ปัจจุบัน มีแนวโน้มว่าสายการบินพาณิชย์ภายในประเทศ รวมถึงในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคมีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด และกำลังขยายกิจการโดยเฉพาะสายการบินแห่งชาติ และโลว์คอสแอร์ไลน์ ซึ่งจะต้องเพิ่มจำนวนอากาศยานมากขึ้น รุ่นใหม่มากขึ้น ในขณะที่แหล่งซ่อมบำรุงภายในประเทศยังมีจำนวนไม่เพียงพอ และแน่นอนประเทศที่ปักธงเป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้คือสิงคโปร์ แต่ติดปัญหาไม่สามารถขยายพื้นที่รองรับการ
ซ่อมบำรุงอากาศยานในอนาคตได้
กระแสที่มาแรงตอนนี้คือการเร่งโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานครบวงจรในประเทศไทย และจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอากาศยาน ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเบื้องต้นในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2557 ซึ่งจะดำเนินการศึกษาฯ เป็นระยะเวลา 12 เดือน สิ้นสุดระยะเวลาการศึกษาในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2558 นี้
สำหรับรูปแบบโครงการ และระยะการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมการบินนี้จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ 1. การให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ซึ่งจำเป็นต้องมีที่ตั้งที่มีทางวิ่งจากสนามบินมายังพื้นที่ซ่อมบำรุงได้ และต้องมีพื้นที่รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย โรงจอด ทางขับ ลานจอด อาคารอำนวยการ อาคารเก็บของ โรงซ่อม ที่จอดรถ และสิ่งอำนวยความสะอวกอื่นๆ 2. การผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ในส่วนนี้อาจจะมีที่ตั้งในบริเวณเดียวกันกับพื้นที่ซ่อมบำรุง หรือมีที่ตั้งในบริเวณใกล้เคียง
สำหรับตัวเลขอ้างอิงจากโบอิ้ง รายงานว่า สายการบินทั่วโลกต้องการเครื่องบินใหม่กว่า 33,500 ลำ มูลค่ารวม 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2573 โดยเฉพาะสายการบินในเอเชีย ต้องการเครื่องบินใหม่ 11,450 ลำ หรือประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งหมด และมีมูลค่ารวม 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยมีเครื่องบินพาณิชย์ให้บริการ 224 ลำ มีมูลค่าตลาดให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องบินพาณิชย์ปีละ 24,672 ล้านบาท มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 6.3% ต่อปี และคาดว่ามูลค่าการซ่อมบำรุงเครื่องบินในไทย ระหว่างปี 2558-2567 จะสูงถึง 339,840 ล้านบาท
ขณะนี้ในไทยมีบริษัทใหญ่แห่งเดียวคือ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (Thai Aviation Industries Co., Ltd. : TAI) ที่เป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานที่สามารถเป็นโมเดลนำร่องของไทยได้และน่าจะมีอนาคตเติบโตได้สูง ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 จากนั้นก็ได้รับการรบรองเป็นหน่วยซ่อมมาตรฐานจากกรมการบินพลเรือน (Department of Civil Aviation,) กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 กระทั่งมติคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 23 กันยายน 2556 เห็นชอบในหลักการจัดตั้งบริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด เพื่อดำเนินกิจการซ่อมอากาศยานให้แก่ส่วนราชการต่างๆโดยมุ่งมั่นให้เป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานที่มีมาตรฐานสากล เพื่อจูงใจให้ต่างประเทศส่งอากาศยานมาใช้บริการศูนย์ซ่อมฯในประเทศไทย พร้อมทั้งได้กำหนดเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินแห่งภูมิภาค
ทั้งนี้บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด (Thai Aviation Industries Co., Ltd. : TAI) เป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนขั้นต้น 100 ล้านบาท โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 70 และกองทัพอากาศ (กองทุนสวัสดิการทหารอากาศ) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 30 ปัจจุบันได้ปรับสัดส่วนเป็น 51:49
สำหรับโปรไฟล์ของบริษัทนี้ สามารถของเครื่องบิน F-16 A/B, โครงการปรับปรุงระบบเอวิออนิกส์ ของเครื่องบิน C-130H, เครื่องบิน PC-9 และเครื่องบิน CT-4E นอกจากนี้ยังได้พัฒนาขีดความสามารถในด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานพาณิชย์ และได้รับงานซ่อมบำรุงของสายการบินพาณิชย์ เช่น เครื่องบิน Airbus 320 ของบริษัท ไทย แอร์เอเชีย รวมถึงเครื่องบิน Boeing 737 และเครื่องบิน Saab 340B ของสายการบินอื่นๆ เป็นต้น
วิสัยทัศน์
“เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานมาตรฐานสากลชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน”
พันธกิจ
“พัฒนาสู่การเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานที่ได้รับการรับรองมาตรญานการบินของภูมิภาคยุโรป(EASA) และสหรัฐอเมริกา (FAA) และพัฒนาธุรกิจการซ่อมอากาศยาน รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องสู่การเป็นผู้นำระดับ 1 ใน 3 ของภูมิภาคอาเซียนภายใน 10 ปี”
ยุทธศาสตร์
เพื่อให้บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ขับเคลื่อนไปสู่วิสัยทัศน์ในการ “เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานมาตรฐานสากลชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน” จึงกำหนดกลยุทธ์ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1
เพิ่มขีดความสามารถและมาตรฐานการซ่อมบำรุงอากาศยาน เพื่อให้ได้รับการรับองมาตรฐานจากองค์กรมาตรฐานการบินของภาคพื้นยุโรป (EASA) ภายใน 3 ปี และสหรัฐอเมริกา (FAA) ภายใน 5 ปี
กลยุทธ์ที่ 2
พัฒนาธุรกิจการซ่อมอากาศยานและธุรกิจที่เกี่ยวข้องสู่การเป็นผู้นำระดับ 1 ใน 5 ของภูมิภาคอาเซียนภายใน 5 ปี
กลยุทธ์ที่ 3
พัฒนาธุรกิจการซ่อมอากาศยานและธุรกิจที่เกี่ยวข้องสู่การเป็นผู้นำระดับ 1 ใน 3 ของภูมิภาคอาเซียนภายใน 10 ปีบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ได้รับการรับรองจากกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม ประเทศไทย
ขณะที่รอผลการโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเบื้องต้นในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยที่จะคลอดภายในปลายปีนี้ ผมคิดว่าคงต้องเร่งกระบวนการส่งเสริมและกระตุ้นอุตสาหกรรมการบินไทยให้เติบโตอย่างครบวงจร ที่สำคัญคือโครงการตั้งศูนย์การให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) ให้เกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ ที่จะเป็นตัวต่อสำคัญใน Supply Chain ของอุตสาหกรรมการบินไทยนอนาคตต่อไป
เรื่องเรื่องโยง
1.) เกาะติดนิคมอุตสาหกรรมการบินของไทย:ปักธงนิคมอมตะซิตี้-ศูนย์ซ่อมอู่ตะเภา
http://www.oknation.net/blog/akom/2015/06/08/entry-1
2.) ไทยก้าวสู่ Hub ศูนย์ซ่อมเครื่องบิน-นิคมอุตฯการบิน:เชียร์ปักหมุดโคราช-เชียงใหม่
http://www.oknation.net/blog/akom/2014/09/18/entry-1
3.) โคราชเดินเครื่องเต็มสุบสู่นิคมอุตสาหกรรมอากาศยานของเอเชีย
http://www.oknation.net/blog/akom/2014/10/22/entry-4
อ้างอิง : ที่มา
บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด Thai Aviation Industries Co., Ltd. ( TAI )
เว็บไซต์: www.taithailand.com
อีเมล์ : tai@taithailand.com
เจาะโมเดลศูนย์ซ่อมเครื่องบินสัญชาติไทย TAI ชิงโอกาสสิงคโปร์
ปัจจุบัน มีแนวโน้มว่าสายการบินพาณิชย์ภายในประเทศ รวมถึงในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิคมีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด และกำลังขยายกิจการโดยเฉพาะสายการบินแห่งชาติ และโลว์คอสแอร์ไลน์ ซึ่งจะต้องเพิ่มจำนวนอากาศยานมากขึ้น รุ่นใหม่มากขึ้น ในขณะที่แหล่งซ่อมบำรุงภายในประเทศยังมีจำนวนไม่เพียงพอ และแน่นอนประเทศที่ปักธงเป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้คือสิงคโปร์ แต่ติดปัญหาไม่สามารถขยายพื้นที่รองรับการ
กระแสที่มาแรงตอนนี้คือการเร่งโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานครบวงจรในประเทศไทย และจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอากาศยาน ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเบื้องต้นในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย ในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2557 ซึ่งจะดำเนินการศึกษาฯ เป็นระยะเวลา 12 เดือน สิ้นสุดระยะเวลาการศึกษาในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2558 นี้
สำหรับรูปแบบโครงการ และระยะการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมการบินนี้จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ 1. การให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ซึ่งจำเป็นต้องมีที่ตั้งที่มีทางวิ่งจากสนามบินมายังพื้นที่ซ่อมบำรุงได้ และต้องมีพื้นที่รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก ประกอบด้วย โรงจอด ทางขับ ลานจอด อาคารอำนวยการ อาคารเก็บของ โรงซ่อม ที่จอดรถ และสิ่งอำนวยความสะอวกอื่นๆ 2. การผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ในส่วนนี้อาจจะมีที่ตั้งในบริเวณเดียวกันกับพื้นที่ซ่อมบำรุง หรือมีที่ตั้งในบริเวณใกล้เคียง
สำหรับตัวเลขอ้างอิงจากโบอิ้ง รายงานว่า สายการบินทั่วโลกต้องการเครื่องบินใหม่กว่า 33,500 ลำ มูลค่ารวม 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2573 โดยเฉพาะสายการบินในเอเชีย ต้องการเครื่องบินใหม่ 11,450 ลำ หรือประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งหมด และมีมูลค่ารวม 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยมีเครื่องบินพาณิชย์ให้บริการ 224 ลำ มีมูลค่าตลาดให้บริการซ่อมบำรุงเครื่องบินพาณิชย์ปีละ 24,672 ล้านบาท มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 6.3% ต่อปี และคาดว่ามูลค่าการซ่อมบำรุงเครื่องบินในไทย ระหว่างปี 2558-2567 จะสูงถึง 339,840 ล้านบาท
ขณะนี้ในไทยมีบริษัทใหญ่แห่งเดียวคือ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (Thai Aviation Industries Co., Ltd. : TAI) ที่เป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานที่สามารถเป็นโมเดลนำร่องของไทยได้และน่าจะมีอนาคตเติบโตได้สูง ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 จากนั้นก็ได้รับการรบรองเป็นหน่วยซ่อมมาตรฐานจากกรมการบินพลเรือน (Department of Civil Aviation,) กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 กระทั่งมติคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 23 กันยายน 2556 เห็นชอบในหลักการจัดตั้งบริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด เพื่อดำเนินกิจการซ่อมอากาศยานให้แก่ส่วนราชการต่างๆโดยมุ่งมั่นให้เป็นศูนย์ซ่อมอากาศยานที่มีมาตรฐานสากล เพื่อจูงใจให้ต่างประเทศส่งอากาศยานมาใช้บริการศูนย์ซ่อมฯในประเทศไทย พร้อมทั้งได้กำหนดเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการบินแห่งภูมิภาค
ทั้งนี้บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด (Thai Aviation Industries Co., Ltd. : TAI) เป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนขั้นต้น 100 ล้านบาท โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 70 และกองทัพอากาศ (กองทุนสวัสดิการทหารอากาศ) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 30 ปัจจุบันได้ปรับสัดส่วนเป็น 51:49
สำหรับโปรไฟล์ของบริษัทนี้ สามารถของเครื่องบิน F-16 A/B, โครงการปรับปรุงระบบเอวิออนิกส์ ของเครื่องบิน C-130H, เครื่องบิน PC-9 และเครื่องบิน CT-4E นอกจากนี้ยังได้พัฒนาขีดความสามารถในด้านการซ่อมบำรุงอากาศยานพาณิชย์ และได้รับงานซ่อมบำรุงของสายการบินพาณิชย์ เช่น เครื่องบิน Airbus 320 ของบริษัท ไทย แอร์เอเชีย รวมถึงเครื่องบิน Boeing 737 และเครื่องบิน Saab 340B ของสายการบินอื่นๆ เป็นต้น
วิสัยทัศน์
“เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานมาตรฐานสากลชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน”
พันธกิจ
“พัฒนาสู่การเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานที่ได้รับการรับรองมาตรญานการบินของภูมิภาคยุโรป(EASA) และสหรัฐอเมริกา (FAA) และพัฒนาธุรกิจการซ่อมอากาศยาน รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวข้องสู่การเป็นผู้นำระดับ 1 ใน 3 ของภูมิภาคอาเซียนภายใน 10 ปี”
ยุทธศาสตร์
เพื่อให้บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ขับเคลื่อนไปสู่วิสัยทัศน์ในการ “เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานมาตรฐานสากลชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน” จึงกำหนดกลยุทธ์ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1
เพิ่มขีดความสามารถและมาตรฐานการซ่อมบำรุงอากาศยาน เพื่อให้ได้รับการรับองมาตรฐานจากองค์กรมาตรฐานการบินของภาคพื้นยุโรป (EASA) ภายใน 3 ปี และสหรัฐอเมริกา (FAA) ภายใน 5 ปี
กลยุทธ์ที่ 2
พัฒนาธุรกิจการซ่อมอากาศยานและธุรกิจที่เกี่ยวข้องสู่การเป็นผู้นำระดับ 1 ใน 5 ของภูมิภาคอาเซียนภายใน 5 ปี
กลยุทธ์ที่ 3
พัฒนาธุรกิจการซ่อมอากาศยานและธุรกิจที่เกี่ยวข้องสู่การเป็นผู้นำระดับ 1 ใน 3 ของภูมิภาคอาเซียนภายใน 10 ปีบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ได้รับการรับรองจากกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม ประเทศไทย
ขณะที่รอผลการโครงการศึกษาความเหมาะสม และออกแบบเบื้องต้นในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยที่จะคลอดภายในปลายปีนี้ ผมคิดว่าคงต้องเร่งกระบวนการส่งเสริมและกระตุ้นอุตสาหกรรมการบินไทยให้เติบโตอย่างครบวงจร ที่สำคัญคือโครงการตั้งศูนย์การให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) ให้เกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ ที่จะเป็นตัวต่อสำคัญใน Supply Chain ของอุตสาหกรรมการบินไทยนอนาคตต่อไป
เรื่องเรื่องโยง
1.) เกาะติดนิคมอุตสาหกรรมการบินของไทย:ปักธงนิคมอมตะซิตี้-ศูนย์ซ่อมอู่ตะเภา
http://www.oknation.net/blog/akom/2015/06/08/entry-1
2.) ไทยก้าวสู่ Hub ศูนย์ซ่อมเครื่องบิน-นิคมอุตฯการบิน:เชียร์ปักหมุดโคราช-เชียงใหม่
http://www.oknation.net/blog/akom/2014/09/18/entry-1
3.) โคราชเดินเครื่องเต็มสุบสู่นิคมอุตสาหกรรมอากาศยานของเอเชีย
http://www.oknation.net/blog/akom/2014/10/22/entry-4
อ้างอิง : ที่มา
บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด Thai Aviation Industries Co., Ltd. ( TAI )
เว็บไซต์: www.taithailand.com
อีเมล์ : tai@taithailand.com