เมื่อวันก่อนเห็น Infographic
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ที่มา : https://www.facebook.com/khaosod/ แชร์มาเกี่ยวกับเรื่องของปลาทับทิม ทำให้สงสัยว่า ทำไมตอนชีวิตวัยเด็กไม่เห็นเคยได้ยินชื่อปลาชนิดนี้มาก่อนเลย เลยทำให้อยากรู้ข้อมูลถึงประวัติความเป็นมาของปลาชนิดนี้ พออ่านข้อมูลความเป็นมาของปลาทับทิมแล้ว เห็นว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ จึงนำมาเผยแพร่ข้อมูลให้เพื่อนๆ
แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า "ปลาทับทิม" นั้นไม่ใช่ปลาพื้นถิ่นของประเทศไทย ไม่มีต้นกำเนิดสายพันธุ์ที่หาพบได้ตามธรรมชาติของประเทศไทยเลย แต่เป็นการคัดเลือกสายพันธุ์ปลานิลในหลายๆ ประเทศมาผสม และพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์จนได้ออกมาเป็นปลาทับทิมในปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของปลาทับทิม เริ่มมาจากปลานิล
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ความเป็นมาของปลานิลในประเทศไทย : ปลานิล เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี สามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืด และน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน, ยูกันดา และทะเลสาบแทนกันยีกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อภายในสวนจิตรลดา ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และพระราชทานชื่อว่า “ปลานิลจิตรลดา” ซึ่งผลการทดลองปรากฏว่าปลาที่ทดลองเลี้ยงเจริญเติบโต และแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า ปลานิล ที่มีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม และเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2509 ทรงพระราชทานพันธุ์ปลาจำนวนหนึ่งแก่กรมประมง เพื่อนำไปขยายพันธุ์ และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่างๆ มีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง และสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ต่อมาในปีพ.ศ.2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแนวพระราชดำริแก่ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้พัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิล เนื่องจากขณะนั้นกระแสความนิยมบริโภคเนื้อปลาเพื่อรักษาสุขภาพมีมากขึ้น แต่ปลาทะเลกลับลดปริมาณลงเรื่อยๆ กลุ่มธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซีพีเอฟ จึงได้เริ่มวาง โครงการพัฒนาสายพันธุ์ปลา ด้วยการนำปลานิลจิตรลดาพระราชทาน มาเป็นต้นตระกูลเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ตามแนวพระราชดำริ โดยคัดเลือกสายพันธุ์ปลานิล ทั้งจากอเมริกา อิสราเอล และไต้หวัน ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเด่นมากในด้านต่างๆ
ปลานิลอเมริกา - เป็นปลาสีแดงสวย และทนต่อความเค็มของน้ำ
ปลานิลอิสราเอง - เป็นปลาที่เลี้ยงในความหนาแน่นสุงได้
ปลานิลไต้หวัน - เจริญเติบโตเร็ว
ด้วยการใช้วิธีการตามธรรมชาติ โดยนำปลานิลต่างสายพันธุ์มาผสม และพัฒนาปรับปรุงสายพันธ์ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น แล้วจึงได้คัดเลือกลักษณะเด่นต่างๆ จนกระทั่งสามารถได้ปลาเนื้อพันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะภายนอกโดดเด่น คือ สีของเกล็ด และตัวปลาที่มีสีขาวอมแดงเรื่อๆ ถึงสีแดงอมชมพู คล้ายทับทิม โดยเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามปลาชนิดใหม่นี้ว่า “ปลาทับทิม” ที่สำคัญยังมีลักษณะเด่นที่ความอดทนสามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อย (ทั้งปลาทับทิม และปลานิลถูกเรียกว่าเป็นปลา 2 น้ำ) เนื้อแน่น มีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา
ด้วยข้อดีด้านคุณค่าทางโภชนาการ มีปริมาณเนื้อมาก และมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วในระยะเวลาเพียง 4-5 เดือน ทางกรมประมงจึงส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลาทับทิมเป็นอาชีพในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใสสะอาด ปราศจากมลภาวะ ไม่มีการใช้ยา และสารเคมีที่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในตัวปลา และได้วางมาตรฐานการปฏิบัติทางการประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ (Good Aquaculture Practice : GAP) ที่เป็นเหมือนเครื่องหมายยืนยันคุณภาพของสินค้า ซึ่งจะทำให้ปลาที่เลี้ยงออกมามีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ทำให้ปลาทั้ง 2 ชนิด (ปลานิล และปลาทับทิม) ถูกเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยจนกลายเป็น “ปลาเศรษฐกิจ” อยู่ในปัจจุบันนี้
ที่มา : ปลานิล wikipedia และ ย้อนรอยที่มา “ปลาทับทิม” โปรตีนคุณภาพ สร้างอาชีพเกษตรกรไทย โดย ไทยรัฐออนไลน์
"ปลาทับทิม" มีที่มาที่ไปมากกว่าที่คุณคิด ...
แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า "ปลาทับทิม" นั้นไม่ใช่ปลาพื้นถิ่นของประเทศไทย ไม่มีต้นกำเนิดสายพันธุ์ที่หาพบได้ตามธรรมชาติของประเทศไทยเลย แต่เป็นการคัดเลือกสายพันธุ์ปลานิลในหลายๆ ประเทศมาผสม และพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์จนได้ออกมาเป็นปลาทับทิมในปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของปลาทับทิม เริ่มมาจากปลานิล [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ มีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลง และสัตว์น้ำเล็ก ๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ต่อมาในปีพ.ศ.2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแนวพระราชดำริแก่ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้พัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิล เนื่องจากขณะนั้นกระแสความนิยมบริโภคเนื้อปลาเพื่อรักษาสุขภาพมีมากขึ้น แต่ปลาทะเลกลับลดปริมาณลงเรื่อยๆ กลุ่มธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซีพีเอฟ จึงได้เริ่มวาง โครงการพัฒนาสายพันธุ์ปลา ด้วยการนำปลานิลจิตรลดาพระราชทาน มาเป็นต้นตระกูลเพื่อพัฒนาสายพันธุ์ตามแนวพระราชดำริ โดยคัดเลือกสายพันธุ์ปลานิล ทั้งจากอเมริกา อิสราเอล และไต้หวัน ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะเด่นมากในด้านต่างๆ
ปลานิลอเมริกา - เป็นปลาสีแดงสวย และทนต่อความเค็มของน้ำ
ปลานิลอิสราเอง - เป็นปลาที่เลี้ยงในความหนาแน่นสุงได้
ปลานิลไต้หวัน - เจริญเติบโตเร็ว
ด้วยการใช้วิธีการตามธรรมชาติ โดยนำปลานิลต่างสายพันธุ์มาผสม และพัฒนาปรับปรุงสายพันธ์ให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น แล้วจึงได้คัดเลือกลักษณะเด่นต่างๆ จนกระทั่งสามารถได้ปลาเนื้อพันธุ์ใหม่ ที่มีลักษณะภายนอกโดดเด่น คือ สีของเกล็ด และตัวปลาที่มีสีขาวอมแดงเรื่อๆ ถึงสีแดงอมชมพู คล้ายทับทิม โดยเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนามปลาชนิดใหม่นี้ว่า “ปลาทับทิม” ที่สำคัญยังมีลักษณะเด่นที่ความอดทนสามารถเลี้ยงได้ดีในน้ำกร่อย (ทั้งปลาทับทิม และปลานิลถูกเรียกว่าเป็นปลา 2 น้ำ) เนื้อแน่น มีรสชาติอร่อยกว่าปลานิลธรรมดา
ด้วยข้อดีด้านคุณค่าทางโภชนาการ มีปริมาณเนื้อมาก และมีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็วในระยะเวลาเพียง 4-5 เดือน ทางกรมประมงจึงส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลาทับทิมเป็นอาชีพในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใสสะอาด ปราศจากมลภาวะ ไม่มีการใช้ยา และสารเคมีที่ทำให้เกิดสารพิษตกค้างในตัวปลา และได้วางมาตรฐานการปฏิบัติทางการประมงที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ (Good Aquaculture Practice : GAP) ที่เป็นเหมือนเครื่องหมายยืนยันคุณภาพของสินค้า ซึ่งจะทำให้ปลาที่เลี้ยงออกมามีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ทำให้ปลาทั้ง 2 ชนิด (ปลานิล และปลาทับทิม) ถูกเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทยจนกลายเป็น “ปลาเศรษฐกิจ” อยู่ในปัจจุบันนี้
ที่มา : ปลานิล wikipedia และ ย้อนรอยที่มา “ปลาทับทิม” โปรตีนคุณภาพ สร้างอาชีพเกษตรกรไทย โดย ไทยรัฐออนไลน์