รัฐบาลอนุมัติหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ 911 อ้างเพื่อความเป็นสากลจัดระบบโครงข่ายเชื่อมโยงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดโทษผู้แจ้งเท็จ สร้างความเดือดร้อนรำคาญจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่น
เหตุด่วนเหตุร้าย ต่อไปไม่ต้องแจ้ง 191 รัฐบาลยุคปฏิรูปกำหนดใช้หมายเลขฉุกเฉินแห่งชาติ 911 เลียนแบบสหรัฐ จัดระบบโครงข่ายเชื่อมโยงทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง กำหนดโทษผู้ที่แจ้งเท็จด้วย
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐ บาล วันที่ 14 กรกฎาคมนี้ วาระหนึ่งที่น่าสนใจคือ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ ร่างพระราชบัญญัติหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ โดยสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ คือ
1.กำหนดบทนิยามศัพท์ต่างๆ เพื่อความชัดเจนในการใช้บังคับกฎหมาย
2.กำหนดให้หมายเลข 911 เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติสำหรับใช้เพื่อการแจ้งเหตุฉุกเฉิน
3.กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และกรรมการโดยตำแหน่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาด ไทย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยมีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ได้รับมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ
4.กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้หน่วยงานของรัฐ และผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมจัดให้มีระบบโครงข่ายเชื่อมโยงในการให้บริการ ส่งเสริม และสนับสนุนหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการระงับและบรร เทาเหตุฉุกเฉิน เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรค เปลี่ยนแปลงการกำหนดหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ แต่งตั้งอนุกรรมการ รวมทั้งออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการ
5.กำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรม การ รับผิดชอบงานธุรการ งานวิชาการ และกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานของคณะกรรมการ
6.กำหนดห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเรียกเก็บค่าตอบแทน หรือค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการให้บริการหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติจากผู้แจ้งเหตุฉุกเฉิน
7.กำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้แจ้งเหตุฉุกเฉินโดยไม่เป็นความจริง
8.กำหนดให้ผู้รับแจ้งเหตุฉุกเฉินและผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ได้รับการคุ้มครอง และไม่เป็นความผิดกฎหมายสำหรับการเข้าถึงและแจ้งข้อมูลส่วนบุคคล ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงเรื่องนี้ในเวลาต่อมาว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนหมายเลขกลางตามสากล โดยใช้หมายเลข 911 แทนของเดิม 191 ทั้งนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ชื่อว่า คณะกรรมการบริหารหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยนายกฯ เป็นประธาน ทำการบริหารจัดการเชื่อมโยงเครือข่ายหมายเลขที่จำเป็นในการติดต่อฉุกเฉินของประชาชนเข้าสู่หมายเลขหลัก 911 เมื่อประชาชนติดต่อมาจะเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานที่ต้องการติดต่อโดยไม่คิดค่าบริการ ทั้งนี้ การโทร.เล่นหรือการโทร.ไปก่อกวนจะมีความผิดด้วย
พล.ต.สรรเสริญกล่าวด้วยว่า หมายเลข 911 ที่ ครม.อนุมัติเป็นเบอร์ฉุกเฉินแห่งชาติ สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายไปยังหน่วยงานที่ต้องการติดต่อได้มากกว่าหมายเลขเดิม ส่วนหมายเลข 191, 1669 ก็ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ
"ในการพิจารณาหมายเลขกลาง มี 2 หมาย เลขให้เลือก คือ 911 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ กับหมายเลข 112 เป็นหมายเลขที่ประเทศโซนยุโรปใช้ ซึ่ง ครม.พิจารณาเห็นว่าหมายเลข 911 เหมาะสมกว่า เพราะหมายเลข 112 อาจทำให้ประชาชนสับสนกับมาตรา 112 และถูกพาดพิงไปยังสถาบันได้
มีรายงานว่า ร่าง พ.ร.บ.ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เสนอหมายเลขโทรศัพท์ฉุก เฉินแห่งชาติให้ ครม.พิจารณาอนุมัตินั้น คือหมายเลข 191 แต่ที่ประชุม ครม. กลับปรับให้เป็นหมายเลข 911 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อความเป็นสากล นอกจากนี้ มีการกำหนดโทษผู้แจ้งเท็จ สร้างความตกใจ สร้างความเดือดร้อนรำคาญ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
เลือก 911 เบอร์ฉุกเฉินแห่งชาติ ครม.อนุมัติตามแบบสหรัฐแต่ 191 ยังใช้ตามเดิม
รัฐบาลอนุมัติหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ 911 อ้างเพื่อความเป็นสากลจัดระบบโครงข่ายเชื่อมโยงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดโทษผู้แจ้งเท็จ สร้างความเดือดร้อนรำคาญจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่น
เหตุด่วนเหตุร้าย ต่อไปไม่ต้องแจ้ง 191 รัฐบาลยุคปฏิรูปกำหนดใช้หมายเลขฉุกเฉินแห่งชาติ 911 เลียนแบบสหรัฐ จัดระบบโครงข่ายเชื่อมโยงทุกหน่วยที่เกี่ยวข้อง กำหนดโทษผู้ที่แจ้งเท็จด้วย
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐ บาล วันที่ 14 กรกฎาคมนี้ วาระหนึ่งที่น่าสนใจคือ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ ร่างพระราชบัญญัติหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ โดยสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ คือ
1.กำหนดบทนิยามศัพท์ต่างๆ เพื่อความชัดเจนในการใช้บังคับกฎหมาย
2.กำหนดให้หมายเลข 911 เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติสำหรับใช้เพื่อการแจ้งเหตุฉุกเฉิน
3.กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และกรรมการโดยตำแหน่งประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงมหาด ไทย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ และเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยมีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ได้รับมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ
4.กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้หน่วยงานของรัฐ และผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมจัดให้มีระบบโครงข่ายเชื่อมโยงในการให้บริการ ส่งเสริม และสนับสนุนหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการระงับและบรร เทาเหตุฉุกเฉิน เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรค เปลี่ยนแปลงการกำหนดหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ แต่งตั้งอนุกรรมการ รวมทั้งออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการ
5.กำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรม การ รับผิดชอบงานธุรการ งานวิชาการ และกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานของคณะกรรมการ
6.กำหนดห้ามผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมเรียกเก็บค่าตอบแทน หรือค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการให้บริการหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติจากผู้แจ้งเหตุฉุกเฉิน
7.กำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้แจ้งเหตุฉุกเฉินโดยไม่เป็นความจริง
8.กำหนดให้ผู้รับแจ้งเหตุฉุกเฉินและผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม ได้รับการคุ้มครอง และไม่เป็นความผิดกฎหมายสำหรับการเข้าถึงและแจ้งข้อมูลส่วนบุคคล ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงถึงเรื่องนี้ในเวลาต่อมาว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนหมายเลขกลางตามสากล โดยใช้หมายเลข 911 แทนของเดิม 191 ทั้งนี้จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง ชื่อว่า คณะกรรมการบริหารหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยนายกฯ เป็นประธาน ทำการบริหารจัดการเชื่อมโยงเครือข่ายหมายเลขที่จำเป็นในการติดต่อฉุกเฉินของประชาชนเข้าสู่หมายเลขหลัก 911 เมื่อประชาชนติดต่อมาจะเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานที่ต้องการติดต่อโดยไม่คิดค่าบริการ ทั้งนี้ การโทร.เล่นหรือการโทร.ไปก่อกวนจะมีความผิดด้วย
พล.ต.สรรเสริญกล่าวด้วยว่า หมายเลข 911 ที่ ครม.อนุมัติเป็นเบอร์ฉุกเฉินแห่งชาติ สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายไปยังหน่วยงานที่ต้องการติดต่อได้มากกว่าหมายเลขเดิม ส่วนหมายเลข 191, 1669 ก็ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ
"ในการพิจารณาหมายเลขกลาง มี 2 หมาย เลขให้เลือก คือ 911 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ กับหมายเลข 112 เป็นหมายเลขที่ประเทศโซนยุโรปใช้ ซึ่ง ครม.พิจารณาเห็นว่าหมายเลข 911 เหมาะสมกว่า เพราะหมายเลข 112 อาจทำให้ประชาชนสับสนกับมาตรา 112 และถูกพาดพิงไปยังสถาบันได้
มีรายงานว่า ร่าง พ.ร.บ.ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เสนอหมายเลขโทรศัพท์ฉุก เฉินแห่งชาติให้ ครม.พิจารณาอนุมัตินั้น คือหมายเลข 191 แต่ที่ประชุม ครม. กลับปรับให้เป็นหมายเลข 911 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อความเป็นสากล นอกจากนี้ มีการกำหนดโทษผู้แจ้งเท็จ สร้างความตกใจ สร้างความเดือดร้อนรำคาญ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558