อุ้มรักเกมลวง (กึ่งสาระ) : ว่าด้วย พรบ. คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ 2558 แบบย่อๆ

อุ้มรักเกมลวง ยังไม่ได้ดูละเอียด แต่ในเมื่อเป็นละครที่เกี่ยวเนื่องด้วยเทคโลโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (ART) ก็เลยอดที่จะกล่าวถึงกฎหมายตัวนึกไม่ได้ ว่าไปบังคับใช้มา 4 ปีกว่าเกือบ 5 ปีละ วันนี้จะมาว่าด้วยเงื่อนไขทางกฎหมาย ในการบังคับใช้ รวมถึงสถานะของเด็กที่เกิดรวมถึงบิดามารดา คือ โดยปกติแล้วความสัมพันธ์ว่าด้วย บิดา มารดา และ บุตร รวมถึงความเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หลัก ๆ จะตกอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) บรรพ 5 ครอบครัว 

สรุปแบบสั้น ๆ ง่าย ๆ 

การสมรส เอาสั้น ๆ ง่าย ๆ จะเป็นการสมรสที่ก่อความผูกพันเป็นสามีภรรยาก็จะมีเงื่อนไข อายุ เพศ (ชายหญิงเท่านั้น) ไม่วิกลจริต ไม่ใช่เครือญาติใกล้ชิด (สืบสายโลหิต) มีความสมัครใจ (ไม่ถูกบังคับ ไม่ถูกหลอก ไม่สำคัญผิด ฯลฯ ) และ ต้องจดทะเบียนถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น (อาจะไม่ครบถ้วนนะ เอาย่อ ๆ )

สถานะของบุตร ปกติบุตร จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอ และ จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเมื่อ เกิดระหว่างสมรส บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร หรือ มีคำพิพากษาให้เด็กเป็นบุตร ( คือ มีการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร และ ศาลพิพากษาให้รับเด็กเป็นบุตร)

ทีนี้ปัญหาที่มันเกิดขึ้นก็คือว่าพอมันมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย มันจะมีความผิดเพี้ยนเกิดขึ้นในผลตามปพพ. เช่น การอุ้มบุญ การผสมเทียม (หลอดแก้ว หรือ อื่น ๆ) ซึ่งเนื่องมาจากภาวะการเจริญพันธุ์ฝั่งใดฝั่งหนึ่งไม่ปกติ เป็นต้นว่า ไข่มาจากการบริจาค อสุจิมาจากการบริจาค หรือ กรณีมีการตั้งครรภ์แทน (ผู้ทั้งครรภ์ประสงค์อุ้มบุญให้ผู้อื่น) ถ้าเกิดจับหลักตามปพพ.ปกติ ก็เกิดผลที่ไม่เป็นไปตามหลักเท่าใด เช่น บุตรที่เกิดจากการอุ้มบุญก็จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของแม่อุ้มบุญ อย่างนี้เป็นต้น อีกประการนึงก็เกรงว่าจะเกิดการดำเนินการผิดศีลธรรม (ประเภทรับจ้างผลิตเด็กที่เคยเป็นข่าวกัน) หรือ หวังผลทางธุรกิจเกินควร ก็เลยเป็นที่มาของ พรบ. คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ 2558

สำหรับในละคร 

เพียงพันแสง - กชมน/ สิบทิศ-ปิ่นปัก เป็นลักษณะของการผสมเทียมทั้งคู่ (หากมีโอกาสจะพูดถึงการตั้งครรภ์แทนในลำดับต่อไป)

เพียงพันแสง - กชมน สำหรับคู่นี้ด้วยเจตนาจริง ๆ มันคือการ "อุ้มบุญ" พูดกันในเชิงทั่วไปไม่ใช่เชิงกฎหมาย ทางเพียงพันแสงก็คือมี "แฟน" อยู่แล้ว แต่ทั้งนี้เราก็ไม่อาจนับเป็นอย่างนั้นได้ในข้อเท็จจริง จะเห็นได้ว่าเพียงพันแสง และ กชมน มาในฐานะ "แฟน" ที่ยังไม่ได้เป็นสามี-ภรรยา ไม่ได้จดทะเบียนสมรส  ซึ่งตรงนี้ก็จะโยงมาในเงื่อนไข

ข้อแรก กฎหมายอนุญาตให้ผสมเทียม "ต่อหญิงที่มีสามีชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น (ว่าง่าย ๆ ก็คือ คู่สมรสแหละที่จะดำเนินการได้) " แต่สามารถใช้อสุจิของผู้บริจาคโดยความยินยอมเป็นหนังสือจากสามี และ ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์ให้มีการผสมเทียม (มาตรา 19) จริง ๆ ก็คือเป็นไข่และอสุจิของคู่สามีภรรยาได้แต่ดำเนินการภายนอกไม่ใช่วิธีธรรมชาติแล้วค่อยฝังตัวอ่อน ส่วนกรณีมีภาวะฝั่งชาย หรือ ฝั่งหญิงก็อนุญาตให้ขอบริจาคได้

ทีนี้ก็เท่ากับว่าเพียงพันแสง - กชมน จะต้องไปจดทะเบียนสมรสเสียก่อน (หากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้กระทำการผสมเทียมให้โดยฝ่าฝืนกฎหมายจะถือว่าฝ่าฝืนจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม มีโทษหนักอยู่ตามสมควร) ซึ่งในข้อนี้ไม่ได้เป็นปัญหาระหว่างสิบทิศ-ปิ่นปัก ซึ่งเป็นสามี-ภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว

ข้อสอง  สำหรับเราเองเพื่อให้จำง่ายเรียกว่ากฎ half-half คือ อย่างไรเสียเด็กจะต้องมีส่วนผสมพันธุกรรมของคู่สมรสอยู่กึ่งหนึ่งเสมอ ไม่ฝั่งหญิงก็ฝั่งชาย คือ ถ้าเกิดว่าปัญหามาจากฝั่งชาย (อสุจิ) ก็ต้องใช้ของผู้บริจาค ถ้าเป็นกรณีฝั่งหญิงตั้งครรภ์เองได้ แต่มีปัญหาเรื่องไข่ ก็ใช้ของผู้รับบริจาค ดำเนินการตามกรรมวิธีแล้วฝั่งตัวอ่อน (ถ้ามีเหตุในเรื่องการตั้งครรภ์แทนไม่ได้ ต้องไปว่ากันเรื่องการตั้งครรภ์แทน)

ผลทางกฎหมายจะมีอยู่ว่า

ชาย หรือ หญิงซึ่งเป็นผู้บริจาคอสุจิ หรือ ไข่ หรือ ตัวอ่อน และ เด็กที่เกิดการกรรมวิธีดังกล่าว ไม่มีสิทธิหน้าที่ระหว่างกันตามปพพ. ว่าด้วยครอบครัว รวมถึงมรดกด้วย หมายความว่า ถึงจะไปถึงไข่ อสุจิ จากผู้ใดมาก็แล้วแต่ เด็กที่เกิดก็เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี-ภริยาที่จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องนั่นแหละ

ประเด็นปัญหาเมื่อไม่มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมาย

สมมติว่าดำเนินการด้วยวิธี ART ไปแล้วแต่ไม่ใช่คู่สมรสตามกฎหมายผลจะเป็นอย่างไร เช่น เพียงพันแสง -  กชมน ไม่ได้เป็นคู่สมรสกัน กล่าวง่าย ๆ ผลก็จะกลับไปบังคับตามปพพ. เด็กจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของกชมนเพียงผู้เดียว (มารดา) ส่วนเพียงพันแสงหากจะประสงค์จะรับเด็กเป็นบุตรก็คงต้องดำเนินการจดทะเบียนรับรองบุตรได้ (พิสูน์ความสัมพันธ์กันในศาลเอา) แต่ถ้าเคสนี้เป็นอสุจิของผู้บริจาค เด็กจะไม่มีสถานะบูตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และ เปลี่ยนสถานะไม่ได้ (จะรับรองโดยพฤตินัยก็ไม่ได้ เพราะ รับรองโดยพฤตินัยต้องมีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต)

โอ้เห็น comment ลืมเลย ที่มันเป็นเรื่องขึ้นมา เพราะ มันดันสลับกัน (น่าจะเป็นฝีมือของเอมี่ ? ไหม ?)

เป็นกรณีฝังตัวอ่อนผิด ? หรือ sperm ผิดฝั่งแล้วนะ ไม่แน่ใจ 

1. ผสมแล้วไปฝังผิดที่ (คือ ไข่จากเกี้ยว sperm จากเจ๊เพียง ไปอยู่ที่ปิ่น ไข่จากปิ่น sperm จาก สิบทิศ ไปอยู่ที่เกี้ยว) หรือ
2 ผสมผิดตัวไปเลย ไข่เกี้ยว + sperm สิบทิศ อยู่กับเกี้ยว ไข่ปื่น + sperm เจ้เพียง ไปอยู่ที่ปิ่น

กึ่งสาระเบื้องต้นแต่เพียงเท่านี้ก่อน (มีความสงสัยอยู่นิดนึงเหมือนกันว่า ถ้ามีการสมรสระหว่างเพียงพันแสง และ กชมน หากมีจุดประสงค์ แค่ผสมเทียมจะมีผลอะไรถึงความสมบูรณ์ของการสมรสไหม แต่คิดไปคิดมาอีกทีอาจจะไม่ เพราะ มูลเหตุชักจูงใจว่าแต่งงานทำไมไม่ได้สำคัญ เว้นแต่ เจตนาเข้าทำนิติกรรมมันจะบกพร่องจริง ๆ เช่น ไม่สมัครใจ สำคัญผิดในตัวบุคคล (จะแต่งผิดคนเข้าใจว่าเป็นคนอื่นงี้) ก็อาจนำไปสู่ความไม่สมบูรณ์ของการสมรสได้)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่