ศาลปกครองเรียกไกล่เกลี่ยกสทช. และไทยทีวี ด้านสุภิญญาเผยทิศทางดี ย้ำเสนอ 2 แนวทาง คือหาผู้เช่าเวลา 40% หรือหาผู้เล่นรายใหม่และรายเดิมทยอยเข้าถือหุ้นสัดส่วนไม่เกิน 10% เผยไม่อยากให้ไทยทีวีเดินสู่ทางตัน พร้อมยืดเวลาให้ 60 วัน หรือแล้วแต่กรณีหากไทยทีวีเดินตามทางออกของกสทช. ล่าสุดในวันเดียวกันแผนงานขยายโครงข่ายทั้ง 3 แห่งติดตั้งครบ 39 สถานียกเว้นกรมประชาสัมพันธ์
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำหรับการไต่สวนเจรจาคดีระหว่างกสทช. และไทยทีวีวันนี้เป็นไปในทิศทางที่ดี โดยศาลได้เสนอทางออกให้เป็นไปตามกรอบข้อกฎหมายและดีต่อทุกฝ่าย ซึ่งในฐานะของกสทช.วันนี้ได้เสนอทางออกเป็น 2 แนวทาง คือ
1. สามารถให้เอกชนมาเช่าเวลาได้ในสัดส่วน 40% หรือคิดเป็น 9 ชม.ต่อวัน
2. สามารถเปลี่ยนมือผู้ถือใบอนุญาตได้ โดย ให้ผู้เช่ารายใหม่ หรือรายเดิมที่ไม่ได้ถือช่องใบอนุญาตช่องข่าวและช่องเอชดีสามารถเข้ามาถือหุ้นได้ในสัดส่วนไม่เกิน 10%
ขณะเดียวกันในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้จะเป็นวันที่ครบรอบ 30 วันการจ่ายเงินงวดที่ 2 สำหรับไทยทีวี แต่หากทางไทยทีวีสามารถหาทางออกร่วมกันกับกสทช.ได้ก็สามารถยืดระยะเวลาออกไปได้อีก เช่น 60 วัน เป็นต้น เพื่อให้อุตสาหกรรมเป็นไปได้ด้วยดี และไม่มีใครบาดเจ็บ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการหาทางออกของไทยทีวีว่าจะเป็นไปในรูปแบบไหน เพราะหากจะให้กสทช.ยึดใบอนุญาตไลเซนส์ก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจทีวีดาวเทียมเช่นกัน ดังนั้นกสทช.อยากให้ไทยทีวีคิดให้รอบด้าน เพราะปัญหายังมีทางออก ไม่ได้เหลือเพียงแค่ทางตัน
"โดยส่วนตัวมองว่าปัญหาเรื่องนี้ยังมีทางออก นั่นคือ 2 แนวทางดังกล่าว และวันนี้ก็เป็นทิศทางที่ดีที่ไทยทีวียินยอมที่จะไปพูดคุยกับเจ๊ติ๋มเพื่อหาทางออกที่ดี ขณะเดียวกันที่มีหลายฝ่ายเสนอทางออกการเปลี่ยนใบอนุญาต กสทช.ไม่ได้คัดค้านแต่อย่างใด แต่เพียงอยากให้การเปลี่ยนมือใบอนุญาตให้เป็นไปตามกรอบ หรือสามารถทยอยเข้าถือหุ้นก็ได้ แต่ไม่ใช่การหาทางออกโดยยกเลิกการทำธุรกิจและวันเดียวเปลี่ยนหุ้นทั้งหมด ซึ่งนั่นเป็นทางตัน อีกทั้งในเรื่องของพาร์ตเนอร์ที่จะเข้ามาร่วมกับไทยทีวีก็อยากให้มีภาพลักษณ์ที่ดี และชื่อใกล้เคียงกับชื่อหมวดหมู่ของช่องทีวีดิจิตอลบ้าง"
อย่างไรก็ตามสำหรับการไกล่เกลี่ยครั้งนี้กสทช.จะต้องไปเจรจากับบอร์ดอีกครั้ง พร้อมทั้งอยากให้นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือเจ๊ติ๋มเข้ามาเจรจาด้วยตัวเองเพื่อความชัดเจนและหาทางออกที่ดีร่วมกัน และการไกล่เกลี่ยครั้งนี้ก็อยากให้ชนะทั้ง 2 ฝ่าย หากไทยทีวีพร้อมที่จะเดินทางตามที่กสทช.เสนอการยืดระยะเวลาการจ่ายเงินก็สามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามต้องการให้ทุกฝ่ายมาเจรจาต่อหน้าศาลเพื่อสามารถเดินไปสู่ทางออกตามกรอบกฎหมายที่ดี ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้าจะมีการเรียกไทยทีวีเข้ามาเจรจาที่กสทช. และสัปดาห์ถัดไปจะมาเจรจาต่อหน้าศาลอีกครั้ง
นอกจากนี้ได้ร่วมหารือกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายทีวีดิจิตอลทั้ง 4 ราย ได้แก่ กองทัพบก บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ร่วมกับผู้แทนจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และผู้แทนบริษัท กสท โทร คมนาคม จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ โดยภาพรวมในการติดตั้งสถานีหลักทั้ง 39 สถานีครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นไปตามแผนที่ กสทช. ได้กำหนดไว้ ยกเว้นในส่วนของกรมประชา สัมพันธ์ที่ดำเนินการล่าช้า เนื่องจากติดขัดในขั้นตอนของระเบียบราชการ ในส่วนสถานีเสริมที่ต้องครบ รวม 8 สถานี คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม ครอบคลุม 80% ของจำนวนครัวเรือน
นางสาวสุภิญญากล่าวว่า ทาง กสทช. เตรียมทำบันทึกความร่วมมือร่วมกับกองทัพบกในฐานะผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายทีวีดิจิตอล เพื่อลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ และเปิดคลินิกทีวีดิจิตอลให้ความรู้กับประชาชนในระดับตำบล และอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชนเพื่อให้คำแนะนำแก่ประชาชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับทีวีดิจิตอล ทั้งนี้ กสทช. ได้เตรียมลงพื้นที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะยุติการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบอะนาล็อกเป็นพื้นที่แรก เพื่อนำคลื่นความถี่ดังกล่าวมาจัดสรรให้กับช่องบริการชุมชนต่อไป
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ศาลไกล่เกลี่ยกสทช.กับไทยทีวีชี้ช่องให้หาผู้เช่าเวลา/ผู้เล่นใหม่
ศาลปกครองเรียกไกล่เกลี่ยกสทช. และไทยทีวี ด้านสุภิญญาเผยทิศทางดี ย้ำเสนอ 2 แนวทาง คือหาผู้เช่าเวลา 40% หรือหาผู้เล่นรายใหม่และรายเดิมทยอยเข้าถือหุ้นสัดส่วนไม่เกิน 10% เผยไม่อยากให้ไทยทีวีเดินสู่ทางตัน พร้อมยืดเวลาให้ 60 วัน หรือแล้วแต่กรณีหากไทยทีวีเดินตามทางออกของกสทช. ล่าสุดในวันเดียวกันแผนงานขยายโครงข่ายทั้ง 3 แห่งติดตั้งครบ 39 สถานียกเว้นกรมประชาสัมพันธ์
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำหรับการไต่สวนเจรจาคดีระหว่างกสทช. และไทยทีวีวันนี้เป็นไปในทิศทางที่ดี โดยศาลได้เสนอทางออกให้เป็นไปตามกรอบข้อกฎหมายและดีต่อทุกฝ่าย ซึ่งในฐานะของกสทช.วันนี้ได้เสนอทางออกเป็น 2 แนวทาง คือ
1. สามารถให้เอกชนมาเช่าเวลาได้ในสัดส่วน 40% หรือคิดเป็น 9 ชม.ต่อวัน
2. สามารถเปลี่ยนมือผู้ถือใบอนุญาตได้ โดย ให้ผู้เช่ารายใหม่ หรือรายเดิมที่ไม่ได้ถือช่องใบอนุญาตช่องข่าวและช่องเอชดีสามารถเข้ามาถือหุ้นได้ในสัดส่วนไม่เกิน 10%
ขณะเดียวกันในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้จะเป็นวันที่ครบรอบ 30 วันการจ่ายเงินงวดที่ 2 สำหรับไทยทีวี แต่หากทางไทยทีวีสามารถหาทางออกร่วมกันกับกสทช.ได้ก็สามารถยืดระยะเวลาออกไปได้อีก เช่น 60 วัน เป็นต้น เพื่อให้อุตสาหกรรมเป็นไปได้ด้วยดี และไม่มีใครบาดเจ็บ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการหาทางออกของไทยทีวีว่าจะเป็นไปในรูปแบบไหน เพราะหากจะให้กสทช.ยึดใบอนุญาตไลเซนส์ก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจทีวีดาวเทียมเช่นกัน ดังนั้นกสทช.อยากให้ไทยทีวีคิดให้รอบด้าน เพราะปัญหายังมีทางออก ไม่ได้เหลือเพียงแค่ทางตัน
"โดยส่วนตัวมองว่าปัญหาเรื่องนี้ยังมีทางออก นั่นคือ 2 แนวทางดังกล่าว และวันนี้ก็เป็นทิศทางที่ดีที่ไทยทีวียินยอมที่จะไปพูดคุยกับเจ๊ติ๋มเพื่อหาทางออกที่ดี ขณะเดียวกันที่มีหลายฝ่ายเสนอทางออกการเปลี่ยนใบอนุญาต กสทช.ไม่ได้คัดค้านแต่อย่างใด แต่เพียงอยากให้การเปลี่ยนมือใบอนุญาตให้เป็นไปตามกรอบ หรือสามารถทยอยเข้าถือหุ้นก็ได้ แต่ไม่ใช่การหาทางออกโดยยกเลิกการทำธุรกิจและวันเดียวเปลี่ยนหุ้นทั้งหมด ซึ่งนั่นเป็นทางตัน อีกทั้งในเรื่องของพาร์ตเนอร์ที่จะเข้ามาร่วมกับไทยทีวีก็อยากให้มีภาพลักษณ์ที่ดี และชื่อใกล้เคียงกับชื่อหมวดหมู่ของช่องทีวีดิจิตอลบ้าง"
อย่างไรก็ตามสำหรับการไกล่เกลี่ยครั้งนี้กสทช.จะต้องไปเจรจากับบอร์ดอีกครั้ง พร้อมทั้งอยากให้นางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือเจ๊ติ๋มเข้ามาเจรจาด้วยตัวเองเพื่อความชัดเจนและหาทางออกที่ดีร่วมกัน และการไกล่เกลี่ยครั้งนี้ก็อยากให้ชนะทั้ง 2 ฝ่าย หากไทยทีวีพร้อมที่จะเดินทางตามที่กสทช.เสนอการยืดระยะเวลาการจ่ายเงินก็สามารถดำเนินการได้ อย่างไรก็ตามต้องการให้ทุกฝ่ายมาเจรจาต่อหน้าศาลเพื่อสามารถเดินไปสู่ทางออกตามกรอบกฎหมายที่ดี ทั้งนี้ในสัปดาห์หน้าจะมีการเรียกไทยทีวีเข้ามาเจรจาที่กสทช. และสัปดาห์ถัดไปจะมาเจรจาต่อหน้าศาลอีกครั้ง
นอกจากนี้ได้ร่วมหารือกับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายทีวีดิจิตอลทั้ง 4 ราย ได้แก่ กองทัพบก บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ร่วมกับผู้แทนจากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และผู้แทนบริษัท กสท โทร คมนาคม จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ โดยภาพรวมในการติดตั้งสถานีหลักทั้ง 39 สถานีครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นไปตามแผนที่ กสทช. ได้กำหนดไว้ ยกเว้นในส่วนของกรมประชา สัมพันธ์ที่ดำเนินการล่าช้า เนื่องจากติดขัดในขั้นตอนของระเบียบราชการ ในส่วนสถานีเสริมที่ต้องครบ รวม 8 สถานี คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม ครอบคลุม 80% ของจำนวนครัวเรือน
นางสาวสุภิญญากล่าวว่า ทาง กสทช. เตรียมทำบันทึกความร่วมมือร่วมกับกองทัพบกในฐานะผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายทีวีดิจิตอล เพื่อลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ และเปิดคลินิกทีวีดิจิตอลให้ความรู้กับประชาชนในระดับตำบล และอบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชนเพื่อให้คำแนะนำแก่ประชาชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับทีวีดิจิตอล ทั้งนี้ กสทช. ได้เตรียมลงพื้นที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะยุติการออกอากาศโทรทัศน์ในระบบอะนาล็อกเป็นพื้นที่แรก เพื่อนำคลื่นความถี่ดังกล่าวมาจัดสรรให้กับช่องบริการชุมชนต่อไป
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558