พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ครม.เห็นชอบการลงนามในร่างความตกลงในการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครง สร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank) หรือ เอไอไอบี (AIIB) และอนุมัติงบประมาณสำหรับการลงทุนในการจัดตั้ง AIIB ในส่วนของไทยตามสัดส่วนขนาดเศรษฐกิจตามข้อเสนอของคณะทำงานระหว่างประเทศ โดยเป็นเงินลงทุนที่ต้องชำระทั้งหมดประมาณ 285.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 9,750 ล้านบาท แบ่งชำระออกเป็น 5 งวด ในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2563 คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณงวดละ 1,950 ล้านบาท โดยการชำระงวดแรกจะเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ทั้งนี้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ทัน จะขอเบิกจ่ายจากเงินงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ทั้งนี้ ร่างความตกลงในการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย สาระสำคัญ มี 3 ส่วน ได้แก่ 1.ร่างความตกลงหลัก ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ บทบาท และสมาชิกภาพ เงินทุน การดำเนินการของธนนาคาร การเงินของธนาคาร ธรรมาภิบาล ข้อกำหนดทั่วไป การถอนและการพักสมาชิกภาพการพักและการหยุดการดำเนินการของธนาคาร สถานะการคุ้มกัน เอกสิทธิ์และการยกเว้น การแก้ไข การตีความและอนุญาโตตุลาการและข้อกำหนดสุดท้าย
2.สัดส่วนการลงเงินขิงสมาชิกผู้ก่อตั้งทั้งหมด 57 ประเทศ โดยเป็นตัวเลขสัดส่วนการลงเงินเบื้องต้น ซึ่งจะไม่มีผลผูกพันจนกว่าประเทศสมาชิกจะมีการให้สัตยาบันต่อร่างความตกลง ฯ เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ โดยมีรายละเอียกดังนี้ 1.ทุนจดทะเบียน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ 2.สมาชิกผู้ก่อตั้งทั้งหมด 57 ประเทศ เป็นสมาชิกภายในภูมิภาค 37 ประเทศ และสมาชิกภายนอกภูมิภาค 20 ประเทศ 3.สัดส่วนเงินทุนจากสมาชิกภายในภูมิภาคและภายนอกภูมิภาค 4.ใช้สัดส่วนมุลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี เป็นเกณฑ์พื้นฐานโดยคำนวนจากสัดส่วนจีดีพี ณ ราคาปัจจุบันและ จีดีพี พีพีพี (GDP Purchasing Power Parity) คิดเป็นสัดส่วน 60 ต่อ 40
ทั้งนี้ จากประเทศสมาชิกทั้งหมด 57 ประเทศ มีสมาชิก 54 ประเทศได้แสดงความจำนงลงเงินทุนเต็มจำนวน 100 % ตามสัดส่วนจีดีพี ดังกล่าว ได้แก่ มาเลเซีย (10%) สิงคโปร์ (28.41%) และโปรตุเกส (21.57%) สำหรับไทยได้รับการจัดสรรหุ้นทั้งสิ้น 1.4275 % ของทุนจดทะเบียนคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,427.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 48,678.8 ล้านบาท ณ อัตราแลกเปลี่ยน 34.1 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ โดยแยกเป็นทุนที่ต้องชำระในอัตรา 20% ของทุนจดทะเบียน หรือคิดเป็นมุลค่า เท่ากับ 285.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 9,735.8 ล้านบาท แบ่งชำระ 5 งวด ระหว่างปี 2559-2563 คิดเป็นค่างวดละ 1,947.2 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 80 % หรือเท่ากับ 1,142 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 38,943 ล้านบาท จะเป็นทุนรอเรียกชำระเมื่อมีความจำเป็น (Callable Capital)
ทั้งนี้กระทรวงการคลังแจ้งว่า การชำระเงินลงทุนของไทยในการจัดตั้ง AllB จำนวน 5 งวด งวดละเท่าๆกัน จะขอเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2559-2563
3.แนวทางการคัดเลือกคณะกรรมการ (Board of Directors : BOD) ซึ่งในเบื้องต้นจะมีสถานะเป็นตำแหน่งไม่ประจำสำนักงานใหญ่ (Non-resident BOD) และกลุ่มออกเสียงภายในภูมิภาคแต่ละกลุ่มจะต้องมีอำนาจในการออกเสียงรวมอย่างน้อย 6 % ของอำนาจในการออกเสียงรวมอย่างน้อย 15 % ของอำนาจในการออกเสียงทั้งหมด
"โดยมีเหตุผลสนับสนุนและประโยชน์ที่จะได้รับคือ ด้านการส่งเสริมบทบาทประเทศไทยภายในภูมิภาค ด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ ด้านการเปิดโอกาสทางธุรกิจของภาคเอกชนไทย ด้านภาระงบประมาณในเชิงเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน"พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
อ้างอิง : www.thaigov.go.th และ
http://www.aiibank.org/
ไทยร่วมลงขัน 9,750 ลบ. ร่วมตั้งแบงก์ AIIB หนุนพี่ใหญ่จีน
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ครม.เห็นชอบการลงนามในร่างความตกลงในการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครง สร้างพื้นฐานเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank) หรือ เอไอไอบี (AIIB) และอนุมัติงบประมาณสำหรับการลงทุนในการจัดตั้ง AIIB ในส่วนของไทยตามสัดส่วนขนาดเศรษฐกิจตามข้อเสนอของคณะทำงานระหว่างประเทศ โดยเป็นเงินลงทุนที่ต้องชำระทั้งหมดประมาณ 285.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 9,750 ล้านบาท แบ่งชำระออกเป็น 5 งวด ในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2563 คิดเป็นมูลค่าโดยประมาณงวดละ 1,950 ล้านบาท โดยการชำระงวดแรกจะเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ทั้งนี้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ทัน จะขอเบิกจ่ายจากเงินงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ทั้งนี้ ร่างความตกลงในการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย สาระสำคัญ มี 3 ส่วน ได้แก่ 1.ร่างความตกลงหลัก ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ บทบาท และสมาชิกภาพ เงินทุน การดำเนินการของธนนาคาร การเงินของธนาคาร ธรรมาภิบาล ข้อกำหนดทั่วไป การถอนและการพักสมาชิกภาพการพักและการหยุดการดำเนินการของธนาคาร สถานะการคุ้มกัน เอกสิทธิ์และการยกเว้น การแก้ไข การตีความและอนุญาโตตุลาการและข้อกำหนดสุดท้าย
2.สัดส่วนการลงเงินขิงสมาชิกผู้ก่อตั้งทั้งหมด 57 ประเทศ โดยเป็นตัวเลขสัดส่วนการลงเงินเบื้องต้น ซึ่งจะไม่มีผลผูกพันจนกว่าประเทศสมาชิกจะมีการให้สัตยาบันต่อร่างความตกลง ฯ เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ โดยมีรายละเอียกดังนี้ 1.ทุนจดทะเบียน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ 2.สมาชิกผู้ก่อตั้งทั้งหมด 57 ประเทศ เป็นสมาชิกภายในภูมิภาค 37 ประเทศ และสมาชิกภายนอกภูมิภาค 20 ประเทศ 3.สัดส่วนเงินทุนจากสมาชิกภายในภูมิภาคและภายนอกภูมิภาค 4.ใช้สัดส่วนมุลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ จีดีพี เป็นเกณฑ์พื้นฐานโดยคำนวนจากสัดส่วนจีดีพี ณ ราคาปัจจุบันและ จีดีพี พีพีพี (GDP Purchasing Power Parity) คิดเป็นสัดส่วน 60 ต่อ 40
ทั้งนี้ จากประเทศสมาชิกทั้งหมด 57 ประเทศ มีสมาชิก 54 ประเทศได้แสดงความจำนงลงเงินทุนเต็มจำนวน 100 % ตามสัดส่วนจีดีพี ดังกล่าว ได้แก่ มาเลเซีย (10%) สิงคโปร์ (28.41%) และโปรตุเกส (21.57%) สำหรับไทยได้รับการจัดสรรหุ้นทั้งสิ้น 1.4275 % ของทุนจดทะเบียนคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,427.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 48,678.8 ล้านบาท ณ อัตราแลกเปลี่ยน 34.1 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ โดยแยกเป็นทุนที่ต้องชำระในอัตรา 20% ของทุนจดทะเบียน หรือคิดเป็นมุลค่า เท่ากับ 285.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 9,735.8 ล้านบาท แบ่งชำระ 5 งวด ระหว่างปี 2559-2563 คิดเป็นค่างวดละ 1,947.2 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 80 % หรือเท่ากับ 1,142 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 38,943 ล้านบาท จะเป็นทุนรอเรียกชำระเมื่อมีความจำเป็น (Callable Capital)
ทั้งนี้กระทรวงการคลังแจ้งว่า การชำระเงินลงทุนของไทยในการจัดตั้ง AllB จำนวน 5 งวด งวดละเท่าๆกัน จะขอเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2559-2563
3.แนวทางการคัดเลือกคณะกรรมการ (Board of Directors : BOD) ซึ่งในเบื้องต้นจะมีสถานะเป็นตำแหน่งไม่ประจำสำนักงานใหญ่ (Non-resident BOD) และกลุ่มออกเสียงภายในภูมิภาคแต่ละกลุ่มจะต้องมีอำนาจในการออกเสียงรวมอย่างน้อย 6 % ของอำนาจในการออกเสียงรวมอย่างน้อย 15 % ของอำนาจในการออกเสียงทั้งหมด
"โดยมีเหตุผลสนับสนุนและประโยชน์ที่จะได้รับคือ ด้านการส่งเสริมบทบาทประเทศไทยภายในภูมิภาค ด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ ด้านการเปิดโอกาสทางธุรกิจของภาคเอกชนไทย ด้านภาระงบประมาณในเชิงเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียน"พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
อ้างอิง : www.thaigov.go.th และ http://www.aiibank.org/