อ่านเจอพระสูตรที่แสดงถึงคำพูดของสาวกก็เป็นสุภาษิตได้ เนื้อหาสำคัญดังนี้
มหาโคสิงคสาลสูตร (การสนทนาธรรมเรื่องผู้ทำให้ป่างาม)
สมัยหนึ่ง พระเถระสาวกคือ พระโมคัลลานะ พระมหากัสสป พระอนุรุทธ พระเรวตะ และพระอานนท์ ได้ชวนกันไปหาพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม แล้วพระสารีบุตรได้ตั้งคำถามกับทุกคนดังนี้ว่า
"ป่า โคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร?"
พระเถระสาวกทั้งหมดรวมพระสารีบุตรผู้ถามต่างก็ได้แสดงความเห็นของแต่ละคนพูดออกมาแต่มีคำพูดที่แตกต่างกัน จากนั้นทั้งหมดจึงพากันไปเข้าเฝ้าแล้วเล่าเรื่องคำถามและคำตอบนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบและถามพระองค์ว่า
"พระพุทธเจ้าข้า คำของใครหนอเป็นสุภาษิต?"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
"ดูกรสารีบุตร คำของพวกเธอทั้งหมด เป็นสุภาษิตโดยปริยาย"
จากนั้นพระองค์ทรงตอบคำถามนั้นด้วย
.............................................................................
สรุปประเด็น
1. พระเถระสาวกล้วนแต่มีความเคารพหนักแน่นในพระศาสดาของตนอย่างสูงสุด แม้แต่การถามตอบเพียงเท่านี้ก็ยังตกลงใจที่จะไปตรวจสอบเทียบเคียงให้พระศาสดารับรองเสียก่อนตาม 'หลักมหาปเทส ๔' และจะ
"ทรงจำแต่คำพูดของพระศาสดาเท่านั้น" แก่กันดังนี้ว่า
"จักกราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค จักทรงพยากรณ์แก่พวกเราอย่างใด พวกเราจักทรงจำข้อความนั้นไว้อย่างนั้น"
2. พระสาวกไม่วิสาสะใช้หรือทรงจำในคำพูดของสาวกด้วยกัน (สาวกภาษิต) แต่จะทรงจำเฉพาะบทพยัญชนะ-อรรถะ ของพระศาสดา (ตถาคตภาษิต) เท่านั้น แม้จะทรงรับรองก็จะมีที่มาแห่งการรับรองดังในพระสูตรนี้เอง
3. จากคำตอบของสาวกแต่ละองค์ล้วนเป็นความเห็นในเฉพาะทางนำไปประพฤติปฏิบัติได้ยากในหมู่คนส่วนใหญ่ ต่างกับความเห็นของพระศาสดาที่มีทั้งคำตอบที่ตรงจริงและประกอบด้วยมรรควิธีนำไปซึ่งความหลุดพ้นซึ่งอาสวะทั้งหลาย มหาชนย่อมประพฤติตามได้มากและถึงที่สุดได้
.............................................................................
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
[พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ ข้อ ๓๖๙ - ๓๘๒]
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ สมัย หนึ่ง พระเถระสาวกคือ ท่านพระมหาโมคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระเรวตะ และท่านพระอานนท์ ได้ชวนกันไปหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม เมื่อถึงแล้วท่านพระสารีบุตรได้ตั้งหัวข้อถามกับทุกคนดังนี้ว่า
"ป่า โคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร?"
ความเห็นพระอานนท์
"ภิกษุ ในพระศาสนานี้ เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ... สดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น ภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ... ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล."
ความเห็นพระเรวตะ
"ภิกษุ ในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่ห่างเหินแล้ว ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล."
ความเห็นพระอนุรุทธ
"ภิกษุ ในพระศาสนานี้ ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วย ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล."
ความเห็นพระมหากัสสป
"ภิกษุ ในพระศาสนานี้ กระทำตนเองและกล่าวสรรเสริญคุณการอยู่ในป่าเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือไตรจีวรเป็นวัตร มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้สงัด ไม่คลุกคลี ปรารถความเพียร ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ถึงพร้อมด้วยวิมุติ ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญคุณ ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล."
ความเห็นพระโมคคัลลานะ
"ภิกษุ ๒ รูป ในพระศาสนานี้ กล่าวอภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วย และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล."
ความเห็นพระสารีบุตร
"ภิกษุ ในพระศาสนานี้ ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจและไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า-เที่ยง-เย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า-เที่ยง-เย็น ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล."
[๓๗๖] ลำดับนั้น ท่านสารีบุตร ได้กล่าวกะท่านผู้มีอายุเหล่านั้นดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ปฏิภาณตามที่เป็นของตนๆ พวกเราทุกรูปพยากรณ์แล้ว มาไปกันเถิด พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้ว จักกราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค จักทรงพยากรณ์แก่พวกเราอย่างใด พวกเราจักทรงจำข้อความนั้นไว้อย่างนั้น. ท่านผู้มีอายุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.
จากนั้นทั้งหมดจึงพากันไปเข้าเฝ้าแล้วเล่าเรื่องคำถามและคำตอบนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบและถามพระองค์ว่า
"พระพุทธเจ้าข้า คำของใครหนอเป็นสุภาษิต?"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
"ดูกรสารีบุตร คำของพวกเธอทั้งหมด เป็นสุภาษิตโดยปริยาย"
ก็แต่พวกเธอจงฟังคำของเรา คำถามว่า ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไรนั้น เราตอบว่า
"ดูกร สารีบุตร ภิกษุในศาสนานี้ กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น ดังนี้ ดูกรสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล."
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ มหาโคสิงคสาลสูตร ที่ ๒
ตัวอย่างคำพูดของพระสาวกที่เป็น "สุภาษิต" ในมหาโคสิงสาลสูตร
มหาโคสิงคสาลสูตร (การสนทนาธรรมเรื่องผู้ทำให้ป่างาม)
สมัยหนึ่ง พระเถระสาวกคือ พระโมคัลลานะ พระมหากัสสป พระอนุรุทธ พระเรวตะ และพระอานนท์ ได้ชวนกันไปหาพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม แล้วพระสารีบุตรได้ตั้งคำถามกับทุกคนดังนี้ว่า
"ป่า โคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร?"
พระเถระสาวกทั้งหมดรวมพระสารีบุตรผู้ถามต่างก็ได้แสดงความเห็นของแต่ละคนพูดออกมาแต่มีคำพูดที่แตกต่างกัน จากนั้นทั้งหมดจึงพากันไปเข้าเฝ้าแล้วเล่าเรื่องคำถามและคำตอบนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบและถามพระองค์ว่า
"พระพุทธเจ้าข้า คำของใครหนอเป็นสุภาษิต?"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
"ดูกรสารีบุตร คำของพวกเธอทั้งหมด เป็นสุภาษิตโดยปริยาย"
จากนั้นพระองค์ทรงตอบคำถามนั้นด้วย
สรุปประเด็น
1. พระเถระสาวกล้วนแต่มีความเคารพหนักแน่นในพระศาสดาของตนอย่างสูงสุด แม้แต่การถามตอบเพียงเท่านี้ก็ยังตกลงใจที่จะไปตรวจสอบเทียบเคียงให้พระศาสดารับรองเสียก่อนตาม 'หลักมหาปเทส ๔' และจะ "ทรงจำแต่คำพูดของพระศาสดาเท่านั้น" แก่กันดังนี้ว่า
"จักกราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค จักทรงพยากรณ์แก่พวกเราอย่างใด พวกเราจักทรงจำข้อความนั้นไว้อย่างนั้น"
2. พระสาวกไม่วิสาสะใช้หรือทรงจำในคำพูดของสาวกด้วยกัน (สาวกภาษิต) แต่จะทรงจำเฉพาะบทพยัญชนะ-อรรถะ ของพระศาสดา (ตถาคตภาษิต) เท่านั้น แม้จะทรงรับรองก็จะมีที่มาแห่งการรับรองดังในพระสูตรนี้เอง
3. จากคำตอบของสาวกแต่ละองค์ล้วนเป็นความเห็นในเฉพาะทางนำไปประพฤติปฏิบัติได้ยากในหมู่คนส่วนใหญ่ ต่างกับความเห็นของพระศาสดาที่มีทั้งคำตอบที่ตรงจริงและประกอบด้วยมรรควิธีนำไปซึ่งความหลุดพ้นซึ่งอาสวะทั้งหลาย มหาชนย่อมประพฤติตามได้มากและถึงที่สุดได้
พระสูตรที่เกี่ยวข้อง
[พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ ข้อ ๓๖๙ - ๓๘๒]
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้