ขออนุญาตตั้งเสริมให้เป็นเกร็ดความรู้นะครับ
เนื่องจากกระทู้ต้นทางตกไปไกลแล้ว
สืบเนื่องจากกระทู้นี้ครับ
อย่าเอาเรื่องนี้มาแกล้งพลูโตของฉันนะ!
http://ppantip.com/topic/33939800
ท่านแมวเมียวพุงป่องไม่ต้องกังวลครับ ว่าดาวพลูโตจะโดนลดชั้นลงไปอีก
เพียงเหตุเพราะว่า มันมีหางอนุภาคดังเช่นดาวหาง
เพราะว่า ดาวเคราะห์ต่างๆ ก็ล้วนมีหางครับ
มันโดนลมสุริยะ (หรืออนุภาคต่างๆ จากดาวฤกษฺแม่)พุ่งชนอยู่ตลอดเวลา
ยกตัวอย่างไล่มาดังนี้แลฯ เช่นดาวพุธ
ดาวพุธไม่มีชั้นบรรยากาศปกป้องนอกจากชั้น H He บางๆ ที่กระเด็นมาจากดวงอาทิตย์
ผิวของดาวจึงโดนลมสุริยะ"เป่า" (กระแทกอนุภาคออกไปแบบ ionize) ออกไปในอวกาศ
(Na
+ กระเด็นออกไปจาก silicate rock บนผิวดาว)
ภาพแสดงหางไอออนของดาวพุธ
[Ref:
Discovery Space]
ดาวศุกร์ยิ่งแล้วใหญ่ สนามแม่เหล็กมีน้อยเบาบาง แต่บรรยากาศหนาแน่นมาก (=มี โมเลกุลจำนวนมาก)
บรรยากาศโดนลมสุริยะ เป่า ออกมาเป็นหาง โดยจับได้เป็นหางของ O
+ ที่สลายมาจาก CO
2
ซึ่งรูปแบบและปริมาณหางมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความแรงของลมสุริยะ ตามวัฎจักร 11 ปี ของดวงอาทิตย์
ภาพแสดงหางไอออนของดาวศุกร์
[Ref:
ESA]
สำหรับโลกของเรานั้น ต่างกันเล็กน้อย เพราะเรามีสนามแม่เหล็กคอยปกป้องลมสุริยะไม่ให้มากระแทก
เพราะลมสุริยะ มีประจุ (charged particle) จึงเลี้ยวเบนวิ่งไปตามทิศเส้นแรงแม่เหล็ก
ภาพแสดงหางไอออนของดาวโลก
[Ref:
NASA]
แต่อย่างไรก็ตาม การปกป้องไม่ได้สมบูรณ์ 100% จึงมีอนุภาคบางส่วนโดนสมสุริยะชนได้
โดยเฉพาะบริเวณใกล้ขั้วแม่เหล็ก สังเกตได้ชัดเจน จากการเกิดปรากฏการณ์ออโรร่า
อนุภาคที่โดนกระแทกหากเป็น N จะเรืองแสงสีเขียว(พบบ่อยมากเพราะบรรยากาศมี N มาก)
ส่วนที่เป็นสีแดง คือสีของ singlet O radical ที่กำลัง decay state เป็น triplet ซึ่งพบได้น้อยกว่า
(ตามสัดส่วน O) เป็นต้น
แน่นอนว่าบรรยากาศที่ ionize มันมีประจุแล้ว ก็จะวิ่งหลุดหนีออกไปตามเส้นแรงแม่เหล็กอยู่ดี
โดยกลไกที่ว่านี้ โลกเราเสียมวลไปราว 50,000,000 kg ต่อปี
(แต่โลกได้มวลเพิ่มจากอุกกาบาตและฝุ่นที่ตกลงมาอยู่ดี และถึงจะเพิ่มหรือลดก็ไม่กระทบต่อมวลของโลก
เพราะโลกหนักราว 5,972,000,000,000,000,000,000,000 kg จึงน้อยมากตัดทิ้งไปได้)
สำหรับดาวอังคารนั้น ดังเดิมคาดว่ามีบรรยากาศพอสมควร แต่ปัจจุบันมีเบาบางมาก แค่ราว 1% ของโลก
ตามทฤษฎีที่เชือกันในปัจจุบันคือเพราะดาวอังการไม่มีสนามแม่เหล็กปกป้อง จึงถูกลมสุริยะเป่าบรรยากาศจนเบามาง
เพราะเสียมวลจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง
ภาพแสดงหางไอออนของดาวอังคาร
[Ref:
Space]
ดาวพลูโต ไม่โดนลดชั้นเป็นดาวหางหรอก เหตุเพราะเพียงมี 'หาง'
เนื่องจากกระทู้ต้นทางตกไปไกลแล้ว
สืบเนื่องจากกระทู้นี้ครับ
อย่าเอาเรื่องนี้มาแกล้งพลูโตของฉันนะ!
http://ppantip.com/topic/33939800
ท่านแมวเมียวพุงป่องไม่ต้องกังวลครับ ว่าดาวพลูโตจะโดนลดชั้นลงไปอีก
เพียงเหตุเพราะว่า มันมีหางอนุภาคดังเช่นดาวหาง
เพราะว่า ดาวเคราะห์ต่างๆ ก็ล้วนมีหางครับ
มันโดนลมสุริยะ (หรืออนุภาคต่างๆ จากดาวฤกษฺแม่)พุ่งชนอยู่ตลอดเวลา
ยกตัวอย่างไล่มาดังนี้แลฯ เช่นดาวพุธ
ดาวพุธไม่มีชั้นบรรยากาศปกป้องนอกจากชั้น H He บางๆ ที่กระเด็นมาจากดวงอาทิตย์
ผิวของดาวจึงโดนลมสุริยะ"เป่า" (กระแทกอนุภาคออกไปแบบ ionize) ออกไปในอวกาศ
(Na+ กระเด็นออกไปจาก silicate rock บนผิวดาว)
ภาพแสดงหางไอออนของดาวพุธ
[Ref: Discovery Space]
ดาวศุกร์ยิ่งแล้วใหญ่ สนามแม่เหล็กมีน้อยเบาบาง แต่บรรยากาศหนาแน่นมาก (=มี โมเลกุลจำนวนมาก)
บรรยากาศโดนลมสุริยะ เป่า ออกมาเป็นหาง โดยจับได้เป็นหางของ O+ ที่สลายมาจาก CO2
ซึ่งรูปแบบและปริมาณหางมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความแรงของลมสุริยะ ตามวัฎจักร 11 ปี ของดวงอาทิตย์
ภาพแสดงหางไอออนของดาวศุกร์
[Ref: ESA]
สำหรับโลกของเรานั้น ต่างกันเล็กน้อย เพราะเรามีสนามแม่เหล็กคอยปกป้องลมสุริยะไม่ให้มากระแทก
เพราะลมสุริยะ มีประจุ (charged particle) จึงเลี้ยวเบนวิ่งไปตามทิศเส้นแรงแม่เหล็ก
ภาพแสดงหางไอออนของดาวโลก
[Ref: NASA]
แต่อย่างไรก็ตาม การปกป้องไม่ได้สมบูรณ์ 100% จึงมีอนุภาคบางส่วนโดนสมสุริยะชนได้
โดยเฉพาะบริเวณใกล้ขั้วแม่เหล็ก สังเกตได้ชัดเจน จากการเกิดปรากฏการณ์ออโรร่า
อนุภาคที่โดนกระแทกหากเป็น N จะเรืองแสงสีเขียว(พบบ่อยมากเพราะบรรยากาศมี N มาก)
ส่วนที่เป็นสีแดง คือสีของ singlet O radical ที่กำลัง decay state เป็น triplet ซึ่งพบได้น้อยกว่า
(ตามสัดส่วน O) เป็นต้น
แน่นอนว่าบรรยากาศที่ ionize มันมีประจุแล้ว ก็จะวิ่งหลุดหนีออกไปตามเส้นแรงแม่เหล็กอยู่ดี
โดยกลไกที่ว่านี้ โลกเราเสียมวลไปราว 50,000,000 kg ต่อปี
(แต่โลกได้มวลเพิ่มจากอุกกาบาตและฝุ่นที่ตกลงมาอยู่ดี และถึงจะเพิ่มหรือลดก็ไม่กระทบต่อมวลของโลก
เพราะโลกหนักราว 5,972,000,000,000,000,000,000,000 kg จึงน้อยมากตัดทิ้งไปได้)
สำหรับดาวอังคารนั้น ดังเดิมคาดว่ามีบรรยากาศพอสมควร แต่ปัจจุบันมีเบาบางมาก แค่ราว 1% ของโลก
ตามทฤษฎีที่เชือกันในปัจจุบันคือเพราะดาวอังการไม่มีสนามแม่เหล็กปกป้อง จึงถูกลมสุริยะเป่าบรรยากาศจนเบามาง
เพราะเสียมวลจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง
ภาพแสดงหางไอออนของดาวอังคาร
[Ref: Space]