ฟ.ฮีแลร์ : สันติภาพผ่านแบบเรียนไทยจากหัวใจครูฝรั่ง
@tutor_tom
วันนี้ผมมีโอกาสได้ไปชมภาพยนตร์เรื่อง “ฟ.ฮีแลร์” มาครับ ที่จริงจะได้ไปชมตั้งแต่รอบสื่อแล้ว แต่ปรากฏว่าติดถ่ายรายการเลยไม่สามารถไปได้ ทั้งที่ในใจนั้นอยากดูใจจะขาด ตั้งแต่เห็นข่าวว่ามีการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ตั้งใจไว้แน่วแน่ว่าจะไปดูให้ได้ เพราะฟ.ฮีแลร์คือครูที่ผมเคยศึกษาชีวประวัติของท่านมาบ้าง สมัยที่เรียนวิชาแบบเรียนภาษาไทย เมื่อครั้งเป็นนิสิตอักษรศาสตร์ เอกภาษาไทย ไม่อยากจะอวดเลยครับว่าได้ A ด้วย อะฮิ ๆ (สรุปก็อวด ฮ่า ๆ)
ผมว่าเรากลับเข้ามาเรื่อง “ฟ.ฮีแลร์” ดีกว่านะครับ
ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องผ่านการทำวิทยานิพนธ์ของพงศธร (แทค ภรัณยู) ครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปริญญาโทอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากที่เสนอหัวข้อไม่ผ่านสักที ก็ได้จับพลัดจับผลูมาทำเรื่องเกี่ยวกับ ฟ.ฮีแลร์
ระหว่างที่พงศธรหาข้อมูลทำวิทยานิพนธ์ไป ภาพยนตร์ก็ตัดสลับกับเรื่องราวต่าง ๆ ของฟ.ฮีแลร์เป็นระยะ ๆ หมายจะเล่าเรื่องชีวิตของตัวละครหลัก 2 ตัวเป็นคู่ขนาน โดยเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะของครู 2 แบบในสังคมไทยคือครูที่ดีและครูที่แย่
ครูที่ดีก็คือครูที่พร้อมพัฒนาตนเอง และอุทิศชีวิตให้กับการสอนหนังสือเพื่อพัฒนาแวดวงการศึกษาของไทย นั่นก็คือ ฟ.ฮีแลร์ (เจสัน ยัง) นั่นเอง และแน่นอนครับ พงศธรเป็นตัวแทนของครูที่ไร้ซึ่งจิตวิญญาณของความเป็นครูที่ดี เช่น ไม่ยอมสอนเนื้อหาในห้องเรียนให้เด็กเข้าใจ แล้วบอกเด็กว่าให้ไปลงเรียนพิเศษกับครู ครูถึงจะสอนให้ เป็นต้น
ต้องยอมรับครับว่าครูที่เป็นแบบพงศธรนั้นมีจริง ๆ มีเยอะเสียด้วย แต่บุคลิกนิสัยส่วนอื่นของพงศธรทำให้เรา “ไม่เชื่อ” เลยว่านี่คือครูสอนภาษาไทยที่กำลังเรียนปริญญาโท เช่น การแสดงความก้าวร้าวแบบสุดโต่งต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ การด่าเด็กแถวบ้านด้วยคำหยาบคาย หรือการที่เขาไม่เคยรู้จักและไม่เคยได้ยินชื่อบุคคลสำคัญของไทยหลายท่าน เช่น พระยามโนปกรณ์นิติธาดา, ควง อภัยวงศ์, สัญญา ธรรมศักดิ์, ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และ ส.ศิวรักษ์
ส่วนช่วงที่เป็นเรื่องราวชีวประวัติของ ฟ.ฮีแลร์ เป็นช่วงที่ทำให้ประทับใจที่สุด เพราะว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ค่อย ๆ ทำให้เรารู้จัก ฟ.ฮีแลร์ ทีละนิด ๆ ว่าเป็นใครมาจากไหน และท่านทำอะไรบ้างที่เป็นคุณประโยชน์ต่อวงการการศึกษาไทย และแนวคิดต่าง ๆ ทั้งกระบวนการสร้างรูปแบบและเนื้อหาของแบบเรียน “ดรุณศึกษา” นั้นมีที่มาอย่างไร
ฟ.ฮีแลร์คือตัวอย่างของผู้ที่เป็น “น้ำไม่เต็มแก้ว” พร้อมจะรับข้อมูลความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง ดังจะเห็นได้ว่าท่านเริ่มเรียนรู้ภาษาไทยไปพร้อม ๆ กับนักเรียนชั้นประถมจนเข้าใจภาษาไทยอย่างแตกฉาน ท่านเรียนรู้รูปแบบการสอนด้วยบทร้อยกรองจากการได้อ่านเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาของท่านสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวรรณคดีที่สุนทรภู่ตั้งใจแต่งขึ้นเพื่อเป็นแบบเรียนสอนอ่านมาตราตัวสะกด
นอกจากนั้น ท่านยังมองในบริบทของวิถีชีวิตคนพื้นถิ่นอีกด้วย ดังจะเห็นได้ว่าแม้ท่านจะเป็นคริสตศาสนิกชน แต่ก็พยายามศึกษาวิถีชีวิตพุทธศาสนิกชนเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติแนวคิดและความเชื่อของคนไทยอีกด้วย ภาพเลยชัดมากครับว่าทุกอย่างที่ท่านทำนั้นเกิดจาก “ความรัก” ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ ทั้งเนื้อหาต่าง ๆ เรื่องคุณธรรม จริยธรรมที่ปรากฏในแบบเรียน รวมไปถึงวิธีจัดการปัญหาต่าง ๆ ในโรงเรียน
ท่านมองว่าทุกคนบนโลกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นพี่น้องกันทั้งสิ้น ไม่ได้แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา ท่านมองทุกอย่างด้วยความเป็นกลาง เท่าเทียม และท่านยังเชื่อว่าทุกอย่างนั้นก็เพื่อให้เกิด “สันติภาพ” ขึ้นบนโลก อันเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่บนโลกนี้ปรารถนา ท่านจึงอุทิศตนเพื่อวางรากฐานการศึกษาให้กับประเทศไทยอย่างเต็มที่เท่าที่ “ครู” คนหนึ่งจะทำได้
เชื่อแน่ว่าถ้า “ครู” ได้มาชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็น่าจะได้แรงเสริมกำลังใจที่ดี ซึ่งจะทำให้ครูมีแรงสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้การศึกษาไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูรุ่นใหม่(หรือรุ่นเก่า)บางท่านที่เคยมีแรง เคยมีไฟที่อยากจะมาแก้ไขระบบการศึกษาไทย แต่เมื่อเข้าไปอยู่ในระบบนาน ๆ ไฟนั้นก็ค่อย ๆ มอดลงไปจนเกือบจะดับ ผมว่าถ้าครูได้มาชม ไฟนั้นจะค่อย ๆ ลุกขึ้นมาอีกก็เป็นได้ มาเติมเชื้อไฟให้ตัวเองกันดีกว่าครับคุณครูทุกท่าน
แม้ว่าหนังจะเกี่ยวกับชีวิตครู แต่ก็ใช่ว่าคนอาชีพอื่นจะดูไม่ได้นะครับ ถ้าคุณประกอบอาชีพอื่น คุณก็ลองคิดดูครับว่าคุณประกอบอาชีพของคุณอย่างเต็มกำลังความสามารถแล้วหรือยัง ถ้ายัง คุณก็ทำซะสิครับ ถ้าเราทำงานทุกอย่างที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ เราทุกคนก็จะสามารถเป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนโลกนี้ให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างที่กล่าวไปแล้วครับว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มีจุดด้อยอยู่บ้าง แต่จุดเด่นก็มีโขอยู่ เราต้องเลือกดูเลือกคิด เลือกรับปรับใช้ให้เหมาะสมครับ เพราะทุกอย่างย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าเรารู้จักเลือกมองสิ่งดีแล้วนำมาคิดตาม ก็จะเกิดประโยชน์โดยแท้
“...สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม
คนหนึ่งตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย...”
ฟ.ฮีแลร์
[CR] [CR] ภาพยนตร์ "ฟ.ฮีแลร์" : สันติภาพผ่านแบบเรียนไทยจากหัวใจครูฝรั่ง
@tutor_tom
วันนี้ผมมีโอกาสได้ไปชมภาพยนตร์เรื่อง “ฟ.ฮีแลร์” มาครับ ที่จริงจะได้ไปชมตั้งแต่รอบสื่อแล้ว แต่ปรากฏว่าติดถ่ายรายการเลยไม่สามารถไปได้ ทั้งที่ในใจนั้นอยากดูใจจะขาด ตั้งแต่เห็นข่าวว่ามีการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ตั้งใจไว้แน่วแน่ว่าจะไปดูให้ได้ เพราะฟ.ฮีแลร์คือครูที่ผมเคยศึกษาชีวประวัติของท่านมาบ้าง สมัยที่เรียนวิชาแบบเรียนภาษาไทย เมื่อครั้งเป็นนิสิตอักษรศาสตร์ เอกภาษาไทย ไม่อยากจะอวดเลยครับว่าได้ A ด้วย อะฮิ ๆ (สรุปก็อวด ฮ่า ๆ)
ผมว่าเรากลับเข้ามาเรื่อง “ฟ.ฮีแลร์” ดีกว่านะครับ
ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องผ่านการทำวิทยานิพนธ์ของพงศธร (แทค ภรัณยู) ครูภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปริญญาโทอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากที่เสนอหัวข้อไม่ผ่านสักที ก็ได้จับพลัดจับผลูมาทำเรื่องเกี่ยวกับ ฟ.ฮีแลร์
ระหว่างที่พงศธรหาข้อมูลทำวิทยานิพนธ์ไป ภาพยนตร์ก็ตัดสลับกับเรื่องราวต่าง ๆ ของฟ.ฮีแลร์เป็นระยะ ๆ หมายจะเล่าเรื่องชีวิตของตัวละครหลัก 2 ตัวเป็นคู่ขนาน โดยเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะของครู 2 แบบในสังคมไทยคือครูที่ดีและครูที่แย่
ครูที่ดีก็คือครูที่พร้อมพัฒนาตนเอง และอุทิศชีวิตให้กับการสอนหนังสือเพื่อพัฒนาแวดวงการศึกษาของไทย นั่นก็คือ ฟ.ฮีแลร์ (เจสัน ยัง) นั่นเอง และแน่นอนครับ พงศธรเป็นตัวแทนของครูที่ไร้ซึ่งจิตวิญญาณของความเป็นครูที่ดี เช่น ไม่ยอมสอนเนื้อหาในห้องเรียนให้เด็กเข้าใจ แล้วบอกเด็กว่าให้ไปลงเรียนพิเศษกับครู ครูถึงจะสอนให้ เป็นต้น
ต้องยอมรับครับว่าครูที่เป็นแบบพงศธรนั้นมีจริง ๆ มีเยอะเสียด้วย แต่บุคลิกนิสัยส่วนอื่นของพงศธรทำให้เรา “ไม่เชื่อ” เลยว่านี่คือครูสอนภาษาไทยที่กำลังเรียนปริญญาโท เช่น การแสดงความก้าวร้าวแบบสุดโต่งต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ การด่าเด็กแถวบ้านด้วยคำหยาบคาย หรือการที่เขาไม่เคยรู้จักและไม่เคยได้ยินชื่อบุคคลสำคัญของไทยหลายท่าน เช่น พระยามโนปกรณ์นิติธาดา, ควง อภัยวงศ์, สัญญา ธรรมศักดิ์, ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และ ส.ศิวรักษ์
ส่วนช่วงที่เป็นเรื่องราวชีวประวัติของ ฟ.ฮีแลร์ เป็นช่วงที่ทำให้ประทับใจที่สุด เพราะว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ค่อย ๆ ทำให้เรารู้จัก ฟ.ฮีแลร์ ทีละนิด ๆ ว่าเป็นใครมาจากไหน และท่านทำอะไรบ้างที่เป็นคุณประโยชน์ต่อวงการการศึกษาไทย และแนวคิดต่าง ๆ ทั้งกระบวนการสร้างรูปแบบและเนื้อหาของแบบเรียน “ดรุณศึกษา” นั้นมีที่มาอย่างไร
ฟ.ฮีแลร์คือตัวอย่างของผู้ที่เป็น “น้ำไม่เต็มแก้ว” พร้อมจะรับข้อมูลความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง ดังจะเห็นได้ว่าท่านเริ่มเรียนรู้ภาษาไทยไปพร้อม ๆ กับนักเรียนชั้นประถมจนเข้าใจภาษาไทยอย่างแตกฉาน ท่านเรียนรู้รูปแบบการสอนด้วยบทร้อยกรองจากการได้อ่านเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาของท่านสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวรรณคดีที่สุนทรภู่ตั้งใจแต่งขึ้นเพื่อเป็นแบบเรียนสอนอ่านมาตราตัวสะกด
นอกจากนั้น ท่านยังมองในบริบทของวิถีชีวิตคนพื้นถิ่นอีกด้วย ดังจะเห็นได้ว่าแม้ท่านจะเป็นคริสตศาสนิกชน แต่ก็พยายามศึกษาวิถีชีวิตพุทธศาสนิกชนเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติแนวคิดและความเชื่อของคนไทยอีกด้วย ภาพเลยชัดมากครับว่าทุกอย่างที่ท่านทำนั้นเกิดจาก “ความรัก” ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ ทั้งเนื้อหาต่าง ๆ เรื่องคุณธรรม จริยธรรมที่ปรากฏในแบบเรียน รวมไปถึงวิธีจัดการปัญหาต่าง ๆ ในโรงเรียน
ท่านมองว่าทุกคนบนโลกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นพี่น้องกันทั้งสิ้น ไม่ได้แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา ท่านมองทุกอย่างด้วยความเป็นกลาง เท่าเทียม และท่านยังเชื่อว่าทุกอย่างนั้นก็เพื่อให้เกิด “สันติภาพ” ขึ้นบนโลก อันเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่บนโลกนี้ปรารถนา ท่านจึงอุทิศตนเพื่อวางรากฐานการศึกษาให้กับประเทศไทยอย่างเต็มที่เท่าที่ “ครู” คนหนึ่งจะทำได้
เชื่อแน่ว่าถ้า “ครู” ได้มาชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็น่าจะได้แรงเสริมกำลังใจที่ดี ซึ่งจะทำให้ครูมีแรงสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้การศึกษาไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูรุ่นใหม่(หรือรุ่นเก่า)บางท่านที่เคยมีแรง เคยมีไฟที่อยากจะมาแก้ไขระบบการศึกษาไทย แต่เมื่อเข้าไปอยู่ในระบบนาน ๆ ไฟนั้นก็ค่อย ๆ มอดลงไปจนเกือบจะดับ ผมว่าถ้าครูได้มาชม ไฟนั้นจะค่อย ๆ ลุกขึ้นมาอีกก็เป็นได้ มาเติมเชื้อไฟให้ตัวเองกันดีกว่าครับคุณครูทุกท่าน
แม้ว่าหนังจะเกี่ยวกับชีวิตครู แต่ก็ใช่ว่าคนอาชีพอื่นจะดูไม่ได้นะครับ ถ้าคุณประกอบอาชีพอื่น คุณก็ลองคิดดูครับว่าคุณประกอบอาชีพของคุณอย่างเต็มกำลังความสามารถแล้วหรือยัง ถ้ายัง คุณก็ทำซะสิครับ ถ้าเราทำงานทุกอย่างที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ เราทุกคนก็จะสามารถเป็นฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนโลกนี้ให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างที่กล่าวไปแล้วครับว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มีจุดด้อยอยู่บ้าง แต่จุดเด่นก็มีโขอยู่ เราต้องเลือกดูเลือกคิด เลือกรับปรับใช้ให้เหมาะสมครับ เพราะทุกอย่างย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าเรารู้จักเลือกมองสิ่งดีแล้วนำมาคิดตาม ก็จะเกิดประโยชน์โดยแท้
คนหนึ่งตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย...”