นักวิเคราะห์ชี้เทคโนโลยี "เรือดำน้ำจีน" ตามหลังตะวันตกเป็น "ชั่วอายุคน"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1436180456
The Diplomat สื่อแม็กกาซีนออนไลน์จากญี่ปุ่นโดยนายฟราซ์-สเตฟาน เกดี ผู้ช่วยบรรณาธิการ ได้ชี้ถึงข้อด้อยของกองเรือดำน้ำของกองทัพปลดปล่อยประชาชน หรือกองทัพของจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ยังคงมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับคู่แข่งจากฝั่งตะวันตก
นายเกดี อ้างรายงานของ RAND Corporation องค์กรไม่แสวงหากำไรที่เน้นการวิจัยด้านนโยบายสาธารณะ ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ และเงินบริจาค โดยรายงานที่ถูกอ้างถึงกล่าวว่า จุดอ่อนสำคัญของกองเรือดำน้ำจีนคือวิศวกรรมการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีนำเข้า และส่วนใหญ่เป็นการผลิตภายใต้การอนุญาตเฉพาะโดยเจ้าของเทคโนโลยี
ในการเสวนาเมื่อเดือนพฤษภาคมเกี่ยวกับความสามารถในการรบของกองทัพเรือจีน ณวิทยาลัยการรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ (U.S. Naval War College) ศ.แอนดรูว์ อีริคสัน กล่าวว่า ระบบวิศวกรรมขับเคลื่อนของกองทัพเรือดำน้ำจีนยังต้องการการพัฒนาอีกมาก
เรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลเป็นเรือดำน้ำที่ถูกตรวจจับได้ยากกว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์เนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลถูกออกแบบให้ลดแรงสั่นสะเทือนและเสียงเพื่อหลบหลีกการตรวจจับด้วยโซนาร์และเรือดำน้ำชั้นซ่ง และหยวนของจีนต่างต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากเยอรมนี และรัสเซีย โดยเครื่องยนต์ของเรือดำน้ำทั้งสองได้รับการอนุญาตให้ทำการผลิตภายใต้สัญญาที่ทำขึ้นตั้งแต่ปี 1986
ขณะเดียวกัน จีนพยายามวิจัยพลังงานจากแบตตารี "ลิเธียม-ไอออน" (Li-Ion) ซึ่งให้ความจุพลังงานมากกว่า และสามารถดำน้ำได้นานกว่า ซึ่งจีนถือว่า Li-Ion เป็นอนาคตของระบบขับเคลื่อนเรือดำน้ำแบบดั้งเดิม ขณะที่นายอีริคสันกล่าวว่า จีนยังคงไปไม่ถึงขั้นที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ได้จริง แต่กำลังพยายามเดินหน้าอย่างจริงจริง
เทคโนโลยีของเรือดำน้ำจีนถูกมองโดยรวมว่ายังคงตามหลังเทคโนโลยีของตะวันตกราว"หนึ่งชั่วอายุคน"
generation) เช่นเรือดำน้ำนิวเคลียร์โจมตีแบบ 095 ของจีน สามารถเทียบชั้นได้กับเรือดำน้ำนิวเคลียร์โจมตีของนาโตในยุค 1980 (ตามหลังเทคโนโลยียุคปัจจุบันของตะวันตกราว 30 ปี) และมิอาจเทียบได้กับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้นเวอร์จิเนียของสหรัฐฯในปัจจุบัน
นายอีริคสันมองว่า ความพยายามของจีนยังไม่พอที่จะทำให้ขีดความสามารถของกองเรือดำน้ำจีนทัดเทียมกับตะวันตก แม้จะไม่ถึงขนาดสิ้นหวัง แต่จีนกำลังก้าวไปข้างหน้า บนเส้นทางที่ยากลำบากไม่น้อย
นักวิเคราะห์ชี้เทคโนโลยี "เรือดำน้ำจีน" ตามหลังตะวันตกเป็น "ชั่วอายุคน"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1436180456
The Diplomat สื่อแม็กกาซีนออนไลน์จากญี่ปุ่นโดยนายฟราซ์-สเตฟาน เกดี ผู้ช่วยบรรณาธิการ ได้ชี้ถึงข้อด้อยของกองเรือดำน้ำของกองทัพปลดปล่อยประชาชน หรือกองทัพของจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ยังคงมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับคู่แข่งจากฝั่งตะวันตก
นายเกดี อ้างรายงานของ RAND Corporation องค์กรไม่แสวงหากำไรที่เน้นการวิจัยด้านนโยบายสาธารณะ ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ และเงินบริจาค โดยรายงานที่ถูกอ้างถึงกล่าวว่า จุดอ่อนสำคัญของกองเรือดำน้ำจีนคือวิศวกรรมการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีนำเข้า และส่วนใหญ่เป็นการผลิตภายใต้การอนุญาตเฉพาะโดยเจ้าของเทคโนโลยี
ในการเสวนาเมื่อเดือนพฤษภาคมเกี่ยวกับความสามารถในการรบของกองทัพเรือจีน ณวิทยาลัยการรบของกองทัพเรือสหรัฐฯ (U.S. Naval War College) ศ.แอนดรูว์ อีริคสัน กล่าวว่า ระบบวิศวกรรมขับเคลื่อนของกองทัพเรือดำน้ำจีนยังต้องการการพัฒนาอีกมาก
เรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลเป็นเรือดำน้ำที่ถูกตรวจจับได้ยากกว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์เนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลถูกออกแบบให้ลดแรงสั่นสะเทือนและเสียงเพื่อหลบหลีกการตรวจจับด้วยโซนาร์และเรือดำน้ำชั้นซ่ง และหยวนของจีนต่างต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากเยอรมนี และรัสเซีย โดยเครื่องยนต์ของเรือดำน้ำทั้งสองได้รับการอนุญาตให้ทำการผลิตภายใต้สัญญาที่ทำขึ้นตั้งแต่ปี 1986
ขณะเดียวกัน จีนพยายามวิจัยพลังงานจากแบตตารี "ลิเธียม-ไอออน" (Li-Ion) ซึ่งให้ความจุพลังงานมากกว่า และสามารถดำน้ำได้นานกว่า ซึ่งจีนถือว่า Li-Ion เป็นอนาคตของระบบขับเคลื่อนเรือดำน้ำแบบดั้งเดิม ขณะที่นายอีริคสันกล่าวว่า จีนยังคงไปไม่ถึงขั้นที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ได้จริง แต่กำลังพยายามเดินหน้าอย่างจริงจริง
เทคโนโลยีของเรือดำน้ำจีนถูกมองโดยรวมว่ายังคงตามหลังเทคโนโลยีของตะวันตกราว"หนึ่งชั่วอายุคน"generation) เช่นเรือดำน้ำนิวเคลียร์โจมตีแบบ 095 ของจีน สามารถเทียบชั้นได้กับเรือดำน้ำนิวเคลียร์โจมตีของนาโตในยุค 1980 (ตามหลังเทคโนโลยียุคปัจจุบันของตะวันตกราว 30 ปี) และมิอาจเทียบได้กับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้นเวอร์จิเนียของสหรัฐฯในปัจจุบัน
นายอีริคสันมองว่า ความพยายามของจีนยังไม่พอที่จะทำให้ขีดความสามารถของกองเรือดำน้ำจีนทัดเทียมกับตะวันตก แม้จะไม่ถึงขนาดสิ้นหวัง แต่จีนกำลังก้าวไปข้างหน้า บนเส้นทางที่ยากลำบากไม่น้อย