สวัสดีครับ เพื่อนๆ คราวที่แล้วผมได้รีวิวแป้งฝุ่น drug store ราคาถูกไปสองแบรนด์ (แป้งฝุ่นศรีจันทร์ และแป้งฝุ่น Innisfree ตามอ่านได้ที่
กระทู้นี้ครับ ) มีคำถามตามมาว่า แป้งราคาถูกและขนาดบรรจุเล็กนั้น ถ้าคิดเทียบปริมาณเท่าๆกับแป้งตามเคาน์เตอร์ห้างแล้ว ก็อาจไม่ถูกอย่างที่พวกเราคิดหรือไม่? ด้วยความสงสัยใครร่รู้ของผมเอง ผมเลยไปเก็บรวบรวมข้อมูลของแป้งแบรนด์ต่างๆ มาสรุปและแชร์ให้เพื่อนๆได้อ่านกันครับ
ก่อนอื่นต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่า กระทู้นี้ไม่ใช่การรีวิวสินค้าแป้งต่างๆ แต่เป็นการวิเคราะห์จากข้อมูลทั่วๆไปที่หาเองได้ครับ ซึ่งในครั้งนี้ ผมขอวิเคราะห์เพียง 2 ปัจจัยที่น่าจะมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกซื้อแป้งของเพื่อนๆครับ ซึ่งในชีวิตจริงการเลือกซื้อแป้งนั้น ต้องคำนึงถึงสภาพ ผิวหน้าของเรา ความต้องการ และคุณสมบัติต่างๆของแป้งอีกด้วย แต่ในกระทู้นี้จะยกมาเพียง 2 เรื่อง เพื่อวิเคราะห์ให้เพื่อนๆนำเก็บไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อแป้งครับ
วันนี้เราจะมาดู กลุ่มตัวอย่างจากแป้งที่คิดว่าเพื่อนๆน่าจะคุ้นเคยทั้งหมด 21 แบรนด์ จำนวน 22 ชิ้น (มีแป้งของ MAC จำนวน 2 ชิ้น) ส่วนใหญ่เป็นแป้งฝุ่น (Loose Powder) และบางชนิดเป็นแป้งฝุ่นอัดแข็ง (Pressed Powder) ครับ ตามภาพเลยนะครับ
1. Catrice Prime And Fine Translucent Loose Powder
2. Chanel Poudre Universelle Libre Natural Finish Loose Powder
3. Cle de Peau Loose Powder
4. Clinique Blended Face Powder & Brush
5. Covermark Finishing Powder S JQ
6. Essence All About Matt Fixing Compact Powder
7. Givenchy Prisme Libre Loose Powder Quartet Air Sensation
8. Guerlain Météorites Powder For The Face
9. Hourglass Ambient Lighting Powder in Diffused Light
10. Innisfree No-Sebum Mineral Powder
11. La Mer The Powder
12. La Prairie Cellular Treatment Loose Powder
13. Laura Mercier Loose Setting Powder - Translucent
14. MAC Mineralize Skinfinish Natural (ขอเรียกว่า MAC 1)
15. MAC Prep + Prime Transparent Finishing Powder (ขอเรียกว่า MAC 2)
16. Make Up For Ever HD High Definition Microfinish Powder
17. NARS Light Reflecting Setting Powder
18. Rimmel Stay Matte Pressed Powder
19. Shu Uemura Face Powder Matte in Colorless
20. Srichand Translucent Powder
21. Three Ultimate Diaphanous Loose Powder
22. Urban Decay Naked Skin Ultra Definition Loose Finishing Powder
ปัจจัยประกอบการตัดสินใจ
1.
ราคา (Price)
ปัจจัยเรื่องราคา นี่น่าสนใจครับ ปกติในการบริโภคของที่เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต เช่น ยา เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ความต้องการ (demand) ของสินค้าเหล่านี้มักไม่อ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา โดยทั่วๆไป เครื่องสำอาง หรือ skin care มักจะถูกนับว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย หรือไม่จำเป็น ดังนั้นจึงน่าจะมีความอ่อนไหวต่อราคาพอสมควร แต่มาลองนึกเล่นๆดูครับ ว่า ถ้าคุณผู้หญิงต้องละทิ้งการแต่งหน้าหรือใช้เครื่องสำอางในชีวิตประจำวันไปหมดเลย นี่คงเป็นเรื่องน่าหนักใจสำหรับหลายๆคน ใช่ไหมครับ? สำหรับบางคนนั้นเครื่องสำอางเรียกว่าเป็นของประจำกายและจำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตประจำวันเลยทีเดียว นอกจากนี้เครื่องสำอางยังค่อนข้างใกล้ชิดกับผิวหน้าของเรา สินค้าเครื่องสำอางจึงค่อนข้างมีความผูกพันกับคุณผู้บริโภคสาวๆมาก และบางคนก็มีความผูกพันกับบางแบรนด์เป็นพิเศษ ดังนั้นในกรณีนี้ ปัจจัยเรื่องราคา จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญอันดับแรกๆครับ หรือในบางเคส บางคนยิ่งรู้สึกว่ายิ่งแพง ยิ่งดู เป็นการซื้อความ premium ไปในตัวสินค้าด้วย
สำหรับคุณผู้ชายซึ่งปกติไม่ได้ใช้แป้ง makeup หรือเครื่องสำอางมากมายในชีวิตประจำวัน อาจจะมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยราคามากกว่าคุณผู้หญิงอีกครับ ดังนั้น ปัจจัยเรื่องราคานี้ อาจจะมีความสำคัญมากน้อย แตกต่างกันไป แล้วแต่คน รวมไปจนถึงระดับรายได้ด้วยครับ
ผมได้รวบรวมราคาแป้งฝุ่น และแป้งอัดแข็งของแบรนด์ต่างๆ จากห้างสรรพสินค้าและร้านค้าละแวกสยามสแควร์ กลางกรุงครับ และราคาเหล่านี้เป็นราคาขายปลีกที่เคาน์เตอร์ ที่ไม่มีการลดราคา หรือโปรโมชั่นพิเศษใดๆครับ ดังนั้นถ้าเพื่อนๆสามารถซื้อสินค้าที่จัดโปร หรือมีบัตรส่วนลด หรือซื้อของจาก duty free ได้ ราคาอาจจะถูกกว่าที่แสดงไว้ครับ นอกจากนี้ สินค้าบางแบรนด์ เช่น Hourglass นั้นยังไม่มีการเปิดร้านหรือมีเคาน์เตอร์ในห้างทั่วๆไป ผมใช้ราคาขายปลีกอ้างอิงจากห้างในต่างประเทศครับ โดยมีการแปลงตามอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงปัจจุบันนี้ เราไปดูราคาและขนาดบรรจุของแป้งแต่ละชนิดกันเลยครับ
เพื่อให้ง่ายต่อการดู ผมขอสรุปเป็นกราฟไว้ดังนี้ครับ
Figure 1 นั้นแสดงราคาขายปลีก (หน่วยบาท) ของแป้งยี่ห้อต่างๆครับ โดยมีแป้งตั้งแต่ราคาหลักร้อยกว่าบาท ไปจนถึงสี่พันกว่าบาทเลยทีเดียว ค่าเฉลี่ยราคาของกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่ประมาณ 1,580 บาทครับ
หลายๆคนพิจารณาราคาขายปลีก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควักจ่ายครั้งเดียวที่แคชเชียร์ ณ ตอนซื้อ มากกว่าคำนวณราคาต่อหน่วยของสินค้า แต่ทั้งนี้เนื่องจากแป้งชนิดต่างๆมีขนาดบรรจุ หรือ size ที่แตกต่างกัน ผมจึงคำนวณราคาต่อกรัม ซึ่งน่าจะเป็นตัวชี้ถึงความคุ้มค่าของราคาได้ดีกว่า และแสดงไว้ใน Figure 2 ครับ สิ่งที่น่าสนใจจากการดูแค่กราฟใน Figure 2 ก็คือ ราคาต่อหน่วยของแป้งที่ชื่อแบรนด์เหมือนจะแพง แต่หารต่อกรัมออกมาไม่แพงอย่างที่คิด จะเห็นว่าแป้ง MAC ทั้งสองตัวนั้น มีราคาต่อกรัมสูงกว่า แป้ง La Mer, Chanel, Laura Mercier และ La Prairie อีกครับ !!! ที่น่าสนใจคือแป้ง La Prairie แบรนด์ไฮโซของฝรั่งเศสนี้ ถึงแม้ราคาขายปลีกจะแพง (มากกว่าสามพันบาท) แต่ให้แป้งจุมากถึง 56 กรัม และยังแถมกระปุกเล็กให้อีก 10 กรัม รวม 66 กรัม เรียกว่าคุ้มมากเลยนะครับ
2.
ความพึงพอใจของสังคมออนไลน์ (Satisfaction Rating)
เพื่อพิจารณาและเฟ้นหา แป้งที่”ถูกและดี” หรือถ้าจะให้เหมาะน่าจะใช้คำว่า แป้งที่”คุ้มค่าและดี” นั้นต้องหาเครื่องมือวัดความดีงาม หรือคุณภาพของตัว product นี้ ซึ่ง ในแต่ละคนก็จะมีสภาพผิว ความต้องการ และความชอบต่างๆกันไป ความเห็นของคนนึงอาจจะไม่ตรงกับอีกคนนึง ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพื่อแก้ปัญหาผมเลยเลือกตัววัดความพึงพอใจที่เก็บจากสังคมออนไลน์ที่มีการรีวิวหรือให้คะแนนเป็น score เก็บไว้จาก website ที่มีชื่อเสียง และมีผู้ใช้งานเยอะ ซึ่งประกอบไปด้วย เว็บ MakeupAlley, Sephora, TotalBeauty, Beautypedia/Paulaschioce และเว็บไทยอย่าง Vanilla.in.th ซึ่งแต่ละเว็บนั้นจะมีการให้ rating สินค้าต่างๆ ซึ่งอาจจะมีจาก user ที่ซื้อไปใช้เองจริง หรือมาจาก editor ที่ดูแลเว็บนั้นๆครับ โดยผมได้ทำการคำนวณค่าความพึงพอใจของแต่ละแบรนด์แป้ง โดยหาค่าเฉลี่ยแบบง่ายๆจาก rating ของเว็บต่างๆ โดยปรับให้ค่า rating มีคะแนนเต็มที่ 5.0 คะแนนครับ ซึ่งทั้งนี้ บางสินค้าแป้งอาจจะมีการรีวิวน้อยในเว็บต่างประเทศ เช่น แป้งศรีจันทร์ หรือ แป้งของ THREE ซึ่งอาจจะทำให้ค่าความพึงพอใจของแบรนด์นั้นๆ มีการ bias ได้ และผมคำนวณค่าพึงพอใจจาก source ต่างๆตามที่หาพบครับ บางเว็บถ้าไม่มีการรีวิวแป้งตัวไหนที่ยกมา ก็จะไม่นำคะแนนที่หายไปจากเว็บนั้นมาคิดเฉลี่ยครับ
เพื่อให้ดูง่ายผมก็เลยขอสรุป ทั้งปัจจัยราคา (โดยใช้ ราคาต่อกรัม) และความพึงพอใจของสังคมออนไลน์ ไว้ในกราฟ scatter plot ตาม Figure 3 ด้านล่างนี้ครับ
จากกราฟจะเห็นว่า จุดต่างๆซึ่งแสดงถึงตำแหน่งของแป้งแบรนด์ต่างๆ โดยให้ราคาต่อกรัมเป็นแกนนอน (X-axis) และค่าความพึงพอใจของสังคมออนไลน์เป็นแกนตั้ง (Y-axis) นั้นค่อนข้างที่จะกระจัดกระจายครับ และถ้าดูด้วยตาเปล่าก็พอจะอนุมานได้ว่า ราคา(ต่อกรัม)และคุณภาพ (ค่าความพึงพอใจ)นั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนครับ และถ้าคำนวณตัวเลข Pearson’s Correlation Coefficient ของสองปัจจัยนี้ จะพบว่าแทบไม่มีความสัมพันธ์กันเลย (คือมีค่าใกล้ 0 มาก) ดังนั้นคำถามที่ว่า แป้งที่ราคาแพงนั้นแปลว่ามีคุณภาพสูงและดีกว่าแป้งราคาถูก ใช่หรือไม่ ก็ขอตอบเลยว่า ไม่จำเป็นครับ
สำหรับราคาต่อกรัมของกลุ่มตัวอย่างนี้ มีค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 95 บาท/กรัม และมีค่าเบียงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) ที่ประมาณ 62 บาท ดังนั้นจะเห็นว่า แป้งส่วนใหญ่นั้นมีราคาต่อกรัมค่อนข้างเกาะกลุ่มกัน และมีเพียงไม่กี่ item ที่ราคาต่อกรัมนั้นหลุดออกจากช่วง ค่าเฉลี่ย +/- 1S.D. เพื่อให้ง่ายผมขอแบ่งกลุ่มแป้งในกลุ่มตัวอย่างนี้ออกเป็นสามกลุ่มคือ
1. แป้งราคาถูก : ราคา/กรัม < ราคาเฉลี่ย – S.D.
2. แป้งราคามาตรฐาน : ราคาเฉลี่ย – S.D. <= ราคา/กรัม <= ราคาเฉลี่ย + S.D.
3. แป้งราคาแพง : ราคา/กรัม > ราคาเฉลี่ย + S.D.
ผมแสดงแบ่งกลุ่มโดยแบ่งตามเฉดสีใน Figure ที่ 4 ด้านล่างนี่ครับ
ดังนั้นตามภาพเลยนะครับ เพื่อนๆคงจะเห็นแล้วว่าแป้งไหนบ้างที่ราคาในแง่ความคุ้มค่าต่อหน่วย ถือว่าถูก กลางๆ และแพงครับ และเมื่อรวมกับปัจจัยเรื่องความพึงพอใจโดยอ้างอิงจากคะแนนรีวิวออนไลน์แล้ว สามารถสรุปได้เป็นกราฟตาม Figure 5 ครับ
เราจะเห็นว่า แป้งที่ถือว่าคุ้มค่าราคา และ ดีนั้น ควรจะอยู่ไปในทางตะวันตกเฉียงเหนือของกราฟ (ตามที่ลูกศรชี้) โดยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของราคาต่อกรัม และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ เราจึงควรเลือกแป้งที่มีราคาต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และคุณภาพดีโดยมีค่าความพึงพอใจสูงกว่าค่าเฉลี่ยนั่นเอง ดังนั้น แป้งที่คุ้มค่าราคาและดีจะอยู่ใน zone ที่ผมไฮไลท์สีฟ้าไว้ครับ
ทั้งหมดทั้งมวลรวมกันแล้วสรุปได้ว่า ดังนี้ครับ
1. แป้งที่ราคาแพง ไม่จำเป็นว่าจะดีกว่าแป้งราคาถูกเสมอไป
2. แป้งที่ราคาขายปลีกถูกกว่า หากคิดต่อหน่วย(กรัม) อาจจะคุ้มค่าไม่เทียบเท่าแป้งแบรนด์ high-end ก็ได้
3. จากการวิเคราะห์โดยยึดเพียงสองปัจจัยคือ ราคา และ ความพึงพอใจของชาวออนไลน์ แป้งที่ถือว่า ”คุ้มค่าและดี” ได้แก่ แป้ง Catrice, Chanel, Innisfree, La Prairie, Laura Mercier, และแป้ง Shu Uemura ครับ !!
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นครับ การวิเคราะห์นี้นั้นใช้เพียงข้อมูลจากสองปัจจัยในการตัดสินใจซื้อแป้งเท่านั้น ซึ่งแต่ละคนอาจจะแคร์สองปัจจัยนี้มากน้อยต่างกันครับ ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยอื่นๆ ในเรื่อง ความต้องการของผู้ใช้และคุณสมบัติของแป้งอีกที่ยังต้องคำนึงถึง การวิเคราะห์นี้จึงเป็นเพียงข้อมูลที่แชร์ไว้ให้เพื่อนๆประกอบการตัดสินใจครับ
หวังว่ากระทู้นี้คงเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านบ้างนะครับ เดี๋ยวคราวหน้าจะมา deep review แป้งที่น่าสนใจให้อ่านกันครับ
[Analysis] เลือกแป้งฝุ่น"ถูกและดี" จากการวิเคราะห์แป้ง 21 แบรนด์
ก่อนอื่นต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่า กระทู้นี้ไม่ใช่การรีวิวสินค้าแป้งต่างๆ แต่เป็นการวิเคราะห์จากข้อมูลทั่วๆไปที่หาเองได้ครับ ซึ่งในครั้งนี้ ผมขอวิเคราะห์เพียง 2 ปัจจัยที่น่าจะมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกซื้อแป้งของเพื่อนๆครับ ซึ่งในชีวิตจริงการเลือกซื้อแป้งนั้น ต้องคำนึงถึงสภาพ ผิวหน้าของเรา ความต้องการ และคุณสมบัติต่างๆของแป้งอีกด้วย แต่ในกระทู้นี้จะยกมาเพียง 2 เรื่อง เพื่อวิเคราะห์ให้เพื่อนๆนำเก็บไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อแป้งครับ
วันนี้เราจะมาดู กลุ่มตัวอย่างจากแป้งที่คิดว่าเพื่อนๆน่าจะคุ้นเคยทั้งหมด 21 แบรนด์ จำนวน 22 ชิ้น (มีแป้งของ MAC จำนวน 2 ชิ้น) ส่วนใหญ่เป็นแป้งฝุ่น (Loose Powder) และบางชนิดเป็นแป้งฝุ่นอัดแข็ง (Pressed Powder) ครับ ตามภาพเลยนะครับ
1. Catrice Prime And Fine Translucent Loose Powder
2. Chanel Poudre Universelle Libre Natural Finish Loose Powder
3. Cle de Peau Loose Powder
4. Clinique Blended Face Powder & Brush
5. Covermark Finishing Powder S JQ
6. Essence All About Matt Fixing Compact Powder
7. Givenchy Prisme Libre Loose Powder Quartet Air Sensation
8. Guerlain Météorites Powder For The Face
9. Hourglass Ambient Lighting Powder in Diffused Light
10. Innisfree No-Sebum Mineral Powder
11. La Mer The Powder
12. La Prairie Cellular Treatment Loose Powder
13. Laura Mercier Loose Setting Powder - Translucent
14. MAC Mineralize Skinfinish Natural (ขอเรียกว่า MAC 1)
15. MAC Prep + Prime Transparent Finishing Powder (ขอเรียกว่า MAC 2)
16. Make Up For Ever HD High Definition Microfinish Powder
17. NARS Light Reflecting Setting Powder
18. Rimmel Stay Matte Pressed Powder
19. Shu Uemura Face Powder Matte in Colorless
20. Srichand Translucent Powder
21. Three Ultimate Diaphanous Loose Powder
22. Urban Decay Naked Skin Ultra Definition Loose Finishing Powder
ปัจจัยประกอบการตัดสินใจ
1. ราคา (Price)
ปัจจัยเรื่องราคา นี่น่าสนใจครับ ปกติในการบริโภคของที่เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต เช่น ยา เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ความต้องการ (demand) ของสินค้าเหล่านี้มักไม่อ่อนไหวง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา โดยทั่วๆไป เครื่องสำอาง หรือ skin care มักจะถูกนับว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย หรือไม่จำเป็น ดังนั้นจึงน่าจะมีความอ่อนไหวต่อราคาพอสมควร แต่มาลองนึกเล่นๆดูครับ ว่า ถ้าคุณผู้หญิงต้องละทิ้งการแต่งหน้าหรือใช้เครื่องสำอางในชีวิตประจำวันไปหมดเลย นี่คงเป็นเรื่องน่าหนักใจสำหรับหลายๆคน ใช่ไหมครับ? สำหรับบางคนนั้นเครื่องสำอางเรียกว่าเป็นของประจำกายและจำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตประจำวันเลยทีเดียว นอกจากนี้เครื่องสำอางยังค่อนข้างใกล้ชิดกับผิวหน้าของเรา สินค้าเครื่องสำอางจึงค่อนข้างมีความผูกพันกับคุณผู้บริโภคสาวๆมาก และบางคนก็มีความผูกพันกับบางแบรนด์เป็นพิเศษ ดังนั้นในกรณีนี้ ปัจจัยเรื่องราคา จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญอันดับแรกๆครับ หรือในบางเคส บางคนยิ่งรู้สึกว่ายิ่งแพง ยิ่งดู เป็นการซื้อความ premium ไปในตัวสินค้าด้วย
สำหรับคุณผู้ชายซึ่งปกติไม่ได้ใช้แป้ง makeup หรือเครื่องสำอางมากมายในชีวิตประจำวัน อาจจะมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยราคามากกว่าคุณผู้หญิงอีกครับ ดังนั้น ปัจจัยเรื่องราคานี้ อาจจะมีความสำคัญมากน้อย แตกต่างกันไป แล้วแต่คน รวมไปจนถึงระดับรายได้ด้วยครับ
ผมได้รวบรวมราคาแป้งฝุ่น และแป้งอัดแข็งของแบรนด์ต่างๆ จากห้างสรรพสินค้าและร้านค้าละแวกสยามสแควร์ กลางกรุงครับ และราคาเหล่านี้เป็นราคาขายปลีกที่เคาน์เตอร์ ที่ไม่มีการลดราคา หรือโปรโมชั่นพิเศษใดๆครับ ดังนั้นถ้าเพื่อนๆสามารถซื้อสินค้าที่จัดโปร หรือมีบัตรส่วนลด หรือซื้อของจาก duty free ได้ ราคาอาจจะถูกกว่าที่แสดงไว้ครับ นอกจากนี้ สินค้าบางแบรนด์ เช่น Hourglass นั้นยังไม่มีการเปิดร้านหรือมีเคาน์เตอร์ในห้างทั่วๆไป ผมใช้ราคาขายปลีกอ้างอิงจากห้างในต่างประเทศครับ โดยมีการแปลงตามอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงปัจจุบันนี้ เราไปดูราคาและขนาดบรรจุของแป้งแต่ละชนิดกันเลยครับ
เพื่อให้ง่ายต่อการดู ผมขอสรุปเป็นกราฟไว้ดังนี้ครับ
Figure 1 นั้นแสดงราคาขายปลีก (หน่วยบาท) ของแป้งยี่ห้อต่างๆครับ โดยมีแป้งตั้งแต่ราคาหลักร้อยกว่าบาท ไปจนถึงสี่พันกว่าบาทเลยทีเดียว ค่าเฉลี่ยราคาของกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่ประมาณ 1,580 บาทครับ
หลายๆคนพิจารณาราคาขายปลีก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควักจ่ายครั้งเดียวที่แคชเชียร์ ณ ตอนซื้อ มากกว่าคำนวณราคาต่อหน่วยของสินค้า แต่ทั้งนี้เนื่องจากแป้งชนิดต่างๆมีขนาดบรรจุ หรือ size ที่แตกต่างกัน ผมจึงคำนวณราคาต่อกรัม ซึ่งน่าจะเป็นตัวชี้ถึงความคุ้มค่าของราคาได้ดีกว่า และแสดงไว้ใน Figure 2 ครับ สิ่งที่น่าสนใจจากการดูแค่กราฟใน Figure 2 ก็คือ ราคาต่อหน่วยของแป้งที่ชื่อแบรนด์เหมือนจะแพง แต่หารต่อกรัมออกมาไม่แพงอย่างที่คิด จะเห็นว่าแป้ง MAC ทั้งสองตัวนั้น มีราคาต่อกรัมสูงกว่า แป้ง La Mer, Chanel, Laura Mercier และ La Prairie อีกครับ !!! ที่น่าสนใจคือแป้ง La Prairie แบรนด์ไฮโซของฝรั่งเศสนี้ ถึงแม้ราคาขายปลีกจะแพง (มากกว่าสามพันบาท) แต่ให้แป้งจุมากถึง 56 กรัม และยังแถมกระปุกเล็กให้อีก 10 กรัม รวม 66 กรัม เรียกว่าคุ้มมากเลยนะครับ
2. ความพึงพอใจของสังคมออนไลน์ (Satisfaction Rating)
เพื่อพิจารณาและเฟ้นหา แป้งที่”ถูกและดี” หรือถ้าจะให้เหมาะน่าจะใช้คำว่า แป้งที่”คุ้มค่าและดี” นั้นต้องหาเครื่องมือวัดความดีงาม หรือคุณภาพของตัว product นี้ ซึ่ง ในแต่ละคนก็จะมีสภาพผิว ความต้องการ และความชอบต่างๆกันไป ความเห็นของคนนึงอาจจะไม่ตรงกับอีกคนนึง ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพื่อแก้ปัญหาผมเลยเลือกตัววัดความพึงพอใจที่เก็บจากสังคมออนไลน์ที่มีการรีวิวหรือให้คะแนนเป็น score เก็บไว้จาก website ที่มีชื่อเสียง และมีผู้ใช้งานเยอะ ซึ่งประกอบไปด้วย เว็บ MakeupAlley, Sephora, TotalBeauty, Beautypedia/Paulaschioce และเว็บไทยอย่าง Vanilla.in.th ซึ่งแต่ละเว็บนั้นจะมีการให้ rating สินค้าต่างๆ ซึ่งอาจจะมีจาก user ที่ซื้อไปใช้เองจริง หรือมาจาก editor ที่ดูแลเว็บนั้นๆครับ โดยผมได้ทำการคำนวณค่าความพึงพอใจของแต่ละแบรนด์แป้ง โดยหาค่าเฉลี่ยแบบง่ายๆจาก rating ของเว็บต่างๆ โดยปรับให้ค่า rating มีคะแนนเต็มที่ 5.0 คะแนนครับ ซึ่งทั้งนี้ บางสินค้าแป้งอาจจะมีการรีวิวน้อยในเว็บต่างประเทศ เช่น แป้งศรีจันทร์ หรือ แป้งของ THREE ซึ่งอาจจะทำให้ค่าความพึงพอใจของแบรนด์นั้นๆ มีการ bias ได้ และผมคำนวณค่าพึงพอใจจาก source ต่างๆตามที่หาพบครับ บางเว็บถ้าไม่มีการรีวิวแป้งตัวไหนที่ยกมา ก็จะไม่นำคะแนนที่หายไปจากเว็บนั้นมาคิดเฉลี่ยครับ
เพื่อให้ดูง่ายผมก็เลยขอสรุป ทั้งปัจจัยราคา (โดยใช้ ราคาต่อกรัม) และความพึงพอใจของสังคมออนไลน์ ไว้ในกราฟ scatter plot ตาม Figure 3 ด้านล่างนี้ครับ
จากกราฟจะเห็นว่า จุดต่างๆซึ่งแสดงถึงตำแหน่งของแป้งแบรนด์ต่างๆ โดยให้ราคาต่อกรัมเป็นแกนนอน (X-axis) และค่าความพึงพอใจของสังคมออนไลน์เป็นแกนตั้ง (Y-axis) นั้นค่อนข้างที่จะกระจัดกระจายครับ และถ้าดูด้วยตาเปล่าก็พอจะอนุมานได้ว่า ราคา(ต่อกรัม)และคุณภาพ (ค่าความพึงพอใจ)นั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนครับ และถ้าคำนวณตัวเลข Pearson’s Correlation Coefficient ของสองปัจจัยนี้ จะพบว่าแทบไม่มีความสัมพันธ์กันเลย (คือมีค่าใกล้ 0 มาก) ดังนั้นคำถามที่ว่า แป้งที่ราคาแพงนั้นแปลว่ามีคุณภาพสูงและดีกว่าแป้งราคาถูก ใช่หรือไม่ ก็ขอตอบเลยว่า ไม่จำเป็นครับ
สำหรับราคาต่อกรัมของกลุ่มตัวอย่างนี้ มีค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 95 บาท/กรัม และมีค่าเบียงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) ที่ประมาณ 62 บาท ดังนั้นจะเห็นว่า แป้งส่วนใหญ่นั้นมีราคาต่อกรัมค่อนข้างเกาะกลุ่มกัน และมีเพียงไม่กี่ item ที่ราคาต่อกรัมนั้นหลุดออกจากช่วง ค่าเฉลี่ย +/- 1S.D. เพื่อให้ง่ายผมขอแบ่งกลุ่มแป้งในกลุ่มตัวอย่างนี้ออกเป็นสามกลุ่มคือ
1. แป้งราคาถูก : ราคา/กรัม < ราคาเฉลี่ย – S.D.
2. แป้งราคามาตรฐาน : ราคาเฉลี่ย – S.D. <= ราคา/กรัม <= ราคาเฉลี่ย + S.D.
3. แป้งราคาแพง : ราคา/กรัม > ราคาเฉลี่ย + S.D.
ผมแสดงแบ่งกลุ่มโดยแบ่งตามเฉดสีใน Figure ที่ 4 ด้านล่างนี่ครับ
ดังนั้นตามภาพเลยนะครับ เพื่อนๆคงจะเห็นแล้วว่าแป้งไหนบ้างที่ราคาในแง่ความคุ้มค่าต่อหน่วย ถือว่าถูก กลางๆ และแพงครับ และเมื่อรวมกับปัจจัยเรื่องความพึงพอใจโดยอ้างอิงจากคะแนนรีวิวออนไลน์แล้ว สามารถสรุปได้เป็นกราฟตาม Figure 5 ครับ
เราจะเห็นว่า แป้งที่ถือว่าคุ้มค่าราคา และ ดีนั้น ควรจะอยู่ไปในทางตะวันตกเฉียงเหนือของกราฟ (ตามที่ลูกศรชี้) โดยเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของราคาต่อกรัม และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ เราจึงควรเลือกแป้งที่มีราคาต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และคุณภาพดีโดยมีค่าความพึงพอใจสูงกว่าค่าเฉลี่ยนั่นเอง ดังนั้น แป้งที่คุ้มค่าราคาและดีจะอยู่ใน zone ที่ผมไฮไลท์สีฟ้าไว้ครับ
ทั้งหมดทั้งมวลรวมกันแล้วสรุปได้ว่า ดังนี้ครับ
1. แป้งที่ราคาแพง ไม่จำเป็นว่าจะดีกว่าแป้งราคาถูกเสมอไป
2. แป้งที่ราคาขายปลีกถูกกว่า หากคิดต่อหน่วย(กรัม) อาจจะคุ้มค่าไม่เทียบเท่าแป้งแบรนด์ high-end ก็ได้
3. จากการวิเคราะห์โดยยึดเพียงสองปัจจัยคือ ราคา และ ความพึงพอใจของชาวออนไลน์ แป้งที่ถือว่า ”คุ้มค่าและดี” ได้แก่ แป้ง Catrice, Chanel, Innisfree, La Prairie, Laura Mercier, และแป้ง Shu Uemura ครับ !!
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นครับ การวิเคราะห์นี้นั้นใช้เพียงข้อมูลจากสองปัจจัยในการตัดสินใจซื้อแป้งเท่านั้น ซึ่งแต่ละคนอาจจะแคร์สองปัจจัยนี้มากน้อยต่างกันครับ ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยอื่นๆ ในเรื่อง ความต้องการของผู้ใช้และคุณสมบัติของแป้งอีกที่ยังต้องคำนึงถึง การวิเคราะห์นี้จึงเป็นเพียงข้อมูลที่แชร์ไว้ให้เพื่อนๆประกอบการตัดสินใจครับ
หวังว่ากระทู้นี้คงเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านบ้างนะครับ เดี๋ยวคราวหน้าจะมา deep review แป้งที่น่าสนใจให้อ่านกันครับ