ไม่นานมานี้ ผมเห็นเพื่อนหลายๆคนต่างก็แชร์คำกล่าวสุนทรพจน์ของอดีตประธานาธิบดีของอเมริกา George W. Bush ให้กับเด็กที่กำลังจะเรียนจบ ของมหาวิทยาลัยหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา ในการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งนั้น ประโยคเด็ดที่โดนใจ หลายๆคน ทั้งในวันนั้นและในโซเชียลมีเดียก็คือ
“สำหรับเด็กที่เรียนดีได้รางวัลและเกรียตินิยม ผมขอบอกว่า ทำได้ดี แต่สำหรับเด็กเกรด C ทั้งหลายนั้น คุณก็สามารถเป็น ประธานาธิบดีได้เช่นกัน”
‘To those of you who are graduating this afternoon with high honours, awards and distinctions, I say, “Well done”. And as I like to tell the C-students: You too, can be president.’
ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนเก่งขนาดไหน ก็มีสิทธิ์ประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งนั้น
แต่ใช่ว่าเด็กเกรด C ทุกประเภทจะประสบความสำเร็จ.. (หรือได้เป็นประธานาธิบดี)
มีเด็กเกรด C อยู่แค่ประเภทหนึ่ง ที่ผมคิดว่าพวกเขามีโอกาสสูงที่สุดในการที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต พวกเขา มากกว่าเด็กเกรด A เสียอีก คนกลุ่มนี้คือคนที่เด็กเกรด A จะไปเป็นลูกน้องเขาด้วยซ้ำ ผมขอเรียกว่าเด็กเกรด C ประเภทนี้ว่า Creator ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผมจะพูดถึงในโพสต์นี้ครับ
ช้าก่อน! ก่อนอื่นผมขอใช้คำว่าเด็กเกรด C แทนเพื่อนๆที่สนใจการเรื่องเรียนน้อยกว่า หรือไม่ถนัดเรื่องเรียนเท่าเด็กเกรด A หรือเด็กเรียนดีที่ให้ความสำคัญกับเกรดเป็นอันดับแรก ผมแบ่งกลุ่มแบบนี้เพื่อให้เข้าใจง่ายและเรียกง่าย และไม่ได้ใช้เพราะต้องการบอกว่าใครถูกใครผิดนะครับ เพราะยังไงเราก็ไม่ควรตัดสินใครด้วยเกรดอย่างเดียวอยู่แล้ว
รู้จักกับ C ทั้ง 2 แบบ
เด็กเกรด C (และเด็กเกรดอื่นๆด้วย) นั้นสามารถแยกได้เป็น 2 แบบได้แก่ C แบบ Consumer หรือผู้บริโภค กับ C แบบ Creator หรือผู้ผลิต (การแยกประเภทแบบนี้ ผมได้ไอเดียมาจากคุณ Daniel Priestley ในหนังสือ Entrepreneur Revolution ครับ J )
CONSUMER
สำหรับเด็กที่เป็น Consumer จะเป็นประเภทที่ครอบคลุมคนหมู่มากในมหาลัย ชีวิตมหาลัยคือการได้มีอิสระกับชีวิตและสนุกให้เต็มที่ แบบที่ไม่ต้องสนค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เพราะยังสามารถขอค่าขนมจากพ่อแม่ได้อยู่
เด็กประเภทนี้เห็นการเรียนเป็นอุปสรรค์ที่จะต้องผ่านๆไป และเกรดนั้นไม่สำคัญกับพวกเขามากนัก เกรดเยอะก็ดี แต่เกรดน้อยก็ไม่เป็นไร เวลาที่เหลือจากการเรียนให้ “ผ่านๆ ไป” คือเวลาที่จะใช้ชีวิตเพื่อความสุขอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการออกไปเล่นกีฬา กินข้าวนอกบ้าน เล่นเกมและอื่นๆ อย่างไรก็ตาม พวกเขามักจะใช้ชีวิตในแต่ละอาทิตย์ในแบบที่ซ้ำๆ กัน
CREATORS
เด็กอีกประเภทคือเด็กเกรด C แบบ Creator หรือผู้ผลิต (ไม่ใช่แค่นักศิลปะนะครับ) คือ
คนที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆ หรือ”ผลิต” สิ่งที่มีคุณค่า ที่ทำให้โลกของเราดีขึ้น เช่นผลิตและขายของ จัดตั้งชมรม ทำงานเพื่อสังคม เป็นต้น ถึงพวกเขาจะต้องกิน ต้องใช้เหมือนกับพวก Consumer แต่การกินอาหารดีๆ นั้นไม่ไช่ที่มาหลัก ของความสุขของพวกเขา
ต่างจากเด็กแบบ Consumer ที่ใช้เวลาไปกับการมีชีวิตที่ “สบายๆ ชิวๆ สนุกไปวันๆ” เด็กแบบ Creator นั้นจริงจังกับชีวิตไม่แพ้เด็กเกรด A ที่จริงจังกับการเรียน และพวกเขาก็เป็นกลุ่มทีเด็กเกรด A เกรงขามเพราะพวกเขาเหล่า creator นั้นไม่เหมือนพวกตน และพวกเขาดูเก่ง (โดยเฉพาะ เก่ง “คน”) ในสายตาของเด็กเกรด A
Creator มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่ก็ยังมีน้อยกว่า Consumer มากนัก
เด็ก Creator ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนเพื่อเกรด พวกเขาอาจจะโดดเรียนบ้าง ลอกการบ้านบ้าง ทบทวนแค่ก่อนสอบบ้าง เพราะเขาเข้าใจว่าเกรดนั้นไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะได้จากชีวิตมหาลัย สำหรับเด็ก Creator (และ Consumer) ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ “อิน” กับสาขาที่เรียนอยู่ การทุ่มแรงกายและแรงใจร้อยเปอร์เซ็นต์เพื่อให้ได้มาซึ่งเกรียตินิยมนั้นจึงไม่ใช่ทางของเขา
อย่างไรก็ตาม
พวก Creator ไม่ได้เอาเวลาที่โดดเรียน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเรียน เด็กเกรด C กลุ่มนี้ ไม่ได้รักสบาย เขาชอบออกไปหาอะไรใหม่ๆ ทำเรื่อยๆ ออกไปขายของหาเงิน เจอคนใหม่ๆที่งานเลี้ยงปาร์ตี้หรือสนามกีฬา สร้างชมรมใหม่ ฝึกเขียนโปรแกรม หางานทำและอื่นๆอีกมากมาย กิจกรรมต่างๆเหล่านี้เด็กที่เป็น Consumer อาจคิดว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เหนื่อย ยาก ไม่สนุกและไม่จำเป็น แต่ในมุมมองของเด็ก Creator แล้ว งานพวกนี้มันไม่ได้แย่อย่างที่คิด ขอแค่ต้องลอง ไม่ชอบก็เปลี่ยน (ใครๆก็เริ่มจากเป็น consumer ทั้งนั้น)
พวก
Creator กล้าที่จะออกไปเจอเพื่อนใหม่ๆ ที่มีแนวคิดเป็น Creator เหมือนเขา ซึ่งสุดท้ายเขาจะถูกห้อมล้อมไปด้วยคนที่เป็น Creator เหมือนกัน ในขณะเดียวกันเขาจำเป็นต้องลดระดับความสำคัญของเพื่อนกลุ่มเดิมที่เป็นแบบ Consumer ไม่ใช่เพราะไม่รักเพื่อนเก่า แต่วิธีหาความสุขของพวกเขามันไม่เหมือนกัน
ประสบการณ์ของ CREATOR
แล้วทำไมผมคิดว่าเด็กที่เป็น Creator ถึงมีโอกาสประสบความสำเร็จล่ะ? คำตอบหลักๆคือ พวกเขานั้นมีประสบการณืชีวิตมากกว่าคนทั่วไป ยิ่ง Create มาก ก็จะยิ่งได้ประสบการณ์มากเท่านั้นครับ ตัวอย่าง ประสบการณ์ที่เขาจะได้จากการ Create ได้แก่
1. การที่เด็กกลุ่ม Creator ได้ทำอะไรหลายๆอย่าง
ทำให้เขาได้เจองานหรืองานที่เขารัก (passion) และเข้าใจว่าการที่ได้ทำสิ่งที่ตัวเองรักนั้นมีความสุขขนาดไหน
2. การที่ได้ทำหลายๆอย่าง แน่นอนว่าเขาต้องประสบกับความล้มเหลวมากกว่า (อย่าลืมว่าเขาเคยเจอกับความล้มเหลวในเรื่องการเรียนมาแล้วด้วย)
ทำให้เขามีภูมิต้านทานต่อความล้มเหลวมากกว่าคนกลุ่ม Consumer การที่มีภูมิต้านทานนี้ ทำให้พวกเขากล้าเสี่ยงมากขึ้น สนุกและเคยชินกับการแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ใช่แค่โจทย์ในห้องเรียน และไม่ยอมแพ้กับอุปสรรค์ต่างๆ เอาง่ายๆ
3. ในขณะที่ A กำลังตั้งใจเรียนเพื่อให้ได้มีเกรดดีๆ Creator ทั้งหลายกำลังเรียนรู้บทเรียนต่างๆ ในชีวิต เช่น “ความสำเร็จที่แท้จริงนั้นต้องมีทีมที่ดี ไม่ใช่แบบ One man show” และ Connection นั้นสำคัญมาก
4.
และสำคัญที่สุด เขาเรียนรู้ว่าความสุขที่แท้จริง เกิดจากการได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบ ที่มีผลดีต่อคนอื่น ไม่ใช่เพียงแค่การมีชีวิตที่สบาย การมีรถหรู การได้เกรดดี หรือได้เงินเดือนสูงครับ
นี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมนักธุรกิจหรือบุคคลสำคัญ ทั้งในไทยและในระดับโลก เช่น Richard Branson คุณต๊อบเถ้าแก่น้อย หรือแม้กระทั่งประธานาธิบดี Bush เอง ที่เรียนไม่ได้เรื่อง แต่ก็ยังประสบความสำเร็จในชีวิตได้ แต่ถ้าเราย้อนกลับไปดูดีๆ เราก็จะพบว่าแต่ละคนเป็น Creator ตั้งแต่สมัยเรียนกันทั้งนั้น
ทุกคนต่างล้วนเกิดมาเป็น Consumer กันหมด ถึงเวลาแล้วที่เราจะเปลี่ยนตัวเองไปเป็น Creator ที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆให้กับเพื่อนบนโลก ทุกอย่างไม่มีคำว่าสายเกินไปครับ
หลายๆคนคงสงสัยว่า “ทำไมเด็กเกด A จะเป็น Creator ไม่ได้ล่ะ ?” ผมคิดว่าใครๆก็เป็นได้ครับ แต่น้อยคนนักที่จะเป็น ส่วนใหญ่เพราะว่าที่เหลือนั้นติด
“กับดัก” ของการแข่งขันในระบบการศึกษา กันหมดน่ะสิ กับดักนี้ทำให้พวกเขาเป็น A แบบ Consumer กันซะเยอะ
อะไรคือกับดักของการแข่งขัน? เด็กเกรด A ติดได้ยังไง และจะหนีจากกับดักนี้และเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็น Creator ได้อย่างไร อ่านต่อได้ที่บล็อกนี้เลยครับ
https://metapon.wordpress.com/2015/07/16/a-students-need-passion/
ขอบคุณที่อ่านครับ ชอบหรือไม่ชอบ อย่าลืม comment ถ้าเห็นด้วยอย่าลืม +1 และ แชร์นะคร้าบ ^^
ติดตามเพจเฟสบุ๊คหรือบล็อกผมได้ที่
http://www.facebook.com/metaponblog หรือ
http://metapon.wordpress.com คร้าบ
ขอบคุณครับ ^^
เด็กเกรด C แบบไหน ไม่แพ้เด็กเกรด A ?
“สำหรับเด็กที่เรียนดีได้รางวัลและเกรียตินิยม ผมขอบอกว่า ทำได้ดี แต่สำหรับเด็กเกรด C ทั้งหลายนั้น คุณก็สามารถเป็น ประธานาธิบดีได้เช่นกัน”
‘To those of you who are graduating this afternoon with high honours, awards and distinctions, I say, “Well done”. And as I like to tell the C-students: You too, can be president.’
ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเรียนเก่งขนาดไหน ก็มีสิทธิ์ประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งนั้น
แต่ใช่ว่าเด็กเกรด C ทุกประเภทจะประสบความสำเร็จ.. (หรือได้เป็นประธานาธิบดี)
มีเด็กเกรด C อยู่แค่ประเภทหนึ่ง ที่ผมคิดว่าพวกเขามีโอกาสสูงที่สุดในการที่จะประสบความสำเร็จในอนาคต พวกเขา มากกว่าเด็กเกรด A เสียอีก คนกลุ่มนี้คือคนที่เด็กเกรด A จะไปเป็นลูกน้องเขาด้วยซ้ำ ผมขอเรียกว่าเด็กเกรด C ประเภทนี้ว่า Creator ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผมจะพูดถึงในโพสต์นี้ครับ
ช้าก่อน! ก่อนอื่นผมขอใช้คำว่าเด็กเกรด C แทนเพื่อนๆที่สนใจการเรื่องเรียนน้อยกว่า หรือไม่ถนัดเรื่องเรียนเท่าเด็กเกรด A หรือเด็กเรียนดีที่ให้ความสำคัญกับเกรดเป็นอันดับแรก ผมแบ่งกลุ่มแบบนี้เพื่อให้เข้าใจง่ายและเรียกง่าย และไม่ได้ใช้เพราะต้องการบอกว่าใครถูกใครผิดนะครับ เพราะยังไงเราก็ไม่ควรตัดสินใครด้วยเกรดอย่างเดียวอยู่แล้ว
รู้จักกับ C ทั้ง 2 แบบ
เด็กเกรด C (และเด็กเกรดอื่นๆด้วย) นั้นสามารถแยกได้เป็น 2 แบบได้แก่ C แบบ Consumer หรือผู้บริโภค กับ C แบบ Creator หรือผู้ผลิต (การแยกประเภทแบบนี้ ผมได้ไอเดียมาจากคุณ Daniel Priestley ในหนังสือ Entrepreneur Revolution ครับ J )
CONSUMER
สำหรับเด็กที่เป็น Consumer จะเป็นประเภทที่ครอบคลุมคนหมู่มากในมหาลัย ชีวิตมหาลัยคือการได้มีอิสระกับชีวิตและสนุกให้เต็มที่ แบบที่ไม่ต้องสนค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เพราะยังสามารถขอค่าขนมจากพ่อแม่ได้อยู่
เด็กประเภทนี้เห็นการเรียนเป็นอุปสรรค์ที่จะต้องผ่านๆไป และเกรดนั้นไม่สำคัญกับพวกเขามากนัก เกรดเยอะก็ดี แต่เกรดน้อยก็ไม่เป็นไร เวลาที่เหลือจากการเรียนให้ “ผ่านๆ ไป” คือเวลาที่จะใช้ชีวิตเพื่อความสุขอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการออกไปเล่นกีฬา กินข้าวนอกบ้าน เล่นเกมและอื่นๆ อย่างไรก็ตาม พวกเขามักจะใช้ชีวิตในแต่ละอาทิตย์ในแบบที่ซ้ำๆ กัน
CREATORS
เด็กอีกประเภทคือเด็กเกรด C แบบ Creator หรือผู้ผลิต (ไม่ใช่แค่นักศิลปะนะครับ) คือคนที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆ หรือ”ผลิต” สิ่งที่มีคุณค่า ที่ทำให้โลกของเราดีขึ้น เช่นผลิตและขายของ จัดตั้งชมรม ทำงานเพื่อสังคม เป็นต้น ถึงพวกเขาจะต้องกิน ต้องใช้เหมือนกับพวก Consumer แต่การกินอาหารดีๆ นั้นไม่ไช่ที่มาหลัก ของความสุขของพวกเขา
ต่างจากเด็กแบบ Consumer ที่ใช้เวลาไปกับการมีชีวิตที่ “สบายๆ ชิวๆ สนุกไปวันๆ” เด็กแบบ Creator นั้นจริงจังกับชีวิตไม่แพ้เด็กเกรด A ที่จริงจังกับการเรียน และพวกเขาก็เป็นกลุ่มทีเด็กเกรด A เกรงขามเพราะพวกเขาเหล่า creator นั้นไม่เหมือนพวกตน และพวกเขาดูเก่ง (โดยเฉพาะ เก่ง “คน”) ในสายตาของเด็กเกรด A
Creator มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่ก็ยังมีน้อยกว่า Consumer มากนัก
เด็ก Creator ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนเพื่อเกรด พวกเขาอาจจะโดดเรียนบ้าง ลอกการบ้านบ้าง ทบทวนแค่ก่อนสอบบ้าง เพราะเขาเข้าใจว่าเกรดนั้นไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะได้จากชีวิตมหาลัย สำหรับเด็ก Creator (และ Consumer) ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ “อิน” กับสาขาที่เรียนอยู่ การทุ่มแรงกายและแรงใจร้อยเปอร์เซ็นต์เพื่อให้ได้มาซึ่งเกรียตินิยมนั้นจึงไม่ใช่ทางของเขา
อย่างไรก็ตาม พวก Creator ไม่ได้เอาเวลาที่โดดเรียน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเรียน เด็กเกรด C กลุ่มนี้ ไม่ได้รักสบาย เขาชอบออกไปหาอะไรใหม่ๆ ทำเรื่อยๆ ออกไปขายของหาเงิน เจอคนใหม่ๆที่งานเลี้ยงปาร์ตี้หรือสนามกีฬา สร้างชมรมใหม่ ฝึกเขียนโปรแกรม หางานทำและอื่นๆอีกมากมาย กิจกรรมต่างๆเหล่านี้เด็กที่เป็น Consumer อาจคิดว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เหนื่อย ยาก ไม่สนุกและไม่จำเป็น แต่ในมุมมองของเด็ก Creator แล้ว งานพวกนี้มันไม่ได้แย่อย่างที่คิด ขอแค่ต้องลอง ไม่ชอบก็เปลี่ยน (ใครๆก็เริ่มจากเป็น consumer ทั้งนั้น)
พวก Creator กล้าที่จะออกไปเจอเพื่อนใหม่ๆ ที่มีแนวคิดเป็น Creator เหมือนเขา ซึ่งสุดท้ายเขาจะถูกห้อมล้อมไปด้วยคนที่เป็น Creator เหมือนกัน ในขณะเดียวกันเขาจำเป็นต้องลดระดับความสำคัญของเพื่อนกลุ่มเดิมที่เป็นแบบ Consumer ไม่ใช่เพราะไม่รักเพื่อนเก่า แต่วิธีหาความสุขของพวกเขามันไม่เหมือนกัน
ประสบการณ์ของ CREATOR
แล้วทำไมผมคิดว่าเด็กที่เป็น Creator ถึงมีโอกาสประสบความสำเร็จล่ะ? คำตอบหลักๆคือ พวกเขานั้นมีประสบการณืชีวิตมากกว่าคนทั่วไป ยิ่ง Create มาก ก็จะยิ่งได้ประสบการณ์มากเท่านั้นครับ ตัวอย่าง ประสบการณ์ที่เขาจะได้จากการ Create ได้แก่
1. การที่เด็กกลุ่ม Creator ได้ทำอะไรหลายๆอย่าง ทำให้เขาได้เจองานหรืองานที่เขารัก (passion) และเข้าใจว่าการที่ได้ทำสิ่งที่ตัวเองรักนั้นมีความสุขขนาดไหน
2. การที่ได้ทำหลายๆอย่าง แน่นอนว่าเขาต้องประสบกับความล้มเหลวมากกว่า (อย่าลืมว่าเขาเคยเจอกับความล้มเหลวในเรื่องการเรียนมาแล้วด้วย) ทำให้เขามีภูมิต้านทานต่อความล้มเหลวมากกว่าคนกลุ่ม Consumer การที่มีภูมิต้านทานนี้ ทำให้พวกเขากล้าเสี่ยงมากขึ้น สนุกและเคยชินกับการแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ใช่แค่โจทย์ในห้องเรียน และไม่ยอมแพ้กับอุปสรรค์ต่างๆ เอาง่ายๆ
3. ในขณะที่ A กำลังตั้งใจเรียนเพื่อให้ได้มีเกรดดีๆ Creator ทั้งหลายกำลังเรียนรู้บทเรียนต่างๆ ในชีวิต เช่น “ความสำเร็จที่แท้จริงนั้นต้องมีทีมที่ดี ไม่ใช่แบบ One man show” และ Connection นั้นสำคัญมาก
4. และสำคัญที่สุด เขาเรียนรู้ว่าความสุขที่แท้จริง เกิดจากการได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองชอบ ที่มีผลดีต่อคนอื่น ไม่ใช่เพียงแค่การมีชีวิตที่สบาย การมีรถหรู การได้เกรดดี หรือได้เงินเดือนสูงครับ
นี่อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมนักธุรกิจหรือบุคคลสำคัญ ทั้งในไทยและในระดับโลก เช่น Richard Branson คุณต๊อบเถ้าแก่น้อย หรือแม้กระทั่งประธานาธิบดี Bush เอง ที่เรียนไม่ได้เรื่อง แต่ก็ยังประสบความสำเร็จในชีวิตได้ แต่ถ้าเราย้อนกลับไปดูดีๆ เราก็จะพบว่าแต่ละคนเป็น Creator ตั้งแต่สมัยเรียนกันทั้งนั้น
ทุกคนต่างล้วนเกิดมาเป็น Consumer กันหมด ถึงเวลาแล้วที่เราจะเปลี่ยนตัวเองไปเป็น Creator ที่สร้างสรรค์สิ่งดีๆให้กับเพื่อนบนโลก ทุกอย่างไม่มีคำว่าสายเกินไปครับ
หลายๆคนคงสงสัยว่า “ทำไมเด็กเกด A จะเป็น Creator ไม่ได้ล่ะ ?” ผมคิดว่าใครๆก็เป็นได้ครับ แต่น้อยคนนักที่จะเป็น ส่วนใหญ่เพราะว่าที่เหลือนั้นติด “กับดัก” ของการแข่งขันในระบบการศึกษา กันหมดน่ะสิ กับดักนี้ทำให้พวกเขาเป็น A แบบ Consumer กันซะเยอะ
อะไรคือกับดักของการแข่งขัน? เด็กเกรด A ติดได้ยังไง และจะหนีจากกับดักนี้และเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็น Creator ได้อย่างไร อ่านต่อได้ที่บล็อกนี้เลยครับ https://metapon.wordpress.com/2015/07/16/a-students-need-passion/
ขอบคุณที่อ่านครับ ชอบหรือไม่ชอบ อย่าลืม comment ถ้าเห็นด้วยอย่าลืม +1 และ แชร์นะคร้าบ ^^
ติดตามเพจเฟสบุ๊คหรือบล็อกผมได้ที่ http://www.facebook.com/metaponblog หรือ http://metapon.wordpress.com คร้าบ
ขอบคุณครับ ^^