โดยสรุป..เมื่อเจ็บป่วยจะรักษาใจไม่ให้ป่วย
------------------
พระอ.ไพศาล วิสาโล 5/7/58
เทศน์ ณ สถาบันการจัดการ
ปัญญาภิวัฒน์
ทำอย่างไร จึงจะช่วยรักษาใจไม่ให้ป่วย ด้วย 9 วิธี
1. การยอมรับความจริง มองว่าเป็นธรรมดา ใจก็จะกลับมาเป็นปรกติ เพราะเกิดขึ้นแล้ว ผ่านไปแล้วแก้ไขอะไรไม่ได้ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นธรรมดา ก็จะทำให้ป่วยแต่กาย ใจก็ทุเลา
2. การมองแง่บวก ป่วยก็ดีทำให้เข้าใจชีวิต สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้
3. การมีเมตตา อย่าไปโกรธเกลียดมัน เมตตามันว่า ฉันทำบุญเผื่อแผ่เชื้อโรคร้ายถ้าจะไปเอาบุญไปด้วยนะ
ถ้าแกอยู่ ฉันจะกินยาแรงนะแกอาจจะตายได้นะ
4. การให้อภัย
บางครั้งความเจ็บป่วยเกิดจากใจที่เคียดแค้นผู้อื่น รู้จักการให้อภัย ใจก็สบาย ส่งผลที่ดีต่อร่างกาย
5. การนึกถึงผู้อื่น มากกว่าตนเอง
ทำให้ใจไม่จดจ่อต่อความเจ็บป่วยของตนเอง ผู้ได้รับความช่วยเหลือจะรู้สึกดีต่อเราทำให้จิตใจเราเบาสบาย
6. การเอาใจไปจดจ่อกับศรัทธา ศรัทธาทำให้เกิด ปราโมทย์ (แช่มชื่น เบิกบานใจ) ทำให้อิ่มเอิบใจ
เช่น ศรัทธาในพระ ศรัทธาในหมอ ศรัทธาในบุญกุศลที่ได้ทำไว้, การไหว้พระสวดมนต์ การนึกถึงบทสวดที่ชอบ
7. การทำสมาธิ สมาธิช่วยเยียวยาความปวดได้ ทำให้ความปวดใจลดลง เกิดความคิดเป็นบวก คือ เกิดจิตกุศลมากขึ้น
8. การฝึกสติ แค่ดู แค่รู้ ไม่ใช่ผู้ปวด
ความปวด ไม่ลงโทษเรา ที่แย่คือ ความเป็นผู้ปวด ที่ถูกต้องคือ ให้เห็นความปวด ไม่ใช่ผู้ปวด สติทำให้เห็นกาย เห็นใจ ไม่เป็นผู้ปวด ถ้ามีสติ จะไม่ปรุงตัวกูว่าเป็นผู้ปวด
อยู่กับทุกข์โดยที่ใจไม่ทุกข์ อยู่กับความปวดโดยที่ใจไม่ปวด
ไม่ไปยึดมั่น ถือมั่น แยกกาย แยกความปวด เห็นจิตดูความปวด โดยใช้สติกำกับ ใช้สติดึงจิตออกมา เช่น ออกมาจากกองไฟ อยู่ห่างๆ กองไฟ ความปวดยังมีอยู่ แต่ใจไม่ทุกข์ เพราะสติทำให้ใจออกห่างจากความปวด แค่เห็น ความปวดของกาย ไม่ใช่ความปวดของกู ( มีดบาดนิ้ว ต่างกับมีดบาดกู)
สติช่วยในการเผชิญกับความกลัว ความกลัวทำให้ความเจ็บเพิ่มเป็น 2 เท่า กลายเป็นมีความทุกข์ความเจ็บ 3 เท่า
9. ปัญญา ความไม่กลัว คือ ความเข้าใจในเรื่องความจริงของชีวิต ว่า กายไม่ใช่ของเรา ใจไม่ใช่ของเรา อยู่โดยไม่สำคัญมั่นหมายว่า กายนี้เป็นของเรา ใจนี้เป็นของเรา ก็จะไม่เกิดความคับแค้นใจ ไม่เกิดความคร่ำครวญ ไม่เกิดทุกข์โทมนัส
มีปัญญา เห็นตามความจริงว่า มีแต่กายป่วย กายเจ็บ ใจไม่ป่วย ใจไม่เจ็บ ใจก็ไม่เป็นทุกข์
มีแต่ทุกขเวทนา ไม่มีทุกข์ทรมาน
การเจ็บป่วย เรื่องที่ต้องพิจารณาคือ เรื่องของมิติความสัมพันธ์ คือ เห็นความสัมพันธ์ของกายกับใจ
" ทำอย่างไร จึงจะช่วยรักษาใจไม่ให้ป่วย ด้วย 9 วิธี " พระไพศาล วิสาโล 5/7/58 @ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
------------------
พระอ.ไพศาล วิสาโล 5/7/58
เทศน์ ณ สถาบันการจัดการ
ปัญญาภิวัฒน์
ทำอย่างไร จึงจะช่วยรักษาใจไม่ให้ป่วย ด้วย 9 วิธี
1. การยอมรับความจริง มองว่าเป็นธรรมดา ใจก็จะกลับมาเป็นปรกติ เพราะเกิดขึ้นแล้ว ผ่านไปแล้วแก้ไขอะไรไม่ได้ ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นธรรมดา ก็จะทำให้ป่วยแต่กาย ใจก็ทุเลา
2. การมองแง่บวก ป่วยก็ดีทำให้เข้าใจชีวิต สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้
3. การมีเมตตา อย่าไปโกรธเกลียดมัน เมตตามันว่า ฉันทำบุญเผื่อแผ่เชื้อโรคร้ายถ้าจะไปเอาบุญไปด้วยนะ
ถ้าแกอยู่ ฉันจะกินยาแรงนะแกอาจจะตายได้นะ
4. การให้อภัย
บางครั้งความเจ็บป่วยเกิดจากใจที่เคียดแค้นผู้อื่น รู้จักการให้อภัย ใจก็สบาย ส่งผลที่ดีต่อร่างกาย
5. การนึกถึงผู้อื่น มากกว่าตนเอง
ทำให้ใจไม่จดจ่อต่อความเจ็บป่วยของตนเอง ผู้ได้รับความช่วยเหลือจะรู้สึกดีต่อเราทำให้จิตใจเราเบาสบาย
6. การเอาใจไปจดจ่อกับศรัทธา ศรัทธาทำให้เกิด ปราโมทย์ (แช่มชื่น เบิกบานใจ) ทำให้อิ่มเอิบใจ
เช่น ศรัทธาในพระ ศรัทธาในหมอ ศรัทธาในบุญกุศลที่ได้ทำไว้, การไหว้พระสวดมนต์ การนึกถึงบทสวดที่ชอบ
7. การทำสมาธิ สมาธิช่วยเยียวยาความปวดได้ ทำให้ความปวดใจลดลง เกิดความคิดเป็นบวก คือ เกิดจิตกุศลมากขึ้น
8. การฝึกสติ แค่ดู แค่รู้ ไม่ใช่ผู้ปวด
ความปวด ไม่ลงโทษเรา ที่แย่คือ ความเป็นผู้ปวด ที่ถูกต้องคือ ให้เห็นความปวด ไม่ใช่ผู้ปวด สติทำให้เห็นกาย เห็นใจ ไม่เป็นผู้ปวด ถ้ามีสติ จะไม่ปรุงตัวกูว่าเป็นผู้ปวด
อยู่กับทุกข์โดยที่ใจไม่ทุกข์ อยู่กับความปวดโดยที่ใจไม่ปวด
ไม่ไปยึดมั่น ถือมั่น แยกกาย แยกความปวด เห็นจิตดูความปวด โดยใช้สติกำกับ ใช้สติดึงจิตออกมา เช่น ออกมาจากกองไฟ อยู่ห่างๆ กองไฟ ความปวดยังมีอยู่ แต่ใจไม่ทุกข์ เพราะสติทำให้ใจออกห่างจากความปวด แค่เห็น ความปวดของกาย ไม่ใช่ความปวดของกู ( มีดบาดนิ้ว ต่างกับมีดบาดกู)
สติช่วยในการเผชิญกับความกลัว ความกลัวทำให้ความเจ็บเพิ่มเป็น 2 เท่า กลายเป็นมีความทุกข์ความเจ็บ 3 เท่า
9. ปัญญา ความไม่กลัว คือ ความเข้าใจในเรื่องความจริงของชีวิต ว่า กายไม่ใช่ของเรา ใจไม่ใช่ของเรา อยู่โดยไม่สำคัญมั่นหมายว่า กายนี้เป็นของเรา ใจนี้เป็นของเรา ก็จะไม่เกิดความคับแค้นใจ ไม่เกิดความคร่ำครวญ ไม่เกิดทุกข์โทมนัส
มีปัญญา เห็นตามความจริงว่า มีแต่กายป่วย กายเจ็บ ใจไม่ป่วย ใจไม่เจ็บ ใจก็ไม่เป็นทุกข์
มีแต่ทุกขเวทนา ไม่มีทุกข์ทรมาน
การเจ็บป่วย เรื่องที่ต้องพิจารณาคือ เรื่องของมิติความสัมพันธ์ คือ เห็นความสัมพันธ์ของกายกับใจ