ฉบับนี้ก็จะครอบคลุมด้วย ส่วนการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์โดยไม่มีการตั้งครรภ์แทนนั้น เช่น ทำกิฟต์ เด็กหลอดแก้ว คู่สมรสชาวต่างชาติสามารถเข้ามาดำเนินการได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเป็นไปได้ที่คู่รักเกย์ชาวอเมริกันและสเปนจะสามารถนำ "น้องคาร์เมน" ที่เกิดจากการอุ้มบุญไปรับเลี้ยงได้หรือไม่ นพ.ธเรศ กล่าวว่า กรณีนี้เกิดขึ้นก่อนมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีฯ ซึ่งตามกฎหมายที่มีอยู่คือ หญิงตั้งครรภ์เป็นผู้ปกครองของเด็ก แต่หากคู่รักเกย์ดังกล่าวต้องการเป็นผู้ปกครองก็ต้องยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อเรียกร้องสิทธิในการเป็นผู้ปกครองเด็ก ซึ่งศาลจะพิจารณาในเรื่องที่ว่าฝ่ายใดมีความพร้อมในการเลี้ยงดูเด็กมากกว่ากันด้วย ก็มีความเป็นไปได้ที่คู่รักเกย์อาจได้สิทธิเป็นผู้ปกครอง
เมื่อถามถึงความคืบหน้าในการดูแลเด็กอุ้มบุญที่เกิดจากพ่อชาวญี่ปุ่น นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน พม. กล่าวว่า เด็กทั้ง 13 รายอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์ โดยพบว่าเด็กบางรายไม่แข็งแรงเท่าเด็กปกติ เช่น มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการคลอดก่อนกำหนด แต่ทางสถานสงเคราะห์ก็มีการดูแลอย่างดี ทั้งพยาบาล นักกายภาพบำบัด ส่วนเรื่องการรับเด็กดังกล่าวไปเลี้ยงนั้นยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากต้องรอให้การพิจารณาทางศาลสิ้นสุดเสียก่อน ซึ่งยังต้องใช้เวลา
เมื่อถามว่าที่ผ่านมาการทำอุ้มบุญผิดกฎหมายในประเทศไทย ส่งผลต่อเรื่องการค้ามนุษย์ของไทยด้วยหรือไม่ นางระรินทิพย์ กล่าวว่า อาจมีส่วนบ้าง แต่เชื่อว่าเมื่อมีการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีฯ ก็จะช่วยป้องกันเรื่องการซื้อขายไข่ การทำอุ้มบุญเพื่อการค้า ซึ่งถือเป็นเรื่องการค้ามนุษย์ได้
ข่าวจาก : ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000085774