กสิกรฯรับคุมหนี้เอ็นพีแอลไม่อยู่จ่อเพิ่มเป้าเป็น 2.8% กรุงไทยสกัดตัวโก่ง ไม่ให้เกิน 2%

(หมายเหตุ NPL Ratio ที่ดีคือห้ามเกิน 5% ครับ  ถ้าตัวเลขเกิน 3% คือเริ่มแย่ แตะ 5 ถือว่าอันตราย  เกิน 5 คือเลวมาก)

นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกำลังพิจารณาปรับเป้าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปีนี้ จาก 2.5% ของสินเชื่อรวมเป็น 2.7-2.8% และเป็นไปได้ที่จะขยับเป้าหมายต้นทุนการเงิน(เครดิตคอสต์) ที่ส่วนใหญ่มาจากการตั้งสำรองหนี้เสียเพิ่มขึ้นราว 0.4-0.5% จากเดิมตั้งไว้ 1% โดยขอดูสถานการณ์เศรษฐกิจแต่ละเดือนในครึ่งปีหลังว่าจะกระทบต่อลูกค้าหรือไม่

สำหรับสินเชื่อรวมปีนี้คาดว่าจะเติบโตไม่เกิน 6% ตามเป้า มาจากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ยังมีการซื้อและควบรวมกิจการอยู่ ส่วนธุรกิจเอสเอ็มอีอ่อนแอในบางกลุ่มอุตสาห กรรม เช่น ธุรกิจอุปโภคบริโภค ธุรกิจเกษตร ที่สินเชื่อยังชะลอตัวเพราะลูกค้าไม่ต้องการใช้ ไม่ใช่เพราะธนาคารจำกัดการปล่อยกู้

นายวรภัค ธันยาวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปีนี้ ส่งผลให้เอ็นพีแอลมีแนวโน้มสูงขึ้นจากสิ้นปีที่แล้ว โดยจะพยายามควบคุมเอ็นพีแอลสุทธิไม่ให้เกิน 2% จาก 1.6% เมื่อสิ้นปี 2557 ส่วนยอดเอ็นพีแอลรวมคงยากที่จะคุมให้ต่ำกว่า 5.3 หมื่นล้านบาท เท่ากับสิ้นปีที่ผ่านมา แต่ยอดเอ็นพีแอลเริ่มนิ่งขึ้นในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. ถือเป็นสัญญาณที่ดี  นอกจากนี้ จะปรับลดเป้าเติบโตสินเชื่อรวมปีนี้ จากเดิม 6% เนื่องจากสินเชื่อภาครัฐติดลบ และธนาคารระมัดระวังคุณภาพสินเชื่อใหม่มากขึ้น โดยอัตราอนุมัติสินเชื่อรายย่อยลดลงเหลือ 70%

ทั้งนี้ แอ็นพีแอลส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายย่อย โดยเฉพาะสินเชื่อบ้านที่เติบโตถึง 100% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา โดยมาจากสินเชื่อรุ่นเก่าที่ยังไม่มีตะแกรงเข้มข้นพอ เมื่อลูกค้าอ่อนแอเจอภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวซ้ำเติมจึงกลายเป็นเอ็นพีแอล

สำหรับแนวทางดูแลเอ็นพีแอลได้ทำ 3 ด้าน คือ
1.สร้างระบบฐานข้อมูลลูกค้าให้เข้มข้น เพื่อให้รู้ว่าปัญหาอยู่ตรงไหน
2.ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรลูกค้าเอ็นพีแอล ซึ่งบางรายพบว่าหนี้ที่มีกับธนาคารอื่นยังดีอยู่ แสดงว่าต้องปรับปรุงระบบติดตามหนี้
และ 3.ให้สาขาช่วยติดตามหนี้และปรับโครงสร้างหนี้มากขึ้น

http://www.posttoday.com

(หมายเหตุจขกท.
NPL Ratio ที่ดี คือห้ามเกิน 5% ครับ  ถ้าตัวเลขเกิน 3% คือเริ่มแย่ แตะ 5 ถือว่าอันตราย  เกิน 5 คือเลวมาก)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่