(ลูกถาม)พระเวสสันดรชาดก..เอาลูกเมียให้คนอื่นไป..มันเป็นความดีตรงไหนครับ?

กระทู้คำถาม
เรื่อง พระเวสสันดรชาดกนี่ผมไม่เข้าใจจริงๆครับ..ยกลูกเมียให้เค้าไปแล้วมันได้บุญกุศลตรงไหนครับ?
พอลูกถามนี่ผมถึงกับอึ้งครับ..คือก็ตอบเค้าไปว่า"ถ้าเป็นปาป๊านะ..ไม่มีทางให้หรอก แถมเตะมันปากแตกไปแล้ว"
..ชาดกนี้มันสอนอะไรเราครับ?
..รึสอนว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแล้ว เราย่อมทำได้ทุกอย่าง !!

ปล. ขออนุญาติ Tag หว้ากอด้วยนะครับ (ผมชอบการมองโลกแบบมีเหตุผลของคนในห้องนี้ครับ)
และขอ Tag เฉลิมไทย นะครับ(คนห้องนี้น่ารักครับ)
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
เรื่องแนว ๆ นี้  ผมคิดว่าควรหยุดนำมาสอนเยาวชนยุคปัจจุบันได้แล้ว

เพราะขาด common sense ไปอย่างมากมาย  หากเด็กที่ฉลาดก็จะมองเรื่องนี้เป็นเรื่องตลกไปทันที
และเรื่องนี้  ก็ไม่ได้สื่อถึงความสุข ความอิ่มเอิบที่เกิดจาก การให้ แต่อย่างใด  เพราะความสุขจากการให้ นั้น
มันต้องเกิดจากความพอดีด้วย  ต้องเป็นการให้โดยที่เราไม่เดือดร้อน  อย่างลูก จขกท.กล่าวมานั้น  ผมชื่นชมนะครับ
ตามความคิดผม  จขกท.ควรสอนลูกไปเลยว่า  นิทานชาดกสมัยเก่าก่อนแบบนี้  ไม่มีประโยชน์ และ สิ่งสอนใจอะไรแล้ว  
ให้ลูกไปสนใจสิ่งที่ครูสอนในวิชาสังคม - สปช. ยุคปัจจุบันดีกว่าครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 41
ในมุมมองของคนธรรมดามันก็ย่อมรักย่อมห่วงเป็นเป็นธรรมดาครับ

ขนาดว่าเงินทองเรา เราก็รักก็หวง ไม่อยากให้ใครมาลักวิ่งชิงปล้น หรือจะยกให้คนอื่นแบบไม่มีอะไรแลกเปลี่ยน ก็ทำใจยาก

ที่นี้มาถึงการกระทำของพระโพธิสัตว์ ท่านมองไปที่เป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายของท่านคือพระโพธิญาณ
เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า นี่ท่านหนักแน่นตรงนี้ ซึ่งการได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น มีคุณใหญ่
นั่นก็หมายถึงว่ามันมีประโยชน์มาก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ผู้คนจำนวนหนึ่ง ซึ่งมากพอสมควร
เมื่อได้ฟังธรรมจะได้พ้นทุกข์ พ้นจากความเกิดแก่เจ็บตาย พ้นจากสภาพที่เป็นอยู่อันแสนน่าเบื่อ
เมื่อคนพ้นทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจก็จะไม่เกิด ความแก่งแย่งชิงดี การต้องเกิดตายในวัฏสงสารก็จะไม่มี
นี่คือ ท่านมองไปที่เป้าหมายอันนี้ และท่านก็หนักแน่นในเป้าหมายของท่าน คือการได้มาเป็นพระพุทธเจ้า

ทีนี้มาที่การบริจาคลูกเมีย มันเป็นหนึ่งในวิธีการพิสูจน์ อารมณ์ของพระเวสสันดรไม่ต่างจากอารมณ์ของคนธรรมดาเลย
รักลูก รักเมีย มันรักแสนรัก หวงแสนหวง แล้วถ้าไม่ทำล่ะ ไม่บริจาค เพราะความห่วงหาอาลัยนี่แหละจะเป็นห่วงดักคอ
ไม่ให้พระเวสสันดรเป็นพระพุทธเจ้า ฉะนั้นตอนที่ท่านบริจาค ท่านจึงได้บอกกับลูกและเมียว่า ที่ท่านจำใจต้องทำแบบนี้
เพราะรักในพระโพธิญาณของท่านมาก ขอให้ลูกและเมียได้เข้าใจ เมียและลูก ท่านก็รัก แต่พระโพธิญาณมันสำคัญกว่า
ซึ่งเมียท่านก็เข้าใจว่าท่านตั้งใจหนักแน่นมาก ส่วนลูกอาจจะด้วยยังเด็กเล็กมาก ก็ตามประสาเด็ก แต่เพื่อโพธิญาณของพ่อ
ก็ต้องทำแบบนั้น การสละลูกเมีย จึงเป็นเหมือนการพิสูจน์ใจกันไปข้างหนึ่งเลยว่า จะเอายังไงกันแน่
จะเอาพระโพธิญาณ หรือจะจมอยู่ในวัฏฏสงสารต่อ ถ้าเอาโพธิญาณ ถึงชาตินี้จะต้องเสียใจเพราะเขามาขอสิ่งที่เรารัก
แต่ชาติต่อไป เราจะได้เจอสิ่งที่เรารักและเราหวัง แต่ถ้าจะอยู่กับลูกกับเมีย พระโพธิญาณก็จะไม่ได้
นี่อารมณ์เป็นแบบนี้ เป็นการวัดใจกันไปเลย วัดใจพระโพธิสัตว์ ว่าจะเลือกทางไหนกันแน่
ลูกเมียก็รัก พระโพธิญาณก็สำคัญ

การจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งๆ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ บางคนปรารถนามาพร้อมกัน ปรารถนามาแสนคน
ระหว่างทางมันต้องมีการพิสูจน์ใจกัน ตั้งแต่เล็กๆน้อยๆ ระดับกลางๆ จนถึงระดับสูงสุด และเวลาในการพิสูจน์
ไม่ใช่สั้นๆ ต้องวนเวียนทำอยู่เรื่อย จนกว่าบารมีจะเต็ม บางคนก็ท้อลาพุทธภูมิไปก่อน บางคนก็ไปต่อ
จนถึงที่สุดจริงๆ ตั้งใจแสนคน ล้านคน ก็อาจจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแค่องค์เดียว หรือไม่กี่คน
ส่วนคนที่ไปไม่ถึงก็เป็นสาวกภูมิของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งไป นี่จึงเรียกว่าน้ำใจของท่านยิ่งใหญ่มาก
ลูกเมียเป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นธรรมดาที่มนุษย์ทุกคนย่อมจะรักจะหวงแหน แต่การรักลูกรักเมีย มันก็ยังต้องเวียนตายเวียนเกิด
เกิดแล้วตายจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ถ้าตัดใจ มองไปที่เป้าใหญ่ ลูกเมียท่านก็เข้าใจ เอ้าละ มาช่วยกัน
ชาตินี้ถ้ามันทุกข์ ก็ขอให้ทุกข์ไป ชาติหน้าเราจะต้องไม่เจอแบบนี้อีก เราจะต้องไม่มาเสียใจรำพัน เราไม่ต้องมาจมปลักกับวัฏฏสงสาร
ที่หาจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดไม่ได้ ไม่ต้องมาทุกข์กายทุกข์ใจเพราะความพลัดพรากกันอีก เอาให้เด็ดขาดกันไปเลย
ลูกเมียเข้าใจท่าน ท่านเองก็หนักแน่นใจเป้าหมาย จึงเป็นแบบนั้น

จริงๆมีเหตุการณ์พิสูจน์ใจพระโพธิสัตว์เยอะมาก พออ่านเจอแล้วจะทึ่งว่าท่านทำได้ไง หรืออาจจะงงกับความคิดของท่านว่าทำไปทำไม
เพราะอะไร ที่ทำให้คนคนหนึ่งบ้าระห่ำทำถึงขนาดนั้นล่ะ เพราะอะไรที่ทำให้เขาดำเนินหนทางแบบนั้น
แล้วหนทางที่เขาดำเนินอ่ะ มันมีดีอะไร มันเกิดประโยชน์อะไร มันเกิดประโยชน์แก่เขาคนเดียวหรือเกิดประโยชน์กับคนอื่นด้วย
ความคิดเห็นที่ 17
คืดในแง่บวก โลกสวยงามฟรุ้งฟริ้งนะ เค้าแต่งเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่าอะไรที่ไม่ดีไม่มีเหตุผล ไม่ควรเลียนแบบ ไม่ควรทำตาม ซึ่งก็ได้ผล ลูกที่มีปัญญาของจขกทอ่านแล้วก็ได้คิด สอนไปเลยว่าการกระทำโง่ๆไม่มีเหตุผลอย่าได้ไปทำตามเด็ดขาด ปล่อยให้พวกคนโง่บ้าบุญศรัทธาต่อไปเถิด เพราะพวกนี้ไม้แก่แล้วดัดยาก สอนอะไรก็ไม่เข้าหัวแล้ว อย่าไปส่งต่อความเชื่องมงายให้กับรุ่นลูกหลานเลย เดี๋ยวจะเป็นแบบพวกนี้

แต่ถ้ามาอ่านเอาเรื่องๆแล้ว นิทานเรื่องนี้คนแต่งต้องการสื่อให้เห็นถึงความเพียรพยามยามในการทำทานแม้กระทั่งลูกเมียก็ยังสละได้ เอาแค่นี้พอ นิทานเป็นแค่สิ่งที่ทำให้คนโง่เห็นภาพได้เท่านั้น คนมีปัญญาก็ก้าวข้ามเรื่องพวกนี้ไปได้เลย เอาแค่แก่นของเรื่องที่ต้องการสื่อก็พอ จะเห็นได้ว่าพวกคนโง่จะอินถึงขนาดเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง สัตว์พูดได้ คนพูดกับสัตว์ได้ คนเหาะได้ ฯลฯ อย่าปล่อยให้ลูกเป็นแบบนี้นะครับ
ความคิดเห็นที่ 10
..คัดลอกมาจาก บางส่วน ของ ทศชาติชาดก พระเวทสันดรชาดกค่ะ..

     เมื่อพระกุมารเวสสันดรทรงเจริญวัยขึ้น ทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในการบริจาคทาน มักขอพระราชทานทรัพย์จากพระบิดามารดา เพื่อบริจาคแก่ประชาชนอยู่เป็นนิตย์ ทรงขอให้พระบิดาตั้งโรงทานสี่มุมเมือง เพื่อบริจาคข้าวปลาอาหารและสิ่งของจำเป็น แก่ประชาชน และหากมีผู้มาทูลขอสิ่งหนึ่ง สิ่งใด พระองค์ก็จะทรงบริจาคให้โดยมิได้เสียดาย ด้วยทรงเห็นว่า การบริจาคนั้นเป็นกุศลเป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ทั้งแก่ผู้รับและผู้ให้ ผู้รับก็จะพ้นความเดือดร้อน ผู้ให้ก็จะอิ่มเอิบเป็นสุขใจที่ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และยังทำให้พ้นจากความโลภความตระหนี่ถี่เหนียวในทรัพย์สมบัติของตนอีกด้วย พระเกียรติคุณของพระเวสสันดรเลื่องลือไปทั่วทุกทิศว่าทรงมีจิตเมตตาแก่ผู้อื่นมิได้ ทรงเห็นแก่ความสุขสบายหรือเห็นแก่ทรัพย์สมบัติส่วนพระองค์ มิได้ทรงหวงแหนสิ่งใด ไว้สำหรับพระองค์

     พระเวสสันดร ก็ทรงปิติยินดีที่จะได้ประกอบทารทาน คือ การบริจาคภรรยาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น พระนางมัทรีก็ทรงเต็มพระทัยที่จะได้ทรงมีส่วนในการ บำเพ็ญทานบารมีตามที่พระเวสสันดรทรงตั้งพระทัยไว้

     เมื่อได้รับบริจาคแล้ว ท้าวสักกะก็ทรงกลับคืนร่างดังเดิม และตรัสสรรเสริญอนุโมทนาในกุศลแห่งทานบารมีของพระเวสสันดร แล้วถวายพระนางมัทรีกลับคืนแด่พระเวสสันดร พระเวสสันดรจึงได้ทรงประกอบบุตรทารทาน อันยากที่ผู้ใดจะกระทำได้ สมดังที่ได้ตั้งพระทัย ว่าจะบริจาคทรัพย์ของพระองค์เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยปราศจากความหวงแหนเสียดาย

     ฝ่ายชูชกพาสองกุมารเดินทางมาในป่า ระหกระเหินได้รับความลำบากเป็นอันมาก และหลงทางไปจนถึงเมืองสีพี บังเอิญผ่านไปหน้าที่ประทับพระเจ้าสญชัยทรงทอด พระเนตรเห็นพระนัดดาทั้งสองก็ทรงจำได้ จึงให้เสนาไปพาเข้ามาเฝ้า ชูชกทูลว่า พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชาลีกัณหาให้เป็นข้าทาสของตนแล้ว บรรดาเสนาอำมาตย์และประชาชนทั้งหลาย ต่างก็พากันสงสารพระกุมารทั้งสอง และ ตำหนิพระเวสสันดรที่มิได้ทรงห่วงใยพระโอรสธิดา

     พระชาลีเห็นผู้อื่นพากันตำหนิติเตียนพระบิดาจึงทรงกล่าวว่า
     "เมื่อพระบิดาเสด็จไปผนวชอยู่ในป่า มิได้ทรงมีสมบัติใดติดพระองค์ไป แต่ทรงมีพระทัยแน่วแน่ที่จะสละกิเลส ไม่หลงใหลหวงแหนในสมบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด แม้บุคคลอันเป็นที่รักก็ย่อมสละได้เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพราะทรงมีพระทัยมั่นในพระโพธิญาณในภายหน้า ความรัก ความหลง ความโลภ ความโกรธ เป็นกิเลสที่ขวางกั้นหนทางไปสู่พระโพธิญาณ พระบิดาของหม่อมฉันสละกิเลสได้ดังนี้ จะมาตำหนิติเตียนพระองค์หาควรไม่"

ครั้นได้เป็นพระราชาแห่งสีพี พระเวสสันดรก็ทรงยึดมั่นในการประกอบทานบารมี ทรงตั้งโรงทานบริจาคเป็นประจำทุกวัน ชาวเมืองสีพีตลอดจนบ้านเมืองใกล้เคียง ก็ได้รับพระเมตตากรุณา มีความร่มเย็นเป็นสุข ชาวเมืองต่างก็เอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน มิได้โลภ กระหายในทรัพย์สมบัติ ต่างก็มีจิตใจผ่องใสเป็นสุข เหมือนดังที่พระเวสสันดรทรงตั้งพระปณิธานว่า พระองค์จะทรงบริจาคทรัพย์สมบัติทั้งปวง เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ด้วยทรัพย์ทั้งหลาย ทำให้เกิดกิเลส คือ ความโลภ ความหลงหวงแหน เมื่อบริจาคทรัพย์แล้ว ผู้รับก็จะได้ประโยชน์จากสิ่งนั้น และมีความชื่นชม ยินดี ผู้ให้ก็จะ อิ่มเอมใจว่าได้ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เกิดความปิติยินดีเช่นกัน ทั้งผู้ให้และผู้รับย่อมได้รับ ความสุขความพึงพอใจดังนี้
ความคิดเห็นที่ 9
ตอนเรียน ชั้น 2 (สุงอยู่)
อาจารย์ บอกว่า เรื่องนี้ ต้อง ดูที่ ยุคสมัย  สภาพสังคมประเพณีขนบธรรมเนียม ของเขาด้วย
--------------------------------------
เรื่องนี้ เป็นเรื่อง ของ การ"ออกบวช" เป็นหลัก ซึ่ง การจะออกบวชได้นั้น ต้อง "สละ"ทุกอย่าง

แล้ว ก็ ต้อง อย่างไรหละ ถึง จะเรียกได้ว่า สละแล้วทุกสิ่งอย่าง  

แค่ อยู่ ห่างๆ ก็ถือว่า สละแล้วหรือเปล่า

มันต้อง ไม่เป็นของเราแล้ว มันเป็นของคนอื่นแล้ว แบบนั้น ถึงจะเรียกได้ว่า "มันไม่ใช่ของเราแล้ว"

แต่ เรื่องนี้ เป็น เรื่อง ของการออกบวช ออกจากสังคม"กามคุณ" เป็นหลัก

ผม จึง เห็นด้วยว่า ไม่ควร นำมาสอน ให้กับเด็ก
เพราะ จะไม่สามารถ อธิบายเป็นเหตุผล ที่ทำให้เขา ศรัทธา ได้
มันต้อง อยุ่ใน "จุด" ที่พร้อมที่จะรับฟัง อย่างมีเหตุผลแล้ว ถึง จะนำมาสอนได้ ครับ
ความคิดเห็นที่ 43
ผมคงจะตอบลูกไปว่า
คนเราเกิดมาก็ทุกข์ มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย มีทุกข์กันตั้งแต่เกิด
พระพุทธเจ้าท่านค้นหาทางที่จะไม่ต้องทุกข์ ไม่ต้องเกิดอีก
ซึ่งคือการที่เราระลึกได้ว่าตัวเราไม่มีจริง โลกเราไม่มีจริง ไม่ยึดติดกับสิ่งใด จึงเข้าสู่นิพพานไม่มาเกิดอีก
การบริจาคทานช่วยให้เราไม่ยึดติด กับสิ่งต่าง ๆ ทำให้เราไปนิพพานได้ง่ายขึ้น
ภรรยา กับลูก ที่พระพุทธเจ้าท่านบริจาคทาน ท่านก็ได้ขอภรรยากับลูกให้ร่วมทำบุญด้วยกันแล้ว
ซึ่งด้วยบุญของภรรยากับลูกที่ร่วมกันทำ ท่านลำบากได้ไม่นานก็มีคนมาช่วยเหลือ
ส่วนชูชกที่สร้างความลำบากให้ผู้อื่น และโลภไม่ประมาณตน ก็ต้องแพ้ภัยตัวเองจนตายด้วยความโลภ

การให้ทานละสิ่งต่าง ๆ เป็นสิ่งดี การโลภเห็นแก่ตัวเป็นสิ่งไม่ดี
ที่ลูกกับภรรยาลำบากไม่ใช่เพราะการให้ทาน
แต่เป็นความโลภและเห็นแก่ตัวจากชูชกครับ
ถ้าภรรยา กับลูก ไปอยู่กับเศรษฐีใจดี แทนมาลำบากอยู่ป่า
ท่านจะคิดว่าพระเวสสันดรเป็นคนไม่ดี ทิ้งลูกทิ้งเมียให้ไปลำบากไหมครับ

ส่วนใหญ่ผมก็อธิบายลูกประมาณนี้ตั้งแต่ 6 ขวบ จนตอนนี้ 10 ขวบแล้ว
ล่าสุดปิดประตูรถโดนนิ้ว เดินดิ้นพลาด ๆ วนไปวนมาเจ็บอยู่นิ่งไม่ได้
บอกเค้าไปว่ากายมันไม่ใช่ของเรา สมองมันรับรู้จากเส้นประสาทมาส่งให้เราอีกที
จะเจ็บมาก เจ็บน้อย อยู่ที่เรารับข้อมูลจากสมองแล้วคิดต่ออีกที
ถ้าไม่อยากเจ็บ ก็ไม่ต้องคิดต่อ หรือไม่ก็สนใจข้อมูลอื่นในสมองแทน
เค้าก็นั่งลงนิ่ง ๆ ขอให้เปิดหนังให้ดู จะได้ลืมความเจ็บไป
พอดูหนังเพลิน ๆ ไม่เจ็บ ผมก็แหย่ลูกไปว่าไม่เจ็บนิ้วแล้วเหรอ
เค้าก็บอกว่า ป่าป๊าพูดทำไมเนี่ย เลยจำได้เลยว่าเจ็บ

ถ้าปัญหาใดตอบไม่ได้ ก็ยอมรับกับลูกไปก็ได้ครับ ว่าเราไม่เข้าใจเหมือนกัน
บางครั้งลูกไปหาคำตอบมา เราอาจจะได้ความรู้จากลูกเราเพิ่มก็ได้ครับ

ปล. ขอให้จขกท.เจริญในธรรมครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่